No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 138 (เล่ม 37)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีพอใจในสภาพแห่งชาย ก็ถึงความ
ไม่เกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงล่วงพ้นภาวะ
แห่งชายไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่เกี่ยวข้องย่อมมีอาการ
อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลชื่อว่าธรรมบรรยายอันเป็น
ทั้งสังโยคะและวิสังโยคะ.
จบ สังโยคสูตรที่ ๘
อรรถกถาสังโยคสูตรที่ ๘
สังโยคสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สญฺโยควิสญฺโยคํ ความว่า ได้แก่ การทำการประกอบ
และการไม่ประกอบให้สำเร็จ. บทว่า ธมฺมปริยายํ ได้แก่เหตุแห่ง
ธรรม บทว่า อชฺฌตฺตํ อิตฺถินฺทริยํ ได้แก่ ความเป็นหญิงภายใน
ของตน. บทว่า อิตฺถีกุฏฺฏํ ได้แก่ กิริยาของหญิง. บทว่า อิตฺถากปฺปํ
ได้แก่ มารยาทของหญิงมีการนุ่งและการห่มเป็นต้น. บทว่า อิตฺถีวิธํ
ได้แก่ การไว้ตัวของหญิง. บทว่า อิตฺถิจฺฉนฺทํ ได้แก่ ความพอใจ
อัธยาศัยของหญิง. บทว่า อิตฺถิสฺสรํ แปลว่า เสียงของหญิง บทว่า
อิตฺถาลงฺการํ ได้แก่ เครื่องประดับของหญิง แม้ในปุริสินทรีย์
เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า พหิทฺธาสํโยคํ ได้แก่ สมาคม
กับบุรุษ บทว่า อติวตฺตติ สัตว์ล่วงพ้น (ความเป็นหญิงความเป็นชาย)
เพราะได้บรรลุ อริยมรรค ด้วยวิปัสสนามีกำลัง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ไม่ยินดียิ่ง. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ.
จบ อรรถกถาสังโยคสูตรที่ ๘

138
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 139 (เล่ม 37)

๙. ทานสูตร
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งสระ-
โบกขรณีชื่อคัคครา ใกล้จัมปานคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมือง
จัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตร
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า
พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมพึงได้ฟัง
ธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ
ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่นอน
อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง
อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสก
ชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วย
อุบาสกชาวเมืองจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้-
มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคล
บางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล
และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มี
อานิสงส์มาก พึงมีหรือพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนสารีบุตร ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว

139
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 140 (เล่ม 37)

มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคล
บางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี.
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก
ไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทาน
เช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
พ. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวัง
ให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วย
ติดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า
ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและ
เครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูก่อนสารีบุตร เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางตนในโลกนี้ พึงให้ทาน
เห็นปานนี้หรือ.
สา. อย่างนั้นพระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า
ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรม
สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีผู้กลับมา คือ มาสู่
ความเป็นอย่างนี้ ก่อนสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มี
หวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

140
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 141 (เล่ม 37)

ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน แก่ให้ทาน
ด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์
แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูก่อนสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ.
สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวัง
ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้
ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แต่ให้ทานด้วย
คิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้า
ถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์
สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็น.
อย่างนี้.
ก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน
ด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่า
ตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน
คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เขา
สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็น ผู้กลับมา
คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน
ด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำ
ให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและ

141
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 142 (เล่ม 37)

พราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่
สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์
สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็น
อย่างนี้.
ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางตนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน
ด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากิน
ไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุง
หากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนก
แจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี
วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาช-
ฤาษี เวเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา
ชั้นนิมมานวดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่
แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
ก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน
ด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกทาน เหมือนอย่างฤาษี แต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ และภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้
ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน
คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตว-
สวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยัง
เป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

142
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 143 (เล่ม 37)

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน
ด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจ
และโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีป
และเครื่องอุปกรณ์ ก็สมณะหรือพราหมณ์ ก่อนสารีบุตร เธอ
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทาน
เห็นปานนี้หรือ.
สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวัง
ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้
ไห้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้ว ก็ได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทาน
ด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดา
ปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี ไม่ได้
ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้
หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
ไม่ได้ไห้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่าง
ฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวส-
สามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐ-
ฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้
ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อนใส จะเกิดความ
ปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน
เช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

143
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 144 (เล่ม 37)

พรหม เขาสิ้นธรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ก่อนสารีบุตร
นี้ เหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
จบ ทานสูตรที่ ๙
อรรถกถาทานสูตรที่ ๙
ทานสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาเปกฺโข แปลว่า มีตัณหาความอยาก บทว่า ปฏิพทฺธ-
จิตฺโต ได้แก่ มีจิตผูกพันในผลทาน. บทว่า สนฺนิธิเปกฺโข ได้แก่
ผู้มุ่งฝังจิตลงในทาน. บทว่า เปจฺจ ได้แก่ไปถึงโลกอื่นแล้ว บทว่า
ตํ กมฺมํ เขเปตฺวา ให้ผลของกรรมนั้นสิ้นไป. บทว่า อิทฺธึ ได้แก่
ฤทธิ คือ วิบาก. บทว่า ยสํ ได้แก่ ความพรั่งพรัอมด้วยบริวาร.
บทว่า อาธิปเตยฺยํ ได้แก่ เหตุแห่งความเป็นใหญ่. บทว่า อาคนฺตุ
อิตฺถตฺตํ ความว่า ยังกลับมาเป็นอย่างนี้ คือ กลับมาสู่ขันธปัญจกนี้
(ขันธ์ ๕) อีก. อธิบายว่า เขาจะไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก จะไม่ผุดเกิด
ขึ้นในภพสูงขึ้นไป แต่จะกลับมาภพเบื้องต่ำเท่านั้น. บทว่า สาหุ ทานํ
ชื่อว่า ทานนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จดีงาม. บทว่า ตานิ มหายญฺญานิ
ความว่า มหาทานเหล่านั้น สำเร็จด้วยเนยใส เนยข้น นมส้ม น้ำผึ้ง
และน้ำอ้อยเป็นต้น. บทว่า จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ ความว่า
เป็นเครื่องประดับและเป็นเครื่องแวดล้อมจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะ

144
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 145 (เล่ม 37)

และวิปัสสนา. บทว่า พฺรหฺมกายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ ความว่า
เขาไม่อาจเกิดขึ้นในภูมินั้นได้ด้วยทาน ก็เพราะเหตุที่ทานนั้น เป็น
เครื่องประดับจิตอันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา ฉะนั้น เขาจึง
ทำฌานและอริยมรรคให้บังเกิด ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้นแล้ว
ย่อมเกิดขึ้นในภูมินั้นด้วยฌาน.
บทว่า อนาคามิ โหติ ความว่า เป็นพระอนาคามี ผู้ไม่กลับมา
เพราะฌาน. บทว่า อนาคนฺตา อิตฺถตฺตํ ความว่า ไม่กลับมาสู่ภาวะ
ความเป็นอย่างนี้อีก ไม่ผุดเกิดในภพสูง ๆ หรือไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.
ดังนั้น บรรดาทานเหล่านี้ :-
ทานที่ ๑ ชื่อว่า ตณฺหุตฺตริยทานํ การให้อันยิ่งด้วยความอยาก.
ทานที่ ๒ ชื่อว่า วิตฺตีการทานํ ให้ด้วยความยำเกรง
ทานที่ ๓ ชื่อว่า หิโรตฺตปฺปทานํ ให้ด้วยละอายและเกรงกลัว
ทานที่ ๔ ชื่อว่า นิรวเสสทานํ ให้ด้วยไม่ให้เหลือเศษ
ทานที่ ๕ ชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยทานํ ให้แก่พระทักขิเณยยบุคคล
ทานที่ ๖ ชื่อว่า โสมนสฺสูปวิจารทานํ ให้ด้วยอิงอาศัยโสมนัส
ทานที่ ๗ ชื่อว่า อลงฺการปริวารทานํ ให้เป็นเครื่องประดับ
และเป็นบริวาร (แห่งจิต)
จบ อรรถกถาทานสูตรที่ ๙

145
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 146 (เล่ม 37)

๑๐. มาตาสูตร
[๕๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านมหาโมคคัลลานะ
จาริกไปในทักษิณาคีรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็สมัย
นั้นแล นันทมารดา อุบาสิกา ชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ ลุกขึ้นในเวลา
มหาราชมีกรณียกิจบางอย่าง เสด็จจากทิศอุดรไปยังทิศทักษิณ
ได้ทรงสดับนันทมารดาอุบาสิกาสวดปารายนสูตรทำนองสรภัญญะ
ประทับรอฟังจนจบ ขณะนั้น นันทมารดาอุบาสิกา สวดปารายนสูตร
ทำนองสรภัญญะจบแล้วนิ่งอยู่ ท้าวเวสสวัณมหาราชทรงทราบว่า
กถาของนันทมารดาอุบาสิกาจบแล้ว จึงทรงอนุโมทนาว่า สาธุ
น้องหญิง สาธุ น้องหญิง นันทมารดาอุบาสิกาถามว่า ก่อนท่าน
ผู้มีพักตร์อันเจริญ ท่านนี้คือใครเล่า.
เว. ดูก่อนน้องหญิง เราคือท้าวเวสสวัณมหาราช ภาดาของเธอ.
น. ดูก่อนท่านผู้มีพักตร์อันเจริญ ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรม
บรรยายที่ดิฉันสวดแล้วนี้เป็นเครื่องต้อนรับแด่ท่าน.
เว. ดูก่อนน้องหญิง ดีแล้ว นั่นจงเป็นเครื่องต้อนรับแก่ฉัน
พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านมหาโมคคัลลานะ
เป็นประมุข ยังไม่ได้ฉันเช้า จักมาถึงเวฬุกัณฏกนคร เธอพึง
อังคาสภิกษุสงฆ์หมู่นั้น แล้วพึงอุทิศทักษิณาทานให้ฉันด้วย ก็การ
ทำอย่างนี้ จักเป็นเครื่องต้อนรับฉัน.

146
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 147 (เล่ม 37)

ลำดับนั้น ครั้นล่วงราตรีนั้นไป นันทมารดาอุบาสิกาสั่งบุรุษ
ผู้หนึ่ง ให้จัดแจงขาทนียโภชนียาหารอันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตน
ครั้งนั้น ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็น
ประมุข ยังไม่ได้ฉันเช้า เดินทางมาถึงเวฬุกัณฏกนคร นันทมารดา
อุบาสิกกาจึงเรียกบุรุษผู้หนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ มาเถิดท่าน
จงไปยังอาราม บอกภัตตกาลแด่ภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
กาลนี้เป็นเป็นภัตตกาล ภัตตาหารในนิเวศน์ของแม่เจ้า นันทมารดา
สำเร็จแล้ว บุรุษนั้นรับคำนันทมารดาอุบาสิกาแล้ว ไปยังอาราม
บอกภัตตกาลแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กาลนี้เป็นภัตตกาล
ภัตตหารในนิเวศน์ของแม่เจ้านันทมารดาสำเร็จแล้ว ครั้งนั้น
เวลาเช้า ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ
เป็นประมุข นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของนันท-
มารดาอุบาสิกา นั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดไว้ ลำดับนั้น นันทมารดา
อุบาสิกา อังคาสภิกษุสงฆ์ มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระ
โมคคัลลานะเป็นประมุข ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหาร
อันประณีต ด้วยมือของตน ครั้นทราบว่าท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จ
ลงมือลงจากบาตรแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้ถามว่า ดูก่อนนันทมารดา ใครบอกกาลมาถึง
ของภิกษุสงฆ์แก่ท่านเล่า นันทมารดาอุบาสิกากราบเรียนว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเจ้าค่ะ ดิฉันลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง สวด
ปารายนสูตรทำนองสรภัญญะจบ แล้วนั่งอยู่ ลำดับนั้น ท้าว-
เวสสวัณมหาราชทราบถึงการจบคาถาของดิฉันแล้ว ทรงอนุโมทนา

147