No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 256 (เล่ม 32)

แก่อภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน. ก็ข้อนี้ทั้งหมดเทียวเป็นเพียงพระปริวิตก
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น. ก็เว้นโกณฑัญญพราหมณ์เสีย
คนอื่นใครเล่า ชื่อว่าเป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมก่อนไม่มี. จริงอยู่
โกณฑัญญพราหมณ์นั้นได้กระทำกรรมคือ บุญญาธิการไว้ ๑๐๐,๐๐๐
กัป เพื่อประโยชน์นี้เอง จึงได้ถวายทานในเพราะข้าวกล้าอันเลิศ
๙ ครั้ง แก่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน โดยลำดับ เสด็จไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ พระ
ปัญจวัคคีย์เหล่านั้นเห็นพระตถาคตเสด็จมา ไม่อาจดำรงอยู่ใน
กติกาของพวกตน (ที่ตกลงกันไว้) องค์หนึ่งล้างพระบาท องค์หนึ่ง
จับพัดใบตาลยืนถวายงานพัด. เมื่อพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น แสดง
วัตรอย่างนี้แล้วนั่ง ณ ที่ใกล้ พระศาสดาทรงการทำพระโกณฑัญญ
เถระให้เป็นกายสักขีพยานแล้ว ทรงเริ่มธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
มีวนรอบ ๓ อันยอดเยี่ยม.
มนุษยบริษัท ก็คือชนทั้ง ๕ (ปัญจวัคคีย์) เท่านั้น เทวบริษัท
พระศาสดาทรงการทำพระโกณฑัญญะ ก็ดำรงอยู่ในโสดา-
ปัตติผล พร้อมกับท้าวมหาพรหม ๑๘ โกฎิ. ครั้งนั้น พระศาสดาทรง
ดำริว่า โกณฑัญญะรู้ทั่วธรรมที่เราได้ ได้มาด้วยการทำความเพียร
อย่างหนัก ก่อนผู้อื่นทั้งนั้น เมื่อทรงเรียกพระเถระว่าภิกษุนี้ชื่ออัญญา-
โกณฑัญญะ จึงตรัสว่า อญฺญาสิ วค โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ
โกณฺฑญฺโญ โกณฑัญญะ รู้ทั่วแล้วหนอ โกณทัญญะ รู้ทั่วแล้วหนอ ดังนี้.
คำนั้นนั่นแลจึงเป็นชื่อของท่าน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อิติ หิทํ

256
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 257 (เล่ม 32)

อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส อญฺญาโกณฺฑญฺโญ เตฺวว นามํ อโหสิ
ดังนั้น คำนี้ว่าอัญญาโกฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะ
ดังนั้น พระเถระจึงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันอาสาฬหปุรณมี
เพ็ญกลางเดือน ๘ วันแรม ๑ ค่ำ พระภัททิยเถระ วันแรม ๒ ค่ำ
พระวัปปเถระ วันแรม ๓ ค่ำ พระมหานามเถระ. วันแรม ๔ ค่ำ
พระอัสสชิเถระ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ส่วนวันแรม ๕ ค่ำ
จบอนัตตลักขณสูตร ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตหมดทุกรูป. สมัยนั้น
แล จึงมีพระอรหันต์ในโลก ๖ องค์
ตั้งแต่นั้นมา พระศาสดาทรงให้มหาชนหยั่งลงสู่อริยภูมิ
อย่างนี้คือ บุรุษ ๕๕ คนมียสกุลบุตรเป็นหัวหน้า ภัททวัคคิยกุมาร
จำนวน ๓๐ คน ที่ป่าฝ้าย ปุราณชฏิล จำนวน ๑,๐๐๐ รูป ที่หลังแผ่นหิน
คยาสีสประเทศ ทรงให้ราชบริพาร ๑๑ นหุต มีพระเจ้าพิมพิสาร
เป็นประมุข ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ๑ นหุต ให้ดำรงอยู่ใน
ไตรสรณะ ทรงทำพระศาสนาให้ผลิตดอกออกผล บนพื้นชมพู
ทวีป ทรงทำทั่วมณฑลชมพูทวีปให้รุ่งเรื่องด้วยกาสาวพัสตร คลาคล่ำ
ไปด้วยนักแสวงบุญสมัยหนึ่ง เสด็จถึงพระเชตวันมหาวิหาร สถิต
อยู่ ณ ที่นั้น ประทับบนพระพุทธอาสน์อย่างดีที่เขาจัดไว้แล้ว ทรง
แสดงธรรมท่ามกลางภิกษุสงฆ์ เพื่อทรงแสดงว่า โกณฑัญญะ บุตร
เรา เป็นยอด ระหว่างเหล่าภิกษุผู้แทงตลอดธรรม ก่อนใคร จึงทรง
สถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ.
แม้พระเถระเห็นพระอัครสาวกทั้งสองกระทำความเคารพ
นบนอบตน ประสงค์จะหลีกไปเสียจากสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

257
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 258 (เล่ม 32)

เห็นว่า ปุณณมานพบวชแล้วจักเป็นยอดธรรมกถึกในพระศาสนา
จึงกลับไปตำบลบ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ (ชาติภูมิของท่าน) ให้
ปุณณมานพหลานชายบรรพชาแล้ว คิดว่า ปุณณมาณพนี้ จักอยู่ใน
สำนักของพระพุทธเจ้า จึงได้ปุณณมานพนั้นอยู่ในสำนักของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านเองก็เข้าไปเฝ้าพระทศพล ขออนุญาต
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสนาสนะใกล้
บ้านไม่เป็นสัปปายะสำหรับข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่
เกลื่อนกล่น จำจักไปอยู่สระฉัททันต์ พระเจ้าข้า ลุกจากอาสนะ
ถวายบังคมแล้วไปยังสระฉัททันต์ อาศัยโขลงช้างสกุลฉัททันต์
ยับยั้งอยู่ ๑๒ ปี ปรินิพพาน ด้วยอนุปานิเสสนิพพานธาตุ ณ ที่นั้นเอง
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒ - ๓
ประวัติพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถระ
สูตรที่ ๒-๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหาปญฺญานํ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอย่างมากมาย
บทว่า อิทฺธิมนฺตานํ ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์. คำว่า สารีบุตร โมคคัล-
ลานะ เป็นชื่อของพระเถระทั้งสองนั้น. ในปัญหากรรมของพระเถระ
ทั้ง ๒ นี้ มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.

258
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 259 (เล่ม 32)

ในที่สุดอสงไขยกัปยิ่งด้วยแสนกัป นับแต่กัปนี้ ท่านพระสารีบุตร
บังเกิดในครอบครัวพราหมณมหาศาล ชื่อสรทมาณพ. ท่านพระ
โมคคัลลานะบังเกิดในครอบครัวคฤหบดีมหาศาล ชื่อสิริวัฑฒกุฏมพี.
ทั้ง ๒ คนเป็นเพื่อนเล่นฝุ่นด้วยกันมา เมื่อบิดาล่วงลับไปสรทมาณพ
ก็ได้ทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งเป็นสมบัติของสกุล วันหนึ่ง อยู่ในที่ลับ
คิดว่า เราไม่รู้อัตภาพในโลกนี้ ไม่รู้อัตภาพในโลกอื่น ขึ้นชื่อว่า
ความตายเป็นของแน่ สำหรับเหล่าสัตว์ที่เกิดมาแล้ว. ควรที่เรา
จะถือบวชสักอย่างหนึ่ง แสวงหาโมกขธรรม. สรทมาณพนั้นไปหาสหาย
กล่าวว่า เพื่อนสิริวัฑฒ์ เราจักบวชแสวงหาโมกขธรรม เจ้าจักบวช
พร้อมกันเราได้ไหม. สิริวัฑฒกุฏมพีตอบว่า ไม่ได้ดอกเพื่อน เจ้าบวช
คนเดียวเถิด. สรทมาณพคิดว่า คนเมื่อไปปรโลก จะพาสหายหรือ
ญาติมิตรไปด้วยหามีไม่ กรรมที่ตนทำก็เป็นของตนผู้เดียว ต่อนั้น
ก็สั่งให้เปิดเรือนคลังรัตนะให้มหาทานแก่คนกำพร้า คนเดินทาง
ไกล วณิพกและยาจกทั้งหลาย แล้วบวชเป็นฤษี. มีคนบวชตาม
สรทมาณพนั้น อย่างนี้คือ คน ๑ ๒ คน ๓ คน กลายเป็นชฏิลจำนวน
ประมาณ ๗๔,๐๐๐ รูป สรทฤษีนั้น ทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้
บังเกิดแล้ว ก็สอนกสิณบริกรรมแก่ชฏิลเหล่านั้น. ชฎิลเหล่านั้น
ก็ทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้บังเกิดทุกรูป.
สมัยนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสีทรงอุบัติขึ้น
ในโลก. พระนครชื่อว่า จันทวดี. พระพุทธบิดาเป็นกษัตริย์พระนามว่า
ยศวันตะ. พระพุทธมารดา เป็นพระเทวีพระนามว่า ยโสธรา. ต้นไม้
ที่ตรัสรู้ ชื่อว่าอัชชุนพฤกษ์ ต้นกุ่ม (ต้นรกฟ้าขาวก็ว่า). พระอัครสาวก

259
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 260 (เล่ม 32)

ทั้ง ๒ ชื่อว่า พระนิสภเถระ และพระอโนมเถระ. พระพุทธอุปฐาก
ชื่อพระวรุณเถระ พระอัครสาวิกาทั้ง ๒ ชื่อ สุนทรา และ สุมนา.
ทรงมีพระชนมายุ ๑๐,๐๐๐ พรรษา. พระวรกายสูง ๕๘ ศอก.
รัศมีพระวรกายแผ่ไป ๑๒ โยชน์. มีภิกษุเป็นบริวาร ๑๐๐,๐๐๐ รูป.
ต่อมาวันหนึ่ง พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า เสด็จออกจากพระมหากรุณา
สมาบัติ ทรงตรวจดูโลก เวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นสรทดาบส ทรงพระ
ดำริว่า วันนี้ เพราะเราไปหาสรทดาบสเป็นปัจจัย จักมีธรรมเทศนา
กัณฑ์ใหญ่ และสรทดาบสนั้น จักปรารถนาตำแหน่งอัครสาวก
สิริวัฑฒกุฏุมพีสหายของเขา จักปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกที่ ๒
จบเทศนาชฏิล ๗๔,๐๐๐ รูป บริวารของเขา จักบรรลุพระอรหัต
ควรที่เราจะไปที่นั้น. ดังนี้แล้ว ทรงถือบาตรสละจีวรของพระองค์
ไม่เรียกใครอื่น เสด็จลำพังพระองค์เหมือนราชสีห์ เมื่อเหล่าอันเต-
วาสิก ศิษย์ของสรทดาบส ออกไปแสวงหาผลาผล ทรงอธิษฐานว่า
ขอสรทดาบสจงรู้ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อสรทดาบสกำลังดู
อยู่นั่นเอง ก็เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนบนพื้นดิน.
สรทดาบส เห็นพระพุทธานุภาพและพระสรีรสมบัติของพระองค์
จึงพิจารณาลักษณมนต์ ก็รู้ว่า ธรรมดาผู้ประกอบด้วยลักษณะ
เหล่านี้ เมื่ออยู่ครองเรือน ก็ต้องเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อบวช
ก็ต้องเป็นพระสัพพัญญูพุทธะ ผู้ทรงเปิดกิเลสดุจหลังคาเสียแล้ว
ในโลก มหาบุรุษผู้นี้ต้องเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จึง
ออกไปต้อนรับ ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ปูอาสนะถวาย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูแล้ว. แม้สรทดาบส

260
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 261 (เล่ม 32)

ก็ถือเอาอาสนะที่สมควรแก่ตน นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. สมัยนั้น
ชฏิล ๗๔,๐๐๐ รูป ก็ถือผลาผลมีโอชะอันประณีต ๆ มาถึงสำนัก
ของอาจารย์ มองดูอาสนะที่พระพุทธเจ้า และอาจารย์นั่งแล้วกล่าวว่า
ท่านอาจารย์ พวกเราเที่ยวไปด้วยเข้าใจว่า ไม่มีใครเป็นใหญ่กว่า
ท่านในโลกนี้ แต่บุรุษผู้นี้เห็นทีจะใหญ่กว่าท่านแน่. สรทดาบส
กล่าวว่า พ่อเอ๋ย พูดอะไร พวกเจ้าประสงค์จะเปรียบขุนเขาสิเนรุ
ซึ่งสูง ๖,๐๐๐,๐๐๐ โยชน์ ทำให้เท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด. ลูกเอ๋ย
พวกเจ้าอย่าเปรียบเรากับพระสัพพัญญูพุทธะเลย. ครั้งนั้น ชฏิล
เหล่านั้นคิดว่า ถ้าบุรุษผู้นี้ จักเป็นสัตว์ต่ำช้าแล้วไซร้ อาจารย์
ของเราคงไม่นำมาเปรียบเช่นนี้ ที่แท้บุรุษผู้นี้ต้องเป็นใหญ่หนอ
ทุกรูปจึงหมอบแทบเบื้องพระยุคลบาท ไหว้ด้วยเศียรเกล้า. ลำดับนั้น
อาจารย์จึงกล่าวกะชฏิลเหล่านั้นว่า พ่อเอ๋ย ไทยธรรมของเราที่คู่ควร
แก่พระพุทธเจ้าไม่มีเลย. ในเวลาภิกษาจาร พระศาสดา
ก็เสด็จมาแล้วในที่นี้ พวกเราจักถวายไทยธรรมตามกำลัง พวกเจ้า
จงนำผลาผลของเราที่ประณีต ๆ มา แล้วให้นำมา ล้างมือแล้ว
ก็วางไว้ในบาตรของพระตถาคตด้วยตนเอง. พอพระศาสดาทรง
รับผลาผล เทวดาทั้งหลายก็ใส่ทิพโอชะลง. ดาบสก็กรองน้ำถวาย
ด้วยตนเอง. ลำดับนั้น เมื่อพระศาสดาประทับนั่งเสวยเสร็จแล้ว
ดาบสก็เรียกอันเตวาสิกมาทุกคน นั่งพูดแต่ถ้อยคำที่เป็นสาราณียกถา
(ถ้อยคำให้หวนระลึกถึงกัน) ในสำนักพระศาสดา.
พระศาสดาทรงดำริว่า พระอัครสาวกทั้งสอง จงมา
พร้อมกับภิกษุสงฆ์ พระอัครสาวกเหล่านั้นรู้พระดำริของพระศาสดา

261
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 262 (เล่ม 32)

มีพระขีณาสพแสนองค์เป็นบริวาร มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วยืน
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ลำดับนั้น สรทดาบสเรียกพวกอันเตวาสิกมาพูดว่า พ่อทั้งหลาย
อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งก็ต่ำ อาสนะที่พระสมณะแสนองค์
นั่งก็ไม่มี วันนี้ ควรที่ท่านทั้งหลายจะกระทำพุทธสักการะให้โอฬาร
ท่านทั้งหลายจงนำดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นจากเชิงเขามา
เวลาที่กล่าวย่อมเป็นเหมือนเนิ่นนาน แต่วิสัยของผู้มีฤทธิ์เป็นอจินไตย
เพราะเหตุนั้น ดาบสเหล่านั้นจึงนำดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น
มา โดยกาลชั่วครู่เดียวเท่านั้น ตกแต่งอาสนะดอกไม้ประมาณโยชน์
หนึ่งสำหรับพระพุทธเจ้า สำหรับพระอัครสาวกทั้งหลาย
๓ คาวุต สำหรับภิกษุที่เหลือต่างกันกึ่งโยชน์ เป็นต้น สำหรับ
ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์ประมาณอุสภะเดียว. เมื่อตกแต่งอาสนะเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว สรทดาบสยืนประคองอัญชลีตรงพระพักตร์พระตถาคต
แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอจงเสด็จขึ้นอาสนะดอกไม้
นี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด
(ครั้นกล่าวแล้ว จึงได้กล่าวเป็นยาถาประพันธ์ดังนี้ว่า)
นานาปุบฺผํ จ คนฺธญฺจ สมฺปาเทตฺวาน เอกโต
ปุบฺผาสนํ ปญฺญาเปตฺวา อิทํ วจนมพฺธรวึ
ฯลฯ
ข้าพระองค์ร่วมกันรวบรวมดอกไม้ต่าง ๆ
และของหอมมาตกแต่งอาสนะดอกไม้ ได้กราบ
ทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระผู้กล้าหาญ อาสนะนี้ตกแต่ง

262
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 263 (เล่ม 32)

ไว้เพื่อพระองค์ เหมาะสมแก่พระองค์ ขอ
พระองค์จงยังจิตของข้าพระองค์ให้ผ่องใส
ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้เถิด. พระพุทธเจ้า
ได้ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ตลอดเจ็ดวันเจ็ด
คืน ทำจิตของเราให้ผ่องใส ทำโลกพร้อมทั้งเทวดา
ให้ร่าเริง.
เมื่อพระศาสดาประทับนั่งอย่างนี้แล้ว พระอัครสาวกทั้งสอง
กับเหล่าภิกษุที่เหลือ ก็นั่งบนอาสนะอันถึงแล้วแก่ตน ๆ. สรทดาบส
ถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ยืนกั้นเหนือพระเศียรพระตถาคต. พระศาสดา
ทรงเข้านิโรธสมาบัติด้วยพระดำริว่า สักการะนี้ จงมีผลมากแก่
ชฏิลทั้งหลาย. พระอัครสาวกทั้งสองก็ดี ภิกษุที่เหลือก็ดี รู้ว่าพระ
ศาสดาทรงเข้าสมาบัติ ก็พากันเข้าสมาบัติ. เมื่อพระตถาคตนั่งเข้า
นิโรธสมาบัติตลอด. ๗ วัน พวกอันเตวาสิก เมื่อถึงเวลาภิกขาจาร
ก็บริโภคมูลผลาหารของป่า ในเวลาที่เหลือก็ยืนประคองอัญชลีแด่
พระพุทธเจ้า. ส่วนสรทดาบส แม้ภิกขาจารก็ไม่ไป ยับยั้งอยู่ด้วย
ปีติและสุขทั้ง ๗ วัน โดยทำนองที่ถือฉัตรดอกไม้อยู่นั่นแหละ.
พระศาสดาทรงออกจากนิโรธสมาบัติแล้วตรัสเรียกพระ
นิสภเถระอัครสาวกผู้นั่งอยู่ ณ เบื้องขวาว่า นิสภะเธอจงทำบุบผา-
สนานุโมทนาแก่ดาบทั้งหลายผู้การทำสักการะ. พระเถระดีใจ
เหมือนทหารใหญ่ได้ลาภมากจากสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ
ตั้งอยู่ในสาวกบารมีญาณเริ่มอนุโมทนาเกี่ยวกับการถวายอาสนะ
ดอกไม้. ในเวลาจบเทศนาของพระอัครสาวกนั้น จงตรัสเรียกทุติย-

263
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 264 (เล่ม 32)

สาวกว่า ภิกษุ แม้เธอก็จงแสดงธรรม. ฝ่ายพระอโนมเถระพิจารณา
พระไตรปิฎกพุทธวจนะมากล่าวธรรมกถา. ด้วยเทศนาของพระ
อัครสาวกทั้งสอง แม้ชฎิลสักรูปหนึ่งไม่ได้ตรัสรู้. ลำดับนั้น พระ
ศาสดาทรงดำรงอยู่ในพุทธวิสัยอันหาประมาณไม่ได้ ทรงเริ่มพระ-
ธรรมเทศนา. ในเวลาจบเทศนา เว้นสรทดาบส ชฏิลแม้ทั้งหมดจำนวน
๗๔,๐๐๐ รูป บรรลุพระอรหัต. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์
ตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นเอง ผมและหนวดของชฏิล
เหล่านั้นก็หายไป บริขาร ๘ ก็ได้สรวมสอดเข้าในกายทันที.
ถามว่า เพราะเหตุไร สรทดาบสจึงไม่บรรลุพระอรหัต.
ตอบว่า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน. ได้ยินว่า. จำเดิมตั้งแต่เริ่มฟังเทศนา
ของพระอัครสาวกผู้นั่งบนอาสนะที่สองของพระพุทธเจ้า ผู้ตั้งอยู่
ในสาวกบารมีญาณแสดงธรรมอยู่ สรทดาบสนั้นเกิดความคิดขึ้นว่า
โอหนอ แม้เราก็ควรได้หน้าที่ที่พระสาวกนี้ได้ ในศาสนาของพระ
พุทธเจ้าผู้จะเสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต. สรทดาบสนั้นไม่อาจทำให้
แจ้งมรรคผล ก็เพราะความปริวิตกนั้น จึงถวายบังคมพระตถาคต
แล้วยืนตรงพระพักตร์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ
ผู้นั่งบนอาสนะติดกับพระองค์ชื่อไร. ในศาสนาของพระองค์. พระ
ศาสดาตรัสว่า ภิกษุนี้ผู้ประกาศตามพระธรรมจักรที่เราประกาศ
แล้ว ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ แทงตลอดโสฬสปัญหา ชื่อว่า
นิสภเถระอัครสาวกในศาสนาของเรา. สรทดาบส (ได้ฟังแล้ว)
จึงได้ทำความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์กั้นฉัตร
ดอกไม้ตลอด ๗ วัน การทำสักการะนี้ใด ด้วยผลของสักการะนี้

264
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 265 (เล่ม 32)

นั้น ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาเป็นท้าวสักกะหรือเป็นพรหมสัก
อย่างหนึ่ง แต่ในอนาคต ขอให้ข้าพระองค์พึงเป็นพระอัครสาวกของ
พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เหมือนพระนิสภเถระนี้.
พระศาสดาทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูว่า ความปรารถนา
ของดาบสนี้ จักสำเร็จไหมหนอ ก็ได้ทรงเห็นว่าล่วงไปหนึ่งอสงไขย
ยิ่งด้วยแสนกัปจะสำเร็จ ก็แหละครั้นทรงเห็นแล้วจึงตรัสกะสรทดาบส
ว่า ความปรารถนาอันนี้ของท่านจักไม่เป็นของเปล่า แต่ในอนาคต
ล่วงไปหนึ่งอสังไขยยิ่งด้วยแสนกัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า
โคดม จักอุบัติขึ้นในโลก จักมีพระพุทธมารดานามว่า มหามายาเทวี
จักมีพระพุทธบิดานามว่า สุทโธทนมหาราช จักมีพระโอรสนามว่า
ราหุล จักมีพระอุปัฏฐากนามว่า อานนท์ จักมีพระทุติยสาวกนามว่า
โมคคัลลานะ ส่วนตัวท่านจักเป็นพระอัครสาวกของพระโคดมนั้น
นามว่าพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ครั้นทรงพยากรณ์ดาบสนั้น
อย่างนี้แล้วตรัสธรรมกถา มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวารเสด็จเหาะไป
ทางอากาศ.
ฝ่ายสรทดาบสไปยังสำนักของพระเถระผู้เคยเป็นอันเตวาสิก
แล้วให้ส่งข่าวแก่สิริวัฑฒกุฏุมพีผู้เป็นสหายว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน
จงบอกสหายของข้าพเจ้าว่า สรทดาบสผู้สหายของท่าน ปรารถนา
ตำแหน่งอัครสาวกในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า ผู้จะเสด็จอุบัติ
ในอนาคต ณ ที่ใกล้บาทมูลของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ส่วนท่าน
จงปรารถนาตำแหน่งทุติยสาวกเถิด ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
ก็ไปโดยครู่เดียวก่อนหน้าพระเถระทั้งหลาย ได้ยินอยู่ที่ประตูนิเวศน์
ของสิริวัฑฒกุฎุมพี

265