No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 379 (เล่ม 38)

๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร
ว่าด้วยพิธีปลงบาปของพระอริยะ
[๑๑๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่า ชาณุสโสณี สนานเกล้า
ในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดไปยืนอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทอดพระเนตรเห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ ผู้สนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่ง
ห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในที่
ไม่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามชาณุสโสณีพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์
เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่
อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดมายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง วันนี้เป็นวันอะไร
ของสกุลพราหมณ์ ชาณุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
วันนี้เป็นวันปลงบาปของสกุลพราหมณ์.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมี
ด้วยประการไรเล่า.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ในวัน
อุโบสถ สนานเกล้า นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ทาแผ่นดินด้วยโคมัยอัน
สด ลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสดแล้ว สำเร็จการนอนระหว่างกองทรายและ
เรือนไฟ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมลุกขึ้นประนมอัญชลี นมัสการไฟ ๓ ครั้ง
ในราตรีนั้น ด้วยการกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ดังนี้ และย่อมยังไฟให้อิ่มหนำ
ด้วยเนยใส น้ำมัน และเนยข้นอันเพียงพอ และโดยล่วงราตรีนั้นไป ก็

379
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 380 (เล่ม 38)

เลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีโดย
ประการอย่างอื่น ส่วนพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะย่อมมีโดยประการ
อย่างอื่น.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะ
ย่อมมีอย่างไรเล่า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรด
ทรงแสดงธรรมโดยประการที่เป็นพิธีปลงบาป ในวินัยของพระอริยะแก่
ข้าพระองค์ด้วยเถิด.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว.
ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งใน
สัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฏฐิย่อม
ปลงบาปจากมิจฉาทิฏฐิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสังกัปปะ
เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสังกัปปะ ย่อมพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวาจา เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปราย-
ภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวาจา ย่อมปลงบาปจากมิจฉา-
วาจา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉากัมมันตะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้า

380
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 381 (เล่ม 38)

ทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉา-
กัมมันตะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉากัมมันตะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
วิบากแห่งมิจฉาอาชีวะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาอาชีวะ
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวายามะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งใน
ปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวายามะ
ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวายามะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉา-
สติ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้
แล้ว ย่อมละมิจฉาสติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสติ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
วิบากแห่งมิจฉาสมาธิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสมาธิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสมาธิ
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาญาณะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งใน
ปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาญาณะ
ย่อมปลงบาปจากมิจฉาญาณะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉา-
วิมุตติ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็น
ดังนี้แล้ว ย่อมมิจฉาวิมุตติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวิมุตติ ดูก่อน
พราหมณ์ พิธีปลงบาปในวินัยแห่งพระอริยะ ย่อมมีด้วยประการอย่าง
นี้แล.
ชาณุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลง
บาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ส่วนพิธีปลงบาป
ในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพิธีปลงบาป

381
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 382 (เล่ม 38)

ในวินัยแห่งพระอริยะนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่ม
แจ้งยิ่งนัก ฯลฯขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗
อรรถกถาปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗
ปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปจฺโจโรหณี ได้แก่ การลอยบาป. บทว่า ปตฺถริตฺวา ได้
แก่ ลาด. บทว่า อนฺตรา จ เวลํ อนฺตรา จ อคฺยาคารํ ได้แก่ ระหว่าง
กองทราย และเรือนไฟ.
จบอรรถกถาปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗
๘. ทุติยปัจโจโรหณีสูตร
ว่าด้วยพิธีปลงบาปของพระอริยะ
[๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง พิธีปลงบาปอันเป็น
อริยะ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะนั้น จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พิธีปลงบาปอันเป็น
อริยะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐิแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งใน
สัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฏฐิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉา-
สังกัปปะ.... แห่งมิจฉาวาจา... แห่งมิจฉากัมมันตะ.... แห่งมิจฉาอาชีวะ...

382
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 383 (เล่ม 38)

แห่งมิจฉาวายามะ.... แห่งมิจฉาสติ... แห่งมิจฉาสมาธิ... แห่งมิจฉาญาณะ...
แห่งมิจฉาวิมุตติแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั่งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริย-
สาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวิมุตติ ย่อมปลงบาป
จากมิจฉาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นพิธีปลงบาป
อันเป็นอริยะ.
จบทุติยปัจโจโรหณีสูตรที่ ๘
อรรถกถาทุติยปัจโจโรหณีสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๘ ทุติยปัจโจโรหณี ทรงแสดงแก่ภิกษุสงฆ์ คำที่เหลือ
ทุกแห่ง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยปัจโจโรหณีสูตรที่ ๘
จบปัจโจโรหณีวรรคที่ ๒
๙. ปุพพังคสูตร๑
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
[๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่ง
ดวงอาทิตย์เมื่อจะอุทัย คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สัมมาทิฏฐิ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะย่อมเพียงพอแก่บุคคล
ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจาย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมา-
กัมมันตะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะย่อมเพียงพอ
๑. สูตรที่ ๙ - ๑๐ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

383
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 384 (เล่ม 38)

แก่บุคคลผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมา-
อาชีวะ สัมมาสติย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิ
ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสติ สัมมาญาณะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี
สัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาญาณะ.
จบปุพพังคสูตรที่ ๙
๑๐. อาสวสูตร
ว่าด้วยบุคคลเจริญธรรม ๑๐ ประการให้มากย่อมสิ้นอาสวะ
[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล
อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย.
จบอาสวสูตรที่ ๑๐
จบปัจโจโรหณีวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมอธรรมสูตร ๒. ทุติยอธรรมสูตร ๓. ตติยอธรรมสูตร
๔. อาชินสูตร ๕.สคารวสูตร ๖. โอริมสูตร ๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร
๘.ทุติยปัจโจโรหณีสูตร ๙.ปุพพังคสูตร ๑๐. อาสวสูตร.

384
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 385 (เล่ม 38)

ปาริสุทธิวรรคที่ ๓
๑. ปริสุทธิสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑๐ ที่เว้นจากสุคตวินัยแล้วไม่มี
[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรม
บริสุทธิ์ผุดผ่อง เว้นจากสุคตวินัยแล้วย่อมไม่มี ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน
คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมบริสุทธิ์ผุดผ่อง เว้น
จากสุคตวินัยแล้วย่อมไม่มี.
จบปริสุทธิสูตรที่ ๑
ปาริสุทธิวรรคที่ ๓
อรรถกถาปริสุทธิสูตรที่ ๑
ปาริสุทธิวรรคที่ ๓ ปริสุทธิสูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปริสุทฺธา ได้แก่ ไร้มลทิน. บทว่า ปริโยทาตา ได้แก่
ประภัสสร เป็นแดนซ่านแห่งรัศมี.
จบอรรถกถาปริสุทธิสูตรที่ ๑
๒. อุปปันนสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑๐ ที่เว้นจากสุคตวินัยแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น
[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๑๐ ประการนี้ ที่ยัง

385
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 386 (เล่ม 38)

ไม่เกิดขึ้น เว้นจากสุคตวินัยแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น ธรรม ๑๐ ประการเป็น
ไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐
ประการนี้แล ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นจากสุคตวินัยแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น.
จบอุปปันนสูตรที่ ๒
อรรถกถาอุปปันนสูตรที่ ๒ เป็นต้น
สูตรที่ ๒ เป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุปปันนสูตรที่ ๒ เป็นต้น
จบอรรถกถาปาริสุทธิวรรคที่ ๓
๓. มหัปผลสูตร๑
ว่าด้วยธรรม ๑๐ ที่มีผลมากมีอานิสงส์มาก เว้นจากสุคตวินัยแล้วไม่มี
[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมมี
ผลมากมีอานิสงส์มาก เว้นจากสุคตวินัยแล้วย่อมไม่มี ธรรม ๑๐ ประการ
เป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เว้นสุคตวินัยแล้ว
ย่อมไม่มี.
จบมหัปผลสูตรที่ ๓
๔. ปริโยสานสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่กำจัดราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุด
[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมมี
๑. สูตรที่ ๓ - ๑๑ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

386
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 387 (เล่ม 38)

การกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด เว้นจากสุคตวินัยแล้วย่อมไม่มี ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐
ประการนี้แล เป็นธรรมมีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็น
ที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด นอกจากสุคตวินัยแล้วย่อมไม่มี.
จบปริโยสานสูตรที่ ๔
๕. เอกันตสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อควานสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เว้นจากสุคติวินัย
แล้วย่อมไม่มี ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เว้น จากสุคต-
วินัยแล้วย่อมไม่มี.
จบเอกันตสูตรที่ ๕
๖. ปฐมภาวิตสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคล

387
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 388 (เล่ม 38)

เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นจากสุคตวินัยแล้ว
ย่อมไม่มี ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำ
ให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นจากสุคตวินัยแล้วย่อมไม่มี.
จบปฐมภาวิตสูตรที่ ๖
๗. ทุติยภาวิตสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑๐ ที่มีผลมากมีอานิสงส์มาก
[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีผลมาก เว้นจากสุคตวินัยแล้ว
ย่อมไม่มี ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิฯลฯ สัมมาวิมุตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เว้นจากสุคตวินัย
แล้วย่อมไม่มี.
จบทุติยภาวิตสูตรที่ ๗
๘. ตติยภาวิตสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่บุคคลเจริญแล้ว กำจัดราคะ โทสะ โมหะได้
[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มี
การกำจัด โทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด เว้นจากสุคตวินัยแล้ว
ย่อมไม่มี ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

388