No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 216 (เล่ม 32)

อรรถกถาสูตรที่ ๖ เป็นต้น
ในสูตรที่ ๖ เป็นต้นวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอกปุคฺคลสฺส ภิกฺขเว ปาตุภาวา มหโต จกฺขุสฺส
ปาตุภาโว โหติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุใหญ่ย่อมปรากฏ
เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลเอกปรากฏ.
เมื่อบุคคลนั้นปรากฏแล้ว แม้จักขุก็ย่อมปรากฏเหมือนกัน เพราะเว้น
บุคคลปรากฏเสีย จักขุก็ปรากฏไม่ได้. บทว่า ปาตุภาโว ได้แก่ การอุบัติ
คือ ความสำเร็จ. จักษุชนิดไหน ? จักษุคือปัญญา. เสมือนเช่นไร ? เสมือน
วิปัสสนาปัญญา ของพระสารีบุตรเถระ เสมือนสมาธิปัญญา ของ
พระมหาโมคคัลลานเถระ. แม้ในอาโลกะ (การเห็น) เป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน. จริงอยู่ ในการมองเห็นเป็นต้นนี้ ท่านประสงค์เอาการ
มองเห็นเช่นการมองเห็นด้วยปัญญา และแสงสว่าง เช่นแสงสว่าง
แห่งปัญญาของพระอัครสาวกทั้งสอง. บทแม้ทั้ง ๓ นี้ คือ แห่ง
ดวงตาอันใหญ่ แห่งการมองเห็นอันใหญ่ แห่งแสงสว่างอันใหญ่
พึงทราบว่า ตรัสเจือกันทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.
บทว่า ฉนฺนํ อนุตฺติยานํ ได้แก่ ธรรมอันสูงสุด ๖ อย่าง
ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ในคำนั้นมีอธิบายว่า อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้
คือ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ
ปาริจริยานุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ. ความปรากฏเกิดขึ้นแห่ง
อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ จึงมี.

216
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 217 (เล่ม 32)

จริงอยู่ท่านพระอานนทเถระ ย่อมได้เห็นพระตถาคตด้วย
จักขุวิญญาณทั้งเช้าทั้งเย็น นี้ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. แม้คนอื่น
ไม่ว่าจะเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ก็ย่อมได้เห็น
พระตถาคตเหมือนพระอานนทเถระ แม้นี้ ก็ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ.
อนึ่ง บุคคลอื่นอีกผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ก็ได้เห็นพระทศพลเหมือน
พระอานนทเถระ ทำการเห็นนั้นให้เจริญ ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค
นี้ก็ชื่อว่า ทัสสนะ เหมือนกัน ส่วนการเห็นเดิม ชื่อว่าทัสสนานุตตริยะ.
จริงอยู่ บุคคลย่อมได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลเนือง ๆ
ด้วยโสตวิญญาณ เหมือนพระอานนท์เถระ นี้ชื่อสวนานุตตริยะ.
แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมได้ฟังพระ
ดำรัส ของพระตถาคตเจ้า เหมือนพระอานนท์เถระ แม้นี้ก็ชื่อว่า
สวนานุตตริยะ. ส่วนบุคคลอื่นอีก ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ได้ฟังพระ
ดำรัสของพระตถาคตเจ้า เหมือนพระอานนท์เถระ เจริญสวนะนั้น
ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ก็ชื่อว่า สวนะเหมือนกัน ส่วนการฟัง
เดิม ชื่อว่า สวนานุตตริยะ.
บุคคลย่อมได้เฉพาะศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระอานนท-
เถระนี้ ก็ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ. แม้บุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบัน
เป็นต้น ได้ลาภเฉพาะคือศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ
ย่อมได้ลาภเฉพาะ แม้นี้ก็ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีก เป็น
กัลยาณปุถุชน ได้ลาภเฉพาะคือศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระ
อานนทเถระ เจริญลาภนั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่า
การได้เหมือนกัน ส่วนการได้อันเดิม ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ.

217
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 218 (เล่ม 32)

อนึ่ง บุคคลศึกษาสิกขา ๓ ในพระศาสนาของพระทศพล
เหมือนพระอานนท์เถระ นี้ชื่อว่า สิกขานุตตริยะ. แม้พระอริย
บุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมศึกษาสิกขา ๓ ในพระ
ศาสนาของพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระแม้นี้ ก็ชื่อว่า
สิกขานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีก ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ศึกษาสิกขา ๓
ในพระศาสนาของพระทสพลเหมือนพระอานนท์เถระ เจริญสิกขา ๓
นั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่า การศึกษาเหมือนกัน ส่วน
การศึกษาอันเดิม ชื่อว่า สิกขานุตตริยะ
อนึ่ง บุคคลปรนนิบัติพระทศพลเนือง ๆ เหมือนพระอานนท์
เถระ นี้ชื่อว่า ปาริจริยานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มี
พระโสดาบันเป็นต้น ย่อมปรนนิบัติพระทศพลเนือง ๆ แม้นี้ ก็ชื่อว่า
ปาริจริจริยานุตตริยะ. ส่วนคนอื่น ๆ ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ปรนนิบัติ
พระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ เจริญการปรนนิบัตินั้น ย่อม
บรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่า การปรนนิบัติเหมือนกัน ส่วนการ
ปรนนิบัติอันเดิม ชื่อว่าปาริจริยานุตตริยะ.
บุคคลระลึกถึงเนือง ๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ
ของพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ. นี้ชื่อว่า อนุสสตานุตตริยะ.
แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ระลึกเนือง ๆ ถึง
คุณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ของพระทศพล เหมือนพระอานนท-
เถระ แม้นี้ก็ชื่อว่า อนุสสตานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีก เป็นกัลยาณ-
ปุถุชน ระลึกเนือง ๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะ. และโลกุตตระ ของ
พระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ เจริญการระลึกเนือง ๆ นั้น
ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่า อนุสสติ เหมือนกัน ส่วนอนุสสติ

218
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 219 (เล่ม 32)

เดิม ชื่อว่าอนุสสตานุตตริยะ ดังพรรณนามานี้ คืออนุตตริยะ ๖.
อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ย่อมปรากฏ อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ พึงทราบว่า
ท่านกล่าวเจือปนกันทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.
บทว่า จตุนฺนํ ปฏิสมฺภิทานํ สจฺฉิกิริยา โหติ ความว่า ก็ปฏิสัม-
ภิทา ๔ คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ในปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ความรู้ในอรรถ ชื่อว่า
อรรถปฏิสัมภิทา. ความรู้ในธรรมชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา. ความรู้
ในการกล่าวภาษาที่เป็นอรรถและธรรม ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.
ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ความสังเขป
ในที่นี้ มีเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารแห่งปฏิสัมภิทาเหล่านั้น
มาแล้วในอภิธรรมนั่นแล. อธิบายว่า การกระทำให้แจ้งประจักษ์
ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ นี้ ย่อมมีในพุทธุปบาทกาล. การการทำให้แจ้ง
ปฏิสัมภิทาเหล่านั้น เว้นพุทธุปบาทกาลเสีย ย่อมไม่มี. ปฏิสัมภิทา
แม้เหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า เป็นได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.
บทว่า อเนกธาตุปฏิเวโธ ความว่า การแทงตลอดธาตุ ๑๘
มีคำว่า จักขุธาตุ รูปธาตุ ดังนี้เป็นต้น ย่อมมีในพุทธุปบาทกาล
เท่านั้น เว้นพุทธุปบาทกาล ย่อมไม่มี. ในคำว่า นานาธาตุปฏิเวโธ
โหติ การแทงตลอดธาตุต่าง ๆ จึงมีนี้ ธาตุ ๑๘ นี้แหละ พึงทราบว่า
นานาธาตุ เพราะมีสภาวะต่าง ๆ. ก็การแทงตลอดอันใด ซึ่งธาตุ
เหล่านั้น โดยเหตุต่าง ๆ อย่างนี้ว่า ธาตุเหล่านี้ มีสภาวะต่างกัน
ในข้อนี้ นี้ชื่อว่า การแทงตลอดธาตุต่าง ๆ.

219
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 220 (เล่ม 32)

บทว่า วิชฺชา ในบทว่า วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยา นี้ ได้แก่
ผลญาณ. บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยโสดาปัตติผล
นอกจากวิชชานั้น. บทว่า โสดาปตฺติผลสจฺฉิกิริยา ความว่า ปฐมมรรค
ชื่อว่า โสตะ. ชื่อว่า โสดาปัตติผล เพราะเป็นผลอันบุคคลพึงบรรลุ
ด้วยโสตะนั้น. สกทาคามิผลเป็นตันปรากฏชัดแล้วแล.
บทว่า อนุตฺตรํ แปลว่า ยอดเยี่ยม. บทว่า ธมฺมจกฺกํ ได้แก่
จักรอันประเสริฐ. จริงอยู่ จักก ศัพท์นี้ มาในอรรถว่าอุรจักร (คือ
จักรประหารชีวิต ) ในคาถานี้ว่า
ท่านได้ประสบนางเวมานิกเปรต ๔ นาง จาก
๔ นาง เป็น ๘ นาง จาก ๘ นาง เป็น ๑๖ นาง ถึง
จะได้ประสบนางเวมานิกเปรต จาก ๑๖ นาง เป็น
๓๒ นาง ก็ยังปรารถนายิ่งไปกว่านั่น จึงได้
ประสบจักรนี้ จักรกรดย่อมผัดผันบนกระหม่อม
ของคนผู้ถูกความอยากครอบงำแล้ว.
ลงในอรรถว่าจักร คืออิริยาบถ ในประโยคนี้ว่า ชาวชนบทเปลี่ยน
อิริยาบถ เดินไปรอบ ๆ. ลงในอรรถว่าจักรคือไม่ในประโยคนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ช่างรถหมุนจักรคือไม้ยนต์ ที่ทำ
๗ เดือนเสร็จ. ลงในอรรถว่าจักรคือลักษณะ. ในประโยคนี้ว่า โทณ-
พราหมณ์ ได้เห็นจักรคือลายลักษณะอันเกิดที่พระบาทของพระผู้
มีพระภาคเจ้า ซึ่งมีกำพันซี่. ลงในอรรถว่าจักรคือสมบัติ ในประโยค
นี้ว่า สมบัติ ๔ ย่อมเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบ

220
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 221 (เล่ม 32)

ด้วยสมบัติเหล่าใด สมบัติเหล่านี้ มี ๔ ประการ. ลงในอรรถว่าจักรคือ
รัตนะในประโยคนี้ว่า จักรคือรัตนะอันเป็นทิพย์ ปรากฏอยู่. แต่ในที่นี้
ลงในอรรถว่าจักรคือธรรม.
ในบทว่า ปวตฺติตํ นี้พึงทราบประเภทดังนี้ว่า ชื่อว่ากำลัง
ปรารถนาอย่างจริงจังซึ่งพระธรรมจักร ธรรมจักรชื่อว่าปรารถนา
อย่างจริงจังแล้ว ชื่อว่า กำลังทำพระธรรมจักรให้เกิดขึ้น ธรรมจักร
ชื่อว่าทรงทำให้เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังประกาศพระธรรมจักร
ธรรมจักรชื่อว่าทรงประกาศแล้ว.
ชื่อว่ากำลังปรารถนาอย่างจริงจังซึ่งพระธรรมจักรตั้งแต่
ครั้งไหน ? ครั้งที่พระองค์เป็นสุเมธพราหมณ์ เห็นโทษในกาม
ทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนกขัมมะ ถวายสัตตสดกมหาทานแล้วบวช
เป็นฤาษี ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด ตั้งแต่นั้นมา ชื่อว่า
กำลังปรารถนาอย่างจริงจัง ซึ่งพระธรรมจักร.
ชื่อว่าปรารถนาอย่างจริงจังแล้ว ตั้งแต่ครั้งไหน ? ครั้งพระองค์
ประชุมธรรม ๘ ประการ แล้วทรงผูกพระมนัส เพื่อประโยชน์แก่
การทำพระมหาโพธิญาณให้ผ่องแผ้ว ณ บาทมลแห่งพระพุทธเจ้า
พระนามว่าทีปังกร ทรงอธิษฐานพระวิริยะว่า เราไม่ได้รับ
พยากรณ์ จักไม่ลุกขึ้นแล้วจึงนอนลง ได้รับพยากรณ์จากสำนัก
พระทศพลแล้ว ตั้งแต่นั้นมา ธรรมจักรชื่อว่าปรารถนาอย่างจริงจัง
แล้ว.
ชื่อว่า กำลังให้ธรรมจักรเกิดขึ้น ตั้งแต่ครั้งไหน ? ครั้งแม้
เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมี ชื่อว่ากำลังยังธรรมจักรให้เกิด

221
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 222 (เล่ม 32)

ขึ้น. เมื่อทรงบำเพ็ญสีลบารมีก็ดี ฯลฯ ทรงบำเพ็ญอุปบารมีก็ดี
ชื่อว่า กำลังยังธรรมจักรให้เกิดขึ้น เมื่อทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐
อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ก็ดี เมื่อทรงบำเพ็ญมหาบริจาค ๕
ก็ดี ทรงบำเพ็ญญาตัดถจริยาก็ดี ชื่อว่าทรงยังธรรมจักรให้เกิด
ขึ้น. ทรงอยู่ในภาวะเป็นพระเวสสันดร ทรงถวายสัตตสดกมหาทาน
ทรงมอบบุตรและภรรยา ในมุขคือทาน ทรงถือเอายอดพระบารมี
ทรงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ในดุสิตนั้น ตลอดพระชน-
มายุ อันเทวดาทูลอาราธนาแล้วให้ปฏิญญา แม้ทรงพิจารณาดู
มหาวิโลกนะ ๕ ชื่อว่ากำลังยังธรรมจักรให้เกิดขึ้นเหมือนกัน. เมื่อ
ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี เมื่อทรงทำหมื่น
จักรวาลให้ไหว ในขณะปฏิสนธิก็ดี เมื่อทรงทำโลกให้ไหว เหมือน
อย่างนั้นนั่นแล ในวันเสด็จออกจากพระครรภ์ของมารดาก็ดี เมื่อ
ประสูติในเดียวนั้นแล้วเสด็จย่างพระบาทไป ๗ ก้าว ทรงบันลือ
สีหน้าทว่าเราเป็นผู้เลิศก็ดี เมื่อเสด็จอยู่ครองเรือน ตลอด ๒๙
พรรษาก็ดี เสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ก็ดี ทรงบรรพชาที่ริมฝั่ง
แม่น้ำอโนมานทีก็ดี ทรงกระทำมหาปธานความเพียร ๖ พรรษาก็ดี
เสวยข้าวมธุปายาส ที่นางสุชาดาถวาย แล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำ
แล้วเสด็จไปโพธิมัณฑสถานอันประเสริฐ. ในเวลาเย็น ประทับนั่ง
ตรวจโลกธาตุด้านทิศบุรพา ทรงกำจัดมารและพลของมาร ในเมื่อ
ดวงอาทิตย์ยังทรงอยู่นั่นแล ทรงระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณในปฐมยาม
ก็ดี ทรงชำระทิพยจักษุในมัชฌิมยามก็ดี ทรงพิจารณาปัจจยาการ
ในเวลาต่อเนื่องกับเวลาใกล้รุ่ง แล้วแทงตลอดโสดาปัตติมรรคก็ดี
ทรงทำให้แจ้งโสดาปัตติผลก็ดี ทรงทำให้แจ้ง สกทาคามิมรรค

222
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 223 (เล่ม 32)

สกทาคามิผล อนาคานิมรรค อนาคามิผลก็ดี เมื่อทรงแทงตลอด
อรหัตตมรรคก็ดี ก็ชื่อว่า ทรงกำลังกระทำธรรมจักรให้เกิดขึ้น
เหมือนกัน.
ก็ธรรมจักร ชื่อว่า อันพระองค์ให้เกิดขึ้นแล้ว ในขณะแห่ง
พระอรหัตตผล. จริงอยู่คุณราสี กองแห่งคุณ ทั้งสิ้นของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมสำเร็จพร้อมกับอรหัตตผลนั่นแล. เพราะฉะนั้น ธรรมจักร
นั้น เป็นอันชื่อว่าอันพระองค์ให้เกิดขึ้นแล้วในขณะนั้น.
พระองค์ทรงประกาศธรรมจักรเมื่อไร ? เมื่อพระองค์ทรงยับยั้ง
อยู่ ๗ สัปดาห์ ณ โพธิมัณฑสถาน ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตน-
สูตร กระทำพระอัญญาโกณฑัญญเถระให้เป็นกายสักขี ที่ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน ชื่อว่าทรงประกาศพระธรรมจักร.
ก็ในกาลใดพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ได้การฟังที่บังเกิด
ด้วยอานุภาพแห่งเทศนาญาณของพระทศพล แล้วบรรลุธรรมก่อน
เขาทั้งหมด จำเดิมแต่กาลนั้นมา พึงทราบว่าธรรมจักร เป็นอัน
ชื่อว่า ทรงประกาศแล้ว.
จริงอยู่ คำว่า ธรรมจักร นี้เป็นชื่อแห่งเทศนาญาณบ้าง
แห่งปฏิเวธญาณบ้าง. ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาญาณเป็นโลกิยะ
ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ. ถามว่า เทศนาญาณ ปฏิเวธญาณ
เป็นของใคร ? แก้ว่า ไม่ใช่ของใครอื่น พึงทราบว่าเทศนาญาณ
และปฏิเวธญาณ เป็นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น.
บทว่า สมฺมเทว ได้แก่ โดยเหตุ คือ โดยนัย โดยการณ์ นั้นเอง.
บทว่า อนุปฺวตฺตนฺติ ความว่า พระเถระชื่อว่าย่อมประกาศตาม

223
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 224 (เล่ม 32)

ธรรมจักร ที่พระศาสดาทรงประกาศไว้ก่อนแล้ว เหมือนเมื่อพระ
ศาสดาเสด็จไปข้างหน้า พระเถระเดินไปข้างหลัง ชื่อว่าเดินตาม
พระศาสดานั้นฉะนั้น. ถามว่า ประกาศตามอย่างไร ? ตอบว่า ก็
พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔
เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ อะไรบ้าง ชื่อว่าทรงประกาศธรรมจักร.
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระนั่นแล เมื่อแสดงว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า ย่อมประกาศตามซึ่งธรรมจักร. แม้ใน
สัมมัปปธานเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. มิใช่แต่ในโพธิปักขิยธรรม
อย่างเดียว.
แม้ในคำว่า ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยวงศ์ ๔
เหล่านี้ เป็นต้น ก็พึงทราบนัยนี้เหมือนกัน. ด้วยประการดังกล่าวนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าทรงประกาศธรรมจักร พระเถระ
ชื่อว่า ประกาศตามพระธรรมจักรที่พระทศพลทรงประกาศแล้ว.
ก็พระธรรมอันพระเถระผู้ประกาศตามธรรมจักรอย่างนี้
แสดงแล้วก็ดี ประกาศแล้วก็ดี ย่อมชื่อว่า เป็นอันพระศาสดาทรง
แสดงแล้วประกาศแล้วทีเดียว. ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี
ก็ตาม อุบาสก อุบาสิกา ก็ตาม เป็นเทพ หรือเป็นท้าวสักกะก็ตาม
เป็นมารหรือเป็นพรหมก็ตาม แสดงธรรมไว้ ธรรมทั้งหมดนั้น
เป็นอันชื่อว่าพระศาสดาทรงแสดงแล้ว ทรงประกาศแล้ว. ส่วนชน
นอกนั้น ชื่อว่าตั้งอยู่ในฝ่ายของผู้ที่ดำเนินตามรอย. อย่างไร ? เหมือน
อย่างว่า ชนทั้งหลายอ่านลายพระราชหัตถ์ ที่พระราชาทรงประทาน
แล้วกระทำงานใด ๆ งานนั้น ๆ อันผู้ใดผู้หนึ่ง การทำเองก็ดี ให้
คนอื่นกระทำก็ดี เขาเรียกว่า พระราชาใช้ให้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน.

224
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 225 (เล่ม 32)

ความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนพระราชาผู้ใหญ่. พุทธพจน์
คือปิฎก ๓ เหมือนลายพระราชหัตถ์ การให้โดยมุขคือนัยในพระ
ไตรปิฎก เหมือนการทรงประทานลายพระราชหัตถ์. การให้บริษัท ๔
เรียนพุทธพจน์ ตามกำลังของตนแล้วแสดง ประกาศแก่ชนเหล่าอื่น
เหมือนอ่านลายพระราชหัตถ์แล้วทำการงาน. ในธรรมเหล่านั้น
ธรรมที่ผู้ใดผู้หนึ่งแสดงก็ดี ประกาศก็ดี พึงทราบว่า ชื่อว่า ธรรม
อันพระศาสดาแสดงแล้ว ประกาศแล้ว เหมือนผู้ใดผู้หนึ่ง อ่านลาย
พระราชหัตถ์ ทำงานใด ๆ ด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ดี งานนั้น ๆ
ชื่อว่า อันพระราชาใช้ให้ทำแล้วเหมือนกัน. คำที่เหลือในบททั้งปวง
มีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖
จบ อรรถกถาเอกปุคคลวรรคที่ ๑๓

225