No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 93 (เล่ม 36)

มุณฑราชวรรคที่ ๕
๑. อาทิยสูตร
ว่าด้วยหลักการใช้โภคทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ ๕ อย่าง
[๔๑] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี
ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น
ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
โดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารตนให้เป็นสุขสำราญ
เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงบุตร
ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุข
สำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๑.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย
ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม
ได้มาโดยธรรม เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุข
สำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๒.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย
ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม
ได้มาโดยธรรม ป้องกันอันตรายที่เกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือ

93
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 94 (เล่ม 36)

ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ทำตนให้สวัสดี นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่
โภคทรัพย์ข้อที่ ๓.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย
ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม
ได้มาโดยธรรม ทำพลี ๕ อย่าง คือ
๑. ญาติพลี [บำรุงญาติ]
๒. อติถิพลี [ต้อนรับแขก]
๓. ปุพพเปตพลี [ทำบุญอุทิศกุศลให้ผู้ตาย]
๔. ราชพลี [บริจาคทรัพย์ช่วยชาติ]
๕. เทวตาพลี [ทำบุญอุทิศให้เทวดา]
นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๔.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย
ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม
ได้มาโดยธรรม บำเพ็ญทักษิณา มีผลสูงเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบาก
เป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไปด้วยดีในสมณพราหมณ์ ผู้เว้นจากความ
มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้มั่นคง ฝึกฝนตนให้สงบระงับ
ดับกิเลสโดยส่วนเดียว นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๕.
ดูก่อนคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล
ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์
หมดสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ถือเอาประโยชน์แต่
โภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้ อริยสาวก
นั้น ย่อมไม่มีความเดือดร้อน ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่

94
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 95 (เล่ม 36)

มุณฑราชวรรควรรณนาที่ ๕
อรรถกถาอาทิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอาทิยสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โภคานํ อาทิยา ได้แก่ เหตุแห่งโภคะทั้งหลายที่พึงถือเอา
ประโยชน์. บทว่า อุฏฐานวิริยาธิคเตหิ ได้แก่ ที่ได้มาด้วยความขยัน
หมั่นเพียร. บทว่า พาหาพลปริจิเตหิ ได้แก่ ที่สะสมไว้ด้วยกำลังแขน.
บทว่า เสทาวกฺขิตฺเตหิ ได้แก่ ที่อาบเหงื่อได้มา. บทว่า ธมฺมิเกหิ คือ
ประกอบด้วยธรรม. บทว่า ธมฺมลทฺเธหิ ได้แก่ ไม่เสียกุศลธรรม ได้มา
โดยธรรม. บทว่า ปิเณติ ได้แก่ กระทำให้อิ่มหนำสำราญ. บทที่เหลือใน
สูตรนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในจตุกนิบาต.
จบอรรถกถาอาทิยสูตรที่ ๑
๒. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยสัปบุรุษเกิดมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนมาก
[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล ย่อมเกิดมาเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก คือ แก่มารดาบิดา
แก่บุตรภริยา แก่ทาส กรรมกร คนรับใช้ แก่มิตรสหาย แก่สมณพราหมณ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาเมฆ ยังข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม

95
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 96 (เล่ม 36)

โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิด
อย่างนี้ว่า เราถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็
เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความเดือดร้อน อริยสาวกย่อมไม่มีความ
เดือดร้อนด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการฉะนี้แล.
นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้
ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตนแล้ว ได้ใช้จ่าย
โภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่าน
พ้นภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมี
ผลสูงเลิศแล้ว ได้ทำพลี ๕ ประการแล้ว
และได้บำรุงท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์
ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว บัณฑิตผู้อยู่
ครองเรือน พึงปรารถนาโภคทรัพย์ เพื่อ
ประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น เราก็ได้บรรลุ
แล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว
ดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระ-
อริยะ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขา
ในโลกนี้ เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว
ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์.
จบอาทิยสูตรที่ ๑

96
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 97 (เล่ม 36)

ชื่อว่าย่อมมีมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก
ฉันใด สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล ย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ
ความสุข แก่ชนเป็นอันมาก คือ แก่มารดาบิดา แก่บุตรภริยา แก่ทาส
กรรมกร คนรับใช้ แก่มิตรสหาย แก่สมณพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัปบุรุษผู้ครอบครองโภคทรัพย์
เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เทวดาย่อมรักษาเขาผู้อันธรรมคุ้มครอง
เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและความ
ประพฤติ เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรม ใครจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่
ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัจ มีหิริ
ในใจ เปรียบเสมือนแห่งทองชมพูนุท แม้
เทวดาก็ชม แม้พรหมก็สรรเสริญเขา.
จบสัปปุริสสูตรที่ ๒
๓. อิฏฐสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนาที่หาได้ยาก ๕ อย่าง
[๔๓] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี
ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก
๕ ประการเป็นไฉน คือ อายุ ๑ วรรณะ ๑ สุข ๑ ยศ ๑ สวรรค์ ๑

97
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 98 (เล่ม 36)

ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
หาได้โดยยากในโลก.
ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยาก
ในโลก เรามิได้กล่าวว่าจะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุ
แห่งความปรารถนา ถ้าธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
หาได้โดยยากในโลก จักได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุ
แห่งความปรารถนาแล้วไซร้ ในโลกนี้ ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร ดูก่อน
คฤหบดี อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุหรือ
แม้เพราะเหตุแห่งอายุ อริยสาวกผู้ต้องการอายุ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไป
เพื่ออายุ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุที่พระอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกผู้นั้นย่อมได้อายุที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของ
มนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ
หรือแม้เพราะเหตุแห่งวรรณะ อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ พึงปฏิบัติปฏิปทา
อันเป็นไปเพื่อวรรณะ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ ที่อริยสาวกนั้น
ปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้นย่อมได้วรรณะที่เป็น
ของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่อ้อนวอนหรือ
เพลิดเพลินสุข หรือแม้เพราะเหตุแห่งสุข อริยสาวกผู้ต้องการสุข พึงปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุข เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติ
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุขที่เป็นของทิพย์หรือ
ของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือ
แม้เพราะเหตุแห่งยศ อริยสาวกผู้ต้องการยศ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อ
ยศ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้นย่อมได้ยศที่เป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์ อริย-

98
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 99 (เล่ม 36)

สาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์ หรือแม้
เพราะเหตุแห่งสวรรค์ อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไป
เพื่อสวรรค์ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์ อริยสาวกนั้นย่อมได้สวรรค์.
ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ
เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง
และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาท
ให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลาย ย่อม
สรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประ-
โยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ใน
ปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ
ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่าบัณฑิต เพราะ
บรรลุถึงประโยชน์ทั้งสองนั้น.
จบอิฏฐสูตรที่ ๓
อรรถกถาอิฏฐสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอิฏฐสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อายุสํวตฺตนิกา ปฏิปทา ได้แก่ ปฏิปทาทางบุญซึ่งมีทาน
และศีลเป็นต้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺถาภิสมยา
ได้แก่ บรรลุประโยชน์ ท่านอธิบายว่า เพราะได้ประโยชน์.
จบอรรถกถาอิฏฐสูตรที่ ๓

99
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 100 (เล่ม 36)

๔. มนาปทายีสูตร
ว่าด้วยผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่า
มหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์แห่งอุคคคฤหบดี
ชาวเมืองเวสาลี ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้ ครั้งนั้น อุคคคฤหบดี
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควร-
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้
ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ขาทนียาหารชื่อสาลปุบผกะของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับขาทนียาหารของข้าพระองค์
นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว อุคคคฤหบดี
ได้กราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้
ก็เนื้อสุกรอย่างดีของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย
ความอนุเคราะห์รับเนื้อสุกรอย่างดีของข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว อุคคคฤหบดีได้กราบทูลอีกว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็นาลิยสากะขาทนียาหาร
ซึ่งทอดด้วยน้ำมัน ของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อาศัยความอนุเคราะห์รับนาลิยสากะขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นเกิด พระ-

100
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 101 (เล่ม 36)

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่
พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่ขาวสะอาด มีกับมาก
มีพยัญชนะมาก ของข้าพระองค์ เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย
ความอนุเคราะห์รับข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ของข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้
ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ผ้าที่ทำในแคว้นกาสีของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับผ้าของข้าพระองค์นั้นเถิด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่
พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ลาดด้วยผ้า
โกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่อง
ลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดใหญ่มีหมอนข้าง
ทั้งสองของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ และข้าพระองค์ก็ย่อมทราบดีว่า สิ่งเหล่านี้
ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เตียงไม้จันทน์ของข้าพระองค์นี้มีราคาเกินกว่า
แสนกหาปณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเตียงของ
ข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนียกถาดังต่อไปนี้
ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่
พอใจ ผู้ได้ย่อมให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน
ข้าว น้ำ และปัจจัยมีประการต่าง ด้วย
ความพอใจ ในท่านผู้ประพฤติตรง สิ่งของ

101
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ – หน้าที่ 102 (เล่ม 36)

ที่ให้ไปแล้วนั้น ย่อมเป็นของที่บริจาคแล้ว
สละแล้ว ไม่คิดเอาคืน ผู้นั้นเป็นสัปบุรุษ
ทราบชัดว่า พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ
บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยากแล้ว ชื่อว่าให้
ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนีย-
กถากะอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว จึงเสด็จลูกจากอาสนะหลีกไป ต่อมา
ไม่นาน อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี ก็ได้ทำกาละ และเมื่อทำกาละแล้ว
เข้าถึงหมู่เทพ ชื่อมโนมยะหมู่หนึ่ง ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร
สาวัตถี ครั้งนั้นอุคคเทพบุตรมีวรรณงาม เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ยังพระ
วิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสถามว่า ดูก่อนอุคคะ ตามที่ท่านประสงค์สำเร็จแล้วหรือ อุคคเทพบุตร
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตามที่ข้าพระองค์ประสงค์สำเร็จแล้ว
พระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะอุคคเทพบุตรด้วย
พระคาถาความว่า
ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่
พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี และผู้ให้ของ
ที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ

102