No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 246 (เล่ม 32)

ทรงพระนามว่า โคตมะ จักอุบัติขึ้นในโลก ครั้งนั้นความปรารถนา
ของกุลบุตรนี้ จักสำเร็จ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ
กุลบุตรสิ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนกุลบุตรผู้เจริญ ในอนาคต ในที่สุด
แสนกัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคตมะ จักอุบัติขึ้นในโลก
ท่านจักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อันถึงพร้อมด้วยนัยพันนัย พร้อม
ด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ เวลาจบพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตรอันมี
วนรอบ ๓ ด้วยการแสดงธรรมครั้งแรกของพระโคดมพุทธเจ้านั้น.
พระศาสดาครั้นทรงพยากรณ์กุลบุตรนั้นดังนี้แล้ว ทรงแสดง
ธรรม ๘๔,๐๐ พระธรรมขันธ์ แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ, สรีระของพระองค์ผู้ปรินิพพานแล้ว ได้เป็นแท่งอัน
เดียวกัน เหมือนก้อนทองฉะนั้น. ก็ชนทั้งหลายได้สร้างเจดีย์บรรจุ
พระสรีระของพระองค์ สูง ๗ โยชน์ อิฐทั้งหลายล้วนแล้วด้วยทองคำ
ชนทั้งหลายใช้หรดาลและมโนสิลาแทนดินเหนียว ใช้นำมันงาแทนนำ.
ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ยังทรงพระชนม์อยู่ รัศมีแห่งพระ
สรีระแผ่ไป ๑๒ โยชน์. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน
แล้ว รัศมีนั้น สร้านออกปกคลุมที่ร้อยโยชน์โดยรอบ. เศรษฐีนั้น
ให้สร้างของควรค่าเท่ารัตนะพันดวง ล้อมเจดีย์บรรจุพระสรีระ
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในวันประดิษฐานพระเจดีย์ ให้สร้าง
เรือนแก้วภายในเจดีย์. เศรษฐีนั้นกระทำกัลยาณกรรม ล้วนแล้ว
ด้วยทานใหญ่โตถึงแสนปี เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดใน
สวรรค์. เมื่อเศรษฐีนั้นท่องเที่ยวอยู่ในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
นั่นเอง ล่วงไป ๙๙,๙๐๙ กัป เมื่อกาลล่วงไปเท่านี้ ในท้ายกัปที่ ๙๑
จากภัตรกัปนี้ กุลบุตรนี้บังเกิดในเรือนแห่งกุฏุมพี ในรามคาม

246
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 247 (เล่ม 32)

ใกล้ประตูกรุงพันธุมดี ได้นามว่า มหากาล ส่วนน้องชายของท่าน
นามว่า จุลกาล.
สมัยนั้น พระโพธิสัตว์พระนามว่า วิปัสสี จุติจากดุสิตบุรี
บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพันธุมะ กรุง
พันธุมดี บรรลุพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ อันท้าวมหาพรหม
อาราธนา เพื่อประโยชน์แก่การแสดงธรรม จึงดำริว่า เราจักแสดง
ธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเห็นพระราชกุมารทรงพระนามว่าขัณฑะ
ผู้เป็นพระกนิฏฐาของพระองค์ และบุตรปุโรหิต ชื่อติสสะ ว่าเป็น
ผู้สามารถตรัสรู้ธรรมก่อน จึงทรงดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่
ชนทั้งสองนั้น และจักสงเคราะห์พระพุทธบิดา จึงเสด็จเหาะมาจาก
โพธิมัณฑสถาน ลงที่เขมมิคทายวัน รับสั่งให้เรียกคนทั้ง ๒ นั้นมา
แล้วแสดงธรรม. ในเวลาจบเทศนา ชนทั้งสองดำรงอยู่ในพระอรหัตผล
พร้อมกับสัตวโลก ๘๔,๐๐๐ คน อีกพวกหนึ่ง ผู้บวชตามในเวลา
พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็มาเฝ้าพระศาสดา
ฟังธรรมเทศนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล. ณ ที่นั้นเอง พระศาสดา
ทรงสถาปนาพระขัณฑเถระไว้ ในตำแหน่งพระอัครสาวกรูปที่ ๑
ทรงสถาปนาพระติสสเถระไว้ในตำแหน่งอัครสาวกรูปที่ ๒.
ฝ่ายพระราชา ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า จัก
เยี่ยมบุตรจึงเสด็จไปพระราชอุทยาน ทรงสดับพระธรรมเทศนา
ดำรงอยู่ในรัตนะ ๓ นิมนต์พระศาสดาเพื่อเสวยภัตตาหาร ถวาย
บังคมแล้ว กระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ พระองค์ขึ้นสู่ปราสาท
อันประเสริฐแล้วประทับนั่ง ทรงดำริว่า บุตรคนโตของเรา

247
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 248 (เล่ม 32)

ออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า บุตรคนที่ ๒ ของเรา ก็เป็นอัครสาวก
บุตรปุโรหิตเป็นสาวกที่ ๒ และภิกษุที่เหลือเหล่านี้ ในเวลาเป็น
คฤหัสถ์ เที่ยวแวดล้อมบุตรของเราเท่านั้น ภิกษุเหล่านี้ ทั้งเมื่อก่อน
ทั้งบัดนี้เป็นภาระของเราผู้เดียว เราเท่านั้นจักบำรุงภิกษุเหล่านั้น
ด้วยปัจจัย ๔ จักไม่ให้โอกาสแก่คนเหล่าอื่น จึงให้สร้างรั้วไม้ตะเคียน
สองข้าง ตั้งแต่ซุ้มประตูพระวิหารจนถึงทวารพระดำหนักพระ-
ราชนิเวศน์ ให้ปิดด้วยผ้า ให้สร้างเพดานพวงดอกไม้ต่าง ๆ แม้
ขนาดต้นตาล วิจิตรด้วยดาวทองห้อยเป็นระย้า ให้ลาดพื้นล่างด้วย
เครื่องลาดอันวิจิตร ให้ตั้งหม้อน้ำเต็ม ไว้ใกล้กอมาลัยและของหอม
ทั้งสองข้าง วางดอกไม้ไว้ระหว่างของหอม และวางของหอมไว้ใน
ระหว่างดอกไม้ เพื่อให้กลิ่นตลบตลอดทาง แล้วกราบทูลเวลาแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้ว
เสด็จไปสู่พระราชมณเฑียร กระทำภัตกิจแล้ว กลับมายังวิหาร
ภายในม่านนั่นแหละ. ใคร ๆ อื่น แม้จะดูก็ยังไม่ได้ แล้วไฉนจะได้
ถวายภิกษาหารและการบูชาเล่า.
ชาวพระนคร คิดว่าเมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
เป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน ในวันนี้ พวกเราก็ยังไม่ได้เฝ้า จะป่วย
กล่าวไปไย ที่จะได้ถวายภิกษา กระทำการบูชา หรือฟังธรรมเล่า
พระราชายึดถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระสงฆ์เป็นของเรา
จึงทรงบำรุงด้วยพระองค์เองผู้เดียว พระศาสดา เมื่อเสด็จอุบัติ
ก็อุบัติเพื่อประโยชน์แก่โลกพร้อมด้วยเทวโลก หาอุบัติเพื่อประโยชน์
แก่พระราชาเท่านั้นไม่ นรกเป็นของร้อนสำหรับพระราชาพระองค์

248
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 249 (เล่ม 32)

เดียว สำหรับชนเหล่าอื่นเป็นเหมือนดอกอุบลเขียว ก็หาไม่ เพราะ
ฉะนั้น เราจะกราบทูลพระราชาอย่างนี้ว่า ถ้าพระราชาจะประทาน
พระศาสดาแก่พวกเราไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าไม่ให้ พวกเรา
จะรบกับพระราชาแล้วรับสงฆ์ไปกระทำบุญมีทานเป็นต้น ก็แล
ชาวพระนครล้วน ๆ ไม่อาจทำอย่างนี้ได้ พวกเราจะยึดเอาแม้คน
ผู้เป็นหัวหน้าไว้คนหนึ่ง ดังนี้แล้วจึงเข้าไปหาเสนาบดี บอกความ
นั้นแก่ท่าน แล้วกล่าวว่า นาย ท่านเป็นฝ่ายของเรา หรือฝ่ายพระราชา
เสนาบดีกล่าวว่า เราจะเป็นฝ่ายท่าน ก็แต่ว่า พวกท่านต้องให้เรา
วันแรก. ชาวพระนครก็รับคำ. เสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูล
ว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชาวพระนครโกรธพระองค์. พระราชาถามว่า
โกรธเรื่องไรละพ่อ. เสนาบดีกราบทูลว่า ได้ยินว่า พระองค์เท่านั้น
บำรุงพระศาสดา พวกเราไม่ได้ แล้วทูลว่า ถ้าพวกอื่นได้ เขา
ไม่โกรธ เมื่อไม่ได้ ประสงค์จะรบกับพระองค์พระเจ้าข้า. พระราชา
ตรัสว่า รบก็รบซิพ่อ เราไม่ให้ภิกษุสงฆ์ละ เสนาบดีทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ พวกทาสของพระองค์ พูดว่าจะรบกับพระองค์
แล้วพระองค์จักเอาใครรบ พระราชาตรัสว่า ท่านเป็นเสนาบดี
มิใช่หรือ ? เสนาบดีทูลว่า เว้นชาวพระนครเสีย ข้าพระองค์ไม่
สามารถพระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระราชาทราบว่า ชาวพระนครมี
กำลัง ทั้งเสนาบดีก็เป็นฝ่ายของชาวพระนครเหล่านั้นเหมือนกัน
จึงตรัสว่า. ชาวพระนครจงให้ภิกษุสงฆ์แก่เราอีก ๗ ปี ๗ เดือน. ชาว
พระนครไม่รับ พระราชา ทรงให้ลดลงอย่างนี้คือ ๖ ปี ๕ ปี จึงขออีก
๗ วัน. ชาวพระนครอนุญาตด้วยเห็นว่า การที่เรากระทำกรรมอัน
หยาบช้า กับพระราชาในบัดนี้ ไม่สมควร. พระราชาทรงจัดทานมุข

249
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 250 (เล่ม 32)

(ทานที่เป็นประธาน) ที่จัดไว้สำหรับ ๗ ปี ๗ เดือน เพื่อ ๗ วันเท่านั้น เมื่อ
ใคร ๆ ไม่เห็นอยู่เลย ให้ทานอยู่ ๖ วันในวันที่ ๗ จึงให้เรียกชาวพระนคร
มาตรัสว่า ดูก่อน พ่อทั้งหลาย พวกท่านจักอาจให้ทานเห็นปานนี้หรือ.
ชาวพระนครแม้เหล่านั้น กราบทูลว่า ทานนั้น เกิดขึ้นแก่พระองค์
เพราะอาศัยพวกข้าพระองค์เท่านั้นมิใช่หรือ ? เพราะฉะนั้นพวก
ข้าพระองค์จักอาจถวายทานได้. พระราชาทรงเอาหลังพระหัตถ์
เช็ดน้ำพระเนตร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดว่า จักทำภิกษุ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป
ให้เป็นภาระของตนอื่นแล้วบำรุงด้วยปัจจัย ๔ ตลอดชีวิต บัดนี้
ข้าพระองค์ อนุญาตให้ชาวพระนครแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ชาวพระนครเขาโกรธว่า พวกเขาไม่ได้ถวายทาน ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป
โปรดทรงอนุเคราะห์แก่ชาวพระนครเหล่านั้นเถิด. ครั้นในวันที่ ๒
เสนาบดีได้ถวายมหาทาน. ต่อแต่นั้น ชาวพระนคร กระทำสักการะ
และสัมมานะ ให้ยิ่งกว่าสักการะที่พระราชาทรงกระทำแล้ว ได้
ถวายทาน. โดยทำนองนั้นนั่นแหละ เมื่อถึงลำดับของชาวพระนคร
ทั่ว ๆ ไป ชาวบ้านที่อยู่ใกล้ประตูได้ตระเตรียมสักการะสัมมานะ
แล้ว.
กุฏุมพีมหากาล กล่าวกะกุฏุมพีพลกาลว่า สักการะและ
สัมมานะของพระทศพล ถึงแก่เราวันพรุ่งนี้ เราจะทำสักการะ
อย่างไร ? จุลกาลกล่าวว่า ดูก่อนพี่ท่าน ท่านเท่านั้น จงรู้. มหากาล
กล่าวว่า ถ้าท่านทำตามชอบใจของเรา ข้าวสาลีที่ตั้งท้องแล้ว ๆ

250
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 251 (เล่ม 32)

มีอยู่ในนา ประมาณ ๑๖ กรีสของเรา เราจักให้ฉีกท้องข้าวสาลี
ถือเอามาหุงให้สมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จุลกาลกล่าวว่า
เมื่อทำอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นอุปการะแก่ใคร ๆ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
จึงไม่พอใจข้อนั้น. มหากาลกล่าวว่า ถ้าท่านกล่าวอย่างนี้ ข้าก็จะ
ทำตามความชอบใจของข้า แล้วจึงแบ่งนา ๑๖ กรีส ผ่ากลางเป็น
๒ ส่วนเท่า ๆ กัน ปักเขตในที่ ๘ กรีส ผ่าท้องข้าวสาลีเอาไปเคี่ยว
ด้วยน้ำนมไม่ผสม ใส่ของอร่อย ๔ ชนิด แล้วถวายแก่ภิกษุสงฆ์ มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ที่ที่ฉีกท้องข้าวสาลีแม้นั้นแล้วถือเอา ๆ
ก็กลับเต็มอีก. ในเวลาข้าวเม่า ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวเม่า ได้ถวาย
ข้าวกล้าอย่างเลิศ พร้อมกับชาวบ้าน ในเวลาเกี่ยว ถวายส่วนเลิศใน
ข้าวเกี่ยว ในเวลาทำเขน็ด ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวเขน็ด ในเวลามัดเป็น
ฟ่อนเป็นต้น ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวฟ่อน ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวในลาน
ในเวลานวดก็ถวายส่วนเลิศในข้าวนวด ในเวลาข้าวขึ้นยุ้งก็ถวายส่วน
เลิศในข้าวขึ้นยุ้ง ได้ถวายทานตามคราว ๙ ครั้ง สำหรับข้าวกล้าอย่าง
เดียวเท่านั้น ดังกล่าวมาฉะนี้ ข้าวกล้าแม้นั้นก็คงยังตั้งขึ้นเหลือเฟือ.
ท่านกระทำกรรมงามตามทำนองนั้นแลตราบเท่าที่พระพุทธเจ้า
ยังทรงพระชนม์อยู่ และตราบเท่าที่พระสงฆ์ยังมีอยู่ (ครั้น) จุติจาก
อัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก. ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ เสวยสมบัติตลอด ๙๑ กัป ในเวลาที่พระศาสดาของเรา
ทรงอุบัติขึ้นในโลก ก็บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในบ้าน
พราหมณ์โทณวัตถุ ไม่ไกลกรุงกบิลพัสดุ. ในวันขนานนาม พวก
ญาติขนานนามท่านว่า โกณฑัญญมาณพ. ท่านเจริญวัยแล้ว เรียน
ไตเพทจบ ลักษณ์มนต์ทั้งหลาย. (ตำราทายลักษณะ)

251
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 252 (เล่ม 32)

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต
บังเกิดในกรุงกบิลพัสดุ์ ในวันถวายพระนามของพระองค์ พระ
ประยูรญาติ ได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน ครองผ้าใหม่ ให้ดื่มข้าว
มธุปายาสมีน้ำน้อย เลือกพราหมณ์ ๘ คน ในระหว่างพราหมณ์
๑๐๘ นั้น ให้นั่งบนพื้นใหญ่ ให้พระโพธิสัตว์ผู้ประดับตกแต่งแล้ว
นอนบนเบาะผ้าที่ทำด้วยผ้าเนื้อละเอียด นำมายังสำนักของพราหมณ์
เหล่านั้น เพื่อตรวจพระลักษณะ. พราหมณ์ผู้นั่งบนอาสนะใหญ่
ตรวจดูสมบัติแห่งพระสรีระของพระมหาบุรุษแล้วยกขึ้น ๒ นิ้ว.
๗ คนยกขึ้น ตามลำดับอย่างนี้. ก็บรรดาพราหมณ์ ๘ คนนั้น
โกณฑัญญมาณพผู้หนุ่มกว่าเขาหมด ตรวจดูลักษณะอันประเสริฐ.
ยกนิ้วขึ้นนิ้วเดียวเท่านั้นว่า ไม่มีเหตุที่พระองค์จะทรงดำรงอยู่
ท่ามกลางเรือน พระกุมารนี้จักเป็นพระพุทธเจ้ามีกิเลส ดังหลังคา
อันเปิดแล้ว โดยส่วนเดียว ฝ่ายคนทั้ง ๗ นี้ เห็นคติเป็น ๒ ว่า ถ้าอยู่
ครองเรือนจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าบวช จักเป็นพระพุทธเจ้า
จึงยกขึ้น ๒ นิ้ว. ก็พระอัญญาโกณฑัญญะนี้ ได้สร้างบุญญาธิการ
ไว้ เป็นสัตว์เกิดในภพสุดท้าย เหนือคนทั้ง ๗ นอกนี้ด้วยปัญญา
ได้เห็นคติเพียงอย่างเดียวว่า ชื่อว่าท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะ
เหล่านี้ ไม่ดำรงอยู่ท่ามกลางเรือน จักเป็นพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้อง
สงสัย เพราะฉะนั้น จึงยกนิ้วเดียว. ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้น
ไปสู่เรือนของตน ๆ ปรึกษากับบุตรทั้งหลายว่า ลูกเอย พ่อแก่แล้ว
จะได้ชมเชยหรือไม่ได้ชมเชยพระโอรส ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช
ผู้บรรลุ พระสัพพัญญุตญาณ พวกเจ้าเมื่อพระกุมารบรรลุพระ
สัพพัญญุตญาณแล้ว พึงบวชในพระศาสนาของพระองค์.

252
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 253 (เล่ม 32)

ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงจัดการบริหาร เช่นแต่งตั้ง
แม่นมเป็นต้น สำหรับพระโพธิสัตว์ทรงเลี้ยงดู พระโพธิสัตว์ให้
เติบโต ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงเจริญวัยแล้ว เสวยสมบัติเหมือน
เทพเจ้า เมื่อพระญาณแก่กล้าแล้ว ทรงเห็นโทษในกาม เห็นอานิสงส์
ในการออกจากกาม จึงในวันที่พระราหุลกุมารประสูติ มีนายฉันนะ
เป็นพระสหาย ทรงขึ้นม้ากัณฐกะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทาง
ประตูที่เทวดาเปิดให้ เสด็จเลยไป ๓ ราชอาณาเขต โดยตอนกลางคืน
นั้นนั่นเอง ทรงบรรพชาที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที พอทรงรับธงชัย
แห่งพระอรหันต์ ที่ท้าวฆฏิการมหาพรหมนำมาถวายเท่านั้น เป็น
เหมือนพระเถระ ๑๐๐ พรรษา เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ด้วยพระ
อิริยาบถอันน่าเลื่อมใส เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นั้น
เสวยบิณฑบาตที่ร่มเงาแห่งภูเขา ชื่อว่าปัณฑวะ ถูกพระเจ้ามคธ
ทรงเชื้อเชิญให้ครองราชสมบัติ ก็ทรงปฏิเสธ เสด็จถึงอุรุเวลา-
ประเทศ โดยลำดับ ทรงเกิดพระดำริมุ่งหน้าต่อความเพียรขึ้นว่า
ภูมิภาคนี้ น่ารื่นรมย์หนอ ที่นี้เหมาะจะทำความเพียรของกุลบุตรที่
ต้องการจะทำความเพียรหนอ ดังนี้แล้วจึงเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น.
สมัยนั้น พราหมณ์อีก ๗ คน ได้ไปตามกรรม. ส่วนโกณฑัญญ-
นาณพ ผู้ตรวจพระลักษณะ หนุ่มกว่าเขาทั้งหมด เป็นผู้ปราศจาก
ป่วยไข้. ท่านทราบว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหา
พวกบุตรพราหมณ์เหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสิทธัตถ
ราชกุมารทรงผนวชแล้ว ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้องสงสัย
ถ้าบิดาของพวกท่านไม่ป่วยไข้สบายดี วันนี้ก็พึงออกบวช ถ้าแม้

253
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 254 (เล่ม 32)

ท่านทั้งหลายปรารถนาไซร้ มาเถิด พวกเราจะบวชตามเสด็จพระ
มหาบุรุษนั้น บุตรพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่อาจจะมีฉันทเป็นอันเดียว
กันได้หมดทุกคน. ๓ คนไม่บวช. อีก ๔ คน มีโกณฑัญญพราหมณ์
เป็นหัวหน้าบวชแล้ว. บรรพชิตทั้ง ๕ นี้ เที่ยวภิกษาในคามนิคม
และราชธานีได้ไปยังสำนักพระโพธิสัตว์. บรรพชิตเหล่านั้น เมื่อ
พระโพธิสัตว์เริ่มตั้งความเพียรใหญ่ตลอด ๖ ปี คิดว่า บัดนี้พระ
โพธิสัตว์จักเป็นพระพุทธเจ้า บัดนี้พระโพธิสัตว์จักเป็นพระพุทธเจ้า
จึงบำรุงพระมหาสัตว์ได้เป็นผู้เที่ยวไป เที่ยวมาในสำนักพระโพธิสัตว์
นั้น. ก็เมื่อใด พระโพธิสัตว์ แม้ทรงยับยั้งอยู่ด้วยงาและข้าวสาร
เมล็ดเดียวเป็นต้น ทรงรู้ว่า จะไม่แทงตลอดอริยธรรมด้วย ทุก-
กรกิริยา จึงเสวยพระกระยาหารหยาบ เมื่อนั้น บรรพชิตเหล่านั้น
ก็หลบไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เสวยพระกระยาหารหยาบ ทำพระ
ฉวีวรรณ พระมังสะและพระโลหิตให้บริบูรณ์แล้ว ในวันวิสาข-
บุรณมี ทรงเสวยโภชนะอย่างดีที่นางสุชาดาถวาย ทรงลอยถาด
ทองไป ทวนกระแสแม่น้ำจึงตกดงพระทัยว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า
ในวันนี้ เราจักเป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้. ในเวลาเย็น พญากาล-
นาคราช ชมเชยด้วยการชมเชยหลายร้อย ทรงขึ้นสู่มหาโพธิมัณฑ-
สถาน บ่ายพระพักตร์ไปสู่โลกธาตุด้านตะวันออก นั่งขัดสมาธิ
ในที่อันไม่หวั่นไหว อธิษฐานความเพียร ประกอบด้วยองค์ ๔
เมื่อพระอาทิตย์ยังโคจรอยู่นั่นแล ทรงกำจัดมารและพลมาร ปฐมยาม
ทรงรำลึกปุพเพนิวาสญาณ มัชฌิมยามทรงชำระทิพจักษุญาณ

254
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 255 (เล่ม 32)

ในเวลาต่อเนื่องกันแห่งปัจจุสสมัย ทรงหยั่งพระญาณลงในปฏิจจ-
สมุปบาท พิจารณาปัจจยาการทั้งอนุโลมและปฏิโลม ตรัสรู้เฉพาะ
พระพัพพัญญุตญาณ อันเป็นอสาธารณญา๑ (ญาณที่ไม่มีทั่วไปแก่
สาวกอื่น) ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงแทงตลอดแล้ว ทรงยับยั้ง
ในโพธิมัณฑสถานนั้นนั่นแล ๗ วัน ด้วยผลสมาบัติอันมีพระนิพพาน
เป็นอารมณ์.
ด้วยอุบายนั้นนั่นแล ทรงประทับอยู่ ณ โพธิมัณฑสถาน ๗
สัปดาห์ เสวยข้าวสัตตุก้อน ที่โคนต้นไม้เกต แล้วเสด็จกลับมาที่
โคนต้นอชปาลนิโครธอีก ประทับนั่ง ณ ที่นั้น ทรงพิจารณาความ
ที่ธรรมอันลึกซึ้ง เมื่อพระทัยน้อมไปในความเป็นผู้ขวนขวายน้อย
อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธ-
จักษุ ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายต่างด้วยสัตว์มีอินทรีย์กล้าและมีอินทรีย์
อ่อนเป็นต้น จึงประทานปฏิญญาแด่ท้าวมหาพรหมเพื่อแสดงธรรม
ทรงพระดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงทราบว่า
อาฬารดาบสและอุททกดาบสทำกาละแล้ว เมื่อทรงดำริต่อไป ก็
เกิดพระดำริขึ้นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้บำรุงเราตอนเราตั้ง ความเพียร
นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เรา ถ้ากระไร เราจะพึงแสดงธรรม.
๑. ญาณนี้มี ๕ คือ ๑ อินทริยปโรปริยัตติญาณ ปรีชากำหนดรู้ความยิ่ง และความหย่อนแห่ง
อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ๒. อาสยานุสสยญาณ ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัยและกิเลสที่นอนเนื่อง
ในสันดาน ๓. ยมกปาฏิหิรญาณ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ๔.มหากรุณาสมาบัติญาณ ญาณใน
มหากรุณาสมาบัติ ๕. สัพพัญญุตญาณ ญาณในความเป็นพระสัพพัญญู ๖. อนาวรญาณ ญาณที่
ไม่มีอะไรขัดขวางได้. ขุ.ป. เล่ม ๓๑/๓

255