No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 128 (เล่ม 37)

ทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าว
ล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่
โดยมาก ใจย่อมไม่ปราศจากทิฏฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะ
ทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วง
กิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยังไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุ
พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนา
ของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
ทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจ
อันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจาก
ทิฏฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้
และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ
ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า
ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะ
อาศัยข้อนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่ง
ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
จบ ทุติยสัญญาสูตรที่ ๖

128
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 129 (เล่ม 37)

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๖
สัญญาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เมถุนธมฺมสมาปตฺติยา พรั่งพร้อมด้วยเมถุนธรรม.
บทว่า นหารุทฺทุลํ ได้แก่ เส้นเอ็น หรือรอยเอ็น บทว่า อนุสนฺทติ
ในกาลเป็นที่เจริญสัญญาก่อนกับกาลเป็นที่เจริญสัญญาอัน ๒
ของไม่แปลกัน.
บทว่า โลกจิตฺเตสุ ความว่า อันวิจิตรของโลก กล่าวคือโลก
สันนิวาสอันประกอบด้วยไตรธาตุ
บทว่า อาลสฺเส ได้แก่ในความเกียจคร้าน บทว่า วิสฏฺฐิเย
ได้แก่ความท้อถอย. บทว่า อนนุโยเค ได้แก่ไม่ประกอบความเพียร.
บทว่า อหํการมมํการมานาปคตํ ได้แก่ ปราศจากทิฏฐิว่าเป็นเรา
จากตัณหาว่าของเรา จากมานะ ๙ อย่าง. บทว่า วิธาสมติกฺกนฺตํ
ความว่า ก้าวล่วงกิเลส ๓ อย่าง. บทว่า สนฺตํ ได้แก่ สงบจาก
กิเลสอันเป็นข้าศึกแก่การเจริญสัญญานั้น. บทว่า สุวิมุตฺตํ ได้แก่
หลุดพ้นด้วยดี ด้วยวิมุติ ๕.
จบ อรรถกถาทุติยสัญญาสูตร ๖

129
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 130 (เล่ม 37)

๗. เมถุนสูตร
[๔๗] ครั้งนั้นแล ชานุสโสณีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า แม้ท่าน
พระโคดมก็ทรงปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารีหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใด
ว่าประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์
บริบูรณ์ บุคคลนั้น เมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวเรานั่นแล เพราะ
เราประพฤติพรหมจรรย์ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์
บริบูรณ์เต็มที่.
ชา. ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็อะไรชื่อว่าขา ทะลุ ด่าง พร้อย
แห่งพรหมจรรย์.
พ. ก่อนพราหมณ์ ถูกแล้ว สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ ๆ
กับมาตุคาม แต่ยังยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และนวดเฟ้น
ของมาตุคาม พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ ด้วยการบำเรอนั้น
แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ก่อนพราหมณ์
ผู้นี้เรากล่าวว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย
เมถุนสังโยค ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ได้.

130
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 131 (เล่ม 37)

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางตนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ
เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม และไม่ยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และ
การนวดฟั้นของมาตุคาม ยังกระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับ
มาตุคาม พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น แม้
ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ
ก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ
เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม และไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับ
มาตุคาม แต่เพ่งดู จ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน พอใจ
ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการเล็งแลนั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ
ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ.
ก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ
เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม ไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม
และไม่เพ่ง จ้องดูจักษุแห่งมตุคามด้วยจักษุของตน แต่ได้ฟังเสียง
มาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี
ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ
ด้วยเสียงนั้น แม้ข้อนี้ ว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ
ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ
เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม ไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม

131
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 132 (เล่ม 37)

ไม่เพ่งดู จ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน และไม่ได้ฟังเสียง
แห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี
ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี แต่ตามนี้ก็ถึงการ หัวเราะ
พูดเล่นหัว กับมาตุคามในกาลก่อน พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ
ด้วยอาการนั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์
ฯลฯ
ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนื้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ
เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม ไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม
ไม่เพ่งดู จ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน ไม่ได้ฟังเสียง
แห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี
ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี และไม่ได้ตามนึกถึงการหัวเราะ
การ การเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน แต่ได้เห็นคฤหบดีก็ดี
บุตรแห่งคฤหบดีก็ดี ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอ
ตนอยู่ พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ
ก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางตนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วม
ความเป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม ไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับ
มาตุคาม ไม่เพ่งดู จ้องดูจักษุมาตุคามด้วยจักษุของตนเอง ไม่ได้
ส่งเสียงแห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี
ร้องไห้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี ไม่ได้

132
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 133 (เล่ม 37)

ตามนึกถึงการหัวเราะ การพูด การเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน
และไม่ได้เห็นคฤหบดีก็ดี บุตรแห่งคฤหบดีก็ดี ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อม
ด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งปรารถนา
เพื่อเป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า
หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้
พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ ด้วยความปรารถนานั้น แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ก่อนพราหมณ์
นี้เรากล่าวว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย
เมถุนสังโยค ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ได้.
ดูก่อนพราหมณ์ เรายังพิจารณาเห็นเมถุนสังโยค ๗ ประการ
นี้ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ยังละไม่ได้ในตน เพียงใด เราก็ยังไม่
ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ เพียงนั้น แต่เมื่อใด เราไม่พิจารณาเห็นเมถุนสังโยค
๗ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ยังละไม่ได้นั้น เมื่อนั้น
เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาโพธิญาณในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า
วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ชานุสโสณีพราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

133
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 134 (เล่ม 37)

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ เมถุนสูตรที่ ๗
อรรถกถาเมถุนสูตรที่ ๗
เมถุนสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ชานุสโสณีพรหมณ์ บริโภค
อาหารเช้าแล้ว แวดล้อมไปด้วยทาสและกรรมกร เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ภวํปิ โน ตัดบทเป็น ภวํปิ นุ. บทว่า
พฺรหฺมจารี ปฏิชาติ ความว่า พราหมณ์นั้น ถามว่า ท่านพระโคดม
ผู้เจริญ ปฏิญาณการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ได้ยินว่า พราหมณ์ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
พราหมณ์ทั้งหลาย เรียนเวทในลัทธิของพราหมณ์ ประพฤติ
พรหมจรรย์สิ้น ๔๘ พรรษา ก็พระสมณะโคดม เมื่ออยู่ครองเรือน
ได้อภิรมย์กับนางสนม ๓ หมู่ในปราสาททั้ง ๓ บัดนี้ พระสมณะ
โคดมเจ้าตรัสอย่างไรหนอ ดังนี้แล้ว จึงได้ถามอย่างนี้ หมายเอาเนื้อ
ความนี้. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงบันลือสีหนาท
หมายถึง แม้เพียงวิตกก็ไม่เกิดขึ้น ปรารภสุขในราชสมบัติ หรือ
ความเพียบพร้อมด้วยนักฟ้อนในปราสาททั้งหลาย เพราะพระองค์
ทรงประพฤติความเพียรตลอด ๖ พรรษา ในเวลาที่ยังทรงมีกิเลส
เหมือนคนจับงูเห่าด้วยมนต์ และเหมือนเอาเท้าเหยียบคอศัตรูฉะนั้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยญฺหิ ตํ พฺราหฺมณ.

134
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 135 (เล่ม 37)

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ทฺวยนฺทฺวยสมาปตฺตึ ความว่า ความที่
พึงปฏิบัติกันสองต่อสอง บทว่า ทุกฺขสฺมา ได้แก่ จากทุกข์ในวัฏฏะ
ทั้งสิ้น. บทว่า สญฺชคฺฆติ ได้แก่แสดงความยิ้มแย้ม สงฺกีฬติ ได้แก่
กระทำการเย้าเล่น. บทว่า สงฺเกฬายติ ได้แก่ หัวเราะใหญ่. บทว่า
จกฺขุนา จกฺขุํ ความว่า ใช้ตาของตนจ้องมองตาของหญิงนั้น. บทว่า
ติโรกุฑฺฑํ วา ติโรปาการํ วา ความว่า ที่ฝาเรือนโน้น หรือกำแพงโน้น
บทว่า เทโว ได้แก่ ราชาแห่งเทพองค์หนึ่ง. บทว่า เทวญฺญตโร
ได้แก่เทพบุตรองค์ใดองค์หนึ่ง. บทว่า อุนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ ได้แก่
พระอรหัต และพระสัพพัญญุตญาณ.
จบ อรรถกถาเมถุนสูตรที่ ๗

135
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 136 (เล่ม 37)

๘. สังโยคสูตร
[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายอันเป็น
สังโยคะทั้งวิสังโยคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี. เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระผู้มีภาคเจ้าแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมบรรยาย
อันเป็นสังโยคะทั้งวิสังโยคะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หญิง
ย่อมสนใจสภาพแห่งหญิงในภายใน กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว
ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของหญิง เขาย่อมยินดี พอใจ
ในสภาพของตนนั้น ๆ เขายินดี พอใจในสภาพของตนนั้น ๆ แล้ว
ย่อมสนใจถึงสภาพของชายในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว
ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของชาย ย่อมยินดี พอใจ
ในสภาพของชายนั้น ๆ เขายินดี พอใจในสภาพของชายนั้น ๆ แล้ว
ย่อมมุ่งหวังการสมาคมกับชาย และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการ
สมาคมกับชายเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้พอใจในภาวะ
แห่งหญิงก็ถึงความเกี่ยวข้องในชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิง
จึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งหญิงไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อม
สนใจสภาพแห่งชายในภายใน กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ
เสียงและเครื่องประดับของชาย เขาย่อมยินดี พอใจ ในสภาพของตน
เขายินดีพอใจในสภาพของตนนั้น ๆ แล้ว ย่อมสนใจถึงสภาพของ
หญิงในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง
และเครื่องประดับของหญิง ย่อมยินดี พอใจในสภาพของหญิงนั้น ๆ

136
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ – หน้าที่ 137 (เล่ม 37)

แล้วย่อมมุ่งหวังการสมาคมกับหญิง และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะ
การสมาคมกับหญิงเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้พอใจใน
ภาวะแห่งชายก็ถึงความเกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้เล
ชายจึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งชายไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ
เกี่ยวข้องย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนความไม่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมไม่สนใจในสภาพของหญิงในภายใน
กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของ
หญิง เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งหญิง ย่อมไม่สนใจถึงสภาพ
แห่งชายในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง
และเครื่องประดับแห่งชาย เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชาย
นั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับชายในภายนอก และสุข
โสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับชาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์
ไม่พอใจในสภาพแห่งหญิง ก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในชาย ด้วย
อาการอย่างนี้แล หญิงจึงล่วงพ้นสภาพแห่งหญิงไปได้.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมไม่สนใจในสภาพแห่งชาย
กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับ
ของชาย เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชายนั้น ๆ แล้ว ย่อม
ไม่สนใจถึงสภาพแห่งหญิงในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว
ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของหญิง เขาไม่ยินดี ไม่พอใจ
ในสภาพแห่งหญิงนั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับหญิง
ในภายนอก และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมนั้นเป็นเหตุ

137