No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 461 (เล่ม 41)

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นไม่แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ จึงเทียบ
เคียงมนต์ของตนกับพระสัพพัญญุตญาณ. แต่ไม่รู้อุบายเครื่องป้องกัน.
พระศาสดาตรัสบอกอุบายป้องกัน
พราหมณ์ทูลถามพระศาสดาว่า "ก็อุบายเครื่องป้องกันมีอยู่หรือ ?
พระเจ้าข้า."
พระศาสดา พึงมี พราหมณ์.
พราหมณ์. พึงมีอย่างไร ?
พระศาสดา. ถ้าท่านพึงอาจเพื่อทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน
ให้ทำตั่งไว้ตรงกลางมณฑปนั้น แล้วปูอาสนะไว้ ๘ หรือ ๖ ที่ ล้อม
รอบตั่งนั้น ให้สาวกของเรานั่งบนอาสนะเหล่านั้น ให้ทำพระปริตร ๗
วันไม่มีระหว่าง. อันตรายของเด็กนั้นพึงเสื่อมไป ด้วยอุบายอย่างนี้.
พราหมณ์. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจทำมณฑปเป็นต้นได้.
แต่จักได้สาวกของพระองค์อย่างไร ?
พระศาสดา. เมื่อท่านทำกิจเท่านี้แล้ว เราจักส่งสาวกของเราไป
พราหมณ์ทูลรับว่า "ดีละ พระโคดมผู้เจริญ" แล้วทำกิจนั้น
ทั้งหมดใกล้ประตูเรือนของตนแล้ว ได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.
พวกภิกษุไปสวดพระปริตร
พระศาสดาทรงส่งภิกษุทั้งหลายไป. ภิกษุเหล่านั้นไปนั่งในมณฑป
นั้น. พราหมณ์สามีภริยาให้เด็กนอนบนตั่งแล้ว. ภิกษุทั้งหลายสวดพระ-
ปริตร ๗ คืน ๗ วันไม่มีระหว่าง. ในวันที่ ๗ พระศาสดาเสด็จมาเอง.
เมื่อพระศาสดานั้นเสด็จไปแล้ว. พวกเทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกัน
แล้ว.

461
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 462 (เล่ม 41)

ก็อวรุทธกยักษ์ตนหนึ่งบำรุงท้าวเวสวัณ ๑๒ ปี เมื่อจะได้พรจาก
สำนักท้าวเวสวัณนั้น ได้กล่าวว่า "ในวันที่ ๗ จากวันนี้ ท่านพึงจับ
เอาเด็กนี้; เพราะฉะนั้น ยักษ์ตนนั้นจึงได้มายืนอยู่. ก็เมื่อพระศาสดา
เสด็จไปในมณฑปนั้น, เมื่อพวกเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน. พวก
เทวดาผู้มีศักดิ์น้อยถดถอยไป ไม่ได้โอกาส หลีกไปตลอด ๑๒ โยชน์
ถึงอวรุทธกยักษ์ก็ได้หลีกไปยืนอย่างนั้นเหมือนกัน.
เด็กพ้นอันตรายกลับมีอายุยืน
แม้พระศาสดาได้ทรงทำพระปริตรตลอดคืนยังรุ่ง. เมื่อ ๗ วัน
ล่วงแล้ว, อวรุทธกยักษ์ไม่ได้เด็ก. ก็ในวันที่ ๘ เนื้ออรุณพอขึ้นเท่านั้น,
สองสามีภรรยานำเด็กมาให้ถวายบังคมพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า
" ขอเจ้าจงมีอายุยืนเถิด."
พราหมณ์. พระโคดมผู้เจริญ ก็เด็กจะดำรงอยู่นานเท่าไร ?
พระศาสดา. ๑๒๐ ปี พราหมณ์.
ลำดับนั้น ๒ สามีภรรยาขนานนามเด็กนั้นว่า "อายุวัฒนกุมาร."
อายุวัฒนกุมารนั้น เติบโตแล้ว อันอุบาสก ๕๐๐ คนแวดล้อมเที่ยวไป.
การกราบไหว้ท่านผู้มีคุณทำให้อายุยืน
ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มี
อายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู, ได้ยินว่า อายุวัฒนกุมารพึงตายใน
วันที่ ๗, บัดนี้อายุวัฒนกุมารนั้น (ดำรงอยู่ ๑๒๐ ปี) อันอุบาสก ๕๐๐
คนแวดล้อมเที่ยวไป; เหตุเครื่องเจริญอายุของสัตว์เหล่านี้ เห็นจะมี."

462
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 463 (เล่ม 41)

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งประชุมกัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
"ด้วยเรื่องชื่อนี้," จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อายุเจริญอย่างเดียว
เท่านั้นก็หาไม่, ก็สัตว์เหล่านี้ไหว้ท่านผู้มีพระคุณ ย่อมเจริญด้วยเหตุ
๔ ประการ, พ้นจากอันตราย, ดำรงอยู่จนตลอดอายุทีเดียว" ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๘. อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ.
"ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ
พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อม
ต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิวาทนสีลิสฺส คือ ผู้ไหว้เป็นปกติ
ได้แก่ ผู้ขวนขวายกิจคือการไหว้เนือง ๆ. บทว่า วุฑฺฒาปจายิโน ความ
ว่า แก่คฤหัสถ์ผู้อ่อนน้อมหรือผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ แม้ใน
ภิกษุหนุ่มและสามเณรบวชในวันนั้น, ก็หรือแก่บรรพชิตผู้อ่อนน้อมหรือ
ผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ในท่านผู้แก่กว่าโดยบรรพชาหรือโดย
อุปสมบท (หรือ ) ในท่านผู้เจริญด้วยคุณ.
สองบทว่า จตฺตาโร ธมฺมา ความว่า เมื่ออายุเจริญอยู่, อายุนั้น
ย่อมเจริญสิ้นกาลเท่าใด, ธรรมทั้งหลายแม้นอกนี้ ก็เจริญสิ้นกาลเท่านั้น
เหมือนกัน, ด้วยว่าผู้ใดทำกุศลที่ยังอายุ ๕๐ ปี ให้เป็นไป, อันตราย

463
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 464 (เล่ม 41)

แห่งชีวิตของผู้นั้นพึงเกิดขึ้นแม้ในกาลมีอายุ ๒๕ ปี; อันตรายนั้นย่อม
ระงับเสียได้ ด้วยความเป็นผู้กราบไหว้เป็นปกติ. ผู้นั้นย่อมดำรงอยู่ได้จน
ตลอดอายุทีเดียว. แม้วรรณะเป็นต้นของผู้นั้น ย่อมเจริญพร้อมกับอายุแล.
นัยแม้ยิ่งกว่านี้ ก็อย่างนี้แล.
ก็ชื่อว่าการเจริญแห่งอายุ ที่เป็นไปโดยไม่มีอันตราย หามีไม่.
ในเวลาจบเทศนา อายุวัฒนกุมาร ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อม
กับอุบาสก ๕๐๐ แล้ว. แม้ชนเหล่าอื่นเป็นอันหาก ก็บรรลุอริยผล
ทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องอายุวัฒนกุมาร จบ.

464
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 465 (เล่ม 41)

๙. เรื่องสังกิจจสามเณร [๘๙]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสังกิจจสามเณร
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ วสฺสสตํ ชีเว" เป็นต้น.
กุลบุตร ๓๐ คนออกบวช
ได้ยินว่า กุลบุตรประมาณ ๓๐ คนในกรุงสาวัตถี ฟังธรรมกถา
แล้ว บวชถวายชีวิตในศาสนาของพระศาสดา. ภิกษุเหล่านั้นอุปสมบท๑
ได้ ๕ พรรษา เข้าไปเฝ้าพระศาสดา สดับธุระ ๒ ประการ คือ
" คันธธุระ วิปัสสนาธุระ" ไม่ทำอุตสาหะในคันถธุระ เพราะเป็นผู้
บวชในเวลาเป็นคนแก่ มีความประสงค์จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ ทูลให้
พระศาสดาตรัสบอกก้มมัฏฐานจนถึงพระอรหัตแล้ว จึงทูลอำลาพระ-
ศาสดาว่า "ข้าพระองค์จักไปสู่แดงป่าแห่งหนึ่ง พระเจ้าข้า."
พระศาสดาตรัสถามว่า "พวกเธอจักไปยังที่ไหน ? เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลว่า "สถานชื่อโน้น," ได้ทรงทราบว่า "ภัยจักเกิดขึ้น
ในที่นั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น เพราะอาศัยคนกินเดนคนหนึ่ง ก็แต่ว่าเมื่อ
สังกิจจสามเณรไปแล้ว ภัยนั้นจักระงับ, เมื่อเป็นเช่นนั้นกิจบรรพชิตของ
ภิกษุเหล่านั้นจักถึงความบริบูรณ์."
๑. อุปสมฺปทาย ปญฺจวสฺสา หุตฺวา เป็นผู้มีพรรษา ๕ โดยการอุสมบท.

465
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 466 (เล่ม 41)

ประวัติของสังกิจจสามเณร
สามเณรของพระสารีบุตรเถระชื่อสังกิจจสามเณร มีอายุ ๗ ปี
โดยกำเนิด. ได้ยินว่า มารดาของสังกิจจสามเณรนั้น เป็นธิดาของ
ตระกูลมั่งคั่งในกรุงสาวัตถี. เมื่อสามเณรนั้นยังอยู่ในท้อง มารดานั้น
ได้ทำกาละในขณะนั้นนั่นเอง ด้วยความเจ็บไข้อย่างหนึ่ง. เมื่อมารดา
นั้นถูกเผาอยู่ เนื้อส่วนที่เหลือไหม้ไป เว้นแต่เนื้อท้อง. ลำดับนั้น
พวกสัปเหร่อยกเนื้อท้องของนางลงจากเชิงตะกอน แทงด้วยหลาวเหล็ก
ในที่ ๒-๓ แห่ง. ปลายหลาวเหล็กกระทบทางตาของทารก. พวก
สัปเหร่อแทงเนื้อท้องอย่างนั้นแล้ว จึงโยนไปบนกองถ่าน ปกปิดด้วย
ถ่านนั่นแลแล้วหลีกไป. เนื้อท้องไหม้แล้ว. ส่วนทารกได้เป็นเช่นกับรูป
ทองคำบนกองถ่าน เหมือนนอนอยู่ในกลีบแห่งดอกบัว. แท้จริง สัตว์ผู้
มีในภพเป็นที่สุด แม้ถูกภูเขาสิเนรุทับอยู่ ชื่อว่ายังไม่บรรลุพระอรหัต
แล้วสิ้นชีวิตไม่มี. ในวันรุ่งขึ้น พวกสัปเหร่อมาด้วยคิดว่า "จักดับเชิง
ตะกอน" เห็นทารกนอนอยู่อย่างนั้น เกิดอัศจรรย์และแปลกใจ คิดว่า
" ชื่ออย่างไรกัน ? เมื่อสรีระทั้งสิ้นถูกเผาอยู่บนฟืนเท่านี้ ทารกไม่ไหม้
แล้ว, จักมีเหตุอะไรกันหนอ ?" จึงอุ้มเด็กนั้นนำไปภายในบ้านแล้ว
ถามพวกหมอทายนิมิต. พวกหมอทายนิมิตพูดว่า "ถ้าทารกนี้ จักอยู่
ครองเรือน. พวกญาติคลอด ๗ เครือสกุล จักไม่ยากจน; ถ้าจักบวช,
จักเป็นผู้อันสมณะ ๕๐๐ รูปแวดล้อมเที่ยวไป." พวกญาติขนานนามว่า
สังกิจจะ เพราะหางตาของเขาแตกด้วยขอเหล็ก.
สมัยอื่น เด็กนั้นปรากฏว่า "สังกิจจะ." ครั้งนั้น พวกญาติ

466
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 467 (เล่ม 41)

เลี้ยงเขาไว้ ด้วยปรึกษากันว่า "ช่างเถิด, ในเวลาที่เขาเติบโตแล้วพวก
เราจะให้เขาบวชในสำนักพระสารีบุตรผู้เป็นเจ้าของเรา. ในเวลาที่ตน
มีอายุได้ ๗ ขวบ สังกิจจะนั้นได้ยินคำพูดของพวกเด็ก ๆ ว่า "ในเวลา
ที่เจ้าอยู่ในท้อง มารดาของเจ้าได้กระทำกาละแล้ว, เมื่อสรีระมารดาของ
เจ้านั้นแม้ถูกเผาอยู่ เจ้าก็ไม่ไหม้" จึงบอกแก่พวกญาติว่า "เขาว่า
ฉันพ้นภัยเห็นปานนั้น, ประโยชน์อะไรของฉันด้วยเรือน. ฉันจักบวช."
ญาติเหล่านั้นรับว่า " ดีละพ่อ" แล้วนำไปยังสำนักพระสารีบุตรเถระ
ได้ถวายด้วยกล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงให้เด็กนี้บวช." พระเถระ
ให้ตจปัญจกกัมมัฏฐานแล้วก็ให้บวช. สามเณรนั้นบรรลุพระอรหัตพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทา ในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง, ชื่อว่าสังกิจจสามเณรเพียง
เท่านี้.
รับสั่งให้ภิกษุไปลาพระสารีบุตร
พระศาสดาทรงทราบว่า "เมื่อสามเณรนี้ไปแล้ว ภัยนั้นจักระงับ,
เมื่อเป็นเช่นนั้น กิจแห่งบรรพชิตของภิกษุเหล่านั้น จักถึงความบริบูรณ์"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอำลาสารีบุตรพี่ชาย
ของพวกเธอแล้วจึงไป." ภิกษุเหล่านั้น รับว่า "ดีละ" แล้วไปยัง
สำนักของพระเถระ เมื่อพระเถระถามว่า "อะไร ? ผู้มีอายุ" จึงกล่าว
ว่า "พวกกระผมเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว มีประสงค์จะ
เข้าไปป่าจึงทูลอำลา, เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้แก่พวก
กระผมว่า 'พวกเธออำลาพี่ชายของพวกเธอแล้วจึงไป,' ด้วยเหตุนั้น
พวกกระผมจึงมาในที่นี้."

467
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 468 (เล่ม 41)

พระเถระ คิดว่า "ภิกษุเหล่านี้ จักเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงเห็น
เหตุอย่างหนึ่งแล้วส่งมาที่นี่, นี่อะไรกันหนอแล ? รู้เรื่องนั้นแล้ว จึง
กล่าวว่า "ผู้มีอายุ ก็สามเณรของพวกท่านมีหรือ ?"
พวกภิกษุ. ไม่มี ท่านผู้มีอายุ.
พระเถระ. ถ้าไม่มี, พวกท่านจงพาสังกิจจสามเณรนี้ไป.
พวกภิกษุ. อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ. เพราะอาศัยสามเณร ความ
กังวลจักมีแก่พวกกระผม, ประโยชน์อะไรด้วยสามเณร สำหรับพวก
ภิกษุผู้ที่อยู่ในป่า.
พระเถระ. ท่านผู้มีอายุ เพราะอาศัยสามเณรนี้ ความกังวลจัก
ไม่มีแก่พวกท่าน, ก็แต่ว่าเพราะอาศัยพวกท่าน ความกังวลจักมีแก่
สามเณรนี้, ถึงพระศาสดาเมื่อจะทรงส่งพวกท่านมายังสำนักเรา ทรง
หวังจะส่งสามเณรไปกับพวกท่านจึงทรงส่งมา, พวกท่านจงพาสามเณรนี้
ไปเถิด.
ภิกษุ ๓๐ รูปไปทำสมณธรรม
ภิกษุเหล่านั้นรับว่า "ดีละ" รวมเป็น ๓๑ รูปพร้อมทั้งสามเณร
อำลาพระเถระออกจากวิหารเที่ยวจาริกไป บรรลุถึงบ้านหนึ่ง ซึ่งมี
พันสกุลในที่สุด ๑๒๐ โยชน์. พวกมนุษย์เห็นภิกษุเหล่านั้นมีจิตเลื่อมใส
อังคาสโดยเคารพแล้ว ถามว่า "ท่านเจ้าข้า พวกท่านจะไปไหน ?"
เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่า "จะไปตามสถานที่ผาสุก ผู้มีอายุ" จึงหมอบลง
แทบเท้าอ้อนวอนว่า "ท่านเจ้าข้า เมื่อพวกพระผู้เป็นเจ้าอาศัยบ้านนี้
อยู่ตลอดภายในพรรษา, พวกกระผมจะสมาทานศีลห้าทำอุโบสถกรรม."

468
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 469 (เล่ม 41)

พระเถระทั้งหลายรับแล้ว. ครั้งนั้น พวกภิกษุจัดแจงที่พักกลางคืน
ที่พักกลางวัน ที่จงกรมและบรรณศาลา ถึงความอุตสาหะว่า "วันนี้
พวกเรา, พรุ่งนี้ พวกเรา" ได้ทำการบำรุงภิกษุเหล่านั้น.
พวกภิกษุตั้งกติกากันอยู่จำพรรษา
ในวันเข้าจำพรรษา พระเถระทั้งหลายทำกติกวัตรกันว่า "ผู้มี
อายุ พวกเราเรียนกัมมัฏฐาน ในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ยังทรงพระ-
ชนม์อยู่, แต่เว้นความถึงพร้อมด้วยข้อปฏิบัติ พวกเราไม่อาจยังพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายให้ยินดีได้, อนึ่ง ประตูอบายก็เปิดแล้วสำหรับพวกเรา
ทีเดียว, เพราะฉะนั้น เว้นเวลาภิกษาจารในตอนเช้า และเวลาบำรุง
พระเถระตอนเย็น ในกาลที่เหลือ พวกเราจักไม่อยู่ในที่แห่งเดียวกัน ๒
รูป; ความไม่ผาสุกจักมีแก่ท่านผู้ใด, เมื่อท่านผู้นั้นตีระฆัง, พวกเรา
จักไปสำนักท่านผู้นั้น ทำยา; ในส่วนกลางคืนหรือส่วนกลางวันอื่นจากนี้
พวกเราจักไม่ประมาทประกอบกัมมัฏฐานเนือง ๆ."
ทุคตบุรุษมาอาศัยอยู่กับพวกภิกษุ
เมื่อภิกษุเหล่านั้น ครั้นทำกติกาอย่างนั้นอยู่. บุรุษเข็ญใจคนหนึ่ง
อาศัยธิดาเป็นอยู่, เมื่อทุพภิกขภัยเกิดขึ้นในที่นั้น, มีความประสงค์จะอาศัย
ธิดาคนอื่นเป็นอยู่ จึงเดินทางไป, แม้พระเถระทั้งหลายเที่ยวไปบิณฑบาต
ในบ้าน มาถึงที่อยู่ อาบน้ำในแม่น้ำแห่งหนึ่งในระหว่างทางนั่งบน
หาดทราย ทำภัตกิจ. ในขณะนั้น บุรุษนั้นถึงที่นั้นแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สุด
ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลายถามเขาว่า "จะไปไหน ?"
บุรุษนั้นบอกเนื้อความนั้นแล้ว. พระเถระทั้งหลายเกิดความกรุณาในบุรุษ

469
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ – หน้าที่ 470 (เล่ม 41)

นั้น จึงกล่าวว่า "อุบาสก ท่านหิวจัด, จงไป, นำใบไม้มา, พวกเรา
จักให้ก้อนภัตแก่ท่านรูปละก้อน" เมื่อเขานำใบไม้มาแล้ว; จึงคลุกด้วย
แกงและกับ โดยทำนองที่จะฉันด้วยตน ๆ ได้ให้ก้อนภัตรูปละก้อน.
ทราบว่า ธรรมเนียมมีดังนี้ ภิกษุผู้จะให้ภัตแก่ผู้มาถึงในเวลาฉัน ไม่
ให้ภัตตอนยอด๑ พึงให้น้อยบ้าง มากบ้าง โดยทำนองที่จะฉันด้วยตน
นั้นแล; เพราะฉะนั้น ภิกษุแม้เหล่านั้น จึงได้ให้อย่างนั้น. บุรุษนั้นทำ
ภัตกิจแล้วไหว้พระเถระทั้งหลาย ถามว่า "ท่านขอรับ พวกพระผู้เป็นเจ้า
ใคร ๆ นิมนต์ไว้หรือ ?"
พวกภิกษุ. ไม่มีการนิมนต์ดอก อุบาสก, พวกมนุษย์ถวายอาหาร
เช่นนี้แหละทุกวัน ๆ.
ทุคตบุรุษคิดว่า "เราแม้ขยันขันแข็งทำงานตลอดกาลเป็นนิตย์
ก็ไม่อาจได้อาหารเช่นนั้น, ประโยชน์อะไรของเราด้วยการไปที่อื่น, เรา
จักเป็นอยู่ในสำนักของภิกษุเหล่านี้นี่แหละ." ลำดับนั้น จึงกล่าวกะภิกษุ
เหล่านี้ว่า "กระผมปรารถนาจะทำวัตรปฏิบัติอยู่ในสำนักของพวกพระผู้-
เป็นเจ้า."
พวกภิกษุ. ดีละ อุบาสก.
ทุคตบุรุษหนีพวกภิกษุไปเยี่ยมธิดา
เขาไปที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้นกับภิกษุเหล่านั้น ทำวัตรปฏิบัติเป็น
อันดี ยังพวกภิกษุให้รักใคร่อย่างยิ่ง โดยล่วงไป ๒ เดือน ปรารถนาจะ
ไปเยี่ยมธิดา คิดว่า "ถ้าเราจักอำลาพวกพระผู้เป็นเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า
๑. อนามัฏฐบิณฑบาต ภิกษุละเมิดธรรมเนียมนี้ ท่านปรับอาบัติทุกกฏ.

470