No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 347 (เล่ม 35)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่
ยังละสังโยชน์อัน เป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อ
ให้ได้ภพไม่ได้ คือ พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่ยังละสังโยชน์
อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพ
ไม่ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้ แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อ
ให้ได้ภพไม่ได้ คือ พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติ
ได้ แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้
ภพได้ คือ พระอรหันตขีณาสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล ละโอรัม-
ภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้ ละสังโยชน์อันเป็น
ปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
จบสังโยชนสูตรที่ ๑

347
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 348 (เล่ม 35)

ปุคคลวรรควรรณนาที่ ๔
อรรถกถาสังโยชนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชนสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลบางคนได้อุปบัติได้ภพ ในระหว่างด้วยสังโยชน์เหล่าใด
สังโยชน์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นปัจจัยให้ได้อุปบัติ. บทว่า ภวปฏิลาภิยานิ
ได้แก่ เป็นปัจจัยแก่การได้อุปบัติภพ. บทว่า สกทาคามิสฺส นี้ ท่านถือ
โดยส่วนสูงสุดในพระอริยะทั้งหลาย ที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้ ก็เพราะเหตุนี้
อันตราอุปบัติ (การเกิดในระหว่าง) ของพระอริยบุคคลผู้เป็นอันตรา-
ปรินิพพายีไม่มี แต่ท่านเข้าฌานใดในที่นั้น ฌานนั้นนับว่าเป็นปัจจัยแก่
อุปบัติภพ เพราะฌานเป็นฝ่ายกุศลธรรม ฉะนั้น จึงตรัสสำหรับพระอริยบุคคล
ผู้เป็นอันตราปรินิพพายีนั้นว่า ละอุปบัติปฏิลาภิยสังโยชน์ได้ (สังโยชน์ที่เป็น
เหตุให้มีความเกิด) แต่ละภวปฎิลาภิยสังโยชน์ (สังโยชน์ที่เป็นเหตุให้มีภพ)
ไม่ได้. หมายถึงสังโยชน์ส่วนที่ยังละไม่ได้ในโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งหลาย จึง
ตรัสว่า ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ดังนี้ โดยความไม่ต่างกันแห่งสกทาคามี
บุคคล. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๑

348
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 349 (เล่ม 35)

๒. ปฏิภาณสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากกอยู่ในโลก ๔
จำพวก เป็นไฉน คือ
ยุตฺตปฏิภาโณ น มุตฺตปฏิภาโณ บุคคลฉลาดผูก ไม่ฉลาดแก้
มุตฺตปฏิภาโณ น ยุตฺตปฏิภาโณ บุคคลฉลาดแก้ ไม่ฉลาดผู้
ยุตฺตปฏิภาโณ จ มุตฺตปฏิภาโณ จ บุคคลฉลาดทั้งผูกทั้งแก้
เนว ยุตฺตปฏิภาโณ น มุตฺตปฏิภาโณ บุคคลไม่ฉลาดทั้งผูกทั้งแก้
นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบปฏิภาณสูตรที่ ๒
อรรถกถาปฏิภาณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิภาณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยุตฺตปฏิภาโณ โน มุตฺตปฏิภาโณ ความว่า บุคคล
เมื่อแก้ปัญหาก็แก้แต่ปัญหาที่ผูกเท่านั้น แต่แก้ได้ไม่เร็ว คือค่อย ๆ แก้. บท
ทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.
จบอรรถกถาปฏิภาณสูตรที่ ๒

349
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 350 (เล่ม 35)

๓. อุคฆฏิตัญญุสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
อุคฆปฏิตัญญูบุคคล
วิปจิตัญญูบุคคล
เนยยบุคคล
ปทปรมบุคคล
นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓
อรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
พึงทราบความต่างกันแห่งบุคคลแม้ ๔ จำพวก ด้วยสูตรนี้ ดังนี้
อุคฆฎิตัญญูบุคคลเป็นไฉน ? บุคคลตรัสรู้ธรรมขณะที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
เรียกว่า อุคฆฏิตัญญูบุคคล. วิปจิตัญญูบุคคลเป็นไฉน ? บุคคลตรัสรู้ธรรม
ต่อเมื่อท่านแจกแจงความโดยพิสดาร เรียกว่า วิปจิตัญญูบุคคล. เนยยบุคคล
เป็นไฉน ? บุคคลต้องเรียน ต้องสอบถาม ต้องใส่ใจโดยแยบคาย ต้องคบหา
อยู่ใกล้กัลยาณมิตร จึงตรัสรู้ธรรมตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า เนยยบุคคล.
ปทปรมบุคคลเป็นไฉน ? บุคคลฟังมากก็ดี พูดมากก็ดี ทรงจำมากก็ดี
สอนมากก็ดี ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น เรียกว่า ปทปรมบุคคล.
จบอรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓

350
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 351 (เล่ม 35)

๔. อุฏฐานสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
อุฏฺฐานผลุปชีวี น กมฺมผลุปชีวี บุคคลจำพวกหนึ่งดำรงชีพอยู่ด้วย
ผลของความหมั่น มิใช่ดำรงชีพอยู่
ด้วยผลของกรรม
กมฺมผลุปชีวี น อุฏฺฐานผลุปชีวี บุคคลจำพวกหนึ่งดำรงชีพอยู่ด้วยผล
ของกรรม มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผล
ของความหมั่น
อุฏฺฐานผลุปชีวี เจว กมฺมผลุปชีวี จ บุคคลจำพวกหนึ่งดำรงชีพอยู่ด้วยผล
ของความหมั่นบ้าง ด้วยผลของ
กรรมบ้าง
เนว อุฏฺฐานผลุปชีวี น กมฺมผลุปชีวี บุคคลจำพวกหนึ่งดำรงชีพอยู่ด้วยผล
ของความหมั่นก็มิใช่ ด้วยผลของ
กรรมก็มิใช่.
นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบอุฏฐานสูตรที่ ๔

351
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 352 (เล่ม 35)

อรรถกถาอุฏฐานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอุฏฐานสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลจำพวกหนึ่ง ใช้วันเวลาให้ล่วงไป ด้วยความเพียรคือความหมั่น
เท่านั้น ได้อะไรมาเพียงเป็นผลของความเพียรนั้น ที่หลั่งออกมาเลี้ยงชีวิต
เขาอาศัยแต่ความหมั่นนั้น ไม่ได้ผลบุญอะไร บุคคลจำพวกนี้ ชื่อว่าดำรงชีพ
อยู่ด้วยผลของความหมั่น มิใช่ดำรงอยู่ด้วยผลของกรรม.ส่วนเหล่าเทวดา
แม้ทั้งหมด ตั้งแต่เทวดาชั้นจาตุมมหาราชเป็นต้นไป เพราะเข้าไปอาศัยผลบุญ
ดำรงชีพ เว้นความเพียรคือความหมั่น ชื่อว่าดำรงชีพอยู่ด้วยผลของกรรม
มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลของความหมั่น. อิสระชนมีพระราชามหาอำมาตย์
ของพระราชาเป็นต้น ชื่อว่าดำรงชีพอยู่ด้วยผลของความหมั่น และดำรง
ชีพอยู่ด้วยผลของกรรม. พวกสัตว์นรกดำรงชีพอยู่ด้วยผลของความหมั่น
ก็มิใช่ ด้วยผลของกรรมก็มิใช่. ผลบุญนั่นแล ท่านประสงค์ว่าผลของกรรม
ในสูตรนี้ ผลบุญนั้นไม่มีแก่พวกสัตว์นรกเหล่านั้น.
จบอรรถกถาอุฏฐานสูตรที่ ๔
๕. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
สาวชฺโช บุคคลมีโทษ
วชฺชพหุโล บุคคลมีโทษมาก
อปฺปวชฺโช บุคคลมีโทษน้อย
อนวชฺโช บุคคลไม่มีโทษ

352
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 353 (เล่ม 35)

บุคคลมีโทษเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกาย-
กรรมอันมีโทษ วจีกรรมอันมีโทษ มโนกรรมอันมีโทษ อย่างนี้แล บุคคล
มีโทษ
บุคคลมีโทษมากเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วย
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโทษเป็นส่วนมาก ที่ไม่มีโทษเป็น
ส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษมาก
บุคคลมีโทษน้อยเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วย
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันไม่มีโทษเป็นส่วนมาก ที่มีโทษเป็น
ส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษน้อย
บุคคลไม่มีโทษเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วย
กายกรรมอันไม่มีโทษ วจีกรรมอันไม่มีโทษ มโนกรรมอันไม่มีโทษ อย่าง
นี้แล บุคคลไม่มีโทษ.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบสาวัชชสูตรที่ ๕
อรรถกถาสาวัชชสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสาวัชชสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
คนจำพวกที่หนึ่ง ได้แก่ ปุถุชนคนโง่เขลา จำพวกที่สอง ได้แก่
โลกิยปุถุชนผู้บำเพ็ญกุศลในระหว่าง ๆ จำพวกที่สาม ได้แก่ พระโสดาบัน ถึง
พระสกทาคามีและอนาคามี ก็รวมกับคนจำพวกที่สามนั้นเหมือนกัน จำพวก
ที่สี่ ได้แก่พระขีณาสพ จริงอยู่ พระขีณาสพนั้น หาโทษมิได้โดยส่วนเดียว.
จบอรรถกถาสาวัชชสูตรที่ ๕

353
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 354 (เล่ม 35)

๖. ปฐมสีลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีล ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
ไม่ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา ๑
บุคคลบางคนเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล แต่ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
ไม่ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา ๑
บุคคลบางคนเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา ๑
บุคคลบางคนเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา ๑
นี้แล บุคคล ๑ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบปฐมสีลสูตรที่ ๖
อรรถกถาปฐมสีลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสีลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
คนจำพวกที่หนึ่ง ได้แก่โลกิยมหาชน จำพวกที่สอง ได้แก่พระ-
โสดาบันและพระสกทาคามี ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน จำพวกที่สาม ได้แก่
พระอนาคามี จริงอยู่ พระอนาคามีนั้น เพราะเหตุที่ได้ฌานที่ทำอุปบัติให้เกิด

354
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 355 (เล่ม 35)

แม้ขณะนั้น ฉะนั้น ท่านแม้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ก็ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
โดยแท้ จำพวกที่สี่ ได้แก่พระขีณาสพเท่านั้น จริงอยู่ พระขีณาสพนั้น
ชื่อว่าทำให้บริบูรณ์ในศีลสมาธิและปัญญาทั้งหมด เพราะท่านละธรรมที่เป็น
ข้าศึกต่อศีลเป็นต้นทั้งหมดได้แล้ว.
จบอรรถกถาปฐมสีลสูตรที่ ๗
๗. ทุติยสีลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่หนักในศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีศีล สมาธิ
ปัญญาเป็นอธิปไตย ๑
บุคคลบางคนเป็นผู้หนักในศีล มีศีลเป็นอธิปไตย แต่ไม่หนักใน
สมาธิ ปัญญา ไม่มีสมาธิ ปัญญาเป็นอธิปไตย ๑
บุคคลบางคนเป็นผู้หนักในศีล สมาธิ มีศีล สมาธิ เป็นอธิปไตย
แต่ไม่หนักในปัญญา ไม่มีปัญญาเป็นอธิปไตย ๑
บุคคลบางคนเป็นผู้หนักในศีล สมาธิ ปัญญา มีศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นอธิปไตย ๑
นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบทุติยสีลสูตรที่ ๗
แม้ในทุติยสีลสูตรที่ ๗ พึงทราบการกำหนดบุคคล โดยนัยอันกล่าว
แล้วในปฐมสีลสูตรที่ ๖.

355
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ 356 (เล่ม 35)

๘. นิกกัฏฐสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
นิกฺกฏฺฐากาโย อนิกฺกฏฺฐจิตฺโต บุคคลมีกายออก แต่จิตไม่ออก
อนิกฺกฏฺฐกาโย นิกฺกฏฺฐจิตฺโต บุคคลมีกายไม่ออก แต่จิตออก
อนิกฺกฏฺฐกาโย จ อนิกฺกฏฺฐจิตฺโต จ บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก
นิกฺกฏฺฐกาโย จ นิกฺกฏฺฐจิตฺโต จ บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออก
บุคคลมีกายออก แต่จิตไม่ออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนเสพ
เสนาสนะป่าเงียบสงัด แต่บุคคลนั้นตรึกกามตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง
วิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะป่าเงียบสงัดนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายออก
แต่จิตไม่ออก
บุคคลมีกายไม่ออก แต่จิตออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนมิได้
เสพเสนาสนะป่าเงียบสงัดเลย แต่บุคคลนั้นตรึกเนกขัมมวิตกบ้าง อพยาบาท-
วิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายไม่ออก
แต่จิตออก
บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนมิได้
เสพเสนาสนะป่าเงียบสงัด ทั้งตรึกกามวิตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง วิหิงสา-
วิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก
บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนเสพ
เสนาสนะป่าเงียบสงัด ทั้งตรึกเนกขัมมวิตกบ้าง ตรึกอพยาบาทวิตกบ้าง ตรึก
อวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออก
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบนิกกัฏฐสูตรที่ ๘

356