No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 844 (เล่ม 3)

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๗๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
มหาอำมาตย์ผู้อุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ส่งทรัพย์สำหรับ
จ่ายจีวรไปกับทูต ถวายแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรสั่งว่า เจ้าจงจ่าย
จีวรด้วยทรัพย์จ่ายจีวรนี้ แล้วให้ท่านพระอุปนันทะครองจีวร จึงทูตนั้น
เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระ-
อุปนันทศากยบุตรว่า ท่านเจ้าข้า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล กระผมนำ
มาถวายเฉพาะพระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร
เมื่อทูลนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ตอบ
คำนี้ กะทูตนั้นว่า พวกเรารับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ได้ รับได้แต่จีวร
อันเป็นของควรโดยกาลเท่านั้น
เมื่อท่านตอบอย่างนั้นแล้ว ทูตนั้นได้ถามท่านว่า ก็ใคร ๆ ผู้เป็น
ไวยาจักรของท่านมีหรือ
ขณะนั้น อุบาสกผู้หนึ่งได้เดินทางไปสู่อารามด้วยกรณียะบางอย่าง
จึงท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวคำนี้กะทูตนั้นว่า อุบาสกนั้นแล
เป็นไวยาจักรของภิกษุทั้งหลาย
จึงทูตนั้น สั่งอุบาสกนั้นให้เข้าใจแล้ว กลับเข้าไปหาท่านพระ-
อุปนันทศากยบุตรแจ้งว่า ท่านเจ้าข้า อุบาสกที่พระคุณเจ้าแสดงเป็น
ไวยาวัจกรนั้น กระผมสั่งให้เข้าใจแล้ว ขอพระคุณเจ้าจงเข้าไปหา เขา
จักให้ท่านครองจีวรตามกาล

844
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 845 (เล่ม 3)

ขณะนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไม่ได้พูดอะไรกะอุบาสกนั้น
แม้ครั้งที่สองแล ท่านมหาอำมาตย์นั้น ก็ได้ส่งทูตไปในสำนักท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรว่า ขอพระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรนั้น ข้าพเจ้าต้อง
การจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ก็มิได้พูดอะไรกะอุบาสกนั้น
แม้ครั้งที่สามแล ท่านมหาอำมาตย์นั้น ก็ได้ส่งทูตไปในสำนักท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรว่า ขอพระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรนั้น ข้าพเจ้าต้อง
การจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น
ก็สมัยนั้น เป็นคราวประชุมของชาวนิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกา
กันไว้ว่า ผู้ใดมาภายหลัง ต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ
คราวนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปหาอุบาสกนั้น ครั้น
แล้วได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ฉันต้องการจีวร
อุบายสกนั้นขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า โปรดรอสักวันหนึ่งก่อน วันนี้
เป็นสมัยประชุมของชาวนิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้ใดมาภาย
หลัง ต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวคาดคั้นว่า ท่านจงให้จีวรแก่
ฉันในวันนี้แหละ แล้วยึดชาพกไว้
ครั้น อุบาสกนั้นถูกคาดคั้น จึงจ่ายจีวรถวายท่านพระอุปนันทศากย-
บุตร แล้วจึงได้ไปภายหลัง คนทั้งหลายพากันถามอุบาสกนั้นว่า เหตุไร
ท่านจึงได้มาภายหลัง ท่านต้องเสียเงิน ๔๐ กหาปณะ จึงอุบาสกนั้นได้
เล่าเรื่องนั้นให้คนเหล่านั้นฟัง คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะเนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก

845
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 846 (เล่ม 3)

ไม่สันโดษ จะทำการช่วยเหลือคนเหล่านี้บ้าง ก็ทำไม่ได้ง่าย ไฉนพระ-
อุปนันทศากยบุตร เมื่ออุบาสกขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กรุณารอสักวันหนึ่ง
ก่อน ก็รอไม่ได้
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตร เมื่ออุบาสกขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กรุณารอสักวันหนึ่งก่อน ก็
รอไม่ได้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธออันอุบาสกขอผัดว่า ท่าน
เจ้าข้า กรุณารอสักวันหนึ่งก่อน ก็รอไม่ได้ ดังนี้ จริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโฆษบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่
ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอเมื่ออุบาสกขอผัดว่า กรุณารอสักวันหนึ่ง จึง
ไม่รอเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส

846
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 847 (เล่ม 3)

โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุม-
ชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อม-
ใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยอเนก
ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน
บำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุก-
คลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็น
คนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก
ปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
ยาก ๑ เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกัน
อาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดใน
อนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ-
สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนั้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

847
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 848 (เล่ม 3)

พระบัญญัติ
๒๙. ๑๐. อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี
คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่าย
จีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าทูตนั้น
เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะ
ท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้น
อย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่
จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็
ใคร ๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดง
ชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสกให้เป็นไวยาจักร ด้วยคำว่า คนนั้น
แลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้า
ใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยา-
วัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่าน
ครองจีวรตามกาล ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวง
พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สอง
สามครั้ง ยังไวยาจักรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วย
อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงยืนต่อหน้า ๔ ครั้ง
๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก เธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง
เป็นอย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้
ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่ง
กว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้

848
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 849 (เล่ม 3)

พึงไปเองทรัพย์ก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร
มาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด
ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอา
ทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่านอย่างได้ฉิบหายเสียหาย นี้เป็น
สามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๑] บทว่า อนึ่ง...เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของ
ภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็นอารมณ์ใคร่จะให้ภิกษุครอง
ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ทรงราชย์
ที่ชื่อว่า ราชอำมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับความชุบเลี้ยง
ของพระราชา
ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์ โดยกำเนิด
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ เจ้าเรือน ยกพระราชา ราชอำมาตย์
พราหมณ์ นอกนั้นชื่อว่าคหบดี
ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้ว
มุกดา แก้วลาย หรือแก้วผลึก.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้
เฉพาะ.
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ให้ครอง คือ จงถวาย.

849
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 850 (เล่ม 3)

ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่าย
จีวรนี้ นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ภิกษุนั้น
พึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่
พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ก็ใคร ๆ ผู้เป็นไวยาจักรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวร
พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบายสกให้เป็นไวยาจักรด้วยคำว่า
คนนั้นแลเป็นไวยาจักรของภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรกล่าวว่า จงให้แก่คุณ
นั้น หรือว่านั้นจักเก็บไว้ หรือว่าคนนั้นจักแลก หรือว่าคนนั้น
จักจ่าย ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาจักรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาจักรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจ
แล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล ภิกษุผู้ต้อง
การจีวรเข้าไปหาไวยาจักรแล้วพึงทวง พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูป
ต้องการจีวร อย่าพูดว่า จงให้จีวรแก่รูป จงนำจีวรมาให้รูป จงแลก
จีวรให้รูป จงจ่ายจีวรให้รูป พึงพูดได้แม้ครั้งที่สอง พึงพูดได้แม้
ครั้งที่สาม ถ้าให้จัดสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็น
การดี ถ้าให้จัดสำเร็จไม่ได้ พึงไปยืนนิ่งต่อหน้าในที่ใกล้ไวยาจักร
นั้น ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ไม่พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม เมื่อเขา
ถามว่า มาธุระอะไร พึงกล่าวว่า รู้เอาเองเถิด ถ้านั่งบนอาสนะก็ดี
รับอามิสก็ดี กล่าวธรรมก็ดี ชื่อว่าหักการยืนเสีย พึงยืนได้ครั้งที่สอง
พึงยืนได้แม้ครั้งที่สาม ทั้ง ๔ ครั้งแล้ว พึงยืนได้ ๔ ครั้ง ทวง ๕ ครั้ง
แล้ว พึงยืนได้ ๒ ครั้ง ทวง ๖ ครั้งแล้ว จะพึงยืนไม่ได้ ถ้าเธอ
พยายามให้ยิ่งกว่านั้นยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นทุกกฏในประโยคที่

850
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 851 (เล่ม 3)

พยายาม เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง
ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ
พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น
ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึง
ที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง
ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย

851
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 852 (เล่ม 3)

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ
พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น
ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ
ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง
ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ดังนี้.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ
พึงคืนจีวรที่เสียสละแล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้
ในประโยคว่า ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้
ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์
สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อย
หนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่าน
อย่าได้ฉิบหายเสียเลย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ดังนี้ ความว่า
นี้เป็นความถูกยิ่งในเรื่องนั้น.

852
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 853 (เล่ม 3)

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๒] ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ยัง
จีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าไม่ถึง ยังจีวรนั้น
ให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ยังจีวรนั้น
ให้สำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ
ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าไม่ถึง ยังจีวร
นั้นให้สำเร็จ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๗๓] ภิกษุทวง ๓ ครั้ง ยืน ๖ ครั้ง ภิกษุทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง
ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ๑ ภิกษุไม่ได้ทวง ไวยาจักรถวายเอง ๑ เจ้าของทวง

853