No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 460 (เล่ม 33)

สูตรที่ ๔
[๓๖๖] ๑๒๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่ม
ได้ยาก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้เก็บสิ่งที่ได้ไว้แล้ว ๆ ๑ บุคคล
ผู่สละสิ่งที่ได้เเล้ว ๆ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้
อิ่มได้ยาก.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๓๖๗] ๑๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่ม
ได้ง่าย ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไม่เก็บสิ่งที่คนได้ไว้แล้ว ๆ ๑
บุคคลผู้ไม่สละสิ่งที่ตนได้แล้ว ๆ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวก
นี้แลให้อิ่มได้ง่าย.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๖๘] ๑๒๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
ราคะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุภนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๖๙] ๑๒๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
โทสะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ปฏิฆนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑

460
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 461 (เล่ม 33)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโทสะ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๗๐] ๑๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
มิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑
อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
มิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๓๗๑] ๑๒๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑
โยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๗๒] ๑๒๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ลหุกาบัติ ๑ ครุกาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐

461
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 462 (เล่ม 33)

สูตรที่ ๑๑
[๓๗๓] ๑๒๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ อาบัติชั่วหยาบ ๑ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๑
สูตร ๑๒
[๓๗๔] ๑๒๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ อาบัติที่มีส่วนเหลือ ๑ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๒
จบอาสาวรรคที่ ๑
ตติยปัณณสก์
อาสาวรรคที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑
ตติยปัณณาสก์ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๖๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาสา ได้แก่ ตัณหา ความอยาก. บทว่า ทุปฺปชหา
ได้แก่ ละได้ยาก คือนำออกได้ยาก. สัตว์ทั้งหลายใช้เวลา ๑๐ ปีบ้าง
๒๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง รับใช้พระราชา ทำกสิกรรมเป็นต้น เข้า
สู่สงความที่ฝ่ายสองรบประชิดกัน ดำเนินอาชีพเลี้ยงแพะและทำหอก
เป็นต้น แล่นเรือไปยังมหาสมุทร ด้วยหวังว่า พวกเราจักได้วันนี้ พวก

462
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 463 (เล่ม 33)

เราจักได้พรุ่งนี้ ดังนี้ เพราะความหวังในลาภเป็นเรื่องละได้ยาก แม้เมื่อ
ถึงเวลาจะตาย ก็ยังสำคัญตนว่าจะอยู่ได้ ๑๐๐ ปี แม้จะเห็นกรรมและ
กรรมนิมิตเป็นต้น มีผู้หวังดีตักเตือนว่า จงให้ทาน จงทำการบูชาเถิด
ก็ไม่เชื่อคำของใคร ๆ ด้วยหวังอย่างนี้ว่า เราจักยังไม่ตาย นี้เพราะความ
หวังในชีวิตเป็นเรื่องละได้ยาก.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๖๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปุพฺพการี ได้แก่ ผู้ทำอุปการะก่อน.
บทว่า กตญฺญูกตเวที ได้แก่ ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
ภายหลัง. ในสองท่านนั้น ผู้ทำอุปการะก่อน ย่อมสำคัญว่า เราให้กู้หนี้
ผู้ตอบแทนภายหลัง ย่อมสำคัญว่า เราชำระหนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๖๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ติตฺโต จ ตปฺเปตา จ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระขีณาสพผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ชื่อว่าผู้อื่มแล้ว. พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้อิ่มแล้วด้วย ผู้ทำคนอื่นให้อิ่มด้วย.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓

463
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 464 (เล่ม 33)

อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๖๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุตฺตปฺปยา ความว่า ทายกทำให้อิ่มได้ยาก คือ การทำ
ให้เขาอิ่ม ทำไม่ได้ง่าย. บทว่า นิกฺขิปติ ได้แก่ ไม่ให้ใคร ไม่ใช้สอย
เอง. บทว่า วิสชฺเชติ ได้แก่ ให้แก่ผู้อื่น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๖๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า น วิสชฺเชติ ความว่า ไม่ให้แก่ผู้อื่นเสียทั้งหมดทีเดียว
แต่ให้ถือเอาพอเยียวยาอัตภาพตน เหลือนอกนั้นไม่ให้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๖๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สุภนิมิตฺตํ ได้แก่ อารมณ์ที่น่าปรารถนา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๖๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิฆนิมิตฺตํ ได้แก่ นิมิตที่ไม่น่าปรารถนา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๗๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

464
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 465 (เล่ม 33)

บทว่า ปรโต จ โฆโส ได้แก่ การฟังอสัทธรรมจากสำนัก
ของผู้อื่น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๗๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปรโต จ โฆโส ได้แก่ การฟังพระสัทธรรมจากสำนัก
ของผู้อื่น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอาสาวรรคที่ ๑

465
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 466 (เล่ม 33)

อายาจนวรรคที่ ๒
สูตรที่ ๑
[๓๗๕] ๑๒๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผ้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอน
โดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตรและภิกษุ
โมคคัลลานะนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๗๖] ๑๓๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อ
อ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นภิกษุณีเขมา
และอุบลวรรณาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบล-
วรรณานี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๗๗] ๑๓๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อ
อ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดี
และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดี
และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสกสาวก
ของเราแล.
จบสูตรที่ ๓

466
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 467 (เล่ม 33)

สูตรที่ ๔
[๓๗๘] ๑๓๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อ
อ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นอุบาสิกา
ขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุบาสิกา
ขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสิกา
สาวิกาของเรา.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๓๗๙] ๑๓๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบ
แหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้
ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาป
เป็นอันมาก ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูด
สรรเสริญคุณของตนที่ควรติเตียน ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดติโทษของ
คนที่ควรสรรเสริญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม
ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัดถูกทำลาย เขา
ย่อมเป็นไปกับด้วยโทษถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วย
ธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารคนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขา
ย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม
๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดติเตียนคนที่ควร
ติเตียน ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดสรรเสริญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ การนี้แล ย่อม

467
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 468 (เล่ม 33)

บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้
ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๘๐] ๑๓๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบ
แหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ให้
ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาป
เป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรอง
แล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ไม่พิจารณา
ไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลา อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วย
ธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เขาย่อม
เป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ประกอบด้วย
ธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลายเขาย่อม
ไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม
๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะ
อัน เป็นที่ตั้งแห่งความไม่เลื่อมใส ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใส
ในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษ
ผู้ฉลาดเฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน

468
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 469 (เล่ม 33)

ไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้ง
ได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๘๐] ๑๓๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบ
แหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้
ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาป
เป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒
จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับ
ด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบใน
บุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขา
ย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย
บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบใน
บุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๘๒] ๑๓๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่
เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด

469