No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 834 (เล่ม 3)

ผู้ใคร่ในจีวรที่ดี คือ ความเป็นผู้ปรารถนาจีวรที่วิเศษยิ่งด้วยจิต. บทว่า
อุปาทาย นั้น เชื่อมความกับบทว่า อาปชฺเชยฺย เจ นี้. อนึ่ง เพราะเหตุ
ที่ภิกษุใด ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี ย่อมถึงความกำหนด, ภิกษุนั้น
ย่อมเป็นผู้มีความต้องการจีวรดี คือ มีความต้องการด้วยจีวรที่มีค่ามาก;
ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า กลฺยาณกมฺยตํ อุปาทาย นั้น จึงทรง
ละพยัญชนะเสีย ตรัสคำนั้นเท่านั้น เพื่อแสดงเฉพาะอรรถที่ต้องการ.
แต่เพราะอาบัติ ยังไม่ถึงที่สุดด้วยเหตุสักว่า การถึงความกำหนดจีวรนี้
เท่านั้น; ฉะนั้น จึงตรัสคำว่า ตสฺส วจเนน แปลว่า ตามคำของภิกษุ
นั้น เป็นต้น.
ในคำว่า อนาปตฺติ ญาตกานํ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงเห็นอรรถอย่างนี้
ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ถึงความกำหนดในจีวรของพวกญาติ.
คำว่า มหคฺฆํ เจตาเปตุกามสฺส อปฺปคฺฆํ เจตาเปติ มีความว่า
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กล่าวแก่คฤหบดี ผู้ใคร่จะให้จ่ายจีวรมีราคา ๒๐ บาท
ว่า อย่าเลย ด้วยจีวรมีราคา ๒๐ นี้ แก่รูป, จงถวายจีวรมีค่า ๑๐ บาท
หรือ ๘ บาท เถิด.
คำว่า อปฺปคฺฆํ นี้ ตรัสไว้ เพื่อป้องกันราคาที่มากเกินไปนั่นเอง.
แต่แม้ในจีวรที่เสมอกัน (มีราคาเท่ากัน ) ก็ไม่เป็นอาบัติ. ก็แล จีวรนั้น
เสมอกัน (เท่ากัน ) ด้วยอำนาจแห่งราคาเท่านั้น ไม่ใช่ด้วยอำนาจประมาณ
(ขนาด). จริงอยู่ สิกขาบทนี้ มีการให้เพิ่มราคา; เพราะฉะนั้น แม้จะ
พูดกะคฤหบดี ผู้ใคร่จะให้จ่ายอันตรวาสกมีราคา ๒๐ ว่า จงถวายจีวรมี

834
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 835 (เล่ม 3)

ราคาเพียงเท่านี้แหละ ดังนี้ ก็ควร. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. แม้
สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับตทุตตริสิกขาบทนั่นแล.
พรรณนาปฐมอุปักขฏสิกขาบทที่ ๘ จบ
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะบุรุษผู้หนึ่งว่า ผมจักยังท่านพระอุปนันทะให้
ครองจีวร แม้บุรุษอีกผู้หนึ่งนั้น ก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ผมก็จักยังท่าน
พระอุปนันทะให้ครองจีวร
ภิกษุรูปหนึ่งถือการเที่ยวบิณฑบาต ได้ยินถ้อยคำที่เจรจากันนี้ของ
บุรุษทั้งสองนั้น จึงเข้าไปหาพระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้วได้กล่าว
คำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อาวุโสอุปนันทะ ท่านเป็นผู้มีบุญ
มาก ในสถานที่โน้น บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะบุรุษอีกผู้หนึ่งว่า ผม
จักยังท่านพระอุปนันทะให้ครองจีวร แม้บุรุษอีกผู้หนึ่งนั้นได้กล่าวอย่างนี้
ว่า แม้ผมก็จักยังท่านพระอุปนันทะให้ครองจีวร
ท่านพระอุปนันทะกล่าวรับรองว่า มีขอรับ เขาทั้งสองนั้นเป็น
อุปัฏฐากของผม ครั้นแล้วท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้เข้าไปหาบุรุษ
ทั้งสองคนนั้น แล้วสอบถามเขาว่า จริงหรือ ท่านทั้งหลาย ข่าวว่า
ท่านทั้งสองประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร

835
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 836 (เล่ม 3)

บุ. ความจริง พวกผมได้พูดกันไว้อย่างนี้ว่า จักยังท่านพระ-
อุปนันทะให้ครองจีวร
อุ. ถ้าท่านทั้งสองประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร ก็จงให้ครองจีวร
ชนิดนี้เถิด เพราะจีวรทั้งหลายที่อาตมาไม่ใช้ แม้ครองแล้วจักทำอะไรได้
บุรุษทั้งสองคนนั้น จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในขณะ
นั้นว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก ไม่
สันโดษ จะให้ครองจีวรก็ทำได้ไม่ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทะอันพวก
เราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้ามาหาแล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษทั้งสองนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้
ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตรอันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลาย
แล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธออันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
ได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลายแล้วถึงการกำหนดในจีวร จริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนอุปนันทะ เขาเหล่านั้นเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ
อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า

836
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 837 (เล่ม 3)

ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่
ได้ ไม่ควรทำ คนที่ไม่ใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควรหรือ
ไม่ควร ของที่มีอยู่ หรือไม่มี ของคนที่ไม่ใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธออันเขาทั้งหลายไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ยังเข้าไปหาพ่อเจ้าเรือน
ทั้งหลายผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงการกำหนดในจีวรได้ การกระทำของเธอ
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ
เธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ
เพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดย
อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น
คนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมัก
น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส
การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำ
ธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย
แล้วรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ

837
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 838 (เล่ม 3)

รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
ยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ
ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๒๘. ๙. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ
สองคน ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ ไว้เฉพาะภิกษุ
ว่า เราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร
เฉพาะผืน ๆ เหล่านี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน
ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้วถึงการกำหนดใน
จีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ขอท่านทั้งหลายจงจ่ายจีวรเช่นนั้น หรือ
เช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ เหล่านี้แล้ว ทั้งสองคน
รวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผู้ผืนเดียวเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถือ
เอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

838
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 839 (เล่ม 3)

สิกขาบทวิภังค์
[๖๗] บทว่า อนึ่ง...เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของ
ภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็นอารมณ์แล้วใคร่จะให้ภิกษุครอง.
บทว่า สองคน คือ สองคนด้วยกัน
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี
ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก
ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้ว
มุกดา แก้วลาย แก้วผลึก ผ้า ด้าย หรือฝ่าย.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเหล่านี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัด
หาไว้เฉพาะ.
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ให้ครอง คือ จักถวาย
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาทั้งสองคน
ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ถวายเฉพาะ.
บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้
ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไร
ถวายท่าน.
บทว่า เข้าไปหาแล้ว คือ ไปถึงเรือนแล้ว เข้าไปหาในที่แห่งใด
แห่งหนึ่ง.

839
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 840 (เล่ม 3)

บทว่า ถึงการกำหนดในจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้ยาว ขอให้
กว้าง ขอให้เนื้อแน่น หรือขอให้เนื้อละเอียด.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเหล่านี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัด
หาไว้เฉพาะ.
บทว่า เช่นนั้นหรือเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อ
ละเอียด.
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ยังรูปให้ครอง คือ จงให้.
บทว่า ทั้งสองคนรวมกัน คือ รวมทรัพย์ทั้งสองรายเข้าเป็นราย
เดียวกัน.
บทว่า ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี คือ มีความประสงค์ผ้าที่ดี
ต้องการผ้าที่มีราคาแพง.
เขาจ่ายจีวรยาวก็ดี กว้างก็ดี เนื้อแน่นก็ดี เนื้อละเอียดก็ดี ตาม
คำของเธอ เป็นทุกกฏในประโยคที่เขาจ่าย เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา
ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-

840
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 841 (เล่ม 3)

ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร
เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ
พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้
เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่:-
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร
เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ
พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น
ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ
ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-

841
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 842 (เล่ม 3)

ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้า
เจ้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของ
จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ
พึงคืนจีวรที่เสียสละแล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๘] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณา
ไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนทั้งหลายแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิส-
สัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป
หาเจ้าเรือนทั้งหลายแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนทั้งหลายแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิส-
สัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ... ต้องอาบัติทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

842
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 843 (เล่ม 3)

ไม่ต้องอาบัติ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่า เป็นญาติ...ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๖๙] ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้
ปวารณาไว้ ๑ ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วย
ทรัพย์ของตน ๑ เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวร
มีราคาถูก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๙
พรรณนาทุติยอุปักขฏสิกขาบท
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในทุติยอุปักขฏสิกขาบทโดยนัยนี้แล.
เพราะว่า สิกขาบทแรกนั้น เช่นเดียวกับอนุปัตติแห่งสิกขาบทที่สองนี้.
ในสิกขาบทก่อน ภิกษุเพียงทำความเบียดเบียนแก่คน ๆ เดียวเท่านั้น ใน
สิกขาบทที่ ๒ กระทำแก่คน ๒ คน. นี้เป็นความแปลกกันในสิกขาบทนี้.
คำที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกับสิกขาบทก่อนทั้งนั้น. และผู้ศึกษาพึงทราบว่า
เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้กระทำความเบียดเบียนแก่คนมากคนถือเอา เหมือน
ทำแก่คน ๒ คน ถือเอาฉะนั้น.
พรรณนาทุติยอุปักขฏสิกขาบทที่ ๙ จบ

843