No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 233 (เล่ม 36)

ตติยปัณณาสก์
ผาสุวิหารวรรคที่ ๑
๑. เวสารัชชกรณสูตร
ว่าด้วยธรรมให้แกล้วกล้า ๕ ประการ
[๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้
แกล้ากล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นผู้
ปรารภความเพียร ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑ ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้
ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีผู้มีศรัทธา ฉะนั้น ธรรมนี้จึง
ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศรัทธา ฉะนั้น ธรรมนี้จึง
ชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้าม
ใดย่อมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้าม
ชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้าม
ใดย่อมมีแก่ผู้ได้ศึกษาน้อย ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่เป็นพหูสูต ฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้ากล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความ
ครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้เกียจคร้าน ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ปรารภ
ความเพียร ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้า
แห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทราม ความครั่นคร้าม
นั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีปัญญา ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็น
ผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่ง
ภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้แล.
จบเวสารัชชกรณสูตรที่ ๑

233
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 234 (เล่ม 36)

ตติยปัณณาสก์
ผาสุวิหารวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาเวสารัชชกรณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเวสารัชชกรณสูตรที่ ๑ แห่งตติยปัณณาสก์
ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เวสารชฺชกรณา ได้แก่ เครื่องนำมาซึ่งความแกล้วกล้า.
บทว่า สารชฺชํ โหติ ความว่า ย่อมมีโทมนัส-
จบอรรถกถาเวสารัชชกรณสูตรที่ ๑
๒. สังกิตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เป็นที่น่ารังเกียจ
[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม ธรรม ๕
ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงแพศยา
ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงหม้าย ย่อมเป็นผู้คบหาสาวเทื้อ ย่อมเป็นผู้คบหา
บัณเฑาะก์ ย่อมเป็นผู้คบหาภิกษุณี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะ
เป็นผู้มีอกุปปธรรม.
จบสังกิตสูตรที่ ๒

234
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 235 (เล่ม 36)

อรรถกถาสังกิตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสังกิตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุสฺสงฺกิตปริสงฺกิโต ได้แก่ ถูกระแวงและถูกสงสัย. บทว่า
อปิ อกุปฺปธมฺโม ความว่า ถึงจะเป็นพระขีณาสพผู้มีธรรมไม่กำเริบก็จริง
ย่อมจะถูกภิกษุชั่วเหล่าอื่นระแวงสงสัยได้.
พวกหญิงที่อาศัยรูปร่างเลี้ยงชีพ ท่านเรียกว่า เวสิยา (หญิงแพศยา)
ในบทว่า เวสิยโคจโร เป็นต้น หญิงเหล่านั้นเป็นโคจรของภิกษุนั้น เหตุนั้น
จึงชื่อว่ามีหญิงแพศยาเป็นโคจร อธิบายว่า ไปเรือนของหญิงเหล่านั้นเนืองๆ.
ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิธวา ได้แก่
หญิงผัวตาย. บทว่า ถุลฺลกุมารี ได้แก่ นางสาวแก่.
จบอรรถกถาสังกิตสูตรที่ ๒
๓. โจรสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมหาโจร ๕ ประการ
[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
ย่อมตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อมทำการปล้นเฉพาะเรือนหลัง
เดียวบ้าง ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ มหาโจร
ในโลกนี้เป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบ ๑ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมี
กำลัง ๑ เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑ เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑.

235
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 236 (เล่ม 36)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างไร คือ
มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่ลุ่มแห่งแม่น้ำ หรือที่ไม่ราบเรียบแห่งภูเขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างนี้แล ก็มหาโจร
เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏแห่ง
หญ้าบ้าง ที่รกชัฏแห่งต้นไม้บ้าง ฝั่งแม่น้ำบ้าง ป่าใหญ่บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้ ย่อมอาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง
เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจะกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา พระราชา
หรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านี้จักช่วยว่าความให้ ถ้าใครจักกล่าวหา
เรื่องบางอย่างกะเขา พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้นก็ช่วย
ว่าความให้แก่เขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างนี้แล
ก็มหาโจรย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหา
เรื่องบางอย่างกะเรา เราจักจ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น ถ้าใครกล่าวหา
เรื่องบางอย่างกะเขา เขาย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น ดูก่อน-
ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้
เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้ทำโจรกรรมคนเดียว
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาย่อมปรารถนาว่า เรื่องลับของเราอย่าได้
แพร่งพรายไปภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว
อย่างนี้แล มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมตัดที่ต่อบ้าง
ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อมปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง. ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชน

236
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 237 (เล่ม 36)

จะพึงติเตียน และย่อมประสบบาปเป็นอันมาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๑ เป็น
ผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑ เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑
เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมออย่างไร
คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโน-
กรรม ที่ไม่สม่ำเสมอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่
สม่ำเสมออย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ ปาปภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร
คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่ง
พระราชาบ้าง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา
พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านี้ จักช่วยว่าความให้ ถ้าใคร
กล่าวหาเรื่องบางอย่างแก่เธอ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้น
ย่อมช่วยว่าความให้แก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมี
กำลังอย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ ปาปภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขาร เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่าง
กะเรา เราจักแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่าง
กะเธอ เธอย่อมแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาป-
ภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร
คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่ชนบทชายแดนรูปเดียว เธอเข้าไปหา

237
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 238 (เล่ม 36)

สกุล (บ้านญาติโยม) ในชนบทนั้น ย่อมได้ลาภ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุ
เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชนจะพึงติเตียน
และประสบบาปเป็นอันมาก.
จบโจรสูตรที่ ๓
อรรถกถาโจรสูตร
พึงทราบวินิจฉัยโจรสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิโต โภเคน ปฏิสนฺถริสฺสามิ ความว่า เราจักถือเอา
โภคะจากสมบัติของเรานี้ ทำปฏิสันถารปกปิดด้วยโภคะนั้น อธิบายว่า จักปิด
ช่องระหว่างเขาและเรา. บทว่า นิคฺคหณานิ ได้แก่ การถือเอาของของผู้อื่น.
บทว่า คุยฺหมนฺตา ได้แก่ มนต์ที่ต้องปกปิด. บทว่า อนฺตคฺคาหิกาย
ความว่า ยึดถือสัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความ
ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโจรสูตรที่ ๓
๔. สุขุมาลสูตร
ว่าด้วยธรรมของสมณะผู้ละเอียดอ่อน
[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมชื่อว่าเป็นสมณะละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

238
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 239 (เล่ม 36)

๑.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกขอร้องจึงใช้จีวรมาก ไม่ถูกขอร้องใช้
จีวรน้อย ถูกขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาตมาก ไม่ถูกขอร้องบริโภคบิณฑบาต
น้อย ถูกขอร้องจึงใช้เสนาสนะมาก ไม่ถูกขอร้องใช้เสนาสนะน้อย ถูกขอร้อง
จึงใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ไม่ถูกขอร้องใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารน้อย.
๒. อนึ่ง เธอย่อมอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อน
พรหมจรรย์เหล่านั้น ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรมอันเป็นที่พอใจเป็น
ส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยวจีกรรม
อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติ
ต่อเธอด้วยมโนกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วน
น้อย ย่อมนำสิ่งที่ควรนำเข้าไปอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจ
เป็นส่วนน้อย.
๓. อนึ่ง เวทนามีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มี
ลมเป็นสมุฏฐานก็ดี ที่เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี ที่เกิดเพราะฤดูเปลี่ยนแปรก็ดี
ที่เกิดเพราะการบริหารไม่เสมอก็ดี ที่เกิดเพราะความแก่ก็ดี ที่เกิดเพราะผล-
กรรมก็ดี ย่อมไม่บังเกิดแก่เธอมาก เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย.
๔. เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน.
๕. เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ
มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็น
สมณะละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใดว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าว

239
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 240 (เล่ม 36)

กะเรานั่นเทียวว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เพราะว่า เราถูก
ขอร้องจึงใช้จีวรมาก ไม่ถูกขอร้องใช้จีวรน้อย ถูกขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาต
มาก ไม่ถูกขอร้องบริโภคบิณฑบาตน้อย ถูกขอร้องจึงใช้เสนาสนะมาก ไม่ถูก
ขอร้องใช้เสนาสนะน้อย ถูกขอร้องจึงใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ไม่ถูก
ขอร้องใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารน้อย และเราย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุเหล่าใด
ภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติต่อเราด้วยกายกรรม อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก
อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเราด้วยวจีกรรมอันเป็นที่
พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเราด้วย
มโนกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อม
นำสิ่งที่ควรนำเข้าไปอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วน
น้อย และเวทนามีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มีลมเป็น
สมุฏฐานก็ดี ที่เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี ที่เกิดเพราะฤดูเปลี่ยนแปรก็ดี ที่เกิด
เพราะการบริหารไม่เสมอก็ดี ที่เกิดเพราะความแก่ก็ดี ที่เกิดเพราะผลกรรมก็ดี
ย่อมไม่บังเกิดแก่เรามาก เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย เราเป็นผู้ได้ตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่อง
อยู่สบายในปัจจุบัน ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใดว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าว
เรานั่นเทียวว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ.
จบสุขุมาลสูตรที่ ๔
สุขุมาลสูตรที่ ๔ ทุกบทมีนัยกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

240
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 241 (เล่ม 36)

๕. ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการ
[๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบ
ด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ เข้าไปตั้งวจีกรรม
ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ เข้าไปตั้ง
มโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑
มีศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ
อันตัณหาและทิฏฐิไม่เกี่ยวเกาะ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ ทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก ย่อมนำออก
เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ แห่งผู้กระทำ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้แล.
จบผาสุวิหารสูตรที่ ๕

241
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 242 (เล่ม 36)

อรรถกถาผาสุวิหารสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในผาสุวิหารสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เมตฺตํ กายกมฺมํ ได้แก่ กายกรรมที่ให้เป็นไปด้วยจิต
ประกอบด้วยเมตตา. บทว่า อาวิ เจว รโห จ ได้แก่ ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง. แม้ในบทนอกนี้ ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า ยานิ ตานิ สีลานิ เป็นต้น ตรัสด้วยจตุปาริสุทธิศีล. บทว่า
สมาธิสํวตฺตนิกานิ ได้แก่ อันทำให้มรรคสมาธิและผลสมาธิบังเกิด. บทว่า
สีลสามญฺญคโต แปลว่า ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกัน อธิบายว่า เป็นผู้มี
ศีลเช่นเดียวกัน. บทว่า ตกฺกรสฺส ได้แก่ ผู้กระทำตามความเห็นนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความมีศีลเสมอกัน ตรัสทิฏฐิวิปัสสนาและสัมมาทิฏฐิ
ในสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาผาสุวิหารสูตรที่ ๕
๖. อานันทสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สงฆ์อยู่ผาสุก
[๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้
เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก เพราะเหตุเท่าไรหนอแล.

242