No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 236 (เล่ม 32)

ก็ในชาดกนี้ อาจารย์เมื่อจะทำกาละ ถูกอันเตวาสิกทั้งหลาย
ถาม จึงกล่าวว่า เนวสัญญีนาสัญญี (ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็
ไม่ใช่). คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ทรงกระทำ
ปุถุชนปัญจกปัญหาอื่นอีก ให้เป็นอัตถุปัตติแล้ว ตรัสจันทาภชาดก
นี้ว่า.
ในชาดกนี้ อาจารย์เมื่อจะทำกาละ ถูกอันเตวาสิกถาม จึงกล่าว
ว่า จนฺทาภํ สุริยาภํ หมายเอาว่า ผู้ใดหยั่งลง เข้าไป แล่นไปสู่กสิณ
ทั้ง ๒ นั้นคือ โอทาตกสิน ชื่อว่า จันทาภะ ปิตกสิณ ชื่อว่าสุริยาภะ
แม้ผู้นั้นก็เข้าถึง อาภัสสรพรหมด้วยททุติยฌาน อันไม่มีวิตก เราก็
เป็นเช่นนั้น. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล. ทรงกระทำ
ปุถุชชนปัญจกปัญหานี้แล ให้เป็นอัตถุปัตติ จึงตรัสสรภชาดกใน
เตรสนิบาตนี้ว่า
เป็นบุรุษพึงหวังอยู่ร่ำไป เป็นบัณฑิตไม่พึง
เหนื่อยหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใด
ก็ได้เป็นอย่างนั้น เป็นบุรุษพึงพยายามร่ำไป
เป็นบัณฑิตไม่พึงเหนื่อยหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า
ได้รับความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำสู่บกได้ นรชน
ผู้มีปัญญา แม้ประสบทุกข์ ก็ไม่ควรตัดความหวัง
ในอันจะมาสู่ความสุข ด้วยว่าผัสสะทั้งที่ไม่
เกื้อกูลและเกื้อกูลมีมาก คนที่ไม่ใฝ่ฝันถึง ก็ต้อง
เข้าทางแต่งความตาย.

236
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 237 (เล่ม 32)

แม้สิ่งที่ไม่ได้ไว้ ก็มีได้ แม้สิ่งที่คิดไว้ก็หาย
ไปได้ โภคะทั้งหลายของสตรีหรือบุรุษ สำเร็จได้
ด้วยความคิดนึกหามีไม่ เมื่อก่อนพระองค์เสด็จ
ติดตามกวางตัวใด ไปติดที่ซอกเขา พระองค์
ทรงพระชนม์สืบมาได้ด้วยอาศัยความบากบั่น
ของกวางตัวนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อแท้.
กวางตัวใดพยายามเอาหินถนเหว ช่วยพระ-
องค์ขึ้นจากเหวลึกที่ขึ้นได้ยาก ปลดเปลื้องพระองค์ผู้
เข้าถึงทุกข์ออกจากปากมฤตยู พระองค์กำลัง
ตรัสถึงกวางตัวนั้นผู้มีจิตไม่ท้อแท้.
ดูก่อนพราหมณ์ คราวนั้น ท่านอยู่ที่นั้นด้วย
หรือ หรือว่าใครบอกเรื่องนี้แก่ท่าน ท่านเป็นผู้เปิดเผย
ข้อที่เคลือบคุม เห็นเรื่องทั้งหมดละสิหนอ
ความรู้ของท่าน แก่กล้าหรือหนอ.
ข้าแต่พระธีรราช ผู้เป็นจอมชน คราวนั้น
ข้าพระองค์หาได้อยู่ในที่นั้นไม่ และใครก็มิได้บอก
แก่ข้าพระองค์ แต่ว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนำ
เนื้อความแต่งบทคาถาที่พระองค์ทรงภาษิตไว้
ดีแล้ว มาใคร่ครวญดู.
ก็ชาดกทั้ง ๕ นี้ พระศาสดาตรัสไว้ เพื่อประกาศอานุภาพ
แห่งปัญญาของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเท่านั้นว่า แม้ใน

237
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 238 (เล่ม 32)

อดีต บุตรของเรา ก็รู้อรรถแห่งธรรมที่เรากล่าวแต่สังเขปโดยพิสดาร
ได้ เพราะฉะนั้น พระเถระได้ตำแหน่งเอตทัคคะ เพราะความที่ตนมี
ปัญญามาก แม้โดยการมาก่อน ด้วยประการอย่างนี้.
โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญอย่างไร ? ได้ยินว่าข้อนั้นเป็นความ
ช่ำชอง ของพระเถระ. พระเถระเมื่อแสดงธรรมท่ามกลางบริษัท ๔
ย่อมแสดงไม่พ้นสัจจะ ๔ เพราะฉะนั้นพระเถระได้เอตทัคคะ เพราะ
เป็นผู้มีปัญญามาก แม้โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ ด้วยประการฉะนี้.
โดยยิ่งด้วยคุณอย่างไร ? จริงอยู่ เว้นพระทสพลเสีย คนอื่น
ใครเล่าแม้เป็นสาวกเอก ที่จะเสมอเหมือนพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
ย่อมไม่มี เพราะท่านเป็นผู้มีปัญญามาก เพราะฉะนั้น พระเถระได้
ตำแหน่งเอตทัคคะ เพราะมีปัญญามาก แม้โดยยิ่งด้วยคุณ ด้วย
ประการฉะนี้.
ก็แม้พระมหาโมคคัลลานะก็เหมือนพระสารีบุตรเถระ ได้
ตำแหน่งเอตทัคคะด้วยเหตุแม้ ๔ ประการนี้ทั้งหมด ได้อย่างไร ?
ก็พระเถระมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรมานนาคราช เช่นนันโทปนันท-
นาคราช เพราะฉะนั้น พระเถระย่อมได้โดยอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง
อย่างนี้ เป็นอันดับแรก. ก็พระเถระนี้มิใช่เป็นผู้มีฤทธิ์มาก แต่ใน
ปัจจุบันเท่านั้น ถึงในอดีต แม้ท่านบวชเป็นฤาษี ก็เป็นผู้มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากถึง ๕๐๐ ชาติแล.
สาวกใด ละกามทั้งหลาย อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ
บวช ๕๐๐ ชาติ ท่านทั้งหลายจงไหว้พระสาวก

238
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 239 (เล่ม 32)

นั้น ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว ดับ
สนิทแล้ว คือโมคคัลลานะ แล.
ก็ท่านได้แม้โดยการมาก่อนอย่างนี้. ก็ข้อนี้เป็นความช่ำชองของ
พระเถระ. พระเถระไปนรก อธิษฐานความเย็น เพื่อให้เกิดความ
เบาใจ แก่สัตว์ทั้งหลายในนรก ด้วยกำลังฤทธิ์ของตนแล้ว เนรมิต
ดอกปทุมขนาดเท่าล้อ นั่ง ณ กลีบปทุม แสดงธรรมกถา. ท่านไป
เทวโลก ทำทวยเทพให้รู้คติแห่งกรรม แล้วแสดงสัจจกถา. เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงได้ โดยเป็นผู้ช่ำของชำนาญอย่างนี้.
ได้โดยยิ่งด้วยคุณอย่างไร ? เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
พระสาวกอื่น ใครเล่า ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พระเถระได้ตำแหน่ง
เอตทัคคะ โดยยิ่งด้วยคุณอย่างนี้.
แม้พระมหากัสสปเถระ ก็ได้ตำแหน่งเอตทัคคะ โดยเหตุ
ทั้งหมดนี้ เหมือนพระมหาโมคคัลลานะนี้. ได้อย่างไร ? ความจริง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงการทำการต้อนรับพระเถระสิ้นระยะทาง
ประมาณ ๓ คาวุต ทรงให้อุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ทรงเปลี่ยนจีวร
ประทานให้. ในสมัยนั้น มหาปฐพี ไหวถึงน้ำรองแผ่นดิน. เกียรติคุณ
ของพระเถระ ก็ขจรท่วมไประหว่างมหาชน. ท่านได้โดยอัตถุปปัตติ
สาวกใด ละกามทั้งหลาย อันน่ารื่นรมย์ใจ
บวช ๕๐๐ ชาติ ของท่านทั้งหลายจงไหว้สาวกนั้น
ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว ผู้ดับ
สนิท คือ กัสสปะแล.

239
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 240 (เล่ม 32)

ท่านได้โดยการมาอย่างนี้. ความจริงข้อนั้น เป็นความช่ำชอง
ของพระเถระ. ท่านอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ เมื่อแสดงธรรม ย่อมแสดง
ไม่ละเว้นกถาวัตถุ ๑๐ เลย เพราะฉะนั้น พระเถระได้โดยเป็นผู้
ช่ำชองอย่างนี้. เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย สาวกอื่น ใครเล่า
ผู้เสมอเหมือนพระมหากัสสปะ ด้วยธุดงคคุณ ๑๓ ไม่มี เพราะฉะนั้น
พระเถระได้โดยยิ่งด้วยคุณอย่างนี้.
ควรประกาศคุณของพระเถระทั้งหลายนั้น ๆ ตามที่ได้โดย
ทำนองนี้. จริงอยู่ เมื่อว่าด้วยอำนาจคุณนั่นแล พระเจ้าจักรพรรดิ์
ทรงเสวยสิริราชสมบัติ ในห้องจักรวาล ด้วยอานภาพแห่งจักรรัตนะ
หาได้ทรงขวนขวายน้อยว่า สิ่งที่ควรบรรลุเราก็บรรลุแล้ว บัดนี้
จะต้องการอะไร ด้วยมหาชนที่เราแลอยู่แล้ว จึงเสวยแต่เฉพาะ
สิริราชสมบัติเท่านั้นไม่ แต่ทรงประทับนั่งในโรงศาลาตามกาลอัน
สมควร ทรงข่มบุคคลที่ควรข่ม ทรงยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง
ทรงตั้งไว้ในฐานันดรทั้งหลาย เฉพาะฐานันดรที่ควรแต่งตั้งเท่านั้น
ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เป็นพระธรรมราชา
ผู้บรรลุความเป็นพระราชาเพราะธรรมโดยลำดับ ด้วยอานุภาพแห่ง
พระสัพพัญญุตญาณ ที่พระองค์ทรงบรรลุ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน
ไม่ทรงขวนขวายน้อยว่า บัดนี้จะต้องการอะไร ด้วยชาวโลก ที่เรา
จะต้องตรวจดู เราจักเสวยสุขในผลสมาบัติ อันยอดเยี่ยม ยังประทับ
นั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาบรรจงจัดไว้ ท่ามกลางบริษัท ๔. ทรง
เปล่งพระสุรเสียงดังเสียงพรหม อันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้วทรง
แสดงธรรม ทรงข่มบุคคล ผู้มีธรรมฝ่ายดำ ผู้ควรข่มด้วยการขู่
ด้วยภัยในอบาย เหมือนทรงโยนไปในเหวแห่งขุนเขาสิเนรุ ทรง

240
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 241 (เล่ม 32)

ยกย่องบุคคลผู้มีธรรมอันดี ผู้ควรยกย่อง เหมือนยกขึ้นให้นั่งใน
ภวัคคพรหม ทรงตั้งพระสาวกมีพระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นต้น
ผู้ควรตั้งไว้ในฐานันดรทั้งหลาย ให้ดำรงในฐานันดรทั้งหลาย ด้วย
อำนาจคุณ พร้อมด้วยกิจคือหน้าที่ตามความเป็นจริงนั่นแล จึงตรัส
คำมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้รัตตัญญู
รู้ราตรีนาน อัญญาโกณฑัญญะ เป็นเลิศ ดังนี้.
เรื่องพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
บทว่า เอตทคฺคํ ในบาลีนั้น มีอรรถได้กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
บทว่า รตฺตญฺญูนํ แปลว่า ผู้รู้ราตรี. จริงอยู่ เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสีย สาวกอื่น ชื่อว่า ผู้บวชก่อนท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ. ไม่มี
เพราะเหตุนั้น พระเถระย่อมรู้ราตรีตลอดกาลนาน จำเดิมตั้งแต่บวช
เหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นรัตตัญญู. เพราะท่านแทงตลอดธรรม
ก่อนใครทั้งหมด ท่านรู้ราตรีที่แจ้งธรรมนั้นมานาน แม้เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า รัตตัญญู. อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดคืนและ
วันของท่านผู้สิ้นอาสวะทั้งหลายเป็นของปรากฏชัด. และพระอัญญา-
โกณฑัญญเถระนี้ เป็นผู้สิ้นอาสวะก่อน เพราะเหตุนั้น พระอัญญา-
โกณฑัญญะนี้แล เป็นผู้เลิศ เป็นยอดคนแรก เป็นผู้ประเสริฐสุด
แห่งเหล่าสาวกผู้รัตตัญญู แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสว่า รตฺตญฺญูนํ ยทิทํ อญฺญาโกณฺฑญฺโญ ดังนี้.
ก็ศัพท์ ยทิทํ ในบาลีนี้ เป็นนิบาต (ถ้า) เพ่งเอาพระเถระนั้น
มีอรรถว่า โย เอโส เพ่งอัคคศัพท์ มีอรรถว่า ยํ เอตํ. บทว่า อญฺญา-

241
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 242 (เล่ม 32)

โกณฺฑญฺโญ แปลว่า โกณฑัญญะ รู้ทั่วแล้ว โกณฑัญญะแทงตลอด
แล้ว. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อญฺญาสิ
วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อิติ หิทํ อายสฺมโต
โกณฺฑญฺญสฺส อญฺญาโกณฺฑญฺโญเตฺวว นามํ อโสสิ โกณฑัญญะ
รู้ทั่วแล้วหนอ โกณฑัญญะรู้ทั่วแล้วหนอ เพราะเหตุนั้นแล ท่าน
พระโกณฑัญญะ จึงได้มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้.
พึงทราบปัญหากรรม (กรรมที่ตั้งปรารถนาไว้ครั้งแรกในอดีต)
ในพระสาวกเอตทัคคะทุกรูป โดยนัยนี้ว่า ก็พระเถระนี้ ได้การทำ
ความปรารถนาครั้งก่อนให้เป็นความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ในครั้งพระ-
พุทธเจ้า พระองค์ไหน ? ท่านบวชเมื่อไร ? ท่านบรรลุธรรมครั้งแรก
เมื่อไร ? ได้รับสถาปนาในตำแหน่งเมื่อไร ? บรรดาพระเถระเอตทัคคะ
เหล่านั้น ก่อนอื่นในปัญหากรรมของพระเถระนี้ มีเรื่องที่จะกล่าวตาม
ลำดับดังต่อไปนี้ :-
พึงทราบปัญหากรรมในพระสาวกผู้เอตทัคคะทุกรูป โดยนัย
นี้ว่า ก็พระเถระนี้ ได้กระทำความปรารถนาครั้งก่อนให้เป็นความ
ปรารถนาอันยิ่งใหญ่ในครั้งพระพุทธเจ้า พระองค์ไหน ? ท่าน
บวชเมื่อไร ? ท่านบรรลุธรรมครั้งแรกเมื่อไร ? ได้รับสถาปนา
ในตำแหน่งเมื่อไร ? บรรดาพระเถระเอตทัคคะเหล่านั้น ก่อนอื่น
ในปัญหากรรมของพระเถระนี้ มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้ :-
ปลายแสนกัปแต่ภัตรกัปนี้ พระพุทธ เจ้าทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระอุบัติขึ้นในโลก เมื่อพระองค์ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ
เสด็จลุกจากมหาโพธิบัลลังก์ พอยกพระบาทขึ้นเพื่อวางบนมหาปฐพี

242
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 243 (เล่ม 32)

ดอกปทุมขนาดใหญ่ผุดขึ้นรับพระบาท. ดอกปทุมนั้นกลีบยาว ๙๐
ศอก เกษร ๓๐ ศอก ช่อ ๑๒ ศอก ที่ประดิษฐานพระบาท ๑๑ ศอก.
ก็พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นสูง ๕๙ ศอก เมื่อพระบาท
ขวาของพระองค์ประดิษฐานอยู่บนช่อปทุม ละอองเกษรประมาณ
ทะนานใหญ่พลุ่งขึ้นโปรยรดพระสรีระ. แม้ในเวลาวางพระบาทซ้าย
ดอกปทุมเห็นปานนั้นนั่นแล ผุดขึ้นรับพระบาท. ละอองมีขนาด
ดังกล่าวแล้วนั่นแล พลุ่งขึ้นจากนั้น โปรยรดพระสรีระของพระผู้
มีพระภาคเจ้านั้น. ก็รัศมีพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปล่ง
ออกปกคลุมละอองนั้น กระทำที่ประมาณ ๑๒ โยชน์โดยรอบ ให้มี
แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน เหมือนสายน้ำทองที่พุ่งออกทนานยนต์.
ในเวลาย่างพระบาทครั้งที่ ดอกปทุมที่ผุดขึ้นก่อนก็หายไป. ปทุม
ดอกใหม่อื่น ก็ผุดขึ้นรับพระบาท. โดยทำนองนี้แล พระองค์ประสงค์
จะเสด็จไปในที่ใด ๆ ปทุมดอกใหญ่ก็ผุดขึ้นในที่นั้น ๆ ทุกย่าง
พระบาท. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงมีพระนามว่า ปทุมุตตร-
สัมมาสัมพุทธเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงอุบัติขึ้นในโลกอย่างนี้ มีภิกษุ
แสนรูป เป็นบริวาร เสด็จเที่ยวภิกษาในคามนิคมและราชธานี
เพื่อสงเคราะห์มหาชน เสด็จถึงกรุงหังสวดี มหาราชาผู้เป็นพระพุทธ-
บิดา ทรงทราบข่าวว่า พระศาสดานั้นเสด็จมา จึงได้เสด็จออกไป
ต้อนรับ. พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถา แด่พระพุทธบิดา. จบเทศนา
บางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็น
พระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต. พระราชาทรงนิมนต์
พระทศพล เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้น ทรงให้แจ้ง

243
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 244 (เล่ม 32)

เวลา (ภัตตาหาร) ได้ถวายมหาทาน ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร. พระศาสดา
ทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้วเสด็จไปพระวิหารตามเดิม. โดย
ทำนองนั้นนั่นแล ได้ถวายทานตลอดกาลยืดยาวนาน คือ วันรุ่งขึ้น
ชาวเมืองถวาย วันรุ่งขึ้น(ต่อไป) พระราชาถวาย.
ครั้งนั้น พระเถระนี้ บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล
กรุงหังสวดี. วันหนึ่ง ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
เห็นชาวกรุงหังสวดี ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ผู้น้อมไป
โอนไป เงื้อมไป ทางพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ แล้ว
ได้ไปยังที่แสดงธรรม พร้อมกับมหาชนนั้นนั่นแล. สมัยนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงสถาปนาภิกษุ
รูปหนึ่ง ผู้แทงตลอดธรรมก่อนในพระศาสนาของพระองค์ ไว้ใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ. กุลบุตรนั้น ได้สดับเหตุนั้นแล้ว คิดว่า ภิกษุนี้
เป็นผู้ใหญ่หนอ ได้ยินว่า เว้นพระพุทธเจ้าเสีย ผู้อื่นชื่อว่าผู้แทง
ตลอดธรรมก่อนกว่าภิกษุนี้ ย่อมไม่มี แม้เราพึงเป็นผู้สามารถ
แทงตลอดธรรมก่อน ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งใน
อนาคต ในเวลาจบเทศนา จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์ว่า
พรุ่งนี้ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์. พระศาสดา
ทรงรับนิมนต์แล้ว กุลบุตรนั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
กระทำประทักษิณแล้วไปยังที่อยู่ของตน ประทับที่ประทับนั่ง
สำหรับพระพุทธเจ้า ด้วยของหอมและพวงมาลัยเป็นต้น ให้จับของ
ควรเคี้ยวและควรบริโภค อันประณีต ตลอดคืนยังรุ่ง. ล่วงราตรีนั้น
ได้ถวายข้าวสาลีหอมมีแกงและกับข้าวต่าง ๆ รส มีข้าวยาคูและ

244
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 245 (เล่ม 32)

ของเคี้ยวอันวิจิตรเป็นบริวาร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีภิกษุ
๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ในที่อยู่ของตน ในเวลาเสร็จภัตกิจ
ได้วางผ้าคู่พอทำจีวรได้สามผืน ใกล้พระบาทของพระตถาคต คิดว่า
เราไม่ได้ขอเพื่อประโยชน์แก่ตำแหน่งเล็กน้อย เราปรารถนาตำแหน่ง
ใหญ่จึงขอ แต่เราไม่อาจให้ทานเพียงวันเดียวเท่านั้นแล้วปรารถนา
ตำแหน่งนั้น จึงคิด (อีก)ว่า จักถวายทานตลอด ๗ วัน ติดต่อกัน
ไป แล้วจึงจักปรารถนา. โดยทำนองนั้นนั่นเอง เขาจึงถวายมหา-
ทาน ๗ วัน ในเวลาเสร็จภัตกิจ ได้ให้เปิดคลังผ้าวางผ้าเนื้อ
ละเอียดอย่างดีเยี่ยม ไว้ใกล้พระบาทแห่งพระพุทธเจ้า ให้ภิกษุ
๑๐๐,๐๐๐ รูป ครองไตรจีวร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ท้าย ๗ วันแต่วันนี้ ข้าพระองค์
พึงเป็นผู้สามารถบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะอุบัติใน
อนาคตแล้วรู้แจ้งได้ก่อนเหมือนภิกษุนี้ แล้วหมอบศีรษะลงใกล้
พระบาทของพระศาสดา. พระศาสดา ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงส่ง
อนาคตังสญาณไปตรวจดูว่า กุลบุตรนี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้มาก
ความปรารถนาของเธอจักสำเร็จไหมหนอ เมื่อทรงรำลึกก็ทรงเห็น
ความสำเร็จ. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรำพึงถึง
อดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ย่อมไม่มีอะไรขัดขวางเลย. เหตุที่เป็น
อดีตหรือเหตุที่เป็นอนาคต ที่เป็นไปในภายในระหว่างแสนโกฏิกัป
เป็นอันมากก็ดี ปัจจุบันระหว่างแสนจักรวาลก็ดี ย่อมเนื่องด้วย
การนึก เนื่องด้วยมนสิการทั้งนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ได้ทรงเห็นเหตุนี้ ด้วยญาณที่ไม่มี
ใคร ๆ ให้เป็นไปได้ว่า ในอนาคต ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้า

245