No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 553 (เล่ม 36)

ชอบการงาน (นวกรรม) ยินดีการงาน ขวนขวายความเป็นผู้ชอบการงาน
ชอบการคุย ยินดีการคุย ขวนขวายความเป็นผู้ชอบการคุย ชอบความหลับ
ยินดีความหลับ ขวนขวายความชอบความหลับ ชอบความคลุกคลีหมู่คณะ
ยินดีความคลุกคลีหมู่คณะ ขวนขวายความเป็นผู้ชอบคลุกคลีหมู่คณะ ชอบ
ความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ขวนขวายความชอบ
ความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เนิ่นช้า ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่
เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ (เตภูมิกวัฏ)
ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอ
สำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่
โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ
เป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน
ไม่ขวนขวายความชอบการงาน ไม่ชอบการคุย ไม่ยินดีการคุย ไม่ขวนขวาย
ความชอบการคุย ไม่ชอบความหลับ ไม่ยินดีความหลับ ไม่ขวนขวายความ
ชอบความหลับ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ยินดีความคลุกคลีหมู่
คณะ ไม่ขวนขวายความชอบความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วย
คฤหัสถ์ ไม่ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ขวนขวายความชอบคลุกคลีด้วย
คฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
ย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ

553
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 554 (เล่ม 36)

ตายแล้วก็เจริญ อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะเพื่อ
ทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้
กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่น-
ช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เช่น
ดังมฤค ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษม
จากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วนผู้
ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีใน
บทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น
ย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หา
ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาภัททกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในภัททกสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า น ภทฺทกํ ความว่า ไม่ได้. อธิบายว่า ในสองอย่างนั้นผู้
ใดกลัวมากแล้ว ตาย ผู้นั้นชื่อว่า ตายไม่ดี. (ส่วน) ผู้ใด ถือปฏิสนธิในอบาย
ผู้นั้น (ชื่อว่า) มีกาลกิริยาไม่ดี.
ในบทมีอาทิว่า กมฺมาราโม ดังนี้ สิ่งที่มายินดีชื่อว่า อารามะ
อธิบายว่า ได้แก่ความยินดียิ่ง. บุคคล ชื่อว่า กมฺมาราโม เพราะมีความ

554
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 555 (เล่ม 36)

ยินดีในนวกรรม มีการสร้างวิหารเป็นต้น. ชื่อว่า กมฺมรโต เพราะยินดีใน
กรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ชื่อว่า อนุยุตฺโต เพราะประกอบความที่เป็นผู้มีกรรม
เป็นที่มายินดีนั่นแหละบ่อย ๆ . ในบททั้งปวง ก็มีนัย นี้.
ก็การพูดคุยกัน (เรื่องหญิงเรื่องชาย) ชื่อว่า ภัสสะ ในที่นี้.
บทว่า นิทฺทา ได้แก่ความหลับ. บทว่า สงฺคณิกา ได้แก่ เป็นผู้คลุกคลี
ด้วยหมู่ การคลุกคลีด้วยหมู่นั้น พึงทราบโดยนัยมีอาทิว่า เมื่อมีคนเดียวก็
เพิ่มเป็นสอง เมื่อมีสองคน ก็มีคนที่สาม. บทว่า สํสคฺโค ได้แก่ความ
เป็นผู้เกี่ยวข้องกัน อันเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งการเกี่ยวเนื่องกัน ด้วย
การฟัง การเห็น การเจรจา การร่วมกันและการเกี่ยวเนื่องกันทางกาย.
บทว่า ปปญฺโจ ได้แก่ธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือกิเลส อันเป็นไป
แล้วด้วยสามารถแห่งตัณหา ทิฏฐิ และมานะ อันดำรงอยู่ด้วยอาการมึนเมา.
บทว่า สกฺกายํ ได้แก่วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า สมฺมาทุกฺขสฺส
อนฺตกิริยาย ความว่า เพื่อกระทำการตัดขาดทางแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้นโดยเหตุ
โดยนัย. บทว่า มโค ได้แก่เช่น มฤค. บทว่า นิปฺปปญฺจปเท ได้แก่
ในธรรมเครื่องถึงซึ่งพระนิพพาน. บทว่า อาธารยิ ความว่า ให้บริบูรณ์
ได้แก่ ยังวัตรปฏิบัตินั้น ให้ถึงพร้อม.
จบอรรถกถาภัททกสูตรที่ ๔

555
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 556 (เล่ม 36)

๕. อนุตัปปิยสูตร
ว่าด้วยการอยู่ที่ทำให้เดือดร้อนและไม่เดือดร้อน
[๒๘๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการ
อยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เธอสำเร็จ
การอยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อนเป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ชอบการงาน ยินดีการงาน ขวนขวายความชอบการงาน ชอบการคุย. . .
ชอบความหลับ. . . ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ. . . ชอบความคลุกคลี
ด้วยคฤหัสถ์. . . ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมเดือด
ร้อนอย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์
โดยชอบ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอ
สำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ
ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบ
การงาน ไม่ชอบการคุย. . . ไม่ชอบความหลับ . . . ไม่ชอบความคลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ. . . ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่

556
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 557 (เล่ม 36)

เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ
ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า
ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าว
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่น-
ช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนินช้า เช่นดัง
มฤค ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษม
จากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วน
ผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนินช้า ยินดีใน
บทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น
ย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หา
ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.
จบอนุตัปปิยสูตรที่ ๕
อรรถกถาอนุตัปปิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอนุตัปปิยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุตปฺปา ความว่า ต้องโศกเศร้าในภายหลัง คือทำความ
เดือดร้อนให้ในภายหลัง. ในพระสูตรแม้ทั้งสองเหล่านี้ก็ดี ในคาถาทั้งหลายก็ดี
พระสารีบุตรกล่าวไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาอนุตัปปิยสูตรที่ ๕

557
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 558 (เล่ม 36)

๖. นกุลสูตร
ว่าด้วยคำเตือนของนกุลมารดาคฤหปตานี
[๒๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าเภสกาลามิค-
ทายวัน ใกล้นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้น นกุลบิดาคฤหบดีอาพาธ
มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น นกุลมารดาคฤหปตานีได้กล่าวเตือนนกุลบิดา
คฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย
เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงติเตียน ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วง
ไปแล้ว นกุลมารดาคฤหปตานี จักไม่สามารถเลี้ยงทารกดำรงการอยู่ครองเรือน
ไว้ได้ แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันเป็นคนฉลาดปันฝ้าย
ทำขนสัตว์ เมื่อท่านล่วงไปแล้ว ดิฉันย่อมสามารถเลี้ยงทารก ดำรงการอยู่
ครองเรือนไว้ได้ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย
เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงติเตียน.
ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วงไปแล้ว
นกุลมารดาคฤหปตานี จักได้คนอื่นเป็นสามี แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้
ทั้งท่านทั้งดิฉันย่อมรู้ว่า ได้อยู่ร่วมกันมาอย่างเคร่งครัดต่อระเบียบประเพณี
ตลอด ๑๖ ปี เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย
เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงติเตียน.

558
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 559 (เล่ม 36)

ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงไยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วงไปแล้ว
นกุลมารดาคฤหปตานี จักไม่ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ต้องการเห็น
พระภิกษุสงฆ์ แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันต้องการเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างยิ่ง และต้องการเห็นพระภิกษุสงฆ์อย่างยิ่ง เพราะ-
ฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย เพราะการกระทำกาละ
ของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงติเตียน.
ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วงไปแล้ว
นกุลมารดาคฤหปตานี จักไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล แต่ข้อนั้นท่านไม่พึง
เห็นอย่างนี้ เพราะบรรดาสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ที่ยังเป็น
คฤหัสถ์ นุ่งห่มผ้าขาว กระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีประมาณเท่าใด ดิฉันก็เป็น
คนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดพึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง
ขอผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้า ทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งกำลังประทับอยู่ที่ป่าเภสกาลามิคทายวัน ใกล้นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ
แล้วจงทูลถามเถิด เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย
เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงติเตียน.
ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า นกุลมารดา-
คฤหปตานี จักไม่ได้ความสงบใจ ณ ภายใน แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะพวกสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่ม
ผ้าขาว ได้ความสงบใจ ณ ภายใน มีประมาณเท่าใด ดิฉันเป็นคนหนึ่งใน
จำนวนสาวิกานั้น ก็ผู้ใดพึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ขอผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งกำลังประทับอยู่ที่
ป่าเภสกาลามิคทายวัน ใกล้นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ แล้วจงทูลถามเถิด

559
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 560 (เล่ม 36)

เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย เพราะการกระทำ
กาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงติเตียน.
ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า นกุลมารดา-
คฤหปตานียังไม่ถึงการหยั่งลง ยังไม่ถึงที่พึง ยังไม่ถึงความเบาใจ ยังไม่ข้ามพ้น
ความสงสัย ยังไม่ปราศจากความเคลือบแคลง ยังไม่ถึงความแกล้วกล้า
ในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หมดความเชื่อถือต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา แต่
ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะพวกสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ถึงการหยั่งลง ได้ถึงที่พึ่ง ถึงความเบาใจ
ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรม-
วินัยนี้ ไม่มีความเชื่อถือต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา มีประมาณเท่าใด
ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดพึงมีความสงสัยหรือเคลือบ-
แคลง ขอผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งประทับอยู่ที่ป่าเภสกาลามิคทายวัน ใกล้นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ
แล้วจงทูลถามเถิด เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย
เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงติเตียน.
ครั้งนั้นแล เมื่อนกุลบิดาคฤหบดีอันนกุลมารดาคฤหปตานีกล่าวเตือน
นี้ ความเจ็บป่วยนั้นได้สงบระงับโดยพลัน และนกุลบิดาคฤหบดีได้หายจากการ
เจ็บป่วยนั้น ก็และการเจ็บป่วยนั้น อันนกุลบิดาคฤหบดีละได้แล้วโดยประการ
นั้น ครั้งนั้นนกุลบิดาคฤหบดีพอหายจากการเจ็บป่วยไม่นาน ถือไม้เท้าเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะนกุลบิดาคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี
เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่นกุลมารดาคฤหปตานีเป็นผู้อนุเคราะห์

560
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 561 (เล่ม 36)

หวังประโยชน์ กล่าวเตือนพร่ำสอนท่าน ดูก่อนคฤหบดี พวกสาวิกาของเรา
ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว กระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีประมาณเท่าใด
นกุลมารดาคฤหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น พวกสาวิกา
ของเราที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ความสงบใจ ภายใน มีประมาณ
เท่าใด นกุลมารดาคฤหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น พวก
สาวิกาของเราที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ถึงการหยั่งลงถึงที่พึ่ง ถึงความ
เบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า
ในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเชื่อถือต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา มีประมาณ
เท่าใด นกุลมารดาคฤหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ดูก่อน
คฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่นกุลมารดาคฤหปตานีเป็นผู้อนุ-
เคราะห์หวังประโยชน์ กล่าวเตือนสั่งสอนท่าน.
จบนกุลสูตรที่ ๖
อรรถกถานกุลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกุลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พาฬฺหคิลาโน แปลว่า เป็นไข้หนักมาก. บทว่า เอตทโวจ
ความว่า คหปตานี ผู้เป็นนกุลมารดา เมื่อไม่สามารถจะจัดยาระงับพยาธิของ
สามีได้ บัดนี้เมื่อจะระงับพยาธิ โดยการบันลือสีหนาท ทำสัจกิริยา จึงนั่ง
ใกล้สามี แล้วกล่าวคำนี้มีอาทิว่า มา โข ติวํ (ท่านอย่ากังวลเลย) ดังนี้.
บทว่า สาเปกฺโข ได้แก่ ยังมีตัณหา. น อักษร ในบทว่า น นกุลมาตา
นี้ ต้องประกอบเข้าโดยบทหลังอย่างนี้ว่า น เปกฺขติ. บทว่า สนฺถริตุํ

561
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 562 (เล่ม 36)

ความว่า เพื่อกระทำให้ไม่มีช่อง. อธิบายว่า ปู (ให้เต็ม). บทว่า เวณึ
โอลิขิตุํ ความว่า เพื่อเตรียมขนแกะ เอามีสางทำให้เป็นช้อง. บทว่า
อญฺญํ ภตฺตารํ คมิสฺสติ ความว่า เราจักมีสามีใหม่อีก. บทว่า โสฬส
วํสฺสานิ คหฏฺฐพฺรหฺมจริยํ สมาจิณฺณํ ความว่า นับย้อนหลังจากนี้ไป
๑๖ ปี ดิฉันได้ประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ อย่างสม่ำเสมอ. บทว่า
ทสฺสนกามตรา ความว่า อยากจะเฝ้า (พระพุทธเจ้า) โดยยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
นางได้บันลือสีหนาทโดยองค์ ๓ เหล่านี้แล้ว ได้ทำสัจกิริยาว่า ด้วยความ
สัตย์จริง ขอพยาธิในร่างกายของท่าน (จงเหือดหาย) กลายเป็นความ
สำราญ.
บัดนี้ เพื่อจะอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสักขีพยาน ทำสัจกิริยา แม้
โดยคุณมีศีลเป็นต้นของตน นางจึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า สิยา โข ปน เต
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปูรการินี ได้แก่ กระทำให้สมบูรณ์.
บทว่า เจโตสมถสฺส ได้แก่ สมาธิกัมมัฏฐาน. บทว่า โอคาธปฺปตฺตา
ได้แก่ ถึงการหยั่งลง คือเข้าถึงเนือง ๆ. บทว่า ปฏิคาธปฺปตฺตา ได้แก่
ถึงการหยั่งลงเฉพาะ คือมั่นคง. บทว่า อสฺสาสปฺปตฺตา ได้แก่ ถึงความ
ปลอดโปร่ง คือเอาเป็นที่พึ่งได้. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺตา ได้แก่ถึง
โสมนัสญาณ. บทว่า อปรปฺปจฺจยา ความว่า ศรัทธาเนื่องด้วยผู้อื่น คือ
ปฏิปทาที่ต้องอาศัยผู้อื่น ท่านเรียกว่า ปรปัจจยะ (มีผู้อื่นเป็นปัจจัย)
อธิบายว่า เว้นจากการมีผู้อื่นเป็นปัจจัยนั้น.
นางคฤหปตานี ผู้เป็นมารดาของนกุลมาณพ ได้ทำสัจกิริยา ปรารภ
คุณความดีของตน ด้วยองค์ ๓ เหล่านี้. บทว่า คิลานา วุฏฺฐิโต ความว่า

562