No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 488 (เล่ม 37)

๗. ปฐมสัปปุริสสูตร
[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้
๘ ประการเป็นไฉน คือ ให้ของสะอาด ๑ ให้ของประณีต ๑ ให้
ตามกาล ๑ ให้ของสมควร ๑ เลือกให้ ๑ ให้เนืองนิตย์ ๑ เมื่อให้
จิตผ่องใส ๑ ให้แล้วดีใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘
ประการนี้แล.
สัปบุรุษย่อมให้ทาน คือ ข้าวและน้ำที่
สะอาด ประณีตตามกาล สมควร เนืองนิตย์ ใน
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี บริจาคของ
มากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย ทานผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง
ย่อมสรรเสริญทานที่สัปบุรุษให้แล้วอย่างนี้
เมธาวีบัณฑิตผู้มีศรัทธา มีใจอันสละแล้ว บริจาค
ทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความ
เบียดเบียนเป็นสุข.
จบ สัปปุริสสูตรที่ ๗
อรรถกถาสัปปุริสทานสูตรที่ ๗
สัปปุริสทานสูตรนี้ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สุจึ ได้แก่ ให้ของที่สะอาดคือที่บริสุทธิ์สดใส บทว่า
ปณีตํ ได้แก่ สมบูรณ์ดี. บทว่า กาเลน ได้แก่ สมควรแก่การประกอบ

488
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 489 (เล่ม 37)

ขวนขวาย. บทว่า กปฺปิยํ ได้แก่ ให้แต่ของที่เป็นกัปปิยะ. บทว่า
วิเจยฺย เทติ ความว่า เลือกปฏิคคาหก หรือทานโดยตั้งใจให้อย่างนี้ว่า
ทานที่ให้แล้วแก่ผู้นี้ จักมีผลมาก ที่ให้แก่ผู้นี้ไม่มีผลมาก ดังนี้แล้วให้.
จบ อรรถกถาปฐมสัปปุริสทานสูตรที่ ๗

489
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 490 (เล่ม 37)

๘. ทุติยสัปปุริสสูตร
[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล
ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก
คือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มารดาบิดา ๑
แก่บุตรภรรยา ๑ แก่หมู่คนผู้เป็นทาสกรรมกร ๑ แก่มิตรอำมาตย์ ๑
แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ๑ แก่พระราชา ๑ แก่เทวดาทั้งหลาย ๑
แก่สมณพราหมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆเมื่อตกให้ข้าวกล้า
เจริญงอกงาม ย่อมตกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชน
เป็นอันมาก ฉันใด สัปบุรุษก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดในตระกูล
ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมา
คือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่มารดา
บิดา... แก่สมณพราหมณ์.
สัปบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นผู้
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน บำเพ็ญตน
เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ในชั้นต้นระลึก
ถึงอุปการะที่ท่านทำไว้ก่อน ย่อมบูชามารดา
บิดาโดยชอบธรรม สัปบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
แล้ว มีศีลเป็นที่รัก ทราบธรรมเล้ว ย่อมบูชา
บรรพชิตไม่ครองเรือน ไม่มีบาปประพฤติ
พรหมจรรย์ สัปบุรุษนั้นเป็นผู้เกื้อกูลต่อพระ-
ราชา ต่อเทวดา ต่อญาติและสหายทั้งหลาย

490
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 491 (เล่ม 37)

ตั้งมั่นแล้วในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
สัปบุรุษนั้น กำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว
ย่อมประสบโลกอันเกษม.
จบ สัปปุริสสูตรที่ ๘
อรรถกถาสัปปุริสสูตรที่ ๘
สัปปุริสสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อตฺถาย ได้แก่ เพื่อต้องการประโยชน์. บทว่า หิตา
สุขาย ได้แก่ เพื่อต้องการเกื้อกูล เพื่อต้องการสุข. บทว่า ปุพฺพเปตานํ
ได้แก่ พวกญาติผู้ไปสู่ปรโลก. ในพระสูตรนี้ เมื่อพระพุทธเจ้ายัง
ไม่อุบัติ ย่อมได้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ์ พระโพธิสัตว์ พระปัจเจก-
พุทธเจ้า ในครั้งพุทธกาล ย่อมได้แก่พระพุทธเจ้า และสาวกของ
พระพุทธเจ้า. ก็ท่านเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่ญาติเหล่านั้นตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า พหนุนํ วต อตฺถาย
สปฺปญฺญ ฆรมาวสํ ได้แก่ บุคคลผู้มีปัญญา เมื่ออยู่ครองเรือน
ย่อมอยู่เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มากเท่านั้น. บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า
ก่อนทีเดียว. บทว่า ปุพฺเพกตมนุสฺสรํ ได้แก่ เมื่อหวลระลึกถึง
อุปการคุณที่กระทำไว้ก่อนของบิดามารดา. บทว่า สหธมฺเมน
ความว่า บูชาด้วยการบูชาด้วยปัจจัยพร้อมทั้งเหตุ. บทว่า อปาเป
พฺรหฺมจาริโน ความว่า นอบน้อม คือถึงความประพฤติอ่อนน้อม
แก่ท่านเหล่านั้น. บทว่า เปสโล แปลว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก.
จบ อรรถกถาปัปปุริสสูตรที่ ๘

491
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 492 (เล่ม 37)

๙. ปุญญาภิสันทสูตร
[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้ นำ
ความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ. มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์
เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุข ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑ นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์
เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ นำพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็น
สรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์
เป็นสรณะ. นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๓ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้. เป็นมหาทาน อัน
บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็น
ของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่
รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ทาน ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม.
วินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย
ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้น

492
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 493 (เล่ม 37)

ให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หา
ประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร
ความไม่เบียดเบียน ประมาณมิได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
ทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน
เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคย
กระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็น
วิญญูไม่เกลียด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการ
ที่ ๔ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจาก
อทินนาทาน ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญ
ห้วงกุศลประการที่ ๕ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญ
ห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท
ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการ
ที่ ๗ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา
และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความ

493
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 494 (เล่ม 37)

ไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อม
เป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน
หาประมาณมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๕
ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่ง
พระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
อันบัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญู
ไม่เกลียด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘
นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘
ประการนี้แล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไป
เพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.
จบ ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙
อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙
ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทานานิ ได้แก่ เจตนาทาน. ความของบทมีอาทิว่า
อคฺคญฺญานิ ดังนี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
จบ อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙

494
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 495 (เล่ม 37)

๑๐. สัพพลหุสสูตร
[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ใน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบา
ที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อม
ยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ใน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร
อย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อม
ยังการกล่าวด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อม
ยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

495
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 496 (เล่ม 37)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลแล้ว เจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อม
ยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด
ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำไห้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็น
ไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่ม
สุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่
ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
จบ สัพพลหุสสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่ ๑๐
สัพพลุหุสสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปาณาติปาโต ได้แก่ เจตนาเป็นเหตุทำสัตว์มีปราณ
ให้ล่วงไป. บทว่า สพฺพลหุโส แปลว่า เพลากว่าวิบากทั้งหมด.

496
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 497 (เล่ม 37)

บทว่า อปฺจายุกสํวตฺตนิโก ความว่า เป็นผู้มีอายุน้อยเพราะกรรม-
วิบากนิดหน่อยนั้น หรือเมื่อพอให้ปฏิสนธิ สัตว์ที่อยู่ในท้องมารดา
หรือสัตว์ผู้พอออกจากท้องมารดาแล้วย่อมย่อยยับ, ความจริง
วิบากเห็นปานนี้ ไม่ใช่เป็นวิบากเครื่องใหลออกจากกรรมอะไร ๆ
อื่น นี้เป็นทางไปเฉพาะปาณาติบาตเท่านั้น. บทว่า โภคพฺยสนสํ-
วตฺตนิโก ความว่า ทรัพย์เพียงกากนิกหนึ่ง ไม่ตั้งอยู่ในมือโดยประการใด
อทินนาทานย่อมยังความวอดวายแห่งโภคสมบัติให้เป็นไปโดยประการนั้น.
บทว่า สปตฺตเวรสํวตฺตนิโก โหติ ความว่า ย่อมสร้างเวรพร้อมกับ
ศัตรู. จริงอยู่ ผู้นั้นมีศัตรูมาก อนึ่ง ผู้ใดเห็นเขาเข้าย่อมยังเวร
ให้เกิดในผู้นั้น ไม่ดับไปด้วยว่าวิบากเห็นปานนี้ เป็นวิบากเครื่อง
ให้ออกแห่งความผิดในภัณฑะของคนอื่นที่เขารักษาคุ้มครองไว้.
บทว่า อภตพฺภกฺขานสํวตฺตนิโก โหติ ความว่า ทำการกล่าวตู่
ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงให้เป็นไป. กรรมที่ผู้หนึ่งผู้ใดทำแล้ว ย่อม
ไปตกบนกระหม่อมของผู้นั้นนั่นแล. บทว่า มิตฺเตหิ เภทนสํวตฺตนิโก
ความว่า ย่อมยังความแตกจากมิตรให้เป็นไป เขาทำบุคคลใด ๆ
ให้เป็นมิตร บุคคลนั้น ๆ ย่อมแตกไป. บทว่า อมนาปสทฺทสํวตฺตนิโก
ความว่า ย่อมยังเสียงที่ไม่พอใจให้เป็นไป วาจาใด ๆ เป็นคำเสียดแทง
หยาบคาย เผ็ดร้อน ขัดข้อง ตัดเสียซึ่งความรัก เขาได้ฟังแต่วาจานั้น
เท่านั้นในที่ ๆ ไปแล้วไปเล่า. หาได้ฟังเสียงที่น่าชอบใจไม่ เพราะ
วิบากเห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นทางไปแห่งผรุสวาจา. บทว่า อนาเทยฺย-
วาจาสํวตฺตนิโก ความว่า ย่อมยังคำที่ไม่ควรยึดถือให้เป็นไป ถึง
ความเป็นผู้ที่จะถูกค้านว่า เพราะเหตุไรท่านจึง ใครจะเชื่อ

497