No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 633 (เล่ม 36)

รูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคมผู้เจริญโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบอัตตการีสูตรที่ ๘
อรรถกถาอัตตการีสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัตตการีสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อทฺทสํ วา อสฺโสสึ วา ความว่า เราอย่าได้ลืมตาเห็น
อย่าได้ยินว่า เขาอยู่ในที่ชื่อโน้น หรืออย่าได้ยินถ้อยคำที่เขาพูด. บทว่า
กถํ หิ นาม ความว่า ด้วยเหตุชื่อไร ?
ความเพียรที่เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งความริเริ่ม ชื่อว่า
อารพฺภธาตุ. ความเพียรที่มีสภาพก้าวออกไปจากความเกียจคร้าน ชื่อว่า
นิกฺกมตา. สภาวะของความก้าวหน้า ชื่อว่า ปรกฺกกมธาตุ. สภาวะของกำลัง
ชื่อว่า ถามธาตุ. สภาวะของธิติ ชื่อว่า ธิติธาตุ. สภาวะของความพยายาม
ชื่อว่า อุปกฺกมธาตุ. อนึ่ง คำทั้งหมดนี้ เป็นชื่อของความเพียรอย่างเดียว
ที่เป็นไปแล้วโดยอาการนั้น.
จบอรรถกถาอัตตการีสูตรที่ ๘

633
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 634 (เล่ม 36)

๙. นิทานสูตร
ว่าด้วยอกุศลมูลและกุศลมูล
[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อเกิดกรรม (อกุศลกรรม)
๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อโลภะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะโลภะ โดยที่แท้ โลภะย่อม
เกิดขึ้นเพราะโลภะ อโทสะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะโทสะ โดยที่แท้ โทสะย่อม
เกิดขึ้นเพราะโทสะ อโมหะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะโมหะ โดยที่แท้ โมหะย่อม
เกิดขึ้นเพราะโมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ หรือแม้สุคติ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดแต่โลภะ แต่โทสะ
แต่โมหะ โดยที่แท้ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือ แม้ทุคติ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏเพราะกรรมที่เกิดแต่โลภะ แต่โทสะ แต่โม ะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อเกิดกรรม ๓ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อเกิดกรรม (กุศลกรรม) ๓ ประการนี้
๓ ประการเป็นไฉน ? คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ อโมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โลภะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอโลภะ โดยที่แท้ อโลภะย่อมเกิดขึ้นเพราะอโลภะ
โทสะย่อมไม่เกิดเพราะอโทสะ โดยที่แท้ อโทสะย่อมเกิดขึ้นเพราะอโมสะ
โมหะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอโมหะ. โดยที่แท้ อโมหะย่อมเกิดขึ้นเพราะอโมหะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือแม้ทุคติ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดแต่อโลภะ แต่อโทสะ
แต่อโมหะ โดยที่แท้ เทวดา มนุษย์ หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อม
ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดแต่อโลภะ แต่อโทสะ แต่อโมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เหตุเพื่อเกิดกรรม ๓ ประการนี้แล.
จบนิทานสูตรที่ ๙

634
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 635 (เล่ม 36)

อรรถกถานิทานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนิทานสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กมฺมานํ ได้แก่ กรรมที่ให้ถึงวัฏฏะ. บทว่า สมุทายาย
ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การประมวล (กรรมมา). บทว่า นิทานํ ได้แก่
เป็นปัจจัย. บทว่า โลภเชน ความว่า เกิดจากความโลภ. บทว่า น ปญฺญายนฺติ
ความว่า ไม่ปรากฏว่า เกิดแล้ว เพราะกรรมเห็นปานนี้.
ในธรรมฝ่ายขาว บทว่า กมฺมานํ ได้แก่ กรรมที่ให้ถึงวิวัฏฏะ.
ดังนั้น ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถานิทานสูตรที่ ๙
๑๐. กิมมิลสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ
[๓๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้พระนคร-
กิมมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมมิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่-
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรม
ไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนกิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก

635
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 636 (เล่ม 36)

อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท ในปฏิสันถาร ดูก่อนกิมมิละ
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว.
กิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้
พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว.
พ. ดูก่อนกิมมิละ พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรม-
วินัยนี้ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร ดูก่อนกิมมิละ
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว.
จบกิมมิลสูตรที่ ๑๐
อรรถกถากิมมิลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกิมมิลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เวฬุวเน ได้แก่ ในป่ามุจลินท์. บทว่า สทฺธมฺโม ได้แก่
พระสัทธรรม คือพระศาสนา.
จบอรรถกถากิมมิลสูตรที่ ๑๐

636
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 637 (เล่ม 36)

๑๐. ทารุกขันธสูตร
ว่าด้วยอำนาจของผู้มีฤทธิ์
[๓๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้
พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตร
และจีวรลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พร้อมด้วยภิกษุหลายรูป เห็นกองไม้กองใหญ่
ณ ที่แห่งหนึ่งแล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายย่อมเห็นกองไม้กองใหญ่โน้นหรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อย่างนั้น
ท่านผู้มีอายุ.
สา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ
เมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้นให้เป็นดินได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะที่กองไม้โน้นมีปฐวีธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึง
อาศัยน้อมใจถึงให้เป็นดินได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึง
ความชำนาญทางใจเมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้โน้นให้เป็นน้ำได้ ฯลฯ ให้
เป็นไฟได้ ฯลฯ ให้เป็นลมได้ ฯลฯ ให้เป็นของงามได้ ฯลฯ ให้เป็นของ
ไม่งามได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่กองไม้โน้นมีอสุภธาตุ ซึ่งภิกษุผู้
มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นของไม่งามได้.
จบทารุกขันธสูตรที่ ๑๑

637
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 638 (เล่ม 36)

อรรถกถาทารุกขันธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทารุกขันธสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เจโตวสิปฺปตฺโต ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้มีอำนาจจิต. บทว่า
ปฐวีเตฺวว อธิมุจฺเจยฺย ความว่า พึงกำหนดอาการที่แข้นแข็ง ว่าธาตุดิน.
บทว่า ยํ นิสฺสาย ความว่า อาศัยปฐวีธาตุอันใด ที่มีอาการกระด้างมีอยู่.
(ภิกษุผู้มีฤทธิ์) พึงน้อมใจไปยังท่อนไม้โน้นว่าเป็นดิน ปฐวีธาตุนั้น มีอยู่ใน
ท่อนไม้นี้. เพราะฉะนั้น แม้บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยนี้. อธิบายว่า ใน
ท่อนไม้นั้นมีปฐวีธาตุ ที่มีอาการแข้นแข็งฉันใด อาโปธาตุที่มีอาการเกาะกลุ่ม
เตโชธาตุที่มีอาการอบอุ่น วาโยธาตุที่มีอาการเคลื่อนไหล ก็มีอยู่ในท่อนไม้นั้น
เหมือนกัน. สุภธาตุใดที่มีสีเหมือนดอกปทุม มีอยู่ในแก่นไม้ที่มีสีแดง
(ภิกษุพึงน้อมใจไป คือกำหนดท่อนไม้โน้น โดยอาศัยสุภธาตุนั้น ว่า สุภํ
งาม ดังนี้) อสุภธาตุใดที่มีสีไม่น่าพอใจ มีอยู่ในจุณที่เน่า และในกระพี้
และสะเก็ดทั้งหลาย (ของต้นไม้) ภิกษุน้อมใจไป คือกำหนดท่อนไม้ท่อนโน้น
โดยอาศัยอสุภธาตุนั้นนั่นแหละ ว่า อสุภํ ไม่งามดังนี้. ในพระสูตรนี้ท่าน
กล่าวชื่อว่า มิสสกวิหาร.
อรรถกถาทารุกขันธสูตรที่ ๑๑

638
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 639 (เล่ม 36)

๑๒. นาคิตสูตร
ว่าด้วยการไม่ติดยศและไม่ให้ยศติดตน
[๓๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่ออิจฉานังคละ
ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ
ใกล้อิจฉานังคลคาม
พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้สดับข่าวว่า พระสมณ-
โคดมศากยบุตร เสด็จออกบวชจากศากยสกุล เสด็จถึงบ้านอิจฉานังคละ
ประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์
อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า เพราะเหตุนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น
ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็น
ปานนั้น ย่อมเป็นการดี ดังนี้ ครั้นนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉา-
นังคละ เมื่อล่วงราตรีนั้นไปแล้ว ถือขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมาก ไปยัง
ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ แล้วได้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก ส่งเสียงอื้ออึง.

639
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 640 (เล่ม 36)

ก็สมัยนั้น ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระนาคิตะว่า ดูก่อนนาคิตะ
พวกใครนั่นส่งเสียงอื้ออึงเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน.
ท่านพระนาคิตะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่านั้น
คือ พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ ถือขาทนียโภชนียาหารเป็น
อันมากมาจะถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก
พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนนาคิตะ ขอเรา (ตถาคต) อย่าติดยศ และยศอย่าได้ติดเรา
ดูก่อนนาคิตะ ผู้ใดเป็นผู้ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้
โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิดแต่
ความสงบ สุขอันเกิดแต่ความตรัสรู้ ซึ่งเราได้ตามความปรารถนา ได้โดย
ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ผู้นั้นพึงยินดีสุขที่เกิดแต่ของไม่สะอาด สุขที่เกิด
เพราะการหลับ สุขที่เกิดเพราะลาภ สักการะและการสรรเสริญ.
นา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับ ขอ
พระสุคตจงรับ เวลานี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าควรรับ เวลานี้เป็นเวลา
ที่พระสุคต ควรรับ บัดนี้ พราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท
จักพากันหลั่งไหลไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป เปรียบเหมือนเมื่อฝน
เม็ดใหญ่ตกลงน้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีศีลและปัญญา.
พ. ดูก่อนนาคิตะ เราอย่าได้ติดยศ และยศอย่าได้ติดเรา ดูก่อน-
นาคิตะ ผู้ใดเป็นผู้ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดย
ไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิดแต่
ความสงบ สุขอันเกิดแต่ความตรัสรู้ ซึ่งเราได้ตามความปรารถนา ได้โดย

640
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 641 (เล่ม 36)

ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ผู้นั้นพึงยินดีสุขอันเกิดแต่ของไม่สะอาด สุขที่เกิด
เพราะการหลับ สุขที่เกิดเพราะลาภสักการะและการสรรเสริญ ดูก่อนนาคิตะ
เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ใกล้บ้าน ผู้นั่งเข้าสมาธิอยู่ใกล้บ้าน เราย่อม
มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ไฉนคนวัดจักยังท่านผู้มีอายุรูปนี้ให้สืบต่อสมาธิ
นั้นได้ หรือสามเณรจักยังท่านผู้มีอายุนั้นให้เคลื่อนจากสมาธิ ฉะนั้น เราจึง
ไม่พอใจด้วยการอยู่ใกล้บ้านของภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรนั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เราย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้
ท่านผู้มีอายุรูปนี้ จักบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย เพราะการนอนนี้ แล้วกระทำ
อรัญญสัญญาไว้ในใจเป็นเอกัคคตา ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของ
ภิกษุรูปนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ไม่มี
จิตเป็นสมาธินั่งอยู่ในป่า เรามีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนี้
จักตั้งจิตที่ไม่เป็นสมาธิให้เป็นสมาธิ หรือจักตามรักษาจิตที่เป็นสมาธิไว้
ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร มีจิตเป็นสมาธินั่งอยู่ในป่า เรามีความคิด
อย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนี้ จักเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้นให้หลุดพ้น
หรือจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้วไว้ ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ป่าของ
ภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ใกล้บ้าน ได้จีวรบิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอพอใจลาภ สักการะและ
การสรรเสริญนั้นย่อมละทิ้งการหลีกออกเร้น ย่อมละทิ้งเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่
ในราวป่า มารวมกันอยู่ยังบ้าน นิคม และราชธานี ฉะนั้น เราจึงไม่พอใจ
ด้วยการอยู่ใกล้บ้านของภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่า
เป็นวัตร ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอละลาภ
สักการะและการสรรเสริญนั้น ย่อมไม่ละทิ้งการหลีกออกเร้น ย่อมไม่ละทิ้ง

641
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 642 (เล่ม 36)

เสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ป่าของภิกษุนั้น
อนึ่ง สมัยใด เราเดินทางไกล ย่อมไม่เห็นใครข้างหน้าหรือข้างหลัง สมัยนั้น
เราย่อมมีความสบาย โดยที่สุดด้วยการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ.
จบนาคิตสูตรที่ ๑๒
จบเสกขปริหานิยวรรคที่ ๔
อรรถกถานาคิตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนาคิตสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า คามนฺตวิหารํ ได้แก่ ผู้อยู่ในเสนาสนะท้ายบ้าน. บทว่า
สมาหิตํ นิสินฺนํ ได้แก่ ผู้นั่งเข้าสมาธิในเสนาสนะท้ายบ้านนั้น. บทว่า
อิทานิมํ ตัดบทเป็น อิทานิ อิมํ. บทว่า สมาธิมฺหา จาเวสฺสติ ความว่า
จักออกจากสมาธิ. บทว่า น อตฺตมโน โหติ ความว่า ย่อมไม่มีใจเป็น
ของตน (ไม่ดีใจ). บทว่า ปจลายมานํ ได้แก่ กำลังหลบอยู่. บทว่า
เอกตฺตํ มีอธิบายว่า กระทำอรัญญสัญญานั่นแหละไว้ในใจให้ (จิต) มีสภาพ
เป็นเอก คือเป็นจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า อนุรกฺขิสฺสติ ได้แก่ จัก
อนุเคราะห์. บทว่า อธิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิโมเจสฺสติ ความว่า จักเปลื้องจิต
ที่ยังไม่พ้นไปในเวลาอื่น ด้วยวิมุตติทั้ง ๕ ในบัดนี้. บทว่า ริญฺจติ ได้แก่
เว้นคือสลัดทิ้ง. บทว่า ปฏิปฺปณาเมตวา ได้แก่บรรเทา คือสลัดออกไป.
บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺมาย ได้แก่ เพื่อต้องการถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ.

642