No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 379 (เล่ม 34)

อรรถกถามูลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมูลสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
ธรรมที่เป็นมูลแห่งอกุศล ชื่อว่า อกุศลมูล. อีกอย่างหนึ่ง ธรรม
นั้นด้วยเป็นมูลด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล. บทว่า ยทปิ ภิกฺขเว
โลโภ เท่ากับ โยปิ ภิกฺขเว โลโภ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความโลภ
แม้ใด. บทว่า ตทปิ อกุสลมูลํ ความว่า แม้ความโลภนั้น เป็นรากเง่าแห่ง
อกุศล หรือเป็น (ตัว) อกุศลก็ได้ อธิบายว่า ในที่นี้แม้อกุศลนั้นหมายถึง
อกุศลมูลนั้นก็ควรเหมือนกัน. ในบททั้งปวง พึงนำนัยนี้ (ไป) โดยอุบายนี้.
บทว่า อภิสงฺขโรติ ความว่า ย่อมประมวล คือรวบรวมมาได้แก่
ทำให้เป็นกอง. บทว่า อสตา ทุกฺขํ อุปทหติ ความว่า ก่อทุกข์โดย
กล่าวโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ไม่เป็นจริงแก่เขา ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง คือ
ไม่มีอยู่. บทว่า วเธน วา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรง
แสดงอาการ ที่เขาก่อทุกข์ขึ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานิยา ได้แก่ความเสื่อมทรัพย์. บทว่า
ปพฺพาชนาย ความว่า ได้แก่การขับออกจากบ้าน ออกจากป่า หรือจากรัฐ.
บทว่า พลวมฺหิ ความว่า เราเป็นผู้มีกำลัง. บทว่า พลตฺโถ อิติปิ ความว่า
พูดว่า เราต้องการกำลังบ้าง เราอยู่ในกำลังบ้าง.
บทว่า อกาลวาที ความว่า ไม่พูดในเวลาที่ควรพูด ชื่อว่าพูดใน
เวลาอันไม่ควร. ว่า อภูตวาที ความว่า ไม่พูดเรื่องจริง ชื่อว่าพูดเรื่อง
ไม่จริง. บทว่า อนตฺวาที ความว่า ไม่พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า
พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์. บทว่า อธมฺมวาที ความว่า ไม่พูดสิ่งที่เป็นธรรม

379
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 380 (เล่ม 34)

ชื่อว่า พูดสิ่งที่ไม่เป็นธรรม. บทว่า อวินยวาที ความว่า ไม่พูดสิ่งที่เป็นวินัย
ชื่อว่า พูดสิ่งที่มิใช่วินัย.
บทว่า ตถาหยํ ตัดบทเป็น ตถา หิ อยํ. บทว่า น อาตปฺปํ
กโรติ ตสฺส นิพฺเพธนาย ความว่า ไม่ทำความเพียร เพื่อประโยชน์แก่
การแก้เรื่องที่ไม่เป็นจริงนั้น. บทว่า อิติเปตํ อตจฺฉํ ความว่า สิ่งนี้ไม่แท้
ด้วยเหตุแม้นี้. บทนอกนี้ (อภูตํ) เป็นไวพจน์ของบทว่า อตจฺฉํ นั้น
นั่นแหละ.
บทว่า ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา ความว่า ทุคติที่แยกประเภทเป็นนรก
เป็นต้น พึงหวังได้ อธิบายว่า ทุคติจะต้องเป็นส่วนของเขาแน่นอน คือ
เขาจะต้องบังเกิดในทุคตินั้น.๑ บทว่า อุทฺธสฺสโต ความว่า ถูกเถาย่านทราย
ขึ้นปกคลุมแล้วในเบื้องบน. บทว่า ปริโยนทฺโธ ความว่า ถูกเถาย่านทราย
ขึ้นปกคลุมแล้วโดยรอบ.
บทว่า อนยํ อาปชฺชติ แปลว่า ถึงความไม่เจริญเติบโต. บทว่า
พฺยสนํ อาปชฺชติ แปลว่า ย่อมถึงความพินาศ อธิบายว่า ในฤดูร้อน
เมื่อผลย่านทรายสุกแตกออกแล้ว เมล็ดทั้งหลายจะกระเด็นไปตก ที่โคน
ต้นไทรเป็นต้น ในต้นไม้เหล่านั้น ที่โคนต้นไม้ต้นใดมีเมล็ดตกไป ๓ เมล็ด
ในทิศทั้ง ๓ เมื่อต้นไม้นั้นถูกฝนในฤดูฝนโชยหน่อ ๓ หน่อ จากเมล็ดทั้ง ๓
จะงอกขึ้นแนบติดต้นไม้นั้น ต่อแต่นั้นรุกขเทวดาเป็นต้น ก็ไม่สามารถจะ
อาศัยอยู่ตามทางของตนได้ หน่อแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น งอกงามขึ้น กลายเป็นเถา
เลื้อยเกาะต้นไม้นั้น เกี่ยวพัน คาคบ กิ่งน้อย กิ่งใหญ่ทั้งหมด คลุมต้นไม้
นั้นจนมิด. ต้นไม้นั้นถูกเถาย่านทรายเกี่ยวพันไว้ ดาดาษไปด้วยเถาย่านทราย
หนา (และ) ใหญ่ เมื่อฝนตกลงมา หรือลมพัด ก็จะหักล้มลงในที่นั้นๆ
๑. ปาฐะว่า ตตฺถ เนน ฉบับพม่าเป็น ตตฺถาเนน.

380
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 381 (เล่ม 34)

เหลือแต่ตอเท่านั้น. บทว่า พฺยสนํ อาปชฺชติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายถึงต้นไม้นั้น.
ก็ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ ก็สัตว์โลก
พึงเห็นเหมือนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ในบรรดาต้นรังเป็นต้น อกุศลมูล ๓
พึงเห็นเหมือนเถาย่านทราย ๓ เถา. เวลาที่ความโลภเป็นต้น ยังไม่ประจวบ
ทวาร พึงเห็นเหมือนการที่เถาวัลย์เหล่านั้น โอบต้นไม้ขึ้นไปตรง ๆ ยังไม่
ถึงกิ่งไม้. เวลาที่ความโลภเป็นต้น ดำเนินไปด้วยอำนาจแห่งทวาร พึงเห็น
เหมือนเวลาที่เถาวัลย์เลื้อยไปตามแนวกิ่งไม้. เวลาที่ความโลภเป็นต้น
กลุ้มรุมจิตใจ พึงเห็นเหมือนเวลาที่เถาวัลย์คลุมต้นไม้. เวลาที่ภิกษุต้อง
อาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยอำนาจแห่งกิเลสทั้งหลายที่มาประจวบทวารแล้ว
พึงเห็นเหมือนเวลาที่กิ่งเล็ก ๆ หลุดลงมา. เวลาที่ภิกษุต้องครุกาบัติ พึง
เห็นเหมือนเวลาที่กิ่งไม้ใหญ่หักลงมา. เวลาที่ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก แล้ว
ตกลงไปในอบายทั้ง ๔ ตามลำดับ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ต้นไม้ล้มลงที่พื้นดิน
ในเมื่อโคนชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ ที่ไหลลงมาตามแนวเถาวัลย์.
ธรรมฝ่ายขาว (กุศลธรรม) พึงทราบโดยตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.
แต่ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ สัตว์โลกนี้
พึงเห็นเหมือนต้นไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาต้นรังเป็นต้น. อกุศลมูล
ทั้ง ๓ พึงเห็นเหมือนเถาย่านทราย ๓. พระโยคาวจร พึงเห็นเหมือนบุรุษผู้
มาทำเถาวัลย์เหล่านั้นให้เป็นไป (ขุดเถาวัลย์ทิ้ง). ปัญญาพึงเห็นเหมือนจอบ.
พลังแห่งศรัทธา พึงเห็นเหมือนพลังแห่งจอบ. การขุดด้วยวิปัสสนา พึงเห็น
เหมือนการขุดด้วยจอบ. เวลาที่พระโยคาวจร ใช้วิปัสสนาญาณ ตัดรากของ
อวิชชา พึงเห็นเหมือนการตัดรากของเถาวัลย์ โดยการขุด. เวลาที่พระโยคา-
วจรเห็น (รูปนาม) ด้วยสามารถแห่งขันธ์ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ตัดเถาวัลย์

381
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 382 (เล่ม 34)

ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่. เวลาที่พระโยคาวจรถอนกิเลสขึ้นได้ด้วยมัคคญาณ
พึงเห็นเหมือนเวลาที่ผ่าเถาวัลย์. เวลาที่เบญจขันธ์ยังดำรงอยู่ พึงเห็น
เหมือนเวลาทำเถาวัลย์ให้เป็นขี้เถ้า. เวลาที่พระโยคาวจร ดับอุปาทินนกขันธ์
โดยการดับไม่ให้มีปฏิสนธิ แล้วไม่ถือปฏิสนธิในภพใหม่ พึงเห็นเหมือนเวลา
ที่เขาโปรยขี้เถ้าลงไปที่พายุใหญ่ ทำให้ไม่ไห้เกิดอีกฉะนั้นแล. ในพระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทั้งวัฏฏะ และ วิวัฏฏะ.
จบอรรถกถามูลสูตรที่ ๙
๑๐. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ ๓ อย่าง
[๕๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ บุพพาราม
ปราสาทของ (นางวิสาขา) มิคารมารดา กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นวันอุโบสถ
นางวิสาขา มิคารมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ารับสั่งทักนางวิสาขา มิคารมารดา ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วว่า
เชิญ วิสาขา มาจากไหนแต่เช้า.
นางกราบทูลว่า วันนี้ข้าพระพุทธเจ้ารักษาอุโบสถ พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสพระธรรมเทศนาว่า วิสาขา อุโบสถ ๓ นี้ ๓ คืออะไร คือ
โคปาลกอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงโคบาล) นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยง
นิครนถ์) อริยอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงอริยะ).

382
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 383 (เล่ม 34)

โคปาลกอุโบสถเป็นอย่างไร. โคบาลมอบโคทั้งหลายให้เจ้าของ
ทั้งหลายในเวลาเย็นแล้ว คำนึงอย่างนี้ว่า วันนี้ โคเที่ยวหากินในที่โน้น ๆ
ดื่มน้ำในที่โน้น ๆ ทีนี้ พรุ่งนี้ โคจักเที่ยวหากินในที่โน้น ๆ จักดื่มน้ำใน
ที่โน้น ๆ ฉันใด คนรักษาอุโบสถบางคนก็ฉันนั้นเหมือนกัน คำนึงไป
อย่างนี้ว่า วันนี้นะ เราเคี้ยวกินขาทนียะสิ่งนี้ ๆ บริโภคโภชนียะสิ่งนี้ ๆ ทีนี้
พรุ่งนี้ เราจักเคี้ยวกินขาทนียะสิ่งนี้ ๆ จักบริโภคโภชนียะสิ่งนี้ ๆ คนรักษา
อุโบสถผู้นั้นมีใจไปกับความอยาก ใช้วันให้หมดไปด้วยความอยากนั้น วิสาขา
โคปาลกอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อุโบสถที่รักษาอย่างนี้ เป็นอุโบสถที่ไม่มีผลมาก
ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่เรื่องผลมาก ไม่แผ่ผลมาก
นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างไร. มีอยู่ วิสาขา สมณะจำพวกหนึ่งชื่อ
นิครนถ์ เขาสอนสาวกให้ถืออย่างนี้ว่า มา บุรุษผู้เจริญ สัตว์เหล่าใด ใน
ทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือ ใต้ อยู่เกินเขต ๑๐๐ โยชน์ออกไป
สูเจ้าจงลงทัณฑ์ (คือทำร้าย ฆ่า ตี ฯลฯ) ในสัตว์เหล่านั้นได้ เขาสอนให้
เอ็นดูกรุณาสัตว์บางเหล่า ไม่เอ็นดู กรุณาสัตว์บางเหล่าอย่างนี้ ในวันอุโบสถ
เขาสอนสาวกอย่างนี้ว่า มา บุรุษผู้เจริญ สูเจ้าจงเปลื้องผ้าออกให้หมดแล้ว
พูดอย่างนี้ว่า ข้า ฯ ไม่เกี่ยวข้องต่อใคร ๆ ที่ไหน ๆ และความกังวลในสิ่ง
อะไร ๆ ที่ไหน ๆ ก็ไม่มี แต่มารดาบิดาของเขาก็รู้อยู่ว่า นี่บุตรของข้า ฯ
ตัวเขาเองก็รู้อยู่ว่า นี่มารดาบิดาของข้า ฯ อนึ่ง บุตรภริยาของเขาก็รู้ว่า
นี่สามีของข้า เขาก็รู้ว่า นี่บุตรภริยาของข้า. ทาสกรรมกรและคนอาศัยของเขา
ก็รู้ว่า นี่นายของพวกข้า. เขาก็รู้ว่า นี่ทาสกรรมกรและคนอาศัยของข้า.
ด้วยประการนี้ เขาสอนคนอื่นให้ถือความจริงในเวลาใด ก็ชื่อว่าเขาสอน
ให้ถือมุสาวาทในเวลานั้น เรากล่าวการสอนของเขานี้ในฐานมุสาวาท ล่วง
ราตรีนั้นแล้ว เขาชื่อว่าบริโภค (กินอยู่ใช้สอย) โภคะ เป็นอย่างของที่เจ้าของ

383
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 384 (เล่ม 34)

ไม่ให้นั่นเอง เรากล่าวการบริโภคของเขานี้ในฐานอทินนาทาน วิสาขา
นิคัณฐอฺโบสถ เป็นอย่างนี้แล อุโบสถที่รักษาอย่างนี้ เป็นอุโบสถที่ไม่มี
ผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่เรืองผลมาก ไม่แผ่ผลมาก.
อริยอุโบสถเป็นอย่างไร. วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว
ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วย
ความพยายามอย่างไร. อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงตถาคตว่า
อิติปิ โส ภควา ฯ เป ฯ ภควา. เมื่อเธอระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อม
ผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิตเหล่าใด
มีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำศีรษะที่สกปรกให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำศีรษะที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วย
ความพยายามอย่างไร. ใช้ตะกรัน (น้ำผลไม้) ดินเหนียว และน้ำ กับความ
พยายามที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำศีรษะที่สกปรกให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่อง
แผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่า
นั้น เธอย่อมละได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาพรหมอุโบสถ
(อุโบสถเนื่องด้วยพระพรหม) อยู่ร่วมกับพระพรหม แลจิตของเธอปรารภ
พระพรหม ย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลส
เหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความ
พยายามอย่างนี้แล
วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า สฺวากขาโต ฯ เป ฯ
วิญฺญูหิ เมื่อเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิด

384
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 385 (เล่ม 34)

อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา
การทำกายที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำกาย ฯลฯ ด้วย
ความพยายามอย่างไร. ใช้ฝุ่นหิน จุณ และน้ำ กับความพยายามที่สมกับกิจ
อันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำกายที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความ
พยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความ
พยายาม ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้
ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ชื่อว่ารักษาธัมมอุโบสถ (อุโบสถเนื่องด้วย
พระธรรม) อยู่ร่วมกับพระธรรม และจิตของเธอปรารภพระธรรม ย่อมผ่องใส
ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อม
ละเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม (อีก
ทางหนึ่ง) อย่างนี้แล
วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
เป็นผู้ปฏิบัติสมควร นี้คือใคร คู่แห่งบุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี่พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญ
อื่นยิ่งกว่า.
เมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา
การทำผ้าที่สกปรกให้สะอาด ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำผ้า ฯลฯ
ด้วยความพยายามอย่างไร. ใช้ดินเค็ม ขี้เถ้า โคมัย และน้ำ กับความพยายาม

385
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 386 (เล่ม 34)

ที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำผ้า ฯลฯ ด้วยความพยายาม
อย่างนี้ฉันใด การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) ฯลฯ อุปกิเลส
แห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านี้เธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกัน
อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาสังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับพระสงฆ์ และจิตของเธอ
ปรารภพระสงฆ์ ย่อมผ่องใส ฯลฯ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีก
ทางหนึ่ง) อย่างนี้แล.
วิสาขา การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การ-
ทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร. อริยสาวกในพระธรรม
วินัยนี้ระลึกถึงศีลของตน (อขณฺฑ) อันไม่ขาด (อจฺฉิทฺท) ไม่ทะลุ (อสพล)
ไม่ต่าง (อกมฺมาส) ไม่พร้อย (ภุชิสฺส) เป็นไท (วิญฺญุปฺปสฏฺฐ)
ผู้รู้สรรเสริญ (อปรามฏฺฐ) ไม่ถูกปรามาส (สมาธิสํวตฺตนิก) เป็นทางสมาธิ
เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิต
เหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้น เธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำแว่นที่มัว
ให้ใส ย่อมมีได้ความพยายาม การทำแว่น ฯลฯ ด้วยความพยายาม
อย่างไร. ใช้น้ำมัน ขี้เถ้า และแปรง กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้น
ของตน (ประกอบกัน) การทำแว่น ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด
การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) ฯลฯ อุปกิเลสเหล่านั้น
เธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ชื่อว่ารักษาศีลอุโบสถ อยู่กับ
ศีล จิตของเธอปรารภศีลย่อมผ่องใส ฯลฯ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) อย่างนี้แล.
วิสาขา การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การ
ทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร. อริยสาวกใน
พระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดา (และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา) ว่า มีอยู่

386
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 387 (เล่ม 34)

เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา... เหล่าดาวดึงส์... เหล่ายามา... เหล่าดุสิต...
เหล่านิมมานรดี... เหล่าปรนิมมิตวสวัตดี... เหล่าพรหมกายิก... เหล่าที่
สูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้จึงได้เกิดในภพนั้น ๆ ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญาเช่นนั้น ของเราก็มีอยู่พร้อมเหมือนกัน เมื่อเธอระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนกับของเทวดาเหล่านั้น
อยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่
อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำทองที่หมองให้ผ่อง ย่อมมี
ได้ด้วยความพยายาม การทำทอง ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างไร ใช้เตา
ดินเค็ม ดินเหลือง* สูบและคีม กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้นของช่าง
(ประกอบกัน) การทำทอง ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิต
ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ฉันนั้น
เหมือนกัน อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาเทวดาอุโบสถ อยู่กับเทวดา จิตของเธอ
ปรารภเทวดา ย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใด
มีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม
อย่างนี้แล.
วิสาขา อริยสาวกนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อน
ไม้ วางศรัทธา มีความละอายบาป มีความเอ็นดูเกื้อกูลอนุเคราะห์สรรพสัตว์
อยู่ตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ ก็ละปาณาติบาต เว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วาง
ศัสตรา มีความละอายบาป มีความเอ็นดูเกื้อกูลอนุเคราะห์สรรพสัตว์ตลอดคืน
* เครุ ดินสอแดง ยางไม้ ก็ว่า

387
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 388 (เล่ม 34)

และวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง
และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละอทินนาทานแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากอทิน-
นาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนอันไม่เป็นขโมย
เป็นผู้เป็นอยู่สะอาดตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ก็ละอทินนาทาน เว้นจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของ
ที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนอันไม่เป็นขโมย เป็นผู้เป็นอยู่สะอาด
ตลอดคืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง
และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละอพรหมจรรย์แล้ว เป็นพรหมจารี มีความ
ประพฤติห่างไกล (จากอพรหมจรรย์) เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน
ตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็ละอพรหมจรรย์เป็นพรหมจารี มีความประพฤติ
ห่างไกล (จากอพรหมจรรย์) เว้นจากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้านตลอด
คืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง
และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลายละมุสาวาทแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท พูด
แต่คำจริง พูดจริงเสมอ มีถ้อยคำมั่นคง เป็นที่วางใจได้ ไม่ลวงโลกตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ ก็ละมุสาวาท เว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง พูด
จริงเสมอ มีถ้อยคำมั่นคง เป็นที่วางใจได้ ไม่ลวงโลก ตลอดคืนและวันนี้
ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จัก
เป็นอันเรารักษาแล้ว

388