No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 84 (เล่ม 42)

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กญฺจิ ความว่า อย่าได้กล่าวคำหยาบ
กะใคร ๆ คือแม้กะบุคคลผู้หนึ่ง.
บทว่า วุตฺตา ความว่า คนเหล่าอื่นถูกเธอกล่าวว่า " เจ้าพวกทุศีล, "
พึงกล่าวตอบเธอบ้าง อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า สารมฺภกถา ขึ้นชื่อว่าการกล่าวแข่งขันกันเกินกว่าเหตุนั้น
ให้เกิดทุกข์.
บทว่า ปฏิทณฺฑา ความว่า เมื่อเธอประหารผู้อื่น ด้วยอาชญา
ทั้งหลาย มีอาชญาทางกายเป็นต้น. อาชญาตอบเช่นนั้นแหละ พึงตกลง
เหนือกระหม่อมของเธอ.
บทว่า สเจ เนเรสิ ความว่า ถ้าเธอจักอาจทำตนไม่ให้หวั่นไหวได้
ไซร้.
บาทพระคาถาว่า กํโส อุปหโต ยถา ความว่า เหมือนกังสดาล ที่
เขาตัดขอบปากทำให้เหลือแต่พื้นวางไว้. จริงอยู่ กังสดาลเช่นนั้น แม้
บุคคลตีแล้วด้วยมือ เท้า หรือด้วยท่อนไม้ ก็ย่อมไม่ดัง.
สองบทว่า เอส ปตฺโตสิ ความว่า ถ้าเธอจักอาจเป็นผู้เห็นปานนั้น
ได้ไซร้. เธอนั่น บำเพ็ญปฏิปทานี้อยู่. เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในบัดนี้
ชื่อว่าบรรลุพระนิพพาน.
บาทพระคาถาว่า สารมฺโภ เต น วิชฺชติ ความว่า ก็เมื่อเป็นอย่าง
นั้น แม้ความแข่งขันกัน มีอันกล่าวทำให้ยิ่งกว่ากันเป็นลักษณะเป็นต้น
อย่างนั้นว่า " เจ้าเป็นผู้ทุศีล " ว่า " พวกเจ้าเป็นผู้ทุศีล " ดังนี้ ย่อมไม่มี
คือจักไม่มีแก่เธอเลย.

84
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 85 (เล่ม 42)

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอรหัตผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้นแล้ว. แม้พระโกณฑธานเถระ ตั้งอยู่ในพระโอวาทที่
พระศาสดาประทานเเล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล. ต่อกาลไม่นานนัก
ท่านได้เหาะขึ้นไปในอากาศ จับสลากเป็นครั้งแรก๑ ดังนี้แล.
เรื่องพระโกณฑธานเถระ จบ.
๑. ได้ยินว่า ท่านได้จับสลากได้ที่ ๑ สามครั้ง คือพระศาสดาจะเสด็จไปสู่อุคคนคร ในกิจ
นิมนต์ของนางมหาสุภัททา ๑ เมื่อเสด็จไปสู่เมืองสาเกต ในกิจนิมนต์ของนางสุภัททา ๑ เมื่อ
เสด็จไปสู่สุนาปรันตชนบท ๑ ในกิจนิมนต์เหล่านั้น ต้องการแต่พระขีณาสพล้วนๆ ๕๐๐ องค์.
นัย. มโน., ๑/๒๘๓.

85
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 86 (เล่ม 42)

๕. เรื่องอุโบสถกรรม [๑๑๑]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภอุโบสถกรรม
ของอุบาสิกาทั้งหลายมีนางวิสาขาเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถา
ทณฺเฑน โคปาโล " เป็นต้น.
หญิงรักษาอุโบสถมุ่งผลต่างกัน
ดังได้สดับมา ในวันอุโบสถวันหนึ่ง หญิงประมาณ ๕๐๐ คนใน
นครสาวัตถี เป็นผู้รักษาอุโบสถ ได้ไปสู่วิหาร. นางวิสาขาเข้าไปหา
หญิงแก่ๆ ในจำนวนหญิง ๕๐๐ นั้นแล้ว ถามว่า " แน่ะแม่ทั้งหลาย พวก
ท่านเป็นผู้รักษาอุโบสถ เพื่ออะไร ? " เมื่อหญิงแก่เหล่านั้นบอกว่า " พวก
ฉันปรารถนาทิพยสมบัติ จึงรักษาอุโบสถ. " ถามพวกหญิงกลางคน,
เมื่อพวกหญิงเหล่านั้นบอกว่า " พวกฉันรักษาอุโบสถ ก็เพื่อต้องการพ้น
จากการอยู่กับหญิงร่วมสามี. " ถามพวกหญิงสาว ๆ. เมื่อพวกเขาบอกว่า
" พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อต้องการได้บุตรชายในการมีครรภ์คราวแรก. "
ถามพวกหญิงสาวน้อย. เมื่อพวกเขาบอกว่า " พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อ
ต้องการไปสู่สกุลผัวแต่ในวัยสาว ๆ. " (นาง) ได้ฟังถ้อยคำแม้ทั้งหมดของ
หญิงเหล่านั้นแล้ว ก็พาพวกเขาไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูล (ความ
ประสงค์ของหญิงเหล่านั้น) ตามลำดับ.
สรรพสัตว์ถูกส่งไปเป็นทอด ๆ
พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า " วิสาขา ธรรมดาสภาว-
ธรรมทั้งหลายมีชาติเป็นต้นของสัตว์เหล่านี้ เป็นเช่นกับนายโคบาลที่มี

86
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 87 (เล่ม 42)

ท่อนไม้ในมือ. ชาติส่งสรรพสัตว์ไปสู่สำนักชรา ชราส่งไปสู่สำนักพยาธิ
พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ มรณะย่อมตัดชีวิต ดุจบุคลตัดต้นไม้ด้วย
ขวาน. แต่เมื่อเป็นอย่างนั้น ปวงสัตว์ชื่อว่าปรารถนาวิวัฏฏะ(พระนิพพาน)
ย่อมไม่มี, มัวแต่ปรารถนาวัฏฏะเท่านั้น. " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
๕. ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ.
" นายโคบาล ย่อนต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หากิน
ด้วยท่อนไม้ ฉันใด, ชราและมัจจุ ย่อมต้อนอายุ
ของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น. "
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเชติ ความว่า นายโคบาลผู้ฉลาด
กันโคทั้งหลาย ตัวเข้าไปสู่ระหว่างคันนาด้วยท่อนไม้ ตีด้วยท่อนไม้นั้น
นั่นแหละ นำไปอยู่ ชื่อว่า ย่อมต้อน (โคทั้งหลาย) ไปสู่ที่หากิน ซึ่ง
มีหญ้าและน้ำหาได้ง่าย.
สองบทว่า อายุํ ปาเชนฺติ ความว่า ย่อมตัดอินทรีย์คือชีวิต คือ
ย่อมยังชีวิตินทรีย์ให้สิ้นไป. ในพระคาถานี้ มีคำอุปมาอุปไมย ฉะนี้ว่า
ก็ชราและมัจจุ เปรียบเหมือนนายโคบาล, อินทรีย์คือชีวิต เปรียบ
เหมือนฝูงโค, มรณะ เปรียบเหมือนสถานที่หากิน. บรรดาสภาวธรรม
เหล่านั้น ชาติส่งอินทรีย์คือชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไปสู่สำนักชรา ชราส่ง

87
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 88 (เล่ม 42)

ไปสู่สำนักพยาธิ พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ, มรณะนั้นแลตัด (ชีวิตินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย) ไป เหมือนบุคคลตัดต้นไม้ด้วยขวานฉะนั้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องอุโบสถกรรม จบ.

88
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 89 (เล่ม 42)

๖. เรื่องอชครเปรต [๑๑๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอชครเปรต
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อถ ปาปนิ กมฺมานิ " เป็นต้น.
พระมหาโมคคัลลานะเห็นเปรตถูกไฟไหม้
ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะเถระกับพระ-
ลักขณเถระลงจากเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสัตว์ชื่ออชครเปรต ประมาณ ๒๕
โยชน์ ด้วยจักษุทิพย์. เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ศีรษะของเปรตนั้น ลามถึงหาง,
ตั้งขึ้นแต่หาง ลามถึงศีรษะ. ตั้งขึ้นแต่ข้างทั้งสองไปรวมอยู่ที่กลางตัว.
เล่าการเห็นเปรตให้พระเถระฟัง
พระเถระครั้นเห็นเปรตนั้นแล้วจึงยิ้ม อันพระลักขณเถระถามเหตุ
แห่งการยิ้มแล้ว ก็ตอบว่า " ผู้มีอายุ กาลนี้ ไม่ใช่กาลพยากรณ์
ปัญหานี้, ท่านค่อยถามผมในสำนักพระศาสดาเถิด " เที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงราชคฤห์. ในกาลไปยังสำนักพระศาสดา พระลักขณเถระถามแล้ว
จึงตอบว่า " ผู้มีอายุ ผมได้เห็นเปรตตนหนึ่งในที่นั้น. อัตภาพของมัน
ชื่อว่ามีรูปอย่างนี้; ผมครั้นเห็นมันแล้ว ได้ทำการยิ้มให้ปรากฏ ก็ด้วย
ความคิดว่า 'อัตภาพเห็นปานนี้ เราไม่เคยเห็นเลย. "
พระศาสดาก็เคยทรงเห็นเปรตนั้น
พระศาสดา เมื่อจะตรัสคำเป็นต้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย สาวกของ
เรา เป็นผู้มีจักษุอยู่หนอ " ทรงรับรองถ้อยคำของพระเถระแล้ว จึง
ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น แม้เราก็ได้เห็นแล้วที่โพธิมัณฑสถาน

89
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 90 (เล่ม 42)

เหมือนกัน. แต่เราไม่พูด เพราะคิดเห็นว่า ' ก็แลชนเหล่าใดไม่พึงเชื่อ
คำของเรา ความไม่เชื่อนั้นของคนเหล่านั้น พึงเป็นไปเพื่อหาประโยชน์
เกื้อกูลมิได้ ' บัดนี้ เราได้โมคคัลลานะเป็นพยานแล้วจึงพูดได้." อัน
ภิกษุทั้งหลายทูลถามบุรพกรรมของเปรตนั้นแล้ว จึงทรงพยากรณ์ (ดัง
ต่อไปนี้) ว่า
บุรพกรรมของอชครเปรต
ดังได้ยินมา ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ
เศรษฐีชื่อว่าสุมงคล ปูพื้นที่ด้วยแผ่นอิฐทองคำ ให้สร้างวิหารในที่
ประมาณ ๒๐ อุสภะ ด้วยทรัพย์ประมาณเท่านั้นแล้ว ก็ให้ทำการฉลองด้วย
ทรัพย์ประมาณเท่านั้นเหมือนกัน. วันหนึ่ง ท่านเศรษฐีไปสู่สำนักพระ-
ศาสดาแต่เช้าตรู่ เห็นโจรคนหนึ่งนอนเอาผ้ากาสาวะคลุมร่างตลอดถึงศีรษะ
ทั้งมีเท้าเปื้อนโคลน อยู่ในศาลาหลังหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร จึงกล่าวว่า
" เจ้าคนนี้ มีเท้าเปื้อนโคลน คงจักเป็นมนุษย์ที่เที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน
แล้ว (มา) นอน. "
กรรมชั่วให้ผลชั่ว
โจรเปิดหน้าเห็นเศรษฐีแล้ว คิดในใจว่า " เอาเถอะน่ะ. เราจัก
รู้กรรมที่ควรทำแก่มัน " ดังนี้แล้วก็ผูกอาฆาตไว้ ได้เผานา (ของเศรษฐี)
๗ ครั้ง ตัดเท้าโคทั้งหลาย ในคอก ๗ ครั้ง เผาเรือน ๗ ครั้ง เขาไม่อาจ
ให้ความแค้นเคืองดับได้ แม้ด้วยทารุณกรรมมีประมาณเท่านั้น จึงทำการ
สนิทชิดเชื้อกับคนใช้ของเศรษฐีนั้นแล้ว ถามว่า " อะไรเป็นที่รักของ
เศรษฐี (นาย) ของท่าน ? " ได้ฟังว่า " วัตถุเป็นที่รักยิ่งของเศรษฐีอื่น

90
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 91 (เล่ม 42)

จากพระคันธกุฎี ย่อมไม่มี " คิดว่า " เอาละ, เราจักเผาพระคันธกุฎี ยัง
ความแค้นเคืองให้ดับ. " เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปบิณฑบาต. จึงทุบ
หม้อน้ำสำหรับดื่มและสำหรับใช้ ได้จุดไฟที่พระคันธกุฎีแล้ว.
เศรษฐีได้ทราบว่า " ข่าวว่า พระคันธกุฎีถูกไฟไหม้ " เดินมา
อยู่ ในเวลาพระคันธกุฎีถูกไฟไหม้เเล้ว จึงมาถึง แลดูพระคันธกุฎีที่ไฟ
ไหม้ ก็มิได้ทำความเสียใจแม้สักเท่าปลายขนทราย คู้แขนข้างซ้ายเข้ามา
ปรบด้วยมือข้างขวาอย่างขนานใหญ่.
ขณะนั้น ประชาชนยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ ถามท่านเศรษฐีว่า " นาย
ขอรับ เพราะเหตุไร ท่านจึงปรบมือ ในเวลาที่พระคันธกุฎีซึ่งท่านสละ
ทรัพย์ประมาณเท่านี้สร้างไว้ถูกไฟไหม้เล่า ? "
เศรษฐีตอบว่า " พ่อแม่ทั้งหลาย ข้าพเจ้าทำกรรมประมาณเท่านี้
(ชื่อว่า) ได้ฝังทรัพย์ไว้ในพระศาสนาที่ไม่สาธารณะแก่อันตรายมีไฟเป็น
ต้น, ข้าพเจ้าจึงมีใจยินดี ปรบมือด้วยคิดว่า ' เราจักได้สละทรัพย์ประมาณ
เท่านี้ สร้างพระคันธกุฎี (ถวาย) พระศาสดาแม้อีก."
ท่านเศรษฐี สละทรัพย์ประมาณเท่านั้น สร้างพระคันธกุฎีอีก ได้
ถวายแด่พระศาสดา ซึ่งมีภิกษุ ๒ หมื่นรูปเป็นบริวาร.
โจรเห็นกิริยานั้นแล้ว คิดว่า " เราไม่ฆ่าเศรษฐีนี้เสีย จักไม่อาจ
ทำให้เก้อเขินได้, เอาเถอะ, เราจักฆ่ามันเสีย, " ดังนี้แล้ว จึงซ่อนกริช
ไว้ในระหว่างผ้านุ่ง แม้เดินเตร่อยู่ในวิหารสิ้น ๗ วัน ก็ไม่ได้โอกาส.
ฝ่ายมหาเศรษฐีถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
สิ้น ๗ วัน ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บุรุษผู้หนึ่งเผานาของข้าพระองค์ ๗ ครั้ง ตัดเท้าโคในคอก ๗

91
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 92 (เล่ม 42)

ครั้ง, เผาเรือน ๗ ครั้ง, บัดนี้ แม้พระคันธกุฎี ก็จักเป็นเจ้าคนนั้น
แหละเผา ข้าพระองค์ขอให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เขาก่อน. "
ผู้ทำกรรมดีย่อมชนะผู้ทำกรรมชั่ว
โจรได้ยินคำนั้น ระทมทุกข์ว่า " เราทำกรรมอันหนักหนอ เมื่อ
เป็นอย่างนั้น บุรุษนี้ก็มิได้มีแม้สักว่าความแค้นเคืองในเราผู้ทำผิด (ยัง
กลับ) ให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เราก่อนเสียด้วย; เราคิดประทุษร้ายใน
บุรุษนี้ (ไม่สมควรเลย) แม้เทวทัณฑ์พึงตกลงบนกระหม่อมของเราผู้ไม่
ให้บุรุษผู้เห็นปานนี้อดโทษให้." ดังนี้แล้ว จึงไปหมอบลงที่ใกล้เท้าของ
เศรษฐี กล่าวว่า " นายขอรับ ขอท่านจงกรุณาอดโทษแก่ผมเถิด. เมื่อ
เศรษฐีกล่าวว่า " อะไรกันนี่ ? " จึงเรียนว่า " นายขอรับ ผมได้ทำกรรม
ประมาณเท่านี้ ๆ. ขอท่านจงอดโทษนั้นแก่ผมเถิด, "
ทีนั้น เศรษฐีถามกรรมทุก ๆ อย่างกะเขาว่า " เจ้าทำกรรมนี้ด้วย
นี้ด้วย ประมาณเท่านี้แก่เราหรือ ? " เมื่อเขารับสารภาพว่า ' ขอรับ ผม
ทำ " จึงถาม (ต่อไป) ว่า " เราไม่เคยเห็นเจ้าเลย เหตุไรเจ้าจึงโกรธ
ได้ทำอย่างนั้นแก่เรา ?."
เขาเตือนให้เศรษฐีระลึกถึงคำ ที่ตนผู้ออกจากพระนครในวันหนึ่ง
พูดแล้ว ได้บอกว่า " ผมเกิดความแค้นเคืองขึ้นเพราะเหตุนี้."
เศรษฐีระลึกถึงความแห่งถ้อยคำที่ตนพูดได้เเล้ว ให้โจรอดโทษให้
ด้วยถ้อยคำว่า " เออพ่อ เราพูดจริง, เจ้าจงอดโทษข้อนั้นแก่เราเถิด. "
แล้วกล่าวว่า 'ลุกขึ้นเถิด เราอดโทษให้แก่เจ้าละ, เจ้าจงไปเถิด. ''
โจร. นายขอรับ ถ้าท่านอดโทษแก่ผมไซร้. ขอจงทำผมพร้อม
ทั้งบุตรและภริยา ให้เป็นทาส (ผู้รับใช้) ในเรือนของท่านเถิด

92
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ – หน้าที่ 93 (เล่ม 42)

เศรษฐี. แน่ะพ่อ เมื่อเรากล่าวคำมีประมาณเท่านี้. เจ้าก็ได้ทำการ
ตัดเห็นปานนี้. เราไม่อาจจะกล่าวอะไร ๆ กับ เจ้าผู้อยู่ในเรือนได้เลย. เรา
ไม่มีกิจเกี่ยวด้วยเจ้าผู้จะอยู่ในเรือน. เราอดโทษให้เเก่เจ้า, ไปเถิด พ่อ
โจรครั้นทำกรรมนั้นแล้ว ในกาลสิ้นอายุ บังเกิดแล้วในอเวจี
ไหม้ในอเวจีสิ้นกาลนาน ในกาลบัดนี้ เกิดเป็นอชครเปรต ถูกไฟไหม้
อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ด้วยวิบาก [แห่งกรรม] ที่ยังเหลือ.
พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมของเปรตนั้นอย่างนี้แล้ว จึง
ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาคนพาล ทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่
รู้. แต่ภายหลัง เร่าร้อนอยู่เพราะกรรมอันตนทำแล้ว ย่อมเป็นเช่นกับ
ไฟไหม้ป่า ด้วยตนของตนเอง " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรม จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
๖. อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิหฑฺโฒว ตปฺปติ.
" อันคนพาล ทำกรรมทั้งหลายอันลามกอยู่ ย่อม
ไม่รู้ (สึก) บุคคลมีปัญญาทราม ย่อมเดือดร้อน ดุจ
ถูกไฟไหม้ เพราะกรรมของตนเอง. "
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถ ปาปานิ ความว่า คนพาลหาใช่ทำ
บาปทั้งหลายด้วยสามารถแห่งความโกรธอย่างเดียวไม่, แม้ทำอยู่ก็ไม่รู้สึก.
แต่เมื่อทำบาปอยู่ จะชื่อว่า ไม่รู้ว่า " เราทำบาป " ย่อมไม่มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " ย่อมไม่รู้ เพราะความไม่รู้ว่า " ผล
ของกรรมนี้ มีชื่อเห็นปานนี้."

93