No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 463 (เล่ม 36)

๓. สีลสูตร
ว่าด้วยโทษของความทุศีลและคุณของศีล
[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ
๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ในธรรมวินัยนี้
ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์อย่างมากอันมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษ
ข้อที่ ๑ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์ที่ชั่วของ
ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติย่อมฟุ้งไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ
อีกประการหนึ่ง ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าสู่บริษัทใด ๆ คือ ขัตติยบริษัท
พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัทย่อมไม่องอาจ เก้อเขินเข้าไป
นี้เป็นโทษข้อที่ ๓ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ อีกประการหนึ่ง คนทุศีล
มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ ของคนทุศีล
เพราะศีลวิบัติ อีกประการหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษ ข้อที่ ๕ ของคนทุศีล เพราะศีล-
วิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ ๕ ประการ
นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อม
ด้วยศีล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงกองโภคทรัพย์มากมาย อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการ-
หนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็น
อานิสงส์ข้อที่ ๒ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง

463
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 464 (เล่ม 36)

คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าสู่บริษัทใด ๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณ-
บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมองอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็น
อานิสงส์ข้อที่ ๓ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง
คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔
ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง คนมีศีล
ถึงพร้อมด้วยศีล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕
ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของ
คนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕ ประการนี้แล.
จบสีลสูตรที่ ๓
อรรถกถาสีลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ไม่มีศีล คือ ไร้ศีล. บทว่า สีลวิปนฺโน
ได้แก่ มีศีลวิบัติ ขาดสังวรระวัง. บทว่า ปมาทาธิกรณํ ได้แก่ เพราะ
มีความประมาทเป็นเหตุ.
ก็สูตรนี้ ใช้สำหรับคฤหัสถ์. แม้บรรพชิตก็ใช้ได้เหมือนกัน. จริงอยู่
คฤหัสถ์ ย่อมเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ด้วยหลักศิลปะใด ๆ ไม่ว่าทำนา หรือค้าขาย
ถ้าประมาทโดยทำปาณาติบาตเป็นต้น ศิลปะนั้น ๆ ก็ให้สำเร็จผลตามกาลไม่ได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาก็ขาดทุน. และเมื่อทำปาณาติบาต และอทินนาทาน
เป็นต้น ในเวลาที่เขาไม่ทำกัน โทษก็ถึงความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์เป็นอันมาก.
บรรพชิตผู้ทุศีล ย่อมถึงความเสื่อมจากศีล พระพุทธพจน์ ฌาน และจาก

464
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 465 (เล่ม 36)

อริยทรัพย์ ๗ เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ. สำหรับคฤหัสถ์ชื่อเสียงที่เลว
ย่อมฟุ้งไปท่ามกลางบริษัท ๔ ว่า คฤหัสถ์คนโน้น เกิดในตระกูลโน้น เป็น
คนทุศีล มีบาปธรรม สลัดโลกนี้และโลกหน้าเสียแล้ว ไม่ให้ทานแม้แต่อาหาร
ดังนี้. สำหรับบรรพชิตชื่อเสียงที่เสียก็ฟุ้งไปอย่างนี้ว่า บรรพชิตรูปโน้น
รักษาศีลก็ไม่ได้ เรียนพระพุทธพจน์ก็ไม่ได้ เลี้ยงชีพอยู่ด้วยเวชกรรม
เป็นต้น เป็นผู้ประกอบด้วยความไม่เคารพ ๖ ดังนี้. บทว่า อวิสารโท
ความว่า คฤหัสถ์ก่อน เขาคิดว่า คนบางคนจักรู้กรรมของเรา เมื่อเป็นเช่นนั้น
คนทั้งหลายจักจับเรา หรือจักแสดงเราแก่ราชตระกูลดังนี้ จึงเข้าไปหาอย่าง
หวาดกลัว เก้อเขิน คอตก คว่ำหน้า นั่งเอานิ้วหัวแม่มือเขี่ยดิน ไม่กล้าพูด
ในสถานที่ประชุมของคนมาก ๆ แน่แท้. ฝ่ายบรรพชิตคิดว่า ภิกษุประชุมกัน
มาก ๆ ภิกษุบางรูป จักรู้กรรมของเราแน่ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกภิกษุจักห้าม
ทั้งอุโบสถ ทั้งปวารณาแก่เรา ให้เราเคลื่อนจากความเป็นสมณะแล้วจักคร่า
ออกไป ดังนี้ จึงเข้าไปหาอย่างหวาดกลัว ไม่กล้าพูด. ส่วนบางรูปแม้ทุศีล
ถูกทำลายแล้ว ก็ยังเที่ยวไป บรรพชิตรูปนั้น ชื่อว่าเป็นผู้เก้อ หน้าด้านโดย
อัธยาศัยทีเดียว.
บทว่า สมฺมูฬโห กาลํ กโรติ ความว่า ก็การยึดถือทุศีลกรรม
ประพฤติแล้ว ย่อมปรากฏแก่เธอผู้นอนบนเตียงมรณะ เธอลืมตาขึ้นเห็นโลกนี้
หลับตาก็เห็นโลกหน้า อบาย ๔ ย่อมปรากฏแก่เธอ เธอเป็นดุจถูกหอก ๑๐๐
เล่ม ประหารที่ศีรษะ เขาส่งเสียงร้องมาว่า ท่านทั้งหลายช่วยห้ามที
ท่านทั้งหลายช่วยห้ามที ก็ตาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สมฺมูฬฺโห กาลํ กโรติ.
บทที่ ๕ ง่ายทั้งนั้น อานิสงสกถาพึงทราบโดยปริยาย ตรงกันข้ามกับคำที่กล่าว
มาแล้ว.
จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๓

465
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 466 (เล่ม 36)

๔. พหุภาณีสูตร
ว่าด้วยคุณและโทษของการพูด
[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้พูด
มาก ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑
พูดเพ้อเจ้อ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อน-
ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอ
ประมาณ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่พูดเท็จ ๑ ไม่พูดส่อเสียด ๑ ไม่พูด
คำหยาบ ๑ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอประมาณ.
จบพหุภาณีสูตรที่ ๔
อรรถกถาพหุภาณีสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในพหุภาณีสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พหุภาณิสฺมึ ได้แก่ ไม่กำหนดไว้ด้วยปัญญาก็พูดมาก.
ปัญญา เรียกว่า มันตา ใน บทว่า มนฺตภาณิสฺมึ ได้แก่ กำหนดด้วยปัญญา
ที่เรียกว่ามันตาแล้วจึงพูด.
จบอรรถกถาพหุภาณีสูตรที่ ๔

466
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 467 (เล่ม 36)

๕. ปฐมอขันติสูตร
ว่าด้วยโทษของอขันติและคุณของขันติ
[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ
คนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยเวร ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยโทษ ๑ ย่อม
เป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเขาถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ
เป็นไฉน ? คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลง
กระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล.
จบปฐมอขันติสูตรที่ ๕
อรรถกถาปฐมอขันติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอขันติสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เวรพหุโล ได้แก่ เป็นผู้มีเวรมากด้วยบุคคลเวรบ้าง ด้วย
อกุศลเวรบ้าง บทว่า วชฺชพหุโล คือ เป็นผู้มากไปด้วยโทษ.
จบอรรถกถาปฐมอขันติสูตรที่ ๕

467
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 468 (เล่ม 36)

๖. ทุติยอขันติสูตร
ว่าด้วยโทษของอขันติและคุณของขันติ
[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ
คนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้
หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ
เป็นไฉน ? คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำ
กาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์
ของความอดทน ๕ ประการนี้แล.
จบทุติยอขันติสูตรที่ ๖
อรรถกถาทุติยอขันติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอขันติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ลุทฺโท ได้แก่ ทารุณ ดุร้าย. บทว่า วิปฺปฏิสารี คือ
ประกอบด้วยความเก้อเขิน.
จบอรรถกถาทุติยอขันติสูตรที่ ๖

468
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 469 (เล่ม 36)

๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยคุณและโทษของกรรมที่น่าเลื่อมใสและไม่น่าเลื่อมใส
[๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้
ถึงพร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ
แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมติเตียน ๑
กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อม
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล
มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส.
ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มีความ
ประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมไม่
ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อมสรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันงามย่อม
ฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลก-
สวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้มี
ความประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส.
จบปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗

469
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 470 (เล่ม 36)

อรรถกถาปฐมอปาสาทิกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปาสาทิเก ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น ที่ไม่
น่าเลื่อมใส. บทว่า ปาสาทิเก ได้แก่ ผู้ประพฤติสม่ำเสมอด้วยบริสุทธิ์
อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส.
จบอรรถกถาปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗
๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยคุณและโทษของกรรมที่น่าเลื่อมใสและไม่น่าเลื่อมใส
[๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลถึง
พร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ คน
พวกที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ๑ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วบางพวกย่อมคลาย
ความเลื่อมใส ๑ ชื่อว่าย่อมไม่กระทำตามคำสอนของพระศาสดา ๑ ประชุมชน
ชั้นหลังย่อมถือตาม ๑ จิตของเขาย่อมไม่เลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่า-
เลื่อมใส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มีความ
ประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ คนพวกที่ยังไม่
เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส ๑ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น ๑ ชื่อว่า

470
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 471 (เล่ม 36)

ย่อมกระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ๑ ประชุมชนชั้นหลังย่อมถือตาม ๑
จิตของเขาย่อมเลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
มีอยู่ในบุคคลผู้มีความประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส.
จบทุติยปาสาทิกสูตรที่ ๘
๙. อัคคิสูตร
ว่าด้วยโทษของไฟ
[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่เพราะไฟ ๕
ประการเป็นไฉน ? คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ๑ ทำให้ผิวเสีย ๑ ทำให้ทุรพล ๑
ย่อมยังการคลุกคลีหมู่คณะให้เจริญ ๑ ย่อมยังดิรัจฉานกถาให้เป็นไป ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่เพราะไฟ.
จบอัคคิสูตรที่ ๙
๑๐. มธุราสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งนครมธุรา
[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในนครมธุรา
๕ ประการเป็นไฉน คือ นครมธุรามีพื้นดินไม่ราบเรียบ ๑ มีฝุ่นมาก ๑
มีสุนัขดุ ๑ มียักษ์ร้าย ๑ หาอาหารได้ยาก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕
ประการนี้แล มีอยู่ในนครมธุรา.
จบมธุราสูตรที่ ๑
จบอักโกสกวรรคที่ ๒

471
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 472 (เล่ม 36)

อรรถกถามธุราสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมธุราสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปญฺจิเม ภิกฺขเว อาทีนวา มธุรายํ ความว่า สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้ว เมื่อเสด็จจาริกไปถึงมธุรานคร
แล้ว จึงปรารภจะเสด็จเข้าไปยังภายในพระนคร. ครั้งนั้น นางยักษิณีคนหนึ่ง
เป็นมิจฉาทิฏฐิเปลือยกาย เหยียดมือทั้งสองออก แลบลิ้น ยืนขวางหน้า
พระทศพล. พระศาสดา ไม่เสด็จเข้าไปภายในพระนครและเสด็จออกจากที่นั้น
แล้ว ได้เสด็จไปยังวิหาร. มหาชนถือเอาของกินของบริโภค และเครื่องสัก-
การะบูชาไปวิหาร ได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
พระศาสดา ทรงปรารภพระสูตรนี้ เพื่อทรงลงนิคคหะนครนั้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า วิสมา ได้แก่ มีพื้นดินไม่ราบเรียบ. บทว่า พหุรชา
ได้แก่ ในเวลาลมพัดได้เป็นเหมือนถูกกองฝุ่นฟุ้งขึ้นคลุมไว้. คำที่เหลือในบท
ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามธุราสูตรที่ ๑๐
จบอักโกสกวรรควรรณนาที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อักโกสกสูตร ๒. ภัณฑนสูตร ๓. สีลสูตร ๔. พหุภาณีสูตร
๕. ปฐมอขันติสูตร ๖. ทุติยอขันติสูตร ๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร ๘. ทุติย-
อปาสาทิกสูตร ๙. อัคคิสูตร ๑๐. มธุราสูตร และอรรถกถา.

472