No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 184 (เล่ม 42)

ทั้งเสื่อมแล้วจากโภคะของคฤหัสถ์ ทั้งเสื่อมแล้วจากสามัญผล. ก็แล
ครั้นเสื่อมแล้ว จึงเป็นเหมือนนกกะเรียนในเปือกตมแห้งฉะนั้น " ดังนี้แล้ว
จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
๙. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ อลทฺธนา โยพฺพเน ธนํ
ชิณฺณโกญฺจาว ณายนฺติ ขีณมจฺเฉว ปลฺลเล
อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ
เสนฺติ จาปาติขีณาว ปุราณานิ อนุตฺถุนํ.
" พวกคนเขลา ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้
ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมซบเซาดังนก
กะเรียนแก่ ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลาฉะนั้น.
พวกคนเขลา ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์
ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมนอนทอดถอนถึงทรัพย์
เก่า เหมือนลูกศรที่ตกจากแล่งฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจริตฺวา ความว่า ไม่อยู่พรหมจริยาวาส.
บทว่า โยพฺพเน ความว่า ไม่ได้แม้ทรัพย์ในเวลาที่ตนสามารถ เพื่อจะยัง
โภคะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือเพื่อตามรักษาโภคะที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า
ขีณมจฺเฉ ความว่า คนเขลาเห็นปานนั้นนั่น ย่อมซบเซา ดังนกกะเรียนแก่
มีขนเปียกอันเหี้ยนเกรียน ซบเซาอยู่ในเปือกตม. ที่ชื่อว่าหมดปลาแล้ว
เพราะไม่มีน้ำ. มีคำอธิบายกล่าวไว้ดังนี้ว่า " อันความไม่มีที่อยู่ของคนเขลา
เหล่านี้ เหมือนความไม่มีน้ำในเปือกตม. ความไม่มีโภคะของคนเขลา
เหล่านี้ เหมือนความหมดปลา, ความไม่สามารถจะรวบรวมโภคะไว้ได้

184
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 185 (เล่ม 42)

โดยทางน้ำหรือทางบกเป็นต้นในกาลบัดนี้แล ของคนขลาเหล่านี้ เหมือน
ความไม่มีการโผขึ้นแล้วบินไปแห่งนกกะเรียนที่มีขนปีกอันเหี้ยน; เพราะ
ฉะนั้น คนเขลาเหล่านี้ จึงนอนซบเซาอยู่ในที่นี้เอง เหมือนนกกะเรียน
มีขนปีกอันเหี้ยนแล้วฉะนั้น.
บทว่า จาปาติขีณาว ความว่า หลุดจากแล่ง คือพ้นแล้วจาก
แล่ง. มีคำอธิบายกล่าวไว้ดังนี้ว่า " ลูกศรพ้นจากแล่งไปตามกำลัง
ตกแล้ว. เมื่อไม่มีใครจับมันยกขึ้น. มันก็ต้องเป็นอาหารของหมู่ปลวก
ในที่นั้นเอง ฉันใด; ถึงคนเขลาเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ล่วง ๓ วัยไปแล้ว ก็จัก
เข้าถึงมรณะ เพราะความไม่สามารถจะยกตนขึ้นได้ในกาลบัดนี้; เพราะ-
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสนฺติ จาปาติขีณาว. "
บาทพระคาถาว่า ปุราณานิ อนุตฺถุนํ ความว่า ย่อมนอนทอดถอน
คือเศร้าโศกถึงการกิน การดื่ม การฟ้อน การขับ และการประโคม
เป็นต้น ที่คนทำแล้วในกาลก่อนว่า " พวกเรา กินแล้วอย่างนี้, ดื่มแล้ว
อย่านี้."
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก จบ.
ชราวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ ๑๑ จบ

185
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 186 (เล่ม 42)

คาถาธรรมบท
อัตวรรค๑ที่ ๑๒
ว่าด้วยเรื่องตน
[๒๒] ๑. ถ้าบุคคลทราบตนว่าเป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น
ให้เป็นอันรักษาด้วยดี บัณฑิตพึงประคับประคอง(ตน)
ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง.
๒. บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควร
ก่อนพึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง จะไม่พึงเศร้าหมอง.
๓. ถ้าผู้อื่นพร่ำสอนผู้อื่นอยู่ฉันใด พึงทำตาม
ฉันนั้น บุคคลผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ (จึง) ควรฝึก
(ผู้อื่น) เพราะว่าได้ยินว่า ตนฝึกฝนได้โดยยาก.
๔. ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นใครเล่าพึง
เป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้
ที่พึ่งที่บุคคลได้โดยยาก.
๕. บาปอันตนทำไว้เอง เกิดในตน มีตนเป็น
แดนเกิด ย่อมย่ำยีบุคคลผู้มีปัญญาทราม ดุจเพชร
ย่ำยีแก้วมณี อันเกิดแต่หินฉะนั้น.
๖. ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน รวบรัด (อัตภาพ)
ของบุคคลใด ดุจเถาย่านทราย รัดรึงต้นสาละฉะนั้น
บุคคลนั้น ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจก
ปรารถนาทำให้ตนฉะนั้น.
๑. วรรคนี้มีอรรถกถา ๑๐ เรื่อง.

186
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 187 (เล่ม 42)

๗. กรรมอันไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
คนทำง่าย กรรมใดแลเป็นประโยชน์แก่ตน และดี
กรรมนั้นแลทำยากอย่างยิ่ง.
๘. บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า
คัดค้านคำสั่งสอนของพระอริยบุคคลผู้อรหันต์ มีปกติ
เป็นอยู่โดยธรรม บุคคลนั้นย่อมเกิดมาเพื่อมาฆ่าตน
เหมือนขุยแห่งไม้ไผ่.
๙. บาปอันผู้ใดทำแล้วด้วยตนเอง ผู้นั้นย่อม
เศร้าหมองด้วยตน บาปอันผู้ใดไม่ทำด้วยตน ผู้นั้น
ย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์เป็น
ของเฉพาะตน คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้.
๑๐. บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้เสื่อม
เสียเพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์
ของตนแล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน.
จบอัตตวรรคที่ ๑๒

187
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 188 (เล่ม 42)

๑๒. อัตตวรรควรรณนา
๑. เรื่องโพธิราชกุมาร [๑๒๗]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในเภสกฬาวัน ทรงปรารภโพธิราชกุมาร
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตานญฺเจ " เป็นต้น.
โพธิราชกุมารสร้างปราสาทแล้วคิดฆ่านายช่าง
ดังได้สดับมา โพธิราชกุมาร รับสั่งให้สร้างปราสาท ชื่อโกกนท
มีรูปทรงไม่เหมือนปราสาทอื่น ๆ บนพื้นแผ่นดิน ปานดังลอยอยู่ในอากาศ
แล้ว ตรัสถามนายช่างว่า " ปราสาทที่มีรูปทรงอย่างนี้ เธอเคยสร้างในที่
อื่นบ้างแล้วหรือ ? หรือว่านี้เป็นศิลปะครั้งแรกของเธอทีเดียว " เมื่อเขา
ทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ นี้เป็นศิลปะครั้งแรกทีเดียว " ท้าวเธอทรง
ดำริว่า " ถ้านายช่างผู้นี้จักสร้างปราสาทมีรูปทรงอย่างนี้แม้แก่คนอื่นไซร้,
ปราสาทนี้ก็จักไม่น่าอัศจรรย์; การที่เราฆ่านายช่างนี้เสีย ตัดมือและเท้า
ของเขา หรือควักนัยน์ตาทั้งสองเสียย่อมควร; เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจะสร้าง
ปราสาทแก่คนอื่นไม่ได้ ท้าวเธอตรัสบอกความนั้น แก่มาณพน้อยบุตร
ของสัญชีวก ผู้เป็นสหายรักของตน.
นายช่างทำนกครุฑขี่หนีภัย
มาณพน้อยนั้น คิดว่า " พระราชกุมารพระองค์นี้ จักผลาญนายช่าง
ให้ฉิบหายอย่างไม่ต้องสงสัย, คนผู้มีศิลปะเป็นผู้หาค่ามิได้, เมื่อเรายังมีอยู่
เขาจงอย่าฉิบหาย. เราจักให้สัญญาแก่เขา." มาณพน้อยนั้นเข้าไปหาเขา

188
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 189 (เล่ม 42)

แล้ว ถามว่า " การงานของท่านที่ปราสาทสำเร็จแล้วหรือยัง ? " เมื่อเขา
บอกว่า " สำเร็จแล้ว. " จึงกล่าวว่า " พระราชกุมารมีพระประสงค์
จะผลาญท่านให้ฉิบหาย. เพราะฉะนั้น ท่านพึงรักษาตน (ให้ดี). "
นายช่างพูดว่า " นาย ท่านบอก ( ความนั้น ) แก่ข้าพเจ้า ทำกรรม
อันงามแล้ว. ข้าพเจ้าจักทราบกิจที่ควรทำในเรื่องนี้ ดังนี้แล้ว อัน
พระราชกุมารตรัสถามว่า " สหาย การงานของท่านที่ปราสาทของเรา
สำเร็จแล้วหรือ ? " จึงทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ การงาน (ที่ปราสาท)
ยังไม่สำเร็จก่อน. ยังเหลืออีกมาก. "
ราชกุมาร. ชื่อว่าการงานอะไร ? ยังเหลือ.
นายช่าง. ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์จะทูล (ให้ทรงทราบ)
ภายหลัง. ขอพระองค์จงตรัสสั่งให้ใคร ๆ ขนไม้มาก่อนเถิด.
ราชกุมาร. จะให้ขนไม้ชนิดไหนมาเล่า ?
นายช่าง. ไม้แห้งหาแก่นมิได้ พระเจ้าข้า.
ท้าวเธอได้รับสั่งให้ขนมาให้แล้ว. ลำดับนั้น นายช่างทูลพระราช-
กุมารนั้นว่า " ข้าแต่สมมติเทพ จำเดิมแต่นี้ พระองค์ไม่พึงเสด็จมายังสำนัก
ของข้าพระองค์. เพราะเมื่อข้าพระองค์ทำงานที่ละเอียดอยู่ เมื่อมีการ
สนทนากับคนอื่น ความฟุ้งซ่านก็จะมี. อนึ่ง เวลารับประทานอาหาร
ภรรยาของข้าพระองค์เท่านั้น จักนำอาหารมา. " พระราชกุมารทรงรับว่า
" ดีแล้ว. " ฝ่ายนายช่างนั่งถากไม้เหล่านั้นอยู่ในห้อง ๆ หนึ่ง ทำเป็นนกครุฑ
ควรที่บุตรภรรยาของตนนั่งภายในได้ ในเวลารับประทานอาหาร สั่ง
ภรรยาว่า " เธอจงขายของทุกสิ่งอันมีอยู่ในเรือนแล้ว รับเอาเงินและ
ทองไว้."

189
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 190 (เล่ม 42)

นายช่างพาครอบครัวหนี
ฝ่ายพระราชกุมาร รับสั่งให้ล้อมเรือนไว้ ทรงจัดตั้งการรักษาเพื่อ
ประโยชน์จะไม่ให้นายช่างออกไปได้. แม้นายช่าง ในเวลาที่นกสำเร็จ
แล้ว สั่งภรรยาว่า " วันนี้ หล่อนพึงพาเด็ก แม้ทั้งหมดมา " รับประทาน
อาหารเช้าเสร็จแล้ว ให้บุตรและภรรยานั่งในท้องนก ออกทางหน้าต่าง
หลบหนีไปแล้ว. เมื่อพวกอารักขาเหล่านั้น พิไรรำพันทูลว่า " ขอเดชะ
สมมติเทพนายช่างหลบหนีไปได้ " ดังนี้อยู่นั่นแหละ นายช่างนั้นก็ไปลง
ที่หิมวันตประเทศ สร้างนครขึ้นนครหนึ่ง ได้เป็นพระราชา ทรงพระนาม
ว่า กัฏฐวาหนะ๑ ในนครนั้น.
พระศาสดาไม่ทรงเหยียบผ้าที่ลาดไว้
ฝ่ายพระราชกุมาร ทรงดำริว่า " เราจะทำการฉลองปราสาท จึง
ตรัสสั่งให้นิมนต์พระศาสดา ทรงทำการประพรมในปราสาทด้วยของหอม
ที่ผสมกัน ๔ อย่าง ทรงลาดแผ่นผ้าน้อย ตั้งแต่ธรณีแรก. ได้ยินว่าท้าว
เธอไม่มีพระโอรส, เพราะฉะนั้น จึงทรงดำริว่า " ถ้าเราจักได้บุตรหรือ
ธิดาไซร้. พระศาสดาจักทรงเหยียบแผ่นผ้าน้อยนี้ แล้วจึงทรงลาด. ท้าว
เธอ เมื่อพระศาสดาเสด็จมา ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์
แล้ว รับบาตร กราบทูลว่า " ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเถิด พระเจ้าข้า "
พระศาสดาไม่เสด็จเข้าไป. ท้าวเธอทรงอ้อนวอนถึง ๒ - ๓ ครั้ง พระ-
ศาสดาก็ยังไม่เสด็จเข้าไป ทรงแลดูพระอานนท์.
พระเถระทราบความที่ไม่ทรงเหยียบผ้าทั้งหลาย ด้วยสัญญาที่พระองค์
ทรงแลดูนั่นเอง จึงทูลให้พระราชกุมารเก็บผ้าทั้งหลายเสีย ด้วยคำว่า
๑. ผู้มีท่อนไม้เป็นพาหนะ หรือผู้มีพาหนะอันทำด้วยท่อนไม้.

190
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 191 (เล่ม 42)

" พระราชกุมาร ขอพระองค์ทรงเก็บผ้าทั้งหลายเสียเถิด. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจักไม่ทรงเหยียบแผ่นผ้า, (เพราะ) พระตถาคตทรงเล็งดูหมู่ชน
ผู้เกิดภายหลัง."
พระศาสดาตรัสบอกเหตุที่ไม่ทรงเยียบผ้า
ท้าวเธอทรงเก็บผ้าทั้งหลายแล้ว ทูลอาราธนาพระศาสดาให้เสด็จ
เข้าไปภายใน ทรงเลี้ยงดูให้อิ่มหนำด้วยยาคูและของเคี้ยว แล้วนั่งอยู่ ณ
ส่วนข้างหนึ่ง ถวายบังคมแล้วทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
เป็นอุปัฏฐากของพระองค์ ถึง (พระองค์) ว่าเป็นที่พึ่งถึง ๓ ครั้งแล้ว
(คือ) นัยว่า ข้าพระองค์อยู่ในท้อง ถึง (พระองค์) ว่าเป็นที่พึ่งครั้งที่ ๑,
แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาที่หม่อมฉันเป็นเด็กรุ่นหนุ่ม, แม้ครั้งที่ ๓ ในกาล
ที่หม่อมฉัน ถึงความเป็นผู้รู้ดีรู้ชั่ว; พระองค์ไม่ทรงเหยียบแผ่นผ้าน้อย
ของหม่อมฉันนั้น เพราะเหตุอะไร ? "
พระศาสดา. ราชกุมาร ก็พระองค์ทรงดำริอย่างไร ? จึงลาดแผ่น
ผ้าน้อย.
ราชกุมาร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคิดดังนี้ว่า " ถ้าเรา
จักได้บุตรหรือธิดาไซร้. พระศาสดาจักทรงเหยียบแผ่นผ้าน้อยของเรา."
แล้วจึงลาดแผ่นผ้าน้อย.
พระศาสดา. ราชกุมาร เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่เหยียบ.
ราชกุมาร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็หม่อมฉันจักไม่ได้บุตรหรือ
ธิดาเลยเทียวหรือ ?
พระศาสดา. อย่างนั้น ราชกุมาร.
ราชกุมาร. เพาระเหตุไร ? พระเจ้าข้า.

191
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 192 (เล่ม 42)

พระศาสดา. เพราะความที่พระองค์กับพระชายา เป็นผู้ถึงความ
ประมาทแล้วในอัตภาพก่อน.
ราชกุมาร. ในกาลไหน ? พระเจ้าข้า.
บุรพกรรมของโพธิราชกุมาร
ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนำอดีตนิทาน มาแสดงแด่พระราชกุมาร
นั้น:-
ดังได้สดับมา ในอดีตกาล มนุษย์หลายร้อยคนแล่นเรือลำใหญ่
ไปสู่มหาสมุทร. เรืออับปางในกลางสมุทร สองสามีภรรยาคว้าได้เเผ่น
กระดานแผ่นหนึ่ง (อาศัย) ว่ายเข้าไปสู่เกาะน้อยอันมีในระหว่าง มนุษย์
ที่เหลือทั้งหมดตายในมหาสมุทรนั้นนั่นแล. ก็หมู่นกเป็นอันมากอย่ที่เกาะ
นั้นแล เขาทั้งสองไม่เห็นสิ่งอื่นที่ควรกินได้ ถูกความหิวครอบงำแล้ว
จึงเผาฟองนกทั้งหลายที่ถ่านเพลิงแล้วเคี้ยวกิน. เมื่อฟองนกเหล่านั้นไม่
เพียงพอ ก็จับลูกนกทั้งหลายปิ้งกิน. เมื่อลูกนกเหล่านั้นไม่เพียงพอ
ก็จับนกทั้งหลาย (ปิ้ง) กิน. ในปฐมวัยก็ดี มัชฌิมวัยก็ดี ปัจฉิมวัยก็ดี
ได้เคี้ยวกินอย่างนี้แหละ. แม้ในวันหนึ่ง ก็มิได้ถึงความไม่ประมาท อนึ่ง
บรรดาชน ๒ คนนั้น เเม้คนหนึ่งไม่ได้ถึงความไม่ประมาท.
พึงรักษาตนไว้ให้ดีในวัยทั้งสาม
พระศาสดา ครั้นทรงแสดงบุรพกรรมนี้ ของโพธิราชกุมารนั้นแล้ว
ตรัสว่า " ราชกุมาร ก็ในกาลนั้น ถ้าพระองค์กับภรรยาจักถึงความไม่
ประมาท แม้ในวัยหนึ่งไซร้ บุตรหรือธิดาพึงเกิดขึ้นแม้ในวัยหนึ่ง; ก็ถ้า
บรรดาท่านทั้งสองแม้คนหนึ่ง จักได้เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วไซร้. บุตรหรือ
ธิดา จักอาศัยผู้ไม่ประมาทนั้นเกิดขึ้น, ราชกุมาร ก็บุคคลเมื่อสำคัญตน

192
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 193 (เล่ม 42)

อยู่ว่า เป็นที่รัก พึงไม่ประมาท รักษาตนแม้ในวัยทั้งสาม เมื่อไม่อาจ
(รักษา) ได้อย่างนั้น พึงรักษาให้ได้แม้ในวัยหนึ่ง " ดังนี้แล้ว จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า :-
๑. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ
ติณฺณํ อญฺญตรํ ยามํ ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต.
" ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น
ให้เป็นอันรักษาด้วยดี, บัณฑิตพึงประคับประคอง
(ตน) ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยามํ นี้ พระศาสดาทรงแสดงทำวัยทั้ง
๓ วัยด้วยหนึ่งให้ชื่อว่า ยาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรม
และเพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระ-
คาถานี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนั้นว่า " ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็น
ที่รัก. พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว; คือพึงรักษาตนนั้น โดย
ประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว."
บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ' จักรักษาตน '
ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่ห้องที่เขาปิดไว้ให้เรียบร้อย เป็นผู้มีอารักขาสมบูรณ์
อยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนก็ดี. ผู้เป็นบรรพชิต อยู่ในถ้ำอันปิดเรียบร้อย
มีประตูและหน้าต่างอันปิดแล้วก็ดี ยังไม่ชื่อว่ารักษาตนเลย. แต่ผู้เป็น
คฤหัสถ์ทำบุญทั้งหลายมีทาน ศีล เป็นต้นตามกำลังอยู่. หรือผู้เป็นบรรพชิต
ถึงความขวนขวายในวัตร ปฏิวัตร ปริยัติ และการทำไว้ในใจอยู่ ชื่อว่า
ย่อมรักษาตน.

193