No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 340 (เล่ม 33)

สูตรที่ ๘
ทุจริต ๓ เป็นกิจที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว เพราะมีโทษ ๕ ประการ
สุจริต ๓ เป็นกิจที่ควรทำโดยส่วนเดียว เพราะมีอานิสงห์ ๕ ประการ
[๒๖๔] ๑๘. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์
ว่า ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นกิจ
ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอะไรอันผู้นั้นพึงหวังได้.
พ. ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้
คือ ๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้
๓. กิตติศัพท์ชั่วย่อมกระฉ่อนไป ๔. เป็นคนหลงทำกาละ ๕. เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรา
กล่าวว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้
ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ว่าเป็นกิจ
ควรทำโดยส่วนเดียว.
อา. ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว

340
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 341 (เล่ม 33)

อานิสงส์อะไรอันผู้นั้นพึงหวังได้.
พ. ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้
คือ ๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันดีย่อมกระฉ่อนไป ๔. ไม่เป็นคนหลงทำกาละ ๕. เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่
เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้.
จบสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า อายสฺมา เป็นคำแสดงความรัก. คำว่า อานนฺโท เป็น
ชื่อของพระเถระนั้น. บทว่า เอกํเสน แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า
อนุวิจฺจ แปลว่า ใคร่ครวญแล้ว. บทว่า วิญฺญู ได้แก่ บัณฑิต
บทว่า ครหนฺติ แปลว่า ตำหนิ คือกล่าวโทษ. คำที่เหลือในที่นี้
ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
ว่าด้วยจงละอกุศล เจริญกุศล
[๒๖๕] ๑๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล

341
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 342 (เล่ม 33)

กุศลอันบุคคลอาจละได้ ถ้าบุคคลไม่อาจละอกุศลได้ เราไม่พึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล ดังนี้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอกุศลอันบุคคลอาจละได้ ฉะนั้น เราจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละกุศล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าอกุศลนี้อันบุคคลละได้แล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์ไซร้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงละอกุศล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอกุศลอันบุคคลละได้แล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กุศลอันบุคคลอาจให้เกิดได้ ถ้าบุคคลไม่อาจให้เกิดได้ เราไม่พึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะกุศลอันบุคคลอาจให้เกิดได้ ฉะนั้น เราจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุศลนี้อันบุคคลให้เกิดแล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็น
ประโยชน์ เพื่อทุกข์ไซร้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะกุศลอันบุคคล
ให้เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด.
จบสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๙
คำทั้งหมดในสูตรที่ ๙ ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙

342
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 343 (เล่ม 33)

สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลือนหาย และตั้งมั่น
[๒๖๖] ๒๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑ อรรถที่นำมาไม่ดี. แม้เนื้อความแห่งบท
พยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งพระสัทธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่
ฟั่นเฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือบทพยัญชนะ
ที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี
แล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.
จบสูตรที่ ๑๐
จบอธิกรณวรรคที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุนฺนิกฺขิตฺตญฺจ ปทพฺยญฺชนํ ได้แก่ บาลีที่เรียงไว้ผิดลำดับ
ก็บทนั่นแหละ เรียกว่าพยัญชนะ เพราะเป็นที่ปรากฏชัดแห่งข้อความ.
บทและพยัญชนะทั้งสองนั้น เป็นชื่อของบาลีนั่งเอง. บทวา อตฺโถ จ
ทุนฺนีโต ความว่า อรรถกถาแห่งบาลีที่แปลจับความผิดลำดับ . บทว่า
ทุนฺนิกฺขิตสฺส ภิกฺขเว ปทพฺยญฺชนสฺส อตฺโถปิ ทุนฺนโย โหติ

343
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 344 (เล่ม 33)

ความว่า อรรถกถาของบาลีที่แปลจับความผิดลำดับสับสน ย่อมชื่อว่า
นำมาชั่ว ทำชั่ว.
จบอรรถกถาที่ ๑๐
อรรถกถา๑สูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ พึงทราบเนื้อความโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
จบอธิกรณวรรคที่ ๒
๑. ในพระบาลีมีเพียง ๑๐ สูตร สูตรที่ ๑๑ รวมอยู่ในข้อ ๒๖๖ ซึ่งเป็นสูตรที่ ๑๐.

344
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 345 (เล่ม 33)

พาลวรรคที่ ๓
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก
[๒๗๖] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒จำพวก
เป็นไฉน คือ คนที่ไม้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรอง
ตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒
จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็น
ไฉน คือ คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่รับรองตามธรรม
เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑
พาลวรรคที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๑
พาลวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อจฺจยํ อจฺจยโต น ปสฺสติ ความว่า ทำผิดแล้ว ไม่เห็น
ความผิดของตนว่า เราทำผิด ได้แก่ ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทำผิดแล้ว
นำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ. บทว่า อจฺจยํ เทเสนฺตสฺส ความว่า
เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้วนำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ. บทว่า ยถาธมฺมํ
น ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไม่กระทำอย่างนี้

345
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 346 (เล่ม 33)

อีก ขอท่านโปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ก็ไม่ยอมรับการขอขมานี้ตาม
ธรรม คือตามสมควร คือไม่กล่าวว่า จำเดิมแต่นี้ ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้
อีก เรายกโทษแก่ท่าน ดังนี้. ธรรมฝ่ายขาวพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม
กับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
ว่าด้วยคน ๒ จำพวก กล่าวตู่พระตถาคต
[๒๖๘] ๒๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่
ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน ๑ คน
ที่เชื่อโดยถือผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าว
ตู่ตถาคต.
จบสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อพฺภาจิกฺขนฺติ ได้แก่ กล่าวตู่ คือกล่าวด้วยเรื่องไม่จริง
บทว่า โทสนฺตโร แปลว่า มีโทสะตั้งอยู่ในภายใน. จริงอยู่ คนแบบนี้
ย่อมกล่าวตู่พระตถาคต เช่น สุนักขัตตลิจฉวี กล่าวว่า อุตตริมนุสสธรรม
ของพระสมณโคดมหามีไม่. บทว่า สทฺโธ วา ทุคฺคหิเตน ความว่า
หรือว่า ผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้า ด้วยศรัทธาที่เว้นจากญาณ มีความเลื่อมใส
อ่อนนั้น ถือผิด ๆ กล่าวตู่พระตถาคตโดยนัยเป็นต้นว่า ขึ้นชื่อว่า
พระพุทธเจ้านั้น เป็นโลกุตระทั้งพระองค์ พระอาการ ๓๒ มีพระเกสา

346
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 347 (เล่ม 33)

เป็นต้นของพระองค์ล้วนเป็นโลกุตระทั้งนั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
ว่าด้วยคน ๒ จำพวกที่กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระตถาคต
[๒๖๙] ๒๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่
ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้
มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคต
ภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล. ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่
แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้
ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตภาษิตไว้
ตรัสไว้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่
ตถาคต.
จบสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓

347
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 348 (เล่ม 33)

สูตรที่ ๔
ว่าด้วยคน ๒ จำพวกที่กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระตถาคต
[๒๗๐] ๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อม
กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถ
จะพึงนำไปว่า พระสุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะ
ที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน
คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึ่งนำไปว่า พระสุตตันตะมี
อรรถที่จะพึงนำไป ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า
พระสุตตันตะมีอรรถอันนำไปแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวก
นี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต.
จบสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เนยฺยตฺถํ สุตฺตนฺตํ ความว่า สุตตันตะใดมีเนื้อความพึง
แนะนำ ซึ่งสุตตันตะมีเนื้อความพึงแนะนำนั้น. บทว่า นีตตฺโถ
สุตฺตนฺโตติ ทีเปติ ความว่า เมื่อกล่าวว่า สุตตันตะนี้ มีเนื้อความกล่าว
ไว้แล้ว. ในบาลีประเทศนั้น สุตตันตะเห็นปานนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลจำพวก ๑ บุคคล ๒ จำพวก บุคคล ๓ จำพวก บุคคล ๔ จำพวก

348
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 349 (เล่ม 33)

ดังนี้ ชื่อว่ามีเนื้อความพึงแนะนำ. ก็ในที่นี้ ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวก ๑ ดังนี้ เป็นต้นก็จริง ถึง
อย่างนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ บุคคลหามีไม่ พึงแนะนำเนื้อความแก่เขา
อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ทีเดียว แต่บุคคลผู้นี้โง่เขลา จึงแสดงว่า สุตตันตะ
นี้มีเนื้อความแนะนำแล้ว. เพราะว่าเมื่อบุคคลไม่มีโดยปรมัตถ์แล้ว พระ-
ตถาคตก็ไม่พึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวก ๑ ดังนี้
เป็นต้นซิ. แต่เพราะพระองค์ตรัสอย่างนั้น ฉะนั้น จึงถือว่า บุคคลมีอยู่
โดยปรมัตถ์ ชื่อว่าย่อมแสดงสุตตันตะมีเนื้อความควรแนะนำ ว่าเป็น
สุตตันตะมีเนื้อความแนะนำแล้ว. บทว่า นีตตฺถํ ได้แก่ มีเนื้อความที่
ตรัสไว้อย่างนี้ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขฺ อนตฺตา ซึ่งในที่นี้ก็มีเนื้อความชัดอยู่
แล้วว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน. แต่บุคคลผู้นี้โง่เขลา คิดว่า
ยังมีสุตตันตะที่มีเนื้อความพึงแนะนำ เราจักนำเนื้อความของสุตตันตะนั้น
มา ถือว่า ที่เที่ยง ที่เป็นสุข ที่เป็นตัวตนก็มีอยู่ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมแสดง
สุตตันตะมีเนื้อความแนะนำแล้ว ว่าเป็นสุตตันตะมีเนื้อความควรแนะนำ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕๑
ในสูตรที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
๑. อรรถกถาสูตรที่ ๔ - ๕ นี้ แก้พระสูตรที่ ๔ (ข้อ ๒๗๐) แต่อรรถกถาแบ่งเป็น ๒ สูตร.

349