No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 407 (เล่ม 35)

พ. ตรัสตอบว่า บุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำยังไม่ได้ แต่ได้เนว-
สัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบันนี้ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มเปรมด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ปักใจ
ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ช่ำอยู่ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ไม่เสื่อม จนทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าเนวสัญญานาสัญ-
ญายตนะ บุคคลนั้นจุติจากอัตภาพนั้นย่อมเป็นอาคามี มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก
ส่วนบุคคลบางคนละสังโยชน์เบื้องต่ำได้แล้ว ได้เนวสัญญานาสัญญายตนะใน
ปัจจุบันนี้ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ฯลฯ
ไม่เสื่อม จนทำกาลกิริยา ย่อมไปบังเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าเนวสัญญานา
สัญญายตนะ บุคคลนั้นจุติจากอัตภาพนั้นย่อมเป็น อนาคามี ไม่มาสู่อัตภาพ
อย่างนี้อีก ดูก่อนสารีบุตร นี่แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้เหล่าสัตว์บางพวก
จุติจากอัตภาพนั้นแล้วเป็นอาคามี มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก บางพวกจุติจาก
อัตภาพนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก.
จบเจตนาสูตรที่ ๑
สัญเจตนิยวรรควรรณนาที่ ๓
อรรถกถาเจตนาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาเย ได้แก่ เมื่อกายทวาร อธิบายว่า เมื่อความเคลื่อนไหว
ทางกายมีอยู่. ในบทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ เป็นต้น ความสำเร็จแห่งเจตนา

407
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 408 (เล่ม 35)

ในกายทวารชื่อว่า กายสัญเจตนา (ความจงใจทำทางกาย) กายสัญเจตนานั้น
มี ๒๐ อย่าง คือ กามาวจรกุศล ๘ อย่าง อกุศล ๑๒ อย่าง. วจีสัญเจตนา
(ความจงใจทำทางวาจา) ก็เหมือนกัน มโนสัญญเจตนา (ความจงใจทำ
ทางใจ) ก็เหมือนกัน. อนึ่ง แม้มหัคคตเจตนา ๙ ก็ได้ในบทนี้. บทว่า
กายสญฺเจตนาเหตุ ได้แก่ เพราะกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย. บทว่า อุปฺปชฺชติ
อชฺฌตฺตํ สุขทุกฺขํ ได้แก่ สุขเกิดขึ้นภายในตนเพราะกุศลกรรม ๘ เป็น
ปัจจัย ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอกุศลกรรม ๑๒ เป็นปัจจัย. แม้ในทวารที่เหลือก็มี
นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา วา ได้แก่ เพราะอวิชชาเป็นเหตุ.
จริงอยู่ ถ้าว่าอวิชชาที่ถูกปกปิดไว้เป็นปัจจัย เมื่อเป็นเช่นนั้น เจตนาอันเป็น
ปัจจัยแห่งสุขและทุกข์ในทวาร ๓ ย่อมเกิดขึ้น. นี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจปัจจัย
อันเป็นมูล ด้วยประการฉะนี้.
ในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา วา สามํ วา เป็นต้น บุคคลอันคนอื่น
ไม่ได้ใช้ เมื่อปรุงแต่งด้วยตนเอง ชื่อว่า ปรุงแต่งกายสังขารเอง. ชักชวน
คนอื่นให้ปรุงกายสังขารใด คนอื่น ชื่อว่า ปรุงกายสังขารนั้นของเขา.
ก็บุคคลใดรู้กุศลว่าเป็นกุศล รู้อกุศลว่าเป็นอกุศล รู้กุศลวิบากว่าเป็นกุศลวิบาก
รู้อกุศลวิบากว่าเป็นอกุศลวิบาก ย่อมปรุงสังขาร ๒๐ อย่างในกายทวารบุคคลนี้
ชื่อว่า รู้ปรุงสังขาร บุคคลใดไม่รู้อย่างนี้ปรุงสังขาร บุคคลนี้ ชื่อว่า ไม่รู้
ปรุงสังขาร. แม้ในทวารที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในข้อนั้นพึงทราบการการทำโดยไม่รู้ตัวดังนี้. พวกเด็กรุ่น คิดว่า
เราจะทำกิจที่มารดาบิดาทำไว้ จึงไหว้เจดีย์ บูชาด้วยดอกไม้ ไหว้หมู่ภิกษุสงฆ์
แม้ทั้งที่เขาไม่รู้ว่าเป็นกุศล การกระทำนั้นก็เป็นกุศลทั้งนั้น. สัตว์เดียรัจฉาน
มีเนื้อและนกเป็นต้นก็เหมือนกัน ฟังธรรม ไหว้สงฆ์ ไหว้เจดีย์ ทั้งที่มันรู้บ้าง
ไม่รู้บ้าง กระทำนั้นก็เป็นกุศลเหมือนกัน. แต่พวกเด็กรุ่น เอามือและเท้า

408
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 409 (เล่ม 35)

เตะดีมารดาบิดา ยกมือขู่ตะคอกขว้างก้อนดินด่า. แม่โคไล่ตามหมู่ภิกษุ. เหล่า
สุนัขไล่ตามกัด. สีหะและพยัคฆ์เป็นต้น ไล่ตามฆ่า. ทั้งที่มันรู้บ้างไม่รู้บ้าง
พึงทราบว่าเป็นอกุศลกรรม.
บัดนี้ พึงรวบรวมเจตนาอันประมวลลงในทวารแม้ทั้ง ๓. ถามว่า
อย่างไร. ตอบว่า ในกายทวาร เจตนาที่ทำด้วยตนเองเป็นมูล ๒๐ ที่คนอื่นใช้
เป็นมูล ๒๐ ที่รู้ตัวเป็นมูล ๒๐ ที่ไม่รู้ตัวอยู่เป็นมูล ๒๐ รวมเป็นเจตนา ๘๐.
ในวจีทวารก็เหมือนกัน. แต่ในมโนทวาร วิกัปหนึ่ง ๆ วิกัปละ ๒๙ (๔ วิกัป)
รวมเป็น ๑๑๖. ดังนั้น เจตนาแม้ทั้งหมดในทวาร ๓ มีสองร้อยเจ็ดสิบหก
(๒๗๖) เจตนาแม้ทั้งหมดนั้น ย่อมนับได้ว่า เป็นสังขารขันธ์ทั้งนั้น การเสวย
อารมณ์สัมปยุตด้วยสังขารนั้นเป็นเวทนาขันธ์ อาการรู้จำเป็นสัญญา จิต
เป็นวิญญาณขันธ์ กายเป็นอุปาทารูป ธาตุ ๔ ที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทารมณ์
เป็นภูตรูป ๔ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวมาเหล่านี้ ชื่อว่าทุกขสัจ. บทว่า อิเมสุ
ภิกฺขเว ธมฺเมสุ อวิชฺชานุปติตา ความว่า อวิชชาตกไปแล้วในเจตนา-
ธรรมมีประเภทดังกล่าวแล้วเหล่านี้ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย และอุปนิสสย-
ปัจจัย. เป็นอันท่านแสดงถึงวัฏฏะและอวิชชา ที่เป็นมูลแห่งวัฏฏะ ด้วยอาการ
อย่างนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญพระขีณาสพผู้เจริญ
วิปัสสนาด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล้วบรรลุพระอรหัต จึงตรัสว่า อวิชฺชายเตฺวว
อเสสวิราคนิโรธา ดังนี้เป็นอาทิ. ในบทเหล่านั้น บทว่า อเสสวิราค-
นิโรธา ได้แก่ สำรอกโดยไม่เหลือ และดับโดยไม่เหลือ. บทว่า โส กาโย
น โหติ ความว่า การกระทำทางกายของพระขีณาสพ ย่อมปรากฏเป็นต้น
อย่างนี้ คือ การกวาดลานเจดีย์ การกวาดลานโพธิ์ การก้าวไปและการ
ถอยกลับ การทำวัตรปฏิบัติ. แต่ในกายทวาร เจตนา ๒๐ ของพระขีณาสพนั้น

409
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 410 (เล่ม 35)

ย่อมถึงความเป็นกิจไม่มีวิบากเป็นธรรมดา. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โส
กาโย น โหติ ยมฺปจฺจยาสฺส ตํ อุปฺปชฺชติ อชฺฌตฺตํ สุขทุกฺขํ
(กายอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในของพระขีณาสพนั้นเกิดไม่มี) เจตนาอัน
เป็นไปในกายทวาร ท่านประสงค์ว่า กายในที่นี้. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้
เหมือนกัน. แม้บทมีอาทิว่า เขตฺตํ ดังนี้ ก็เป็นชื่อของกรรมทั้งที่เป็นกุศล
และอกุศลนั่นแล. จริงอยู่ สุขและทุกข์นั้นท่านกล่าวว่าชื่อว่าเขต เพราะ
อรรถกถาว่า เป็นที่งอกแห่งวิบาก ชื่อว่าวัตถุ เพราะอรรถว่า เป็นพื้นที่ตั้ง
ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถวาเป็นเหตุ ชื่อว่า อธิกรณะ เพราะอรรถว่า
เป็นเรื่องราว.
พระศาสดา ครั้นทรงแสดงกรรมอันประมวลลงด้วยทวาร ๓ โดยฐานะ
ประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงฐานะอันเป็นผลของกรรมนั้น
จึงตรัสว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว ดังนี้ เป็นอาทิ. ในบทนั้น บทว่า อตฺตภาว-
ปฏิลาภา ได้แก่ อัตภาพที่ทนได้แล้ว. บทว่า อตฺตสญฺเจตนา กมติ
ได้แก่ เจตนาที่ตนดำริไว้ย่อมนำไป คือ ย่อมเป็นไป. ในบทมีอาทิว่า
อตฺตสญฺเจตนาเหตุ เตสํ สตฺตานํ ตมฺหา กายา จุติ โหติ (การจุติ
จากกายนั้นของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมมี เพราะสัญเจตนาของคนเป็นเหตุ)
ได้แก่ พวกเทพผู้เป็นขิฑฑาปโทสิกะ (มุ่งแต่จะเล่น. ) ย่อมจุติเพราะสัญเจตนา
ของตนเป็นเหตุ. ด้วยว่า เมื่อทวยเทพเหล่านั้นดื่มด่ำอยู่ในความพอใจของทิพย์
ในสวนนันทวัน จิตรลดาวันและปารุสกวันเป็นต้น เหนื่อยอ่อน ลืมดื่มและ
บริโภค. เขาย่อมแห้งไปเพราะขาดอาหาร เหมือนดอกไม้ที่เหวี่ยงไปในแดด.
มโนปโทสิกา (ทวยเทพผู้ทำร้ายทางใจ) ย่อมจุติเพราะสัญเจตนา
ของผู้อื่นเป็นเหตุ ได้แก่ ทวยเทพชั้นจาตุมมหาราชิกา ได้ยินว่า บรรดา
ทวยเทพเหล่านั้น เทพบุตรองค์หนึ่ง หมายจักเล่นนักขัตฤกษ์ จึงพร้อมด้วย

410
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 411 (เล่ม 35)

บริวาร ขึ้นรถไปตามทาง ที่นั้นเทพบุตรอีกองค์หนึ่ง ออกไปเห็นเทพบุตรนั้น
กำลังไปข้างหน้า จึงโกรธว่า อะไรกันพ่อเอ้ย คนขอทานผู้เห็นเทพบุตร
องค์หนึ่งทำเหมือนไม่เคยเห็นแล้วเห่อผยองราวกระบวนแห่ไปตามถนน. เทพ-
บุตรผู้เดินไปข้างหน้าเหลียวดูเห็นเทพบุตรนั้นโกรธ คิดว่า ขึ้นชื่อว่า คนโกรธ
รู้ได้ง่าย ครั้นรู้ว่าเทพบุตรนั้นโกรธจริง จึงโกรธตอบว่าท่านโกรธจักทำอะไร
เราได้ เราได้สมบัตินี้มาด้วยอำนาจทานและศีลเป็นต้น ไม่ใช่ได้มาด้วยอำนาจ
ของท่าน ก็เมื่อเทพบุตรองค์หนึ่งโกรธ อีกองค์หนึ่งไม่โกรธยังรักษาไว้ได้
แต่เมื่อทั้งสองโกรธ ความโกรธของเทพบุตรองค์หนึ่งเป็นปัจจัยของอีกองค์หนึ่ง
ความโกรธของเทพบุตรองค์นั้นก็เป็นปัจจัยของเทพบุตรอีกองค์หนึ่ง เพราะ
ฉะนั้น เทพบุตรทั้งสองย่อมจุติทั้งที่สนมเทพอัปสรคร่ำครวญอยู่.
มนุษย์ทั้งหลายย่อมจุติเพราะสัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่น
เป็นเหตุ อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลายย่อมจุติ เพราะเหตุแห่งสัญเจตนาของตน
และแห่งสัญเจตนาของผู้อื่น. จริงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายครั้นโกรธแล้วก็เอามือบ้าง
เท้าบ้าง ทุบตีตนด้วยตนเอง ผูกด้วยเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้นบ้าง ตัดศีรษะ
ด้วยดาบบ้าง กินยาพิษบ้าง ย่อมกระโดดเหวบ้าง กระโดดน้ำบ้าง เข้ากองไฟ
บ้าง เอาท่อนไม้ศัสตราประหาร แม้คนอื่นให้ตายบ้าง. สัญเจตนาของตนก็ดี
สัญเจตนาของผู้อื่นก็ดี ย่อมเป็นไปในมนุษย์เหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า กตเม เตน เทวา ทฏฺฐพฺพา ความว่า จะพึงเห็นทวยเทพ
เหล่านั้นเป็นไฉน หรือความว่าจะพึงเห็นทวยเทพด้วยอัตภาพนั้นเป็นไฉน
ดังนี้บ้าง. ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงถามปัญหานี้ การกล่าวด้วยตนเอง
ยังไม่พอหรือ. ตอบว่า ยังไม่พอ. ก็บทนี้เป็นปัญหาพุทธวิสัยโดยสภาวะของ
ปัญหา เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงไม่กล่าว. บทว่า เตน ทฏฺฐพฺพา ได้แก่
พึงเห็นด้วยอัตภาพนั้น. ก็ปัญหานี้ย่อมได้ในกามาวจรบ้าง รูปาวจรบ้าง

411
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 412 (เล่ม 35)

ในเบื้องต่ำ แต่ตรัสกำหนดด้วยภวัคคพรหม เป็นอันตรัสโดยสิ้นเชิง เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อาคนฺตาโร อิตฺถตฺตํ
ได้แก่ เป็นผู้กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือ สู่ความเป็นกามาวจรและเบญจ-
ขันธ์นั่นเอง หาได้เกิดในภพนั้นไม่ มิได้เกิดในภพเบื้องบน. บทว่า อนาคนฺ-
ตาโร อิตฺถตฺตํ ได้แก่ เป็นผู้ไม่กลับมาสู่ขันธบัญจกนี้คือเป็นผู้ไม่เกิดใน
เบื้องต่ำ อธิบายว่า เป็นผู้เกิดในภพนั้นบ้าง เป็นผู้เกิดในเบื้องบนบ้าง เป็นผู้
ปรินิพพานในภพนั้นนั่นเองบ้าง. ในบทนี้พึงทราบสัตว์ผู้เกิดในเบื้องบน แม้
ด้วยอำนาจสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้วในภพชั้นต่ำ. ก็ขันธบัญจกนี้ไม่มีในภวัคค-
พรหม. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเจตนาสูตรที่ ๑
๒. วิภัตติสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรปฏิญญาว่าได้ปฏิสัมภิทา ๔
[๑๗๒] พระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมา ฯลฯ กล่าวว่า อาวุโส
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าอุปสมบทได้กึ่งเดือนก็ได้ทำให้แจ้งอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิ-
สัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา โดยเป็นส่วน โดยพยัญชนะ
ข้าพเจ้าบอก แสดง แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกทำให้ตื้น ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา
ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นได้โดยอเนกปริยาย
ผู้ใดมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง เชิญถามข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักกล่าแก้
พระศาสดาผู้ทรงฉลาดเลิศในธรรมทั้งหลาย ก็ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลาย.
จบวิภัตติสูตรที่ ๒

412
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 413 (เล่ม 35)

อรรถกถาวิภัตติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวิภัตติสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺถปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถ
ทั้งหลาย ๕. บทว่า โอธิโส คือโดยเหตุ. บทว่า พฺยญฺชนโส คือ โดยอักษร.
บทว่า อเนกปริยาเยน คือ โดยเหตุหลายอย่าง. บทว่า อาจิกฺขามิ แปลว่า
บอก บทว่า เทเสมิ คือ บอกกล่าวทำให้ปรากฏ. บทว่า ปญฺญาเปมิ คือ
ให้เขารู้. บทว่า ปฏฺฐเปมิ คือ กล่าวยกขึ้นให้เป็นไปแล้ว บทว่า วิวรามิ
คือ บอกแบบเปิดเผย. บทว่า วิภชามิ คือ บอกแบบจำแนก. บทว่า
อุตฺตานีกโรมิ คือ บอกทำข้อที่ลึกซึ้งให้ตื้น. บทว่า โส มํ ปญฺเหน
ได้แก่ ผู้นั้นจงเข้าไปถามปัญหาเรา. บทว่า อหํ เวยฺยากรเณน ความว่า
ข้าพเจ้าจักยังจิตของผู้นั้นให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหา. บทว่า โย โน ธมฺมานํ
สุกุสโล ความว่า พระศาสดาผู้ทรงฉลาดเลิศในธรรมที่เราบรรลุแล้ว พระองค์
ประทับอยู่ต่อหน้าเรา ตรัสว่า ผิว่า อัตถปฏิสัมภิทา เรายังไม่ทำให้เจ้า
ดูก่อนสารีบุตร เธอจงทำให้แจ้งก่อนแล้ว จักทรงห้ามเสีย. เพราะเหตุนั้น
พระสารีบุตรชื่อว่านั่งต่อพระพักตรพระศาสดา บันลือสีหนาท. พึงทราบความ
ในบททั้งหมดด้วยอุบายนี้. ก็และในปฏิสัมภิทาเหล่านี้ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็น
โลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทา เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาวิภัตติสูตรที่ ๒

413
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 414 (เล่ม 35)

๓. โกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ดับไม่เหลือ
[๑๗๓] ครั้งนั้นพระมหาโกฏฐิตะไปหาพระสารีบุตร ฯลฯ ถาม
พระสารีบุตรว่า อาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่น
ยังมีหรือ.
พระสารีบุตรตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น อาวุโส.
มหา. เพราะผัสสาตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่นไม่มีหรือ.
สา. ไม่ใช่อย่างนั้น.
มหา. เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่นยังมีก็มิใช่
ไม่มีบ้างหรือ.
สา. ไม่ใช่อย่างนั้น.
มหา. เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่นยังมีก็มิใช่
ไม่มีก่มิใช่หรือ.
สา. ไม่ใช่อย่างนั้น.
มหา. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว
อะไรอื่นยังมีหรือ ท่านก็ตอบว่าไม่ใช่อย่างนั้น...ไม่มีหรือ ก็ว่าไม่ใช่...
มีบ้างไม่มีบ้างหรือ ก็ว่าไม่ใช่...มีก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่หรือ ก็ว่าไม่ใช่ ก็ความ
แห่งคำที่กล่าวนี้จะพึงเข้าใจได้อย่างไร.
สา. ดูก่อนอาวุโส เมื่อกล่าวว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือ
แล้ว อะไรอื่นยังมีอีก ดังนี้ ชื่อว่าทำเรื่องไม่เป็นไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า เมื่อกล่าวว่า
เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่นไม่มี ... มีบ้างไม่มีบ้าง

414
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 415 (เล่ม 35)

... มีก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ ดังนี้ ๆ ก็ชื่อว่าทำเรื่องที่ไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า นี่แน่ะ
อาวุโส ผัสสายตนะ ๖ ยังเป็นไปอยู่เพียงใด ปปัญจธรรม (ธรรมอันทำให้
เนิ่นช้า) ก็ยังเป็นไปอยู่เพียงนั้น ปปัญจธรรมยังเป็นไปอยู่เพียงใด ผัสสาย-
ตนะ ๖ ก็ยังเป็นไปอยู่อย่างนั้น ผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว ปปัญจ-
ธรรมก็ดับรำงับไป.
จบโกฏฐิตสูตรที่ ๓
อรรถกถาโกฏฐิตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโกฏฐิตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ผสฺสายตนานํ ได้แก่ บ่อเกิดแห่งผัสสะ. อธิบายว่า ที่ที่
เกิดแห่งผัสสะ. บทว่า อตฺถญฺญํ กิญฺจิ ความว่า ท่านมหาโกฏฐิตะถามว่า
เมื่อผัสสายตนะเหล่านั้นดับ โดยไม่เหลือ กิเลสไรๆ นอกจากนั้นแม้จำนวน
น้อยยังมีอยู่หรือ. แม้ในบทว่า นตฺถญฺญํ กิญฺจิ ท่านมหาโกฏฐิตะก็ถามว่า
กิเลสแม้จำนวนน้อยก็ไม่มีหรือ. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ท่าน-
มหาโกฎฐิตะถามปัญหาแม้ ๔ ข้อเหล่านี้ด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ
เอกัจจสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเทียงเป็นบางอย่าง) และอมราวิกเขปทิฏฐิ
(ความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว). ด้วยเหตุนั้น พระเถระ (พระสารีบุตร) เมื่อจะ
คัดค้านปัญหาที่ท่านมหาโกฏฐิตะถามแล้วถามอีก จึงกล่าวว่า มาเหวํ ดังนี้.
คำว่า หิ ในคำนี้ (มาเหวํ) เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้.
ท่านมหาโกฏฐิตะถามโดยอาการมีสัสสตทิฏฐิเป็นต้นว่า สิ่งใด ๆ อื่นด้วยอำนาจ
การเข้าไปถือว่ามีอัตตามีอยู่หรือ คือชื่อว่า อิตตาไร ๆ อื่นมีอยู่หรือ. ถามว่า
ก็พระเถระ (พระมหาโกฏฐิตะ) นี้เป็นอัตตูปลัทธิถือลัทธิว่ามีอัตตา หรือ.

415
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 416 (เล่ม 35)

ตอบว่า ไม่ใช่อัตตูปลัทธิ แต่ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้นมีลัทธิอย่างนี้ ภิกษุ
นั้นไม่อาจถามได้. ท่านมหาโกฏฐิตะถามอย่างนี้เพื่อจะให้พระสารีบุตรแก้ ลัทธิ
ในที่นั้น. พระมหาโกฏฐิตะ คิดว่า พระมหาสาวกทั้งหลายแก้ปัญหานี้ แม้ใน
พุทธกาลแก่ผู้ที่จักมีลัทธิอย่างนี้ในอนาคตกาล จึงถามเพื่อตัดโอกาสที่จะพูดกัน .
บทว่า อปฺปมญฺจํ ปปญฺเจติ ได้แก่ ไม่ทำความเนิ่นช้าในที่อัน
ควรทำให้เนิ่นช้า คือหน่วงทางอันไม่ควรหน่วง. บทว่า ตาวตา ปญฺจสฺส-
คติ ความว่า คติแห่งผัสสายตนะ ๖ ยังมีอยู่เพียงใด คติแห่งปปัญจธรรม
(ธรรมอันทำให้เนิ่นช้า) อันต่างด้วย ตัณหา ทิฏฐิ มานะก็ยังมีอยู่เพียงนั้น
บทว่า ฉนฺนํ อาวุโส ผสฺสายตนานํ อเสสวิราคนิโรธา ปปญฺจนิโรโธ
ปปญฺจวูปสโม (ดูก่อนผู้อาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับด้วยสำรอกโดย
ไม่เหลือ ปปัญจธรรมก็ดับ ปปัญจธรรมก็ระงับไป) ความว่า เมื่ออายตนะ ๖
เหล่านี้ ดับโดยประการทั้งปวง แม้ปปัญจธรรมก็เป็นอันดับไป เป็นอัน
ระงับไป แต่ในอรูปภพ ผัสสายตนะ ๕ ของเทวดาผู้เป็นปุถุชนดับไปก็จริง
ถึงดังนั้น เพราะผัสสายตนะที่ ๖ ยังไม่ดับ ปปัญจธรรมแม้ ๓ ก็ชื่อว่า ยังละ
ไม่ได้. ก็และท่านกล่าวปัญหานี้ ด้วยสามารถปัญจโวหารภพ ของสัตว์ที่มี
ขันธ์ ๕ เท่านั้น.
จบอรรถกถาโกฏฐิตสูตรที่ ๓

416