No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 239 (เล่ม 38)

เสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูก่อนอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับ
โดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นการทำกิจแม้
ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วย
ทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ
ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูก่อน
อานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่
รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของ
เขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำ
กิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ได้
วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงควานเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูก่อนอานนท์ ส่วน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า แต่รู้ชัดซึ่งแจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง
บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป
เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่
ถึงความเสื่อม ดูก่อนอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณ
ในบุคคลได้.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้
ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธ

239
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 240 (เล่ม 38)

ของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อม
ไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไป
ทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูก่อนอานนท์
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็น
จริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหู-
สูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อ
ตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่าง
เดียว ไม่ถึงความเสื่อม ก่อนอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือ
ประมาณในบุคคลได้.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้
ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่าน
ของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กรทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อม
ไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไป
ทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูก่อนอานนท์
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็น
จริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหู-
สูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อ
ตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่าง

240
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 241 (เล่ม 38)

เดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูก่อนอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อม
ประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของ
คนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่ง
ดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูก่อนอานนท์ ในสองคน
นั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็น
ที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น
กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง การทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอด
ด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย บุคคลนี้ดีกว่า และ
ประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแส
แห่งธรรมย่อมถูกต้อง บุคคลนี้ ใคร่เล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต
ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อม
ทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคล
ได้.
ดูก่อนอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอด
มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณ
เครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล ดูก่อนอานนท์
บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล ปรากฏอยู่ในโลก ดูก่อนอานนท์ บุรุษชื่อ
ปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด บุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบ
ด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หา
มิได้ บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด บุรุษชื่อปุราณะ

241
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 242 (เล่ม 38)

ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของ
บุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูก่อนอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วย
องค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้.
จบมิคสาลาสูตรที่ ๕
อรรถกถามิคสาลาสูตรที่ ๕
คำใดจะพึงกล่าวก่อนในเบื้องต้นแห่งสูตรที่ ๕ คำนั้น ก็กล่าวไว้
แล้วในฉักกนิบาต. ก็ในคำว่า ทุสฺลีโล โหติ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้.
บทว่า ทุสฺลีโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีศีล. บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่
ผลสมาธิ. บทว่า ปุญฺญาวิมุตฺต ได้แก่ ผลญาณ. บทว่า ปนฺปชานาติ
ได้แก่ ไม่รู้โดยการเรียนและการสอบถาม. ในคำว่า ทุสฺสีลฺยํ อปริเสสํ
นิรุชฺฌติ นี้ ความทุศีล ๕ อย่าง โสดาปัตติมรรคละได้ก่อน ความทุศีล
๑๐ อย่าง พระอรหัตมรรคละได้ ในขณะผลจิต [คืออรหัตผล] ความทุศีล
เหล่านั้น เป็นอัน ชื่อว่ามรรคละได้แล้ว. ทรงหมายถึงขณะแห่งผลาจิต
ในสูตรนี้ จึงตรัสว่า นิรุชฺฌติ ก็ศีลของปุถุชนย่อมขาดด้วยเหตุ ๕
ประการ คือ ต้องอาบัติปาราชิก ลาสิกขา เข้ารีดเดียรถีย์ บรรลุ
พระอรหัต ตาย. ในเหตุ ๕ ประการนั้น เหตุ ๓ ประการข้างต้น เป็นไป
เพื่อความเสื่อม ประการที่ ๔ เป็นไปเพื่อความเจริญ ประการที่ ๕
ไม่เป็นไปเพื่อเสื่อมหรือเพื่อเจริญ. ถามว่า ก็ศีลนี้ขาดเพราะบรรลุพระ-
อรหัตอย่างไร. ตอบว่า เพราะว่าศีลของปุถุชนเป็นกุศลกรรมส่วนเดียว

242
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 243 (เล่ม 38)

เท่านั้น ส่วนพระอรหัตมรรค เป็นรูปเพื่อสิ้นกุศลกรรมและอกุศลกรรม
ศีลขาดเพราะบรรลุพระอรหัตอย่างนี้.
บทว่า สวเนนปิ อกตํ โหติ ความว่า ข้อที่ควรฟังก็เป็นอันไม่ได้
ฟัง. ในบทว่า พาหุสจฺเจนปิ อกตํ โหติ นี้ ความว่า ข้อที่ควรทำ
ด้วยความเพียร ก็เป็นอันไม่ได้ทำ เพราะไม่ได้ทำความเพียรนั้น จึงเสื่อม
จากสวรรค์บ้าง จากมรรคบ้าง. บทว่า ทิฏฺฐิยาป อปฺปฏิวิทฺธํ โหติ
ความว่า ข้อที่พึงแทงตลอดด้วยทิฏฐิความเห็น ก็เป็นอันไม่แทงให้ตลอด
ไม่กระทำให้ประจักษ์. บทว่า สามายิกํ วิมุตฺตึ น ลภติ ความว่า อาศัย
การฟังธรรมตามกาลสมควรแก่กาล ย่อมไม่ได้ปีติเพราะปราโมทย์. บทว่า
หานาย ปเรติ ความว่า ย่อมถึงความเสื่อม. บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ
ความว่า บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ย่อมรู้โดยการเรียนและสอบถามว่า
ความทุศีล ๕ อย่าง ย่อมดับไม่มีส่วนเหลือ.
บทว่า ตสฺส สวเนนปิ กตํ โหติ ความว่า ข้อที่ควรฟัง ก็เป็น
อันได้ฟัง. บทว่า พาหุสจฺเจนปิ กตํ โหติ ความว่า กิจที่ควรทำด้วย
ความเพียร โดยที่สุด แม้เพียงวิปัสสนาที่ไม่กำลัง ก็เป็นอันได้กระทำ.
บทว่า ทิฏฺฐิยาปิ สุปฺปฏิวิทฺธํ โหติ ความว่า การแทงตลอดปัจจัย โดย
ที่สุดแม้ด้วยโลกิยปัญญา ก็เป็นอันได้ทำ. จริงอยู่ ปัญญาของบุคคลผู้นี้
ย่อมชำระศีล เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษ ด้วยศีลที่ปัญญาชำระแล้ว. บทว่า
ปมาณิกา ได้แก่ ถือเอาจำนวนในบุคคลทั้งหลาย. บทว่า ปมินนฺติ ได้
แก่ ควรนับชั่ง. บทว่า เอโก หีโน ได้แก่ เสื่อมจากคุณทั้งหลายผู้เดียว.
บทว่า ปณีโต ได้แก่ สูงสุดด้วยคุณทั้งหลายผู้เดียว. บทว่า ตํ หิ ได้แก่

243
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 244 (เล่ม 38)

ทำการนับนั้น. บทว่า อภิกฺกนฺตตโร แปลว่า ดีกว่า. บทว่า ปณีตตโร
แปลว่า สูงสุดกว่า.
บทว่า ธมฺมโสโต นิพฺพหติ ความว่า วิปัสสนาญาณที่ดำเนินไป
กล้าแข็ง ย่อมชักพา คือให้บรรลุอริยภูมิ. บทว่า ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย
ความว่า ใครจะพึงรู้เหตุนั้น ๆ. บทว่า สีลวา โหติ ได้แก่ ย่อมมีศีล
ด้วยโลกิยศีล. บทว่า ยตฺถสฺส ตํ สีลํ ความว่า ถึงวิมุตติในพระอรหัต
แล้ว ศีลก็ชื่อว่าดับไม่เหลือเลย. ข้อยุติในศีลนั้น ก็กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
ในองค์ทั้งสองนอกจากนี้ อนาคามิผล ชื่อว่าวิมุตติ.
ในสูตรที่ ๕ ก็ตรัสพระอรหัตอย่างเดียว. คำที่เหลือในสูตรที่ ๕
นั้น ก็พึงทราบตามแนวแห่งนัยที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถามิคสาลาสูตรที่ ๕
๖. อภัพพสูตร
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการมีอยู่ในโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงบังเกิดในโลก
[๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระ-
ตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรื่องในโลก ๓ ประการเป็นไฉน
คือ ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ
นี้แล ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิด
ในโลก ธรรมวินัยอันพระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วไม่พึงรุ่งเรืองในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรม ๓ ประการนี้มีอยู่ในโลก ฉะนั้น พระ-

244
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 245 (เล่ม 38)

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม
๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ๓ ประการเป็นไฉน
คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม
๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้
๓ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละราคะ
โทสะ โมหะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ๓ ประการเป็นไฉน
คือ การกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ การเสพทางผิด ๑ ความ
หดหู่แห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล
ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบาย
ไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน
คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑ ความไม่มีสัมปชัญญะ ๓ ความฟุ้งซ่าน
แห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว
ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความ
หดหู่แห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว
ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่าน
แห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ๑
ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑

245
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 246 (เล่ม 38)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละ
ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความ
เป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความฟุ้งซ่าน ๑
ความไม่สำรวม ๑ ความทุศีล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม
๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้
ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความ
ฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่
ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็น
ผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความ
ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ
ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความ
ไม่มีหิริ ๑ ความไม่มีโอตตัปปะ ๑ ความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความ

246
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 247 (เล่ม 38)

เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มี
ความละอาย ไม่มีความเกรงกลัว เป็นผู้ประมาท ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ บุคคลเป็นผู้มี
มิตรชั่ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์
ความเกียจคร้านได้ บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความสำรวม ความทุศีลได้ บุคคลเป็นผู้ทุศีล ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความ
เป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ก็ไม่อาจละความเป็น
ผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ บุคคลเป็น
ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ก็ไม่อาจละความกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การ
เสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตหดหู่ ก็ไม่อาจละ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ บุคคลเป็นผู้มีวิจิกิจฉา ก็ไม่
อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลไม่ละราคะ โทสะ โมหะแล้ว ก็ไม่
อาจละชาติ ชรา มรณะได้.
ดูภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละชาติ
ชรา มรณะได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา
มรณะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละ
ราคะ โทสะ โมหะได้ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิ-
กิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการ
นี้แล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ โมหะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละ
ธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

247
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 248 (เล่ม 38)

ได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ การกระทำไว้ใจโดยอุบายไม่แยบคาย ๑
การเสพทางผิด ๑ ความหดหู่แห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละ
ธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละการ
กระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิต
ได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑ ความไม่มีสัมป-
ชัญญะ ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม
๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การ
เสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม
๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ
ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็น
พระอริยะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มี
จิตคิดแข่งดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว
จึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่าน
แห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละ
ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความฟุ้งซ่าน ๑
ความไม่สำรวม ๑ ความเป็นผู้ทุศีล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละ
ธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความ
เป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็น

248