No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 158 (เล่ม 37)

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า
ย่อมพ้นไปจากทุกข์ ดูก่อนภิกษุอริยสาวกได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่พยากรณ์ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่
พยากรณ์ในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้ อริยสาวก
ผู้ได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พรั่น ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่ถึงความ
สะดุ้งในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์.
ดูก่อนภิกษุ ความทะยานอยาก ความหมายรู้ ความสำคัญ
ความซึมซาบ ความถือมั่นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก...
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก
ก็หามิได้ นี้เป็นความเดือดร้อน ดูก่อนภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมไม่รู้ชัดความเดือดร้อน เหตุเกิดความเดือดร้อน ความดับ
ความเดือดร้อน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ ความเดือดร้อน
ความเดือดร้อนย่อมเจริญแก่เขา เขาย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อม
ไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมรู้ชัดความเดือดร้อน
เหตุเกิดความเดือดร้อน ความดับความเดือดร้อน ปฏิปทาเครื่อง
ให้ถึงความดับความเดือดร้อน ความเดือดร้อนของอริยสาวกนั้น
ย่อมดับ ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อมไม่พรั่น
ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่ถึงความสะดุ้งในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์ ดูก่อน

158
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 159 (เล่ม 37)

ภิกษุนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ถึงความสงสัยในวัตถุที่เรา
ไม่พยากรณ์ ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ.
จบ อัพยากตสูตรที่ ๑
อัพยากตวรรคที่ ๑
อรรถกถาอัพยากตสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๖ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อพฺยากตวคฺถูสุ ความว่า ในวัตถุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
มิได้ตรัส โดยพยากรณ์มีเอกังสพยากรณ์เป็นต้น. บทว่า สตฺโต
ได้แก่ ตถาคต. บทว่า ทิฏฺฐฺคตเมตํ นี้ เป็นเพียงมิจฉาทิฏฐิ. ชื่อว่า
สัตว์ผู้ไม่ถูกทิฏฐินั้นยึดไว้ ย่อมไม่มี. บทว่า ปฏิปทํ ได้แก่ อริยมรรค.
บทว่า น ฉมฺภติ ความว่า ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจทิฏฐิ. แม้ใน
บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตณฺหาคตํ ความว่า ตัณหาอัน
สัมปยุตด้วยทิฏฐิ. แม้ในบทมีอาทิว่า สญฺญาคตํ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ด้วยว่าบรรดาบทเหล่านั้น สัญญาที่สัมปยุตด้วยทิฏฐินั่นแหละ พึง
ทราบว่า สัญญาคตะ ความหมายรู้ มานะที่อิงอาศัยทิฏฐินั้นนั่นแหละ
หรือความสำคัญหมายรู้ที่อิงอาศัยทิฏฐินั่นแหละ พึงทราบว่า มัญญิตะ
ความสำคัญหมายรู้ ธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ซึ่งอิงอาศัยทิฏฐิ

159
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 160 (เล่ม 37)

นั่นแหละ พึงทราบว่า ปปัญจิตะ ธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า อุปาทาน
ความยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่าอุปาทานความยึดมั่น
ภาวะคือความหวนระลึกผิดด้วยทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่า ชื่อว่า
วิปปฏิสาร ความร้อนใจ ก็ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงถือเอาทิฏฐิ ๖๒ ด้วยทิฏฐิศัพท์ และทรงถือเอา
โสดาปัตติมรรคนั่นแหละ ด้วยทิฏฐินิโรธคามินีปฏิปทาศัพท์
จบ อรรถกถาอัพยากตสูตรที่ ๑

160
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 161 (เล่ม 37)

๒. ปุริสคติสูตร
[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและ
อนุปาทาปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ ๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม
ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้า
กรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจ-
ขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาด้วย เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัด
ในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อม
พิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัย
คือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้
โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุนั้น
ย่อมปรินิพพานในระหว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีต
ไม่มีแล้วไซร้...เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ... ย่อมพิจารณาเห็น
บทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ...
อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัม-

161
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 162 (เล่ม 37)

ภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบ
เหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน ละเก็ดร่อนออก
แล้วดับไป ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพาน
ในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่พึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพาน
ในเมื่ออายุเลยกึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผา
อยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บฏิบัติ
อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพาน
โดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผ่าอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือ
กองไม้เล็ก ๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกอง
ไม้เล็ก ๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน เผ่ากองหญ้าหรือกองไม้เล็ก ๆ
นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพาน

162
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 163 (เล่ม 37)

โดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างดีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ย่อม ๆ สะเก็ดนั้นพึงไห้เกิดไฟและควันที่กองหญ้า
หรือกองไม้ย่อม ๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้า
หรือกองไม้ย่อม ๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแส
ในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่
ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ใหญ่ ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือ
กองไม้ใหญ่ ๆ นั้น ให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้
ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขา
ที่สุดชายน้ำ หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพ
ในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมมีแล้วไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็น
มาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

163
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 164 (เล่ม 37)

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบ
ระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้ง
แล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ...อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ
ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา
วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อนุปาทาปรินิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้
และอนุปาทาปรินิพพาน.
จบ ปุริสคติสูตรที่ ๒
อรรถกถาปุริสคติสูตรที่ ๒
ปุริสคติสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปุริสคติโย ได้แก่ ญาณคติของบุรุษ, บทว่า อนุปาทา
ปรินิพฺพานํ ได้แก่ ปรนิพพานอันหาปัจจัยมิได้. บทว่า โน จสฺส
ความว่า ถ้ากรรมอันบังเกิดในอัตตภาพอันเป็นอดีต จักไม่ได้มีแล้ว
ไซร้. บทว่า โน จ เม สิยา ความว่า ในอัตตภาพนี้ ในกาลบัดนี้
กรรมก็ไม่พึงมีแก่เรา. บทว่า น ภวิสฺสติ ความว่า บัดนี้กรรมอัน
จะยังอัตตภาพอันเป็นอนาคตของเราให้บังเกิด จักไม่มี. บทว่า
น เม ภวิสฺสติ ความว่า อัตตภาพของเราในอนาคตจักไม่มี. บทว่า

164
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 165 (เล่ม 37)

ยทตฺถิ ยํ ภูตํ ความว่า เบ็ญจขันธ์ที่กำลังมีอยู่ ที่มีแล้ว ที่เป็นปัจจุบัน
เกิดขึ้นเฉพาะหน้า. บทว่า ตํ ปชหามีติ อุเปกฺขํ ปฏิลภติ ความว่า
ย่อมได้อุเบกขาอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณ ว่า เราจะละเบ็ญจขันธ์
นั้น ด้วยการละฉันราคะในเบ็ญจขันธ์นั้นเสีย. บทว่า ภเว น รชฺชติ
ความว่าย่อมไม่กำหนัดในเบ็ญจขันธ์ที่เป็นอดีต ด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิ. บทว่า สมฺภเว น รชฺชติ ความว่า ย่อมไม่กำหนัดในเบ็ญจขันธ์
แม้ที่เป็นอนาคต ก็เหมือนกันนั่นแหละ. บทว่า อตฺถุตฺตริ ปทํ สนฺตํ
ความว่า ชื่อว่า บทคือพระนิพพาน เป็นบทสงบอย่างยิ่งมีอยู่. บทว่า
สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นโดยชอบ ซึ่งบทคือพระ-
นิพพานนั้นด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า น สพฺเพน
สพฺพํ ความว่า บททั้งปวงอันภิกษุไม่ทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการ
ทั้งปวง เพราะละกิเลสบางเหล่ายังไม่ได้ เพราะความมืดอันเป็น
ตัวปกปิดสัจจะยังกำจัดไม่ได้โดยประการทั้งปวง. บทว่า หญฺญมาเน
ความว่า ดังแผ่นเหล็กที่ลุกโชน อันนายช่างเอาคีมจับแล้วเอาฆ้อนทุบ.
บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายี ความว่า จำเดิมแต่กาลอันเป็น
ลำดับจากเหตุเกิดขึ้น พระอนาคามีบุคคล ไม่ล่วงเลยท่ามกลางอายุ
แล้ว ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพานในระหว่างนี้. บทว่า อนุปหจฺจ
ตลํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอันตราปรินิพพายี
บุคคลไว้ ๓ จำพวก ด้วยอุปมา ๓ ข้อ เหล่านี้คือ สะเก็ดลูกไฟเหล็ก
ไม่กระทบพื้น, ไม่ล่วงไปถึงพื้น, พึงดับเสียในอากาศนั่นแล.
บทว่า อุปหจฺจปรินิพฺพายี ความว่า พระอนาคามีบุคคล
ล่วงกลางอายุ จดที่สุดแห่งจิตดวงหลัง แล้วปรินิพพาน. บทว่า

165
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 166 (เล่ม 37)

อุปหจฺจ ตลํ ความว่า สะเก็ดลูกไฟเหล็กติดไฟโพลงอยู่ ไม่ล่วง
เลยพื้นอากาศ หรือเข้ากระทบพื้นดิน เพียงตกไปที่ดินเท่านั้น
แล้วก็ดับไป.
พระอนาคามีบุคคล ผู้ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป โดยไม่มี
สังขารอื่นกระตุ้นเตือน คือโดยไม่มีความพยายาม แล้วปรินิพพาน
เพราะเหตุนั้น พระอนาคามีนั้น จึงชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี
ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องมีสังขารอื่นช่วยกระตุ้นเตือน.
พระอนาคามีบุคคล ผู้ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปโดยมีสังขาร
อื่นช่วยกระตุ้นเตือนคือต้องประกอบด้วยความเพียรแล้วปรินิพพาน
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพาน โดยต้อง
มีสังขารอื่นช่วยกระตุ้นเตือน.
บทว่า คจฺฉํ ความว่า ป่าอันปราศจากอารักขา. บทว่า
ทายํ ความว่า ป่าอันมีอารักขา คืออันท่านให้เพื่อประโยชน์แก่การ
อภัยแล้ว. คำที่เหลือในบทเหล่านี้มีอรรถง่านทั้งนั้น. ในพระสูตร
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงพระอริยบุคคลทั้งหลาย ดังนี้แล.
จบ อรรถกถาอุริสคติสูตรที่ ๒

166
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 167 (เล่ม 37)

๓. ติสสสูตร
[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา
คิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดา
๒ ตน มีรัศมีงาม ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วเทวดาตนหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว
เทวดาอีกตนหนึ่งกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้
หลุดพ้นด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้น
ได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดา
เหล่านั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวายอภิวาท
กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ครั้นล่วงราตรีนั้นไป
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป มีเทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขา
คิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ได้ยืน
อยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวกะเราว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว เทวดาอีกตนหนึ่ง
กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว
เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้นครั้นกล่าวแล้ว
อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นแล ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า

167