No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 397 (เล่ม 35)

๗. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรไปหาพระมหาโมคคัลลานะ
[๑๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปหาท่านพระมหาโมคคัล-
ลานะถึงทีอยู่ ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นกล่าวถ้อยคำ
ที่ทำให้เกิดความยินดีต่อกันเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ได้ถามพระมหาโมคคัลลานะว่า อาวุโส โมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของ
ท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฏิปทาอย่างไหน
ในปฏิปทา ๔ นี้
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า อาวุโสสารีบุตร ปฏิปทา ๔ นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของ
ข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย ทุกฺขา-
ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา
จบโมคคัลลานสูตรที่ ๗
อรรถกถาโมคคัลลานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
มรรค ๓ เบื้องต่ำ ของพระมหาโมคคัลลานเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา
ทนฺธาภิญฺญา (ปฏิบัติง่ายรู้ได้ช้า) อรหัตมรรค เป็นทุกฺขาปฏิปทา

397
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 398 (เล่ม 35)

ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติยากรู้ได้เร็ว). เพราะฉะนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ยายํ ปฏิปทา ทุกฺขา ขิปฺปาภิญฺญา อิมํ เม ปฏิปทํ
อาคมฺม อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุตฺตํ (จิตของผมหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ทุกฺขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว) ดังนี้.
จบอรรถกถามหาโมคคัลลานสูตรที่ ๗
๘. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะไปหาพระสารีบุตร
[๑๖๘] ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ไปหาพระสารีบุตร
ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ถามพระสารีบุตรว่า อาวุโส
สารีบุตรูปฏิปทา ๔ นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา จิตของท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
อาศัยปฏิปทาอย่างไหนในปฎิปทา ๔ นี้
พระสารีบุตรตอบว่า อาวุโสโมคคัลลานะ ปฎิปทา ๔ นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของ
ข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา.
จบสารีบุตตสูตรที่ ๘

398
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 399 (เล่ม 35)

อรรถกถาสารีปุตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
มรรค ๓ เบื้องต่ำ ของพระธรรมเสนาบดีเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา
ทนฺธาภิญฺญา (ปฏิบัติง่าย รู้ช้า) อรหัตมรรคเป็น สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติง่าย รู้เร็ว) เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระ
จึงกล่าวว่า ยายํ ปฏิปทา สุขา ขิปฺปาภิญฺญา ดังนี้ เป็นอาทิ. ก็ในสองสูตร
เหล่านี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวปฏิปทาคละกัน .
จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๘
๙. สสังขารสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นสสังขรปรินิพพายีในภพปัจจุบัน ๑
บุคคลบางคนเป็นสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป ๑ บุคคลบางคนเป็นอสัง-
ขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน ๑ บุคคลบางคนเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกาย
แตกไป ๑
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้พิจารณาเป็นความไม่งามในร่างกาย มีความสำคัญปฏิกูลใน
อาหาร มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินดีในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความ

399
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 400 (เล่ม 35)

ไม่เที่ยงในสังขารทั้งหมด อนึ่ง ตั้งความกำหนดความตายไว้อย่างดีในภายใน
ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ ๕ นี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่
อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอแก่กล้า เพราะ
อินทรีย์ ๕ นี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันนี้เอง
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพานยีในภพปัจจุบัน
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไปเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในร่างกาย มีความสำคัญปฏิกูลใน
อาหาร มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินยินดีในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงในสังขารทั้งหมด อนึ่ง ตั้งความกำหนดความตายไว้อย่างดีในภายใน
ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ ๕ นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่
แต่อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะ
อินทรีย์ ๕ นี้อ่อน เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป อย่างนี้แล
บุคคเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ
ได้ทุติยฌาน ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัย
เสขพละ ๕ นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ ทั้งอินทรีย์
๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอก็แก่กล้า เพราะอินทรีย์
๕ นี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน อย่างนี้แล บุคคล
เป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไปเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ
ได้ทุติยฌาน ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัย

400
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 401 (เล่ม 35)

เสขพละ ๕ นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ แต่อินทรีย์
๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ ๕
นี้อ่อน เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป อย่างนี้แล บุคคล
เป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวกมีอยู่ในโลก.
จบสสังขารสูตรที่ ๙
อรรถกถาสสังขารสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสสังขารสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลที่ ๑ ที่ ๒ เป็นสุกขวิปัสสก ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วย
ความเพียรเรี่ยวแรง. ในบุคคลเหล่านั้น คนหนึ่ง ย่อมปรินิพพานด้วยกิเลส
ปรินิพพานในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์คือวิปัสสนามีกำลัง คนหนึ่งปรินิพาน
ไม่ได้ในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้นเท่านั้นใน
อัตภาพลำดับไป ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วยความเพียรเรี่ยวแรงแล้วจึง
ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพาน บุคคลที่ ๓ ที่ ๔ เป็นสมถยานิก (สมถะนำไป).
บรรดาบุคคลเหล่านั้น พึงทราบว่า คนหนึ่งทำกิเลสให้สิ้นไปในอัตภาพนี้
เพราะอินทรีย์มีกำลังด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง คนหนึ่งทำกิเลสให้
สิ้นไปไม่ได้อัตภาพในโลกนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้น
เท่านั้น ในอัตภาพลำดับไปทำกิเลสให้สิ้นไปด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
ดังนี้.
จบอรรถกถาสสังขารสูตรที่ ๙

401
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 402 (เล่ม 35)

๑๐. ยุคนัทธสูตร
ว่าด้วยมรรค ๔ ประการ
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี
ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นมา ฯลฯ แสดงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย
สหธรรมิกผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พยากรณ์ การบรรลุ
พระอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรือว่าด้วย
มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔ นั้น มรรค ๘ เป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเมื่อเธอ
บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าอยู่ มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพ
เจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรค
นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็น
เบื้องหน้า เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าอยู่ มรรคย่อมบังเกิด
ขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่
กันไป เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปอยู่ มรรคย่อมบังเกิดขึ้น
เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเมื่อเธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก
ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้ว สมัยนั้น
จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่

402
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 403 (เล่ม 35)

ภิกษุนั้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม มา
พยากรณ์การบรรลุพระอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ โดยประการ
ทั้งปวง หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๔ มรรคนั้น.
จบยุคนันธสูตรที่ ๑๐
จบปฏิปทาวรรคที่ ๒
อรรถกถายุคนัทธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในยุคนัทธสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมถปุพฺพงฺคมํ ได้แก่ ทำสมถะไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็น
ปุเรจาริก. บทว่า มคฺโค สญฺชายติ ได้แก่ โลกุตรมรรคที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้น.
บทว่า โส ตํ มคฺคํ. ความว่า ชื่อว่าอาเสวนะเป็นต้น ไม่มีแก่มรรคอัน
เป็นไปในขณะจิตเดียว. แต่เมือยังมรรคที่ ๒ ให้เกิดขึ้น ท่านกล่าวว่า เธอ
ส้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นนั่นแล. บทว่า วิปสฺสนา ปุพฺพงฺคมํ
ได้แก่ทำวิปัสสนาไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็นปุเรจาริก บทว่า สมถํ ภาเวติ
ความว่า โดยปกติผู้ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนา ย่อมยังสมาธิให้เกิดขึ้น.
บทว่า ยุคนทฺธํ ภเวติ ได้แก่ เจริญทำให้เป็นคู่ติดกันไป. ใน
ข้อนั้น ภิกษุไม่สามารถจะใช้จิตดวงนั้นเข้าสมาบัติ แล้วใช้จิตดวงนั้นนั่นแล
พิจารณาสังขารได้. แต่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติเพียงใด ย่อมพิจารณาสังขาร
เพียงนั้น พิจารณาสังขารเพียงใด ย่อมเข้าสมาบัติเพียงนั้น. ถามว่า อย่างไร.

403
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 404 (เล่ม 35)

ตอบว่า ภิกษุเข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย
ครั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว เข้าทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขาร-
ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนี้ชื่อว่าเจริญปฐมวิปัสสนาให้เป็นคู่ติดกันไป.
บทว่า ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ ความว่า อันอุทธัจจะได้แก่วิปัสสนูปกิเลส ๑๐
ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนาจับแล้ว คือ จับดีแล้ว . ด้วยบทว่า โหติ โส
อาวุโส สมโย นี้ท่านกล่าวถึงกาลที่ได้สัปปายะ ๗. บทว่า ยนฺตํ จิตฺตํ
ได้แก่ จิตที่ก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาในสมัยใดเป็นไปแล้ว. บทว่า อชฺฌตฺตํ-
เยว สนฺติฏฐติ ความว่า จิตก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาแล้วหยุดอยู่ในอารมณ์
อันได้แก่ อารมณ์ภายในนั้นนั่นเอง. บทว่า สนฺนิสีทติ ได้แก่ นิ่งโดยชอบ
ด้วยอำนาจของอารมณ์. บทว่า เอโกทิ โหติ ได้แก่ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
บทว่า สมาธิยติ ได้แก่จิตตั้งไว้โดยชอบ คือตั้งไว้ดีแล้ว. คำที่เหลือในสูตรนี้
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถายุคนัทธสูตรที่ ๑๐
จบปฏิปทาวรรควรรณนาที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถารสูตร ๓. อสุภสูตร ๔. ปฐมขมสูตร
๕. ทุติยขมสูตร ๖. อุภยสูตร ๗. โมคคัลลานสูตร ๘. สารีปุตตสูตร
๙. สสังขารสูตร ๑๐. ยุคนัทธสูตร และอรรถกถา.

404
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 405 (เล่ม 35)

สัญเจตนิยวรรคที่ ๓
๑๐. เจตนาสูตร
ว่าด้วยความได้อัตภาพ ๔ ประการ
[๑๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายมีอยู่ สุขทุกข์ที่เป็นภายใน
(เกิดขึ้นแก่ตน) ย่อมเกิดขึ้นเพราะกายสัญเจตนา (ความจงใจทำทางกาย)
เป็นเหตุ หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ที่เป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญ-
เจตนา (ความจงใจทำทางวาจา) เป็นเหตุ หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ที่เป็น
ภายในก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนา (ความจงใจทำทางใจ) เป็นเหตุ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
วจีสังขาร มโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในนั้นเกิดขึ้นด้วยตนเอง
บ้าง คนอื่นปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง บุคคลนั้นรู้อยู่
ปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารนั้น อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน
เกิดขึ้นบ้าง บุคคลนั้นไม่รู้ ปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร
นั้นอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชา
ย่อมติดตามไปในธรรมเหล่านี้
เพราะอวิชชาดับสิ้นไปไม่เหลือ กาย วาจา ใจ ย่อมไม่เป็นปัจจัย
ให้สุขทุกข์ภายในนั้นเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น เขตอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน
นั้นเกิดขึ้นย่อมไม่มี วัตถุ อายตนะ อธิกรณะ อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์
ภายในนั้นเกิดขึ้น ก็ย่อมไม่มี

405
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 406 (เล่ม 35)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ นี้ ความได้อัตภาพ ๔ คือ
อะไรบ้าง คือ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไป มิใช่สัญเจตนาของ
ผู้อื่นนำไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นนำไป มิใช่สัญเจตนาของ
คนนำไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของคนนำไปบ้าง สัญเจตนาของ
ผู้อื่นนำไปบ้างก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไปก็มิใช่ สัญเจตนา
ของผู้อื่นนำไปก็มิใช่ก็มี ภิกษุทั้งหลาย นี้แลความได้อัตภาพ ๔
เนื้อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระสารีบุตรกราบทูลขึ้นว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ ข้าพระพุทธเจ้า
ทราบเนื้อความกว้างออกไปอย่างนี้คือ ในความได้อัตภาพ ๔ นั้น ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นนำไปนี้ การจุติจาก
อัตภาพนั้นแห่งเหล่าสัตว์ (ผู้ได้อัตภาพนั้น) ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตน
เป็นเหตุ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นนำไป. มิใช่สัญเจตนาของตน
นำไปนี้ การจุติจากอัตภาพนั้นแห่งเหล่าสัตว์ (ผู้ได้อัตภาพนั้น) ย่อมมีเพราะ
สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไปบ้าง
สัญเจตนาของผู้อื่นนำไปบ้างนี้ การจุติจากอัตภาพนั้นแห่งเหล่าสัตว์ (ผู้ได้
อัตภาพนั้น) ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนบ้าง สัญเจตนาของผู้อื่นบ้างเป็นเหตุ
ส่วนความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไปก็มิใช่ สัญเจตนาของผู้อื่นนำไป
ก็มิใช่นี้ เหล่าสัตว์ (ผู้ได้อัตภาพนั้น) ได้แก่เทวดาจำพวกไหน.
พ. ตรัสตอบว่า ได้แก่เทวดาเหล่าเนวสัตานาสัญญายตนะ.
พระสารีบุตรกราบทูลถามต่อไปว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
พระพุทธเจ้าข้า ที่ทำให้เหล่าสัตว์บางพวกผู้จุติจากอัตภาพ (เนวสัญญานา-
สัญญายตนะ) นั้นแล้ว เป็นอาคามี มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก อนึ่ง อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้เหล่าสัตว์บางพวกผู้จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็น
อนาคามี ไม่มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก.

406