No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 276 (เล่ม 32)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธุโต ได้แก่ บุคคลกำจัดกิเลส
หรือธรรมอันกำจัดกิเลส.
ก็ในบทว่า ธุตวาโท นี้(พึงทราบว่า) มีบุคคลผู้กำจัดกิเลส
ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลสแต่มีการ
สอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลส ทั้งไม่มีการสอน
เรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ทั้งกำจัดกิเลสและมีการสอนเรื่อง
กำจัดกิเลส ๑. ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลได้กำจัดกิเลสของ
ตนด้วยธุดงค์ แต่ไม่โอวาทไม่อนุศาสน์คนอื่นด้วยธุดงค์เหมือน
พระพักกุลเถระ บุคคลนี้ชื่อว่าผู้กำจัดกิเลสแต่ไม่มีการสอนเรื่อง
กำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระพักกุละเป็นผู้กำจัด
กิเลส แต่ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส. แก่บุคคลใดไม่กำจัดกิเลส
ของตนด้วยธุดงค์ แต่โอวาทอนุศาสน์ คนอื่นด้วยธุดงค์อย่างเดียว
เหมือนพระอุปนันทเถระ ก็บุคคลนี้ชื่อว่าไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส แต่มี
การสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระ
อุปนันทะ ศากยบุตร ไม่เป็นกำจัดกิเลส แต่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส.
ก็บุคคลใดไม่กำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ ไม่โอวาท ไม่อนุศาสน์
คนอื่นด้วยธุดงค์ เหมือนพระโลลุทายีเถระ ก็บุคคลนี้ชื่อว่าไม่เป็น
ผู้กำจัดกิเลส (และ) ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่าน
กล่าวว่า คือ ท่านพระมหาโลลุทายีไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส ไม่มีการ
สอนเรื่องกำจัดกิเลส. ส่วนบุคคลใดสมบูรณ์ด้วยการกำจัดกิเลส
และมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนพระมหากัสสปเถระ บุคคลนี้
ชื่อว่าเป็นผู้กำจัดกิเลสและมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลสเหมือนดัง

276
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 277 (เล่ม 32)

ท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้กำจัดกิเลพและมีการ
สอนเรื่องกำจัดกิเลส ดังนี้.
บทว่า ธุตธมฺมา เวทิตพฺพา ความว่า ธรรม ๕ ประการ
อันเป็นบริวารของธุดงคเจตนาเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้มักน้อย ๑
ความเป็นผู้สันโดษ ๑ ความเป็นผู้ขัดเกลา ๑ ความเป็นผู้สงัด ๑
ความเป็นผู้มีสิ่งนี้ ๑ ชื่อว่าธรรมเครื่องกำจัดกิเลส เพราะพระบาลี
ว่า อปฺปิจฺฉํเยว นิสฺสาย (อาศัยความมักน้อยเท่านั้น) ดังนี้
เป็นต้น. ในธรรม ๕ ประการนั้น ความมักน้อยและความสันโดษ
เป็นอโลภะ. ความขัดเกลาและความวิเวกจัดเข้าในธรรม ๒ ประการ
คือ อโลภะและอโมหะ. ความเป็นผู้มีสิ่งนี้คือ ญาณนั่นเอง. บรรดา
อโลภะและอโมหะเหล่านั้น กำจัดความโลภในวัตถุที่ต้องห้ามด้วย
อโลภะ กำจัดโมหะอันปกปิดโทษในวัตถุที่ต้องห้ามเหล่านั้นแหละ
ด้วยอโมหะ อนึ่งกำจัดกามสุขัลลิกานุโยคอันเป็นไปโดยมุข คือ
การส้องเสพสิ่งที่ทรงอนุญาต ด้วยอโลภะ กำจัดอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นไปโดยมุขคือ การขัดเกลายิ่งในธุดงค์ทั้งหลาย ด้วยอโมหะ
เพราะฉะนั้นธรรมเหล่านี้ พึงทราบว่าธรรมเครื่องกำจัดกิเลส.
บทว่า ธุตงฺคานิ เวทิตพฺพานิ ความว่า พึงทราบธุดงค์ ๑๓
คือ ปังสุกูลิกังคะ (องค์ของภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) ฯลฯ
เนสัชชิกังคะ (องค์ของภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร).
บทว่า ธุตวาทานํ ยทิทํ มหากสฺสโป ความว่า ทรงสถาปนา
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในระหว่างภิกษุผู้สอนธุดงค์ว่า มหากัสสป-
เถระนี้เป็นยอด. บทว่า มหากสฺสโป ความว่า ท่านกล่าวว่า ท่าน

277
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 278 (เล่ม 32)

พระมหากัสสปะองค์นี้ เพราะเทียบกับพระเถระเล็กน้อยเหล่านี้
คือ พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ พระกุมาร-
กัสสปะ. ในปัญหากรรม แม้ของพระมหากัสสปะนี้มีเรื่องที่กล่าว
ตามลำดับดังต่อไป
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ปลายแสนกัป พระศาสนาพระนามว่า
ปทุมุตตระ อุบัติขึ้นในโลก เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยกรุงหงสวดี
ประทับอยู่ในเขมมฤคทายวัน กุฎุมพีนามว่า เวเทหะ มีทรัพย์สมบัติ
๘๐ โกฎิ บริโภคอาหารดีแต่เช้าตรู่ อธิษฐานองค์อุโบสถ ถือของหอม
และดอกไม้เป็นต้นไปพระวิหารบูชาพระศาสดา ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง. ขณะนั้น พระศาสดาทรงสถาปนาสาวกองค์ที่ ๓
นามว่ามหานิสภเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นิสภะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเราผู้สอนธุดงค์. อุบาสกฟัง
พระดำรัสนั้นแล้วเลื่อมใสเวลาจบธรรมกถา มหาชนลุกไปแล้ว
จึงถวายบังคมพระศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระองค์ทรงรับภิกษาของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้. พระศาสดา
ตรัสว่า อุบาสก ภิกษุสงฆ์มากนะ อุบาสกทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้
มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์มีประมาณเท่าไร ? พระศาสดาตรัสว่า
มีประมาณหกล้านแปดแสนองค์ อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษา แม้แต่สามเณรรูปเดียวก็อย่าเหลือ
ไว้ในวิหาร. พระศาสดาทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ. อุบาสก
รู้ว่าพระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว จึงไปเรือนตระเตรียมมหาทาน
ในวันรุ่งขึ้น ส่งให้คนไปกราบทูลเวลา (ภัตตาหาร) สู่พระศาสดา.

278
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 279 (เล่ม 32)

พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวร มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมไปยังเรือน
ของอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งไว้ถวาย. เวลาเสร็จ
หลั่งน้ำทักษิโณทก ทรงรับข้าวต้มเป็นต้น ได้ทรงสละข้าวสวย.
แม้อุบาสกก็นั่งอยู่ที่ใกล้พระศาสดา.
ระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระกำลังเที่ยวบิณฑบาต เดิน
ไปยังถนนนั้นนั่นแหละ อุบาสกเห็นจึงลุกขึ้นไปไหว้พระเถระแล้ว
กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้บาตร พระเถระได้ให้บาตร.
อุบาสกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอนิมนต์เข้าไปในเรือนนี้แหละ แม้
พระศาสดาก็ประทับนั่งอยู่ในเรือน. พระเถระกล่าวว่า ไม่ควรนะ
อุบาสก. อุบาสกรับบาตรของพระเถระใส่บิณฑบาตเต็มแล้ว ได้
นำออกไปถวาย. จากนั้น ได้เดินส่งพระเถระไปแล้วกลับมานั่งใน
ที่ใกล้พระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ
มหานิสภเถระแม้ข้าพระองค์กล่าวว่า พระศาสดาประทับอยู่ในเรือน
ก็ไม่ปรารถนาจะเข้ามา พระมหานิสภเถระนั่น มีคุณยิ่งกว่าพระองค์
หรือหนอ อันธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ย่อมไม่มีวรรณมัจ-
ฉริยะ. (ตระหนี่คุณความดีของคนอื่น). ลำดับนั้น พระศาสดาตรัส
อย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสก เรานั่งคอยภิกษาอยู่ในเรือน แต่ภิกษุนั้น
ไม่นั่งคอยภิกษาในเรือนอย่างนี้ เราอยู่ในเสนาสนะชายบ้าน ภิกษุ
นั้นอยู่ในป่าเท่านั้น เราอยู่ในที่มุงบัง ภิกษุนั้นอยู่กลางแจ้งเท่านั้น
ดังนั้น ภิกษุนั้นมีคุณนี้ ๆ ตรัสประหนึ่งทำมหาสมุทรให้เต็มฉะนั้น.
อุบาสกแม้ตามปกติเป็นผู้เลื่อมใสดียิ่งอยู่แล้ว จึงเป็นประหนึ่งประทีป
ที่ลุกโพรงอยู่ (ซ้ำ) ถูกราดด้วยน้ำมันฉะนั้น คิดว่า ต้องการอะไรด้วย

279
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 280 (เล่ม 32)

สมบัติอื่นสำหรับเรา เราจักการทำความปรารถนา เพื่อต้องการความ
เป็นยอด ของภิกษุทั้งหลายเป็นธุตวาทะในสำนักของพระพุทธเจ้า
พระองค์หนึ่งในอนาคต.
อุบาสกแม้นั้นจึงนิมนต์พระศาสดาอีก ถวายมหาทานทำนอง
นั้นนั่นแหละถึง ๗ วัน วันที่ ๗ ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประมุข. แล้วหมอบกราบพระบาทของพระศาสดา กราบ
ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเมตตากายกรรม เมตตา
วจีกรรม เมตตามโนกรรม ของข้าพระองค์ผู้ถวายมหาทาน ๗ วัน
ข้าพระองค์จะปรารถนาสมบัติของเทวดา หรือสมบัติของท้าวสุกกะ
มาร และพรหม สักอย่างหนึ่งก็หาไม่ ก็กรรมของข้าพระองค์นี้
จงเป็นปัจจัยแก่ความเป็นยอดของภิกษุผู้ทรงธุดงค์ ๓ เพื่อต้องการ
ถึงตำแหน่งที่พระมหานิสภเถระถึงแล้ว ในสำนักของพระพุทธเจ้า
พระองค์หนึ่ง ในอนาคต. พระศาสดาทรงตรวจว่า ที่อุบาสกนี้
ปรารถนาตำแหน่งใหญ่ จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงเห็นว่าสำเร็จ
จึงตรัสว่า ท่านปรารถนาอัครฐานอันใหญ่โต พระพุทธเจ้าพระนาม
ว่าโคดม จักอุบัติขึ้นในที่สุดแสนกัปในอนาคต ท่านจักเป็นพระสาวก
ที่ ๓ ของพระโคดมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามหากัสสปเถระ. อุบาสก
ได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว คิดว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมไม่ตรัสเป็นคำ ๒ จึงได้สำคัญสมบัตินั้นเหมือนดังจะได้ใน
วันพรุ่งนี้. อุบาสกนั้นดำรงอยู่ชั่วอายุ ถวายทานมีประการต่าง ๆ
รักษาศีลกระทำกุศลกรรมนานัปประการ ตายไปในอัตภาพนั้น
แล้วบังเกิดในสวรรค์.

280
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 281 (เล่ม 32)

จำเดิมแต่นั้น เขาเสวยสมบัติทั้งในเทวดาและมนุษย์ ในกัป
ที่ ๙๑ แต่ภัตรกัปนี้ เมื่อพระวิงสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัย
กรุงพันธุมดี ประทับอยู่ในมฤคทายวันอันเกษม ก็จิตุจากเทวโลกไปเกิด
ในตระกูลพราหมณ์เก่าแก่ตระกูลหนึ่ง.
ก็ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี ตรัสพระ-
ธรรมเทศนาทุก ๆ ปีที่ ๗ ได้มีควานโกลาหลใหญ่หลวง. เทวดา
ทั้งหลายทั่วชมพูทวีป ได้บอกพราหมณ์นั้นว่า พระศาสดาจักทรง
แสดงธรรม. พราหมณ์ได้สดับข่าวนั้น. พราหมณ์นั้น มีผ้านุ่ง
อยู่ผืนเดียว นางพราหมณีก็เหมือนกัน แต่ทั้งสองคนมีผ้าห่มอยู่
ผืนเดียวเท่านั้น จึงปรากฏไปทั่วพระนครว่า เอกสาฎกพราหมณ์.
เมื่อพวกพราหมณ์ประชุมกัน ด้วยกิจบางอย่าง ต้องให้นางพราหมณี
อยู่บ้าน ตนเองไป เมื่อ(ถึงคราว ) พวกพราหมณีประชุมกัน ตนเอง
ต้องอยู่บ้าน นางพราหมณีห่มผ้านั้นไป (ประชุม) ก็ในวันนั้นพราหมณ์
พูดกะพราหมณีว่า แม่มหาจำเริญ เธอจักฟังธรรมกลางคืนหรือ
กลางวัน. พราหมณีพูดว่า พวกฉันชื่อว่าเป็นหญิงแม่บ้าน ไม่อาจ
ฟังกลางคืนได้ขอฟังกลางวันเถิด แล้วให้พราหมณ์อยู่เฝ้าบ้าน
(ตนเอง) ห่มผ้านั้นไปตอนกลางวันพร้อมกับพวกอุบาสิกา ถวาย
บังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฟังธรรมแล้ว กลับ
มาพร้อมกับพวกอุบาสิกา ทีนั้นพราหมณ์ ได้ให้พราหมณีอยู่บ้าน
(ตนเอง) ห่มผ้านั้นไปวิหาร. สมัยนั้น พระบรมศาสดาประทับนั่ง
บนธรรมาสน์ที่เขาตกแต่งไว้ท่ามกลางบริษัท ทรงจับพัดอันวิจิตร
ตรัสธรรมกถาประหนึ่งทำสัตว์ให้ข้ามอากาศคงคา และประหนึ่ง

281
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 282 (เล่ม 32)

ทรงกระทำเขาสิเนรุให้เป็นโม่กวนสาคร ฉะนั้น. เมื่อพราหมณ์
นั่งฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท ปีติ ๕ ประการเกิดขึ้นเต็มทั่วสรีระ
ในปฐมยามนั่นเอง พราหมณ์นั้นดึงผ้าที่ตนห่มออกมาคิดว่า จักถวาย
พระทศพล. ครั้งนั้น ความตระหนี่ชี้โทษถึงพันประการเกิดขึ้น
แก่พราหมณ์นั้นว่า พราหมณีกับเรามีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น ผ้าห่ม
ผืนอื่นไร ๆ ไม่มี ก็ธรรมดาว่าไม่ห่มผ้าก็ออกไปข้างนอกไม่ได้
จึงตกลงใจไม่ต้องการถวายโดยประการทั้งปวง ครั้นเมื่อปฐมยาม
ล่วงไป ปีติเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละเกิดขึ้นแก่พราหมณ์นั้น แม้ใน
มัชฌิมยาม พราหมณ์คิดเหมือนอย่างนั้นแล้วไม่ได้ถวายเหมือน
เช่นนั้น. ครั้นเมื่อมัชฌิมยามล่วงไป ปีติเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ
เกิดขึ้นแก่พราหมณ์นั้นแม้ในปัจฉิมยาม. พราหมณ์นั้นคิดว่า เป็นไร
เป็นกัน ค่อยรู้กันทีหลัง ดังนี้แล้วดึงผ้ามาวางแทบพระบาทพระ-
บรมศาสดา. ต่อแต่นั้นก็งอมือซ้ายเอามือขวาตบลง ๓ ครั้งแล้ว
บันลือขึ้น ๓ วาระว่า ชิตํ เม ชิตํ เม ชิตํ เม ( เราชนะแล้ว ๆ).
สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชประทับนั่งสดับธรรมอยู่ภายใน
ม่านหลังธรรมาสน์ อันธรรมดาพระราชาไม่ทรงโปรดเสียงว่า
ชิตํ เม ชิตํ เม จึงส่งราชบุรุษไปด้วย พระดำรัสว่า เธอจงไปถาม
พราหมณ์นั้นว่า เขาพูดทำไม. พราหมณ์นั้นถูกราชบุรุษไปถาม
จึงกล่าวว่า คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า ขึ้นยานคือช้างเป็นต้น ถือดาบ
และโล่หนังเป็นต้น จึงได้ชัยชนะกองทัพข้าศึก ชัยชนะนั้น
ไม่น่าอัศจรรย์ ส่วนเราได้ย่ำยีจิตตระหนี่แล้ว ถวายผ้าที่ห่มอยู่
แด่พระทศพล เหมือนคนเอาฆ้อนทุบตัวโคโกงที่ตามมาข้างหลัง
ทำให้มันหนีไป ชัยชนะของเรานั้นจึงน่าอัศจรรย์. ราชบุรุษจึงไป

282
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 283 (เล่ม 32)

กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา. พระราชารับสั่งว่า พนาย พวกเรา
ไม่รู้สิ่งที่สมควรแก่พระทศพล พราหมณ์รู้ จึงให้ส่งผ้าคู่หนึ่ง (ผ้านุ่ง
กับผ้าห่ม) ไปพระราชทาน พราหมณ์เห็นผ้าคู่นั้นแล้วคิดว่า พระ-
ราชานี้ไม่พระราชทานอะไรเป็นครั้งแรกแก่เราผู้นั่งนิ่ง ๆ เมื่อ
เรากล่าวคุณทั้งหลายของพระบรมศาสดาจึงได้พระราชทาน จะมี
ประโยชน์อะไรแก่เรากับผ้าคู่ที่อาศัยพระคุณของพระบรมศาสดา
เกิดขึ้น จึงได้ถวายผ้าคู่แม้คู่นั้นแด่พระทศพลเสียเลย. พระราชา
ตรัสถามว่า พราหมณ์ทำอย่างไร ทรงสดับว่า พราหมณ์ถวายผ้าคู่
แม้นี้แด่พระตถาคตเท่านั้น จึงรับสั่งให้ส่งผ้าคู่ ๒ ชุดแม้อื่นไป
พระราชทาน. พราหมณ์นั้นได้ถวายผ้าคู่ ๒ ชุดแม้นั้น. พระราชา
ทรงส่งผ้าคู่ ๔ ชุดแม้อื่นไปพระราชทาน ทรงส่งไปพระราชทาน
ถึง ๓๒ คู่ ด้วยประการอย่างนี้. ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า การทำ
ดังนี้ เป็นเหมือนให้เพิ่มขึ้นแล้วจึงจะรับเอา จึงถือเอาผ้า ๒ คู่ คือ
เพื่อประโยชน์แก่ตนคู่ ๑ เพื่อนางพราหมณีคู่ ๑ แล้วถวายเฉพาะ
พระทศพล ๓๐ คู่. จำเดิมแต่นั้น พราหมณ์ก็ได้เป็นผู้สนิทสนมกับ
พระบรมศาสดา. ครั้นวันหนึ่งพระราชาทรงสดับธรรมในสำนักของ
พระบรมศาสดาในฤดูหนาว ได้พระราชทานผ้ากัมพลแดงสำหรับห่ม
ส่วนพระองค์มีมูลค่าพันหนึ่งกะพราหมณ์ แล้วรับสั่งว่า จำเดิม
แต่นี้ไป ท่านจงห่มผ้ากัมพลแดงผืนนี้ฟังธรรม พราหมณ์นั้นคิดว่า
เราจะประโยชน์อะไรกับผ้ากัมพลแดงนี้ ที่จะน้อมนำเข้าไปในกาย
อันเปื่อยเน่านี้ จึงได้ทำเป็นเพดานเหนือเตียงของพระตถาคตใน
ภายในพระคันธกุฏีแล้วก็ไป. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไป
พระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่งในที่ใกล้พระบรมศาสดาในพระคันธกุฏี

283
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 284 (เล่ม 32)

ก็ในขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ กระทบที่ผ้ากัมพล
ผ้ากัมพลก็บรรเจิดจ้าขึ้น พระราชาทอดพระเนตรเห็นก็จำได้จึง
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้ากัมพลผืนนี้ของข้าพระองค์ ๆ
ให้เอกสาฎกพราหมณ์. มหาบพิตร พระองค์บูชาพราหมณ์ พราหมณ์
บูชาอาตมภาพ. พระราชาทรงเลื่อมใสว่า พราหมณ์รู้สิ่งที่เหมาะที่ควร
เราไม่รู้ จึงพระราชทานสิ่งที่เป็นของเกื้อกูลแก่มนุษย์ทุกอย่าง ๆ
ละ ๘ ชนิด ๘ ครั้ง ให้เป็นของประทานชื่อว่า สัพพัฏฐกทานแล้ว
ทรงตั้งให้เป็นปุโรหิต. พราหมณ์นั้นคิดว่า ชื่อว่าของ ๘ ชนิด ๘ ครั้ง
ก็เป็น ๖๔ ชนิด จึงสลากภัต ๖๔ ที่ ให้ทานรักษาศีลตลอดชีวิต
จุติจากชาตินั้นไปเกิดในสวรรค์ จุติจากสวรรค์กลับมาเกิดในเรือน
ของกุฏุมพี ในกรุงพาราณสี ในระหว่างกาลของพระพุทธเจ้า ๒
พระองค์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมน์ และพระกัสสปทศพล
ในกัปนี้. เขาเจริญวัยก็แต่งงานมีเหย้าเรือน วันหนึ่ง เดินเที่ยวพักผ่อน
ไปในป่า.
ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ากระทำจีวรกรรม (คือการ
เย็บจีวร) อยู่ที่ริมแม่น้ำ ผ้าอหวาต (ผ้าแผ่นบาง ๆ ที่ทาบไป
ตามชายสบงจีวรและสังฆาฏิ) ไม่พอจึงเริ่มจะพับเก็บ เขาเห็น
เข้าจึงกล่าวถามว่า เพราะอะไรจึงจะพับเก็บเสียเล่า เจ้าข้า. พระ
ปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ผ้าอนุวาตไม่พอ. กุฏุมพีกล่าวว่า โปรด
เอาผ้าสาฎกนี้ทำเถิดเจ้าข้า. เขาถวายผ้าวาฎกแล้ว ตั้งความปรารถนา
ว่า ในที่ที่ข้าพเจ้าเกิดแล้ว ๆ ความเลื่อมไส ๆ ขอจงอย่าได้มี.
ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า เข้าไปบิณฑบาตแม้ในเรือนของเขา
ในเมื่อภรรยากับน้องสาวกำลังทะเลาะกัน. ทีนั้น น้องสาวของเขา

284
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 285 (เล่ม 32)

ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว กล่าวอย่างนี้มุ่งถึงภรรยา
ของเขา ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้เราห่างไกลหญิงพาลเห็นปานนี้
ร้อยโยชน์. ภรรยาของเขายืนอยู่ที่ลานบ้านได้ยินจึงคิดว่า พระรูป
นี้จงอย่าได้ฉันอาหารที่นางคนนี้ถวาย จึงจับบาตรมาเทบิณฑบาตทิ้ง
แล้วเอาเปือกตมมาใส่จนเต็ม. นางเห็นจึงกล่าวว่า หญิงพาลเจ้าจง
ด่าจงบริภาษเราก่อนเถิด การเทภัตตาหารจากบาตรข้องท่านผู้ได้
บำเพ็ญบารมีมา ๒ อสงไขยเห็นปานนี้แล้ว ใส่เปือกตมให้ไม่สมควร
เลย. ครั้งนั้น ภรรยาของเขาเกิดความสำนึกขึ้นได้จึงกล่าวว่า โปรด
หยุดก่อนเจ้าข้า แล้วเทเปือกตมออกล้างบาตรชะโลมด้วยผงเครื่อง
หอมแล้วได้ใส่ของมีรสอร่อย ๔ อย่างเต็มบาตรแล้ววางถวายบาตร
อันผุดผ่องด้วยเนยใส มีสีเหมือนกลีบปทุมอันลาดรดลงข้างบน
ในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า ตั้งความปรารถนาว่า สรีระของ
เราจงผุดผ่องเหมือนบิณฑบาตอันผุดผ่องนี้เถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้า
อนุโมทนาแล้วเหาะขึ้นสู่อากาศ.
ผัวเมียแม้ทั้งสองนั้นดำรงอยู่ชั่วอายุแล้วไปเกิดบนสวรรค์
จุติจากสวรรค์นั้นอีกครั้ง อุบาสกเกิดเป็นบุตรเศรษฐีมีสมบัติ
๘๐ โกฏิในกรุงพาราณสี ในครั้งพระกัสสปทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า
ฝ่ายภรรยาเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีเหมือนกัน เมื่อเขาเจริญวัย
พวกญาติก็นำธิดาของเศรษฐีคนนั้นแหละมา. ด้วยอานุภาพของ
กรรมซึ่งมีวิบากอันไม่น่าปรารถนาในชาติก่อน พอนาง (ถูกส่งตัว)
เข้าไปยังตระกูลของสามี ทั่วทั้งสรีระเกิดกลิ่นเหม็นเหมือนส้วม
ที่เขาเปิดไว้ (ตั้งแต่ย่างเข้าไป) ภายในธรณีประตู. เศรษฐีกุมาร

285