No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 543 (เล่ม 36)

ชื่อว่าจัณฑาลติสสะว่า บ้านเงียบเหลือเกิน เธอทั้งหลายจงไปตรวจสอบดูก่อน
ภิกษุณีสาวเหล่านั้นไปแล้ว รู้ข้อที่คนทั้งปวงหนีไป จึงกลับมาบอกแก่
พระเถรี. พระเถรีฟังแล้วจึงพูดว่า พวกเธออย่าคิดถึงข้อที่คนเหล่านั้นหนีไป
เลย จงทำความเพียรในอุเทศ การสอบถาม และโยนิโสมนสิการของตนไว้
เถิด ดังนี้แล้ว ในเวลาภิกขาจาร ห่มจีวรแล้ว (รวม) ๑๒ รูปทั้งตัวเอง
ได้พากันไปยืนอยู่ที่โคนต้นไทร ใกล้ประตูบ้าน. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ ได้
ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุทั้ง ๑๒ รูป แล้วกล่าวว่า ข้าแต่คุณแม้เจ้า ขอท่าน
อย่าไปที่อื่นเลย นิมนต์มาที่นี้แห่งเดียวเป็นประจำ. ก็ (ในที่นั้น ) มีพระ
เถระองค์หนึ่ง นามว่า นาคะ เป็นน้องชายของพระเถรี. ท่านคิดว่า
ภัยใหญ่ (เหลือเกิน) เราไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ เราจักไปฝั่งโน้น
รวมเป็น ๑๒ รูปทั้งตัวท่านเองออกจากที่อยู่ของตน ๆ มาสู่ภารตคามด้วยคิด
ว่า เราจักไปเยี่ยมพระเถรี. พระเถรีได้ทราบว่า พระเถระมา จึงไปยังสำนัก
ของพระเถระเหล่านั้น เเล้วถามว่า มีเรื่องอะไรหรือ พระคุณเจ้า ? พระ
เถระแจ้งพฤติการณ์นั้นแล้ว. พระเถรีพูดว่า วันนี้ นิมนต์ที่พวกท่านอยู่ใน
วิหารนี้ (สัก) วันหนึ่ง รุ่งขึ้นค่อยไป. พระเถระทั้งหลาย ได้ไปยังวิหารแล้ว.
ในวันรุ่งขึ้น พระเถรีไปบิณฑบาตที่ควงไม้ แล้วเข้าไปหาพระเถระ
พูดว่า นิมนต์พวกท่านฉันบิณฑบาตนี้. พระเถระไม่พูดว่า จักสมควร ดังนี้
แล้วยืนนิ่งเสีย. พระเถรีกล่าวว่า พระคุณท่าน บิณฑบาตนี้เป็นของชอบ
ธรรม ขอท่านทั้งหลายอย่ารังเกียจเลย จงฉันเถิด ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า
จะเหมาะหรือพระเถรี ? พระเถรีนั้นหยิบบาตร (ของพระเถระ) แล้วโยนไปใน
อากาศ. บาตรได้ลอยอยู่บนอากาศ. เพราะเถระกล่าวว่า ดูก่อนพระเถรี ภัตที่
ลอยอยู่บนอากาศสูง ๗ ชั่วลำตาล เป็นภัตตาหารสำหรับภิกษุณีเท่านั้น ดังนี้
แล้ว กล่าวต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าภัย จะไม่มีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เมื่อภัยสงบแล้ว

543
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 544 (เล่ม 36)

เราผู้กล่าวอริยวงศ์ ถูกจิตกล่าวเตือนอยู่เนือง ๆ ว่า ท่านผู้ถือบิณฑบาตเป็น
วัตรผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจะฉันภัตตาหารของภิกษุณี แล้วปล่อยให้เวลาล่วง
ไปหรือดังนี้ จักไม่สามารถจะอยู่ต่อไปได้ ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย ขอท่าน
ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.
ฝ่ายรุกขเทวดาก็คิดว่า ถ้าพระเถระจักฉันบิณฑบาตจากมือของพระ
เถรีแล้วไซร้ เราจักไม่ให้ท่านกลับ ถ้าไม่ฉัน เราจักให้ท่านกลับ ยืนดูการ
เดินไปของพระเถระ แล้วลงจากต้นไม้ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณ
เจ้าจงให้บาตรแก่ข้าพเจ้า แล้วรับบาตร นำพระเถระไปยังควงไม้นั่นแหละ ปู
อาสนะ ถวายบิณฑบาต ให้พระเถระที่เสร็จภัตกิจแล้ว กระทำปฏิญญา
(รับคำ) บำรุงทั้งภิกษุณี ๒ รูป ทั้งภิกษุ ๑๒ รูป อยู่เป็นเวลาถึง ๗ ปี.
นี้เป็นตัวอย่างในข้อว่า เทวดาทั้งหลาย ย่อมขวนขวาย. เพราะในเรื่อง
(ที่เป็นตัวอย่าง) นั้น พระเถรีได้บำเพ็ญสาราณียธรรมมาจนครบบริบูรณ์.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น ดังต่อไปนี้
บรรดากองอาบัติทั้ง ๗ กอง ผู้ใดมีสิกขาบทขาดในตอนปลาย หรือ
ตอนต้น ศีลของผู้นั้นชื่อว่าขาด เหมือนผ้าขาดที่ชาย ส่วนผู้ใดมีสิกขาบท
ขาดที่ท่ามกลาง ศีลของผู้นั้น ชื่อว่า ทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุ (ตรงกลาง)
ผู้ใดมีสิกขาบท ๒-๓ สิกขาบทขาดตามลำดับ ศีลของผู้นั้น ชื่อว่า ด่าง
เหมือนแม่โคมีสีดำสีแดงเป็นต้น สีใดสีหนึ่ง โดยมีสีตัดกันปรากฏที่หลังหรือ
ที่ท้อง. ผู้ใดมีสิกขาบทขาดในระหว่าง ๆ ศีลของผู้นั้น ชื่อว่า พร้อย
เหมือนแม่โคที่มีจุดแพรวพราว สลับกันในระว่าง ๆ. ส่วนผู้ใดมีสิกขาบททั้ง
หมดไม่ขาดเลย ผู้นั้น ชื่อว่ามีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย. แต่ว่า
สิกขาบทเหล่านี้นั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า ภุชิสฺส (เป็นไท) เพราะกระทำ
ความเป็นไท โดยพ้นจากความเป็นทาสของตัณหา. ชื่อว่า วิญญูปสัตถะ

544
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 545 (เล่ม 36)

(อันวิญญูชนสรรเสริญ) เพราะวิญญูชนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรง
สรรเสริญ. ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะตัณหาและทิฏฐิ ไม่ลูบคลำ
(ไม่เกาะเกี่ยว) และเพราะใคร ๆ ไม่สามารถปรามาสได้ว่า ท่านเคยต้องอาบัติ
ชื่อนี้มา และท่านเรียกว่า ชื่อว่า สมาธิสังวัตตนิกา เพราะยังอุปจารสมาธิ
หรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไป.
บทว่า สีลสามญฺญคโต วิหรติ ความว่า เป็นผู้มีปกติเข้าถึง
ความเป็นผู้เสมอกันด้วยภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ในทิศาภาคเหล่านั้น ๆ อยู่. เพราะ
ว่า ศีลของพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมเป็นศีลเสมอกันด้วยศีลของพระอริยะ
เหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ผู้อยู่ในระหว่างแห่งมหาสมุทรบ้าง ในเทว-
โลกนั่นแหละบ้าง เพราะฉะนั้นในมรรคศีล (ศีลในองค์มรรค) จึงไม่มีความ
แตกต่างกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า สีลสามญฺญคโต วิหรติ นี้ไว้
โดยทรงหมายเอา ศีลของพระโสดาบันเป็นต้นนั้น.
บทว่า ยายํ ทิฏฺฐิ ได้แก่สัมมาทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า
อริยา คือไม่มีโทษ. ทิฏฐิ ชื่อว่า นิยยานิกา เพราะเป็นเหตุนำสัตว์ออก
ไปจากภพ. บทว่า ตกฺกรสฺส ความว่า ได้แก่ ผู้ที่ทำอย่างนั้น. บทว่า
ทุกฺขกฺขยาย ความว่า เพื่อสิ้นสรรพทุกข์. บทว่า ทิฏฺฐิสามญฺญคโต
ความว่า เป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกันอยู่.
จบอรรถกถาปฐมสาราณียสูตรที่ ๑

545
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 546 (เล่ม 36)

๒. ทุติยสาราณียสูตร
ว่าด้วยสาราณียธรรม ๖ ประการ
[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง
การให้ระลึกถึง กระทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม
ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้
ธรรมข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึงกัน กระทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อม-
เพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. . .
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. . .
อีกประการหนึ่ง ภิกษุแบ่งปันลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรมได้มา
โดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลายผู้มีศีล. . .
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปเพื่อสมาธิ
เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. . .

546
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 547 (เล่ม 36)

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำออกไป
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึงกัน กระทำ
ให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ
ไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นที่ตั้งแห่งการระลึก
ถึงกัน กระทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงอันหนึ่งอันเดียวกัน.
จบทุติยสาราณียสูตรที่ ๒
อรรถกถาทุติยสาราณียสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสาราณียสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
สาราณียธรรม ชื่อว่า ปิยกรณา เพราะกระทำผู้ที่บำเพ็ญธรรม
เหล่านั้นให้บริบูรณ์ ให้เป็นที่รัก ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย. ชื่อว่า ครุกรณา
เพราะกระทำให้เป็นผู้น่าเคารพ. บทว่า สงฺคหาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์
แก่การสงเคราะห์. บทว่า อวิวาทาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การไม่ทำการ
วิวาทกัน. บทว่า สามคฺคิยา ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความสามัคคี. บทว่า
เอกีภาวาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นอันเดียวกัน. บทว่า สํวตฺตนฺติ
ได้แก่ ย่อมเป็นไป คือเป็นไปทั่ว.
จบอรรถกถาทุติยสาราณียสูตรที่ ๒

547
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 548 (เล่ม 36)

๓. เมตตาสูตร*
ว่าด้วยธาตุเครื่องสลัดออก ๕ ประการ
[๒๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นเครื่องสลัดออก ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมตตา-
เจโตวิมุตติ ข้าพเจ้าเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้
เป็นที่ตั้ง ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าพยาบาทยังครอบงำ
จิตของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุอย่าได้
กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้ ดูก่อนอาวุโส
ข้อนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันภิกษุเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว
ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่า พยาบาทจักครอบงำจิตของเธออยู่ เพราะฉะนั้น
ข้อนั้นจึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาท.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า กรุณา-
เจโตวิมุตติ ข้าพเจ้าเจริญแล้ว. . . ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าวิหิงสายังครอบงำจิต
ของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุอย่าได้
กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้ ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้น
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่อกรุณาเจโตวิมุตติ อันภิกษุเจริญแล้ว. . .
ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าวิหิงสาจักครอบงำจิตของเธออยู่ เพราะฉะนั้น ข้อนั้น
จึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะกรุณาเจโตวิมุตติเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิหิงสา
* พม่าเป็น นิสสารณียสูตร

548
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 549 (เล่ม 36)

อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า มุติคาเจโต-
วิมุตติ ข้าพเจ้าเจริญแล้ว. . . ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าอรติ (ความไม่ยินดีด้วย)
ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า
ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้
ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่อมุทิตาเจโตวิมุตติ
อันภิกษุเจริญแล้ว. . .ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าอรติจักครอบงำจิตของเธออยู่
เพราะฉะนั้น ข้อนั้นจึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะมุทิตาเจโตวิมุตตินี้ เป็น
เครื่องสลัดออกซึ่งอรติ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อุเบกขา-
เจโตวิมุตติ ข้าพเจ้าเจริญแล้ว. . .ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าราคะยังครอบงำจิต
ของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุอย่าได้
กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่ดี เพทะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้ ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้น
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุตติ อันภิกษุเจริญแล้ว. . .
ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่า ราคะจักครอบงำของเธออยู่ เพราะฉะนั้น ข้อนั้น
จึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะอุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่ง
ราคะ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อนิมิตตา-
เจโตวิมุตติ (เจโตวิมุตติไม่มีนิมิต ) ข้าพเจ้าเจริญแล้ว. . . ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่า
วิญญาณของข้าพเจ้ายังแส่หานิมิตอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า
ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้

549
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 550 (เล่ม 36)

ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่ออนิมิตตาเจโตวิมุตติ
อันภิกษุเจริญแล้ว. . .ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าวิญญาณของเธอจักแส่หานิมิตอยู่
เพราะฉะนั้น ข้อนั้นจึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะอนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้
เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิตทั้งปวง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่าอัสมิมานะ
ของข้าพเจ้าหมดไปแล้ว และข้าพเจ้าย่อมไม่ตามเห็นว่านี่เป็นเรา ก็แต่ว่า
ลูกศรคือ ความสงสัยเคลือบแคลงยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุ
ทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มี-
พระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้ ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ
เมื่ออัสมิมานะของภิกษุหมดไปแล้ว และเมื่อภิกษุไม่ตามเห็นอยู่ว่านี้เป็นเรา
ก็แต่ว่า ลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลงจักครอบงำจิตของเธออยู่ เพราะ
ฉะนั้น ข้อนั้นจึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะอรหัตมรรคที่ถอนอัสมิมานะ
ได้แล้วนี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นเครื่องสลัดออก ๖ ประการนี้แล.
จบเมตตาสูตรที่ ๓
อรรถกถาเมตตาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเมตตาสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า นิสฺสาราณียา ธาตุโย ได้แก่ ธาตุที่เป็นทางออกไป.
ในบทว่า เมตฺตา หิ โข เม เจโตวิมุตติ นี้ มีอธิบายว่า เมตตานั่นแหละ
ที่เป็นไปในฌาน หมวด ๓ หรือ หมวด ๔ ชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ
เพราะหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย

550
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 551 (เล่ม 36)

บทว่า ภาวิตา คือให้เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา คือ กระทำ
แล้วบ่อย ๆ. บทว่า ยานีกตา ทำให้เป็นเช่นกับยานที่เทียมแล้ว.
บทว่า วตฺถุกตา คือ ทำให้เป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏฺฐิตา คือ ตั้งมั่นแล้ว.
บทว่า ปริจิตา ความว่า ก่อตั้ง คือสั่งสม ได้แก่ อบรมแล้วโดยชอบ.
บทว่า สุสมารทฺธา ได้แก่ ปรารภด้วยดี โดยกระทำให้ช่ำชองคล่องแคล่ว
เป็นอย่างดี. บทว่า ปริยาทาย ติฏฺฐติ ได้แก่ ยึด คือ ถือไว้ ดำรงอยู่.
บทว่า มา เหวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุนั้น พยากรณ์
ข้อพยากรณ์ที่ไม่เป็นจริง ฉะนั้น เธอจึงถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า เธออย่าพูด
อย่างนี้.
บทว่า ยทิทํ เมตฺตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้ใด
คำว่า เมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นทางออกไปแห่งพยาบาท อธิบายว่า เป็นการ
สลัดพยาบาทออกไป. ก็ผู้ใดออกจากฌานหมวด ๓ หมวด ๔ ด้วยเมตตา
(ภาวนา) แล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุมรรคที่ ๓ รู้ว่า พยาบาท
จะไม่มีอีกดังนี้ ย่อมเห็นพระนิพพานด้วยตติยผล จิตของผู้นั้น เป็นทางออก
ไปโดยส่วนเดียวแห่งพยาบาท. ในทุก ๆ บท พึงทรามอธิบาย โดยอุบายนี้.
บทว่า อนิมิตฺตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ วิปัสสนาที่มีกำลังส่วนอาจารย์
ผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าวว่า ได้แก่สมาบัติที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล. อรหัต-
ผลสมาบัตินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า หานิมิตมิได้ เพราะไม่มีเครื่อง-
หมาย คือ ราคะเป็นต้น เครื่องหมายคือรูปเป็นต้น และเครื่องหมายว่าเที่ยง
เป็นต้น.
บทว่า นิมิตฺตานุสารี ได้แก่ มีการตามระลึกถึงนิมิต. มีประเภท
ดังกล่าวแล้ว เป็นสภาพ. บทว่า อสฺมิ ได้แก่ อัสมิมานะ. บทว่า อยมหมสฺมิ
ความว่า เราชื่อว่าเป็นสิ่งนี้ (อัตตา) ในขันธ์ ๕. ด้วยคำเพียงเท่านี้แล

551
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 552 (เล่ม 36)

ชื่อว่าเป็นอันพยากรณ์อรหัตผลแล้ว. บทว่า วิจิกิจฺฉากถํกถาสลฺลํ ได้แก่
ลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลง.
บทว่า มา เทวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า ถ้าว่าวิจิกิจฉา
ที่ปฐมมรรคจะพึงฆ่า เกิดขึ้นแก่ท่านไซร้ การพยากรณ์อรหัตผล ย่อมผิดพลาด
เพราะฉะนั้น ท่านต้องถูกห้ามว่า อย่าพูดเรื่องไม่จริง.
บทว่า อสฺมีติ มานสมุคฺฆาโต ได้แก่ อรหัตมรรค. อธิบายว่า
เมื่อเห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรคแล้ว อัสมิมานะย่อมไม่มีอีก เพราะฉะนั้น
อรหัตมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ถอนขึ้นได้ซึ่งมานะว่าเรามี.
ในพระสูตรนี้ ตรัสให้ชื่อว่า อภูตพยากรณ์ (พยากรณ์เรื่องไม่จริง)
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
จบอรรถกถาเมตตาสูตรที่ ๓
๔. ภัททกสูตร
ว่าด้วยการอยู่ที่เจริญและไม่เจริญ
[๒๘๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระ
สารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ
ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ ก็ภิกษุ
ย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่
เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ เป็นอย่างไร ? คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

552