No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 206 (เล่ม 32)

เพราะแปลง ท เป็น ต. พึงทราบการเชื่อมบทในอรรถนั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
ชื่อว่า ตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติกระทำอย่างที่ตรัสนั้น
เป็นอย่างไร ?
เพราะว่า พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมอนุโลม
แก่พระวาจา แม้พระวาจาก็อนุโลมแก่พระกาย เพราะเหตุนั้น
พระองค์ตรัสอย่างใด ก็ทรงกระทำอย่างนั้น และทรงกระทำอย่างใด
ก็ตรัสอย่างนั้น. ก็พระวาจาของพระองค์ผู้เป็นอย่างนั้น ตรัสอย่างใด
แม้พระกายก็ไปอย่างนั้น อธิบายว่า ดำเนินไป อย่างนั้น. อนึ่ง พระกาย
ทรงกระทำอย่างใด แม้พระวาจา ก็ตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า ตถาคต. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด กระทำอย่างนั้น กระทำอย่างใด
ก็พูดอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. ชื่อว่า ตถาคต
เพราะเป็นผู้มีปกติกระทำอย่างที่ตรัสนั้น ด้วยประการฉะนี้.
ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถครอบงำได้ เป็นอย่างไร ?
เพราะพระองค์ทรงครอบงำ สัตว์ทั้งปวงในโลกธาตุหา
ประมาณมิได้ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องต่ำ ถึงอเวจีมหานรก
เบื้องขวางกำหนดที่สุดรอบ ๆ ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง
วิมุตติบ้าง พระองค์ไม่มีการชั่งหรือการนับ พระองค์ชั่งไม่ได้
นับไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระราชาแห่งพระราชา เป็นเทพ
แห่งเทพ เป็นสักกะยอดแห่งเหล่าสักกะ เป็นพรหมยอดแห่งเหล่า
พรหม ด้วยเหตุนั้น พระองค์จงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้

206
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 207 (เล่ม 32)

ครอบงำ หมู่สัตว์ในโลก พร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
และมนุษย์ อันใคร ๆ ครอบงำมิได้ เป็นผู้เห็นโดยแท้ ทำให้ผู้อื่นอยู่
ในอำนาจ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. พึงทราบบทสนธิ ใน
คำว่า ตถาคโต นั้น อย่างนี้ :-
การตรัส (พึงเห็น) เหมือนยาอันประเสริฐ. ก็การตรัสนั้น
คืออะไร ? คือความงดงามแห่งเทศนา และความพอกพูนขึ้นแห่งบุญ.
เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงทรงครอบงำคนผู้เป็นปรัปปวาท
ทั้งหมด และสัตวโลกพร้อมด้วยเทวโลก เหมือนหมอผู้มีอำนาจ
มากครอบงำงูทั้งหลายด้วยยาทิพย์ ฉะนั้น. ดังนั้น พระองค์มีการตรัส
คือความงดงามแห่งเทศนา และความพอกพูนขึ้นแห่งบุญ อันเป็นจริง
ไม่วิปริต เพราะทรงครอบงำสัตวโลกได้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า
ตถาคต เพราะแปลง ท. อักษร เป็น ต. อักษร. ชื่อว่า ตถาคต
เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปด้วยความจริง.
เพราะทรงถึงซึ่ง ความจริง ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ตรัสรู้ ทรงล่วงแล้ว
ทรงบรรลุ ทรงดำเนินไป. ในบรรดาคำเหล่านั้น ชื่อว่า ตถาคต
เพราะเสด็จไป คือ ตรัสรู้โลกทั้งสิ้นด้วยความจริง คือ ตีรณปริญญา.
ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ ทรงล่วงโลกสมุทัย ด้วยความจริง
คือ ปหานปริญญา. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ บรรลุการดับ
สนิทแห่งโลก ด้วยความจริง คือ สัจฉิกิริยา. ชื่อว่า ตถาคต เพราะ
เสด็จไปคือดำเนินไปสู่ความจริง คือ ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความ
ดับโลก. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคต

207
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 208 (เล่ม 32)

ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ตถาคตไม่ประกอบแล้วในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โลกสมุทัย ตถาคต ตรัสรู้ยิ่งแล้ว โลกสมุทัย อันตถาคต ละได้แล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกนิโรธ อันตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว โลกนิโรธ
อันตถาคตกระทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกนิโรธคามินี-
ปฏิปทา อันตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว เจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัจจะใดแห่งโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ สัจจะทั้งหมด อันตถาคต
ตรัสรู้ยิ่งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. อรรถแห่งคำว่า
ตถาคตนั้น บัณฑิตพึงทราบแม้ด้วยประการอย่างนี้. แม้คำนี้ก็เป็น
เพียงแนวทางในการแสดงความที่ตถาคตเป็นตถาคต. พระตถาคต
เท่านั้น จึงจะพรรณนา ความที่ตถาคตเป็นตถาคตได้ ครบถ้วน
ทุกประการ.
ก็ใน ๒ บทว่า อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ อันดับแรก พึงทราบว่า
อรหํ ด้วยเหตุเหล่านี้คือ เพราะเป็นผู้ไกลข้าศึกคือกิเลส เพราะ
เป็นผู้หักกำกงแห่งสังสารจักรเสียได้ เพราะควรแก่สักการะมี
ปัจจัยเป็นต้น และเพราะไม่มีความลับในการทำชั่ว. ส่วนที่ชื่อว่า
สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์
เอง. ความสังเขปในข้อนี้มีเท่านี้. ทั้ง ๒ บทนี้ กล่าวไว้โดยพิสดาร
ในการพรรณนาพุทธานุสสติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

208
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 209 (เล่ม 32)

อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปาตุภาโว ได้แก่ การเกิดขึ้น คือ การสำเร็จ. บทว่า ทุลฺลโภ
โลกสฺมึ ได้แก่ หาได้ยาก คือ หาได้โดยยากยิ่ง ในสัตวโลกนี้. ที่ชื่อว่า
หาได้ยาก เพราะเหตุไร ? เพราะพระองค์ไม่อาจบำเพ็ญทานบารมี
คราวเดียวแล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า. อนึ่งพระองค์ไม่ทรงสามารถ
บำเพ็ญทานบารมี ๒ ครั้ง ๑๐ ครั้ง ๒๐ ครั้ง ๕๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง
๑,๐๐๐ ครั้ง โกฏิครั้ง แสนโกฏิครั้ง ไม่ทรงสามารถบำเพ็ญทาน
บารมีได้ ๑ วัน ๒ วัน ๑๐ วัน ๒๐ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ๑,๐๐๐ วัน
๑๐๐,๐๐๐ วัน แสนโกฏิวัน ฯลฯ ๑ เดือน ๑ ปี ๒ ปี ฯลฯ แสนโกฏิปี
๑ กัป ๒ กัป ฯลฯ แสนโกฏิกัป พระองค์ไม่สามารถบำเพ็ญทาน
บารมี ๑ อสงไขย ๒ อสงไขย ๓ อสงไขย แห่งกัป แล้วเป็นพระ
พุทธเจ้าได้ แม้ในศีลบารมี เนกขัมมบารมี ฯลฯ อุเบกขาบารมี
ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ครั้งสุดท้าย พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ สิ้น ๔
อสงไขยกำไรแสนกัป แล้วจึงสามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ ด้วยเหตุ
ดังกล่าวมานี้ พระองค์จึงชื่อ ว่าหาได้ยาก.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

209
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 210 (เล่ม 32)

อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อจฺฉริยมนุสฺโส แปลว่า มนุษย์อัศจรรย์.
บทว่า อจฺฉริโย ความว่า ไม่มีเป็นนิตย์ เหมือนตาบอดขึ้น
ภูเขา. นัยแห่งศัพท์เท่านี้ก่อน แต่นัยแห่งอรรถกถาดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบมือ. อธิบายว่า ควรปรบมือ
แล้วมอง.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มนุษย์อัศจรรย์ แม้เพราะประกอบ
ด้วยธรรมอันไม่เคยมี น่าอัศจรรย์หลายประการ มีอาทิอย่างนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เคยมีน่าอัศจรรย์ ๔ ประการ ย่อมมี
ปรากฏ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ. ชื่อว่า
อัจฉริยมนุษย์ เพราะเป็นมนุษย์ที่เคยสั่งสมมาก็มี.
จริงอยู่ การที่พระองค์ทรงประชุมธรรม ๘ ประการ อันจะ
ทำให้อภินีหารเพียบพร้อม แล้วทรงผูกพระมันสประทับนั่ง ณ
มหาโพธิมัณฑสถาน ต่อพระพักตร์ ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ใคร ๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พระองค์เดียว
เท่านั้นสั่งสมมา. อนึ่งแม้การที่พระองค์ ได้รับพยากรณ์ในสำนัก
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่หวนกลับหลัง อธิษฐานความเพียร
แล้วบำเพ็ญพุทธการกธรรม ใคร ๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระ-
สัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้น เคยสั่งสมมา. อนึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญ

210
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 211 (เล่ม 32)

พระบารมีให้แก่กล้า (ยังพระบารมีให้ถือเอาห้อง) ดำรงอยู่ในอัตภาพ
เช่นเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร บำเพ็ญสัตตสตกมหาทาน (ของ
๗ สิ่ง สิ่งละ ๗๐๐) มีอาทิอย่างนี้ คือ ช้าง ๗๐๐ ม้า ๗๐๐ ประดับด้วย
เครื่องอลังการพร้อมสรรพ มอบพระโอรสเช่นพระชาลีกุมาร พระธิดา
เช่น กัณหาชินา และพระเทวี เช่นพระนางมัทรี ไว้ในมุขแห่งทาน ดำรง
อยู่ตลอดอายุในอัตภาพที่ ๒ ทรงถือปฏิสนธิในภพชั้นดุสิต ซึ่งใคร ๆ อื่น
มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้นเคยสั่งสมนา. แม้การ
ที่พระองค์ทรงดำรงอยู่ในภพชั้นดุสิตตลอดอายุ ทรงรับการเชิญของ
เทวดาทั้งหลาย ทรงตรวจดูมหาวิโลกิตะ ๕ อย่าง ทรงมีพระสติ
และสัมปชัญญะ จุติจากดุสิต ถือปฏิสนธิในตระกูลที่มีโภคะมาก
ซึ่งใคร ๆ อื่นมิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้นเคยสั่งสม
มา อนึ่งหมื่นโลกธาตุไหวในวันถือปฏิสนธิก็ดี การที่พระองค์ทรงมี
พระสติสัมปชัญญะอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี การที่หมื่น
โลกธาตุไหว แม้ในวันที่พระองค์ทรงมีพระสติสัมปชัญญะเสด็จออก
จากพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี การที่พระองค์ประสูติในเดี๋ยวนี้
แล้วเสด็จย่างพระบาทได้ ๗ ก้าวก็ดี การกางกั้นเศวตฉัตรอันเป็นทิพย์
ก็ดี การโบกพัดด้วยวาลวีชนีอันเป็นทิพย์ก็ดี การที่พระองค์ทรงเหลียวดู
อย่างสีหะไปใน ๔ ทิศ ไม่ทรงเห็นสัตว์ไร ๆ ที่จะเสมอเหมือนพระองค์
แล้วทรงบันลือสีหนาทอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เลิศของโลกก็ดี การที่
หมื่นโลกธาตุไหว ในขณะที่พระองค์ทรงละราชสมบัติ เมื่อพระญาณ
แก่กล้า แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็ดี การที่พระองค์ประทับ
นั่งสมาธิ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน ทรงชนะมารเป็นต้นไปแล้ว
ทรงชำระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และทิพจักขุญาณ ทรงทำ

211
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 212 (เล่ม 32)

หมื่นโลกธาตุให้ไหว ขณะทรงแทงตลอดกองคุณคือพระสัพพัญญุตญาณ
ในเวลาใกล้รุ่งก็ดี ประกาศพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ซึ่งมี
วนรอบ ๓ รอบ ด้วยปฐมเทศนาก็ดี ความอัศจรรย์ทั้งหมดดังกล่าว
มาอย่างนี้เป็นต้น ใคร ๆ อื่นมิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
เท่านั้นเคยสั่งสมขมา. ชื่อว่า มนุษย์อัศจรรย์ เพราะเป็นมนุษย์เคย
สั่งสมมาดังนี้บ้าง ด้วยประการอย่างนี้.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาลกิริยา ความว่า ชื่อว่า กาลกิริยา เพราะกิริยาที่
ปรากฏในกาลครั้งหนึ่ง. จริงอยู่ พระตถาคต ทรงดำรงอยู่ ๔๕ พรรษา
ทรงประกาศ ปิฎก ๓ นิกาย ๕ สัตถุศาสน์มีองค์ ๙ พระธรรมขันธ์
๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทรงกระทำมหาชน ให้น้อมไปในพระนิพพาน
โอนไปในพระนิพพาน บรรทมระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ตรัสเรียกภิกษุ
สงฆ์มา ทรงโอวาทด้วยความไม่ประมาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ
เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, กาลกิริยานี้ของพระ-
ตถาคตนั้นปรากฏมาจนกระทั่งกาลวันนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
กาลกิริยา เพราะเป็นกิริยาที่ปรากฏในเวลาหนึ่ง. บทว่า อนุตปฺปา
โหติ แปลว่า กระทำความเดือดร้อนตาม (ภายหลัง). ในข้อนั้น

212
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 213 (เล่ม 32)

กาลกิริยาของพระเจ้าจักรพรรดิ การทำความเดือดร้อนตามแก่
เทวดาและมนุษย์ในหนึ่งจักรวาล. กาลกิริยาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
กระทำความเดือดร้อนตามแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาล
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า กระทำความเดือดร้อนตามแก่ขนมาก ดังนี้.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อทุติโย ความว่า ที่ชื่อว่า อทุติโย เพราะไม่มีพระพุทธเจ้า
องค์ที่ ๒. จริงอยู่พระพุทธะ. มี ๔ คือ สุตพุทธะ จตุสัจจพุทธะ
ปัจเจกพุทธะ สัพพัญญูพุทธะ. ในพุทธะ ๔ นั้น ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
(มีพุทธพจน์อันสดับแล้วมาก) ชื่อว่า สุตพุทธะ. ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ
(นี้อาสวะสิ้นแล้ว) ชื่อว่า จตุสัจจพุทธะ. พระองค์ผู้บำเพ็ญบารมี
สองอสงไขย กำไรแสนกัป แล้วแทงตลอดปัจเจกพุทธญาณ ชื่อว่า
ปัจเจกพุทธะ. พระองค์ผู้บำเพ็ญบารมี ๔-๘-๑๖ อสงไขย กำไร
แสนกัป แล้วย่ำยีกระหม่อมแห่งมารทั้ง ๓ แทงตลอดพระสัพพัญญุต-
ญาณ ชื่อว่า สัพพัญญูพุทธะ. ในพุทธะ ๔ เหล่านี้ พระสัพพัญญูพุทธะ
ชื่อว่า ไม่มีพระองค์ที่ ๒ ธรรมดาว่าพระสัพพัญญูพุทธะพระองค์อื่น
จะเสด็จอุบัติร่วมกับพระสัพพัญญูพุทธะพระองค์นั้นก็หาไม่.

213
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 214 (เล่ม 32)

บทว่า อสหาโย ความว่า ชื่อว่าไม่มีสหาย เพราะท่านไม่มี
สหายผู้เช่นกับด้วยอัตภาพ หรือด้วยธรรมที่ทรงแทงตลอดแล้ว.
ก็พระเสขะและพระอเสขะ ชื่อว่า เป็นสหายขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
โดยปริยายนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงได้เสกขปฎิปทา และ
อเสกขปฏิปทาเป็นสหายแล.
บทว่า อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพเรียกว่า
รูปเปรียบ. ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพ
ของท่านไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใด
ล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่า
ผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของ
พระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดย
ประการทั้งปวง. บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่า
ไม่มีผู้เทียบ เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต
นั้นไม่มี.
บทว่า อปฺปฏิภาโค (ไม่มีผู้เทียม) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียม
เพราะธรรมเหล่าใดอันพระตถาคตทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า
สติปัฏฐานมี ๔ ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะทำเทียมในธรรมเหล่านั้น
โดยนัยมีอาทิว่า น จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ตโย วา ปญฺจ วา (สติปัฏฐาน
ไม่ใช่ ๔ สติปัฏฐานมี ๓ หรือ ๕.) บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล (ไม่มีบุคคล
ผู้แข็ง) ความว่า ชื่อว่าไม่มีบุคคลผู้แข่ง เพราะไม่มีบุคคลอื่นไร ๆ
ชื่อว่าสามารถเพื่อให้ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

214
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 215 (เล่ม 32)

บทว่า อสโม (ไม่มีผู้เสมอ) ความว่า ชื่อว่า ผู้ไม่เสมอด้วย
สัตว์ทั้งปวง เพราะไม่มีบุคคลเทียมนั่นเอง. บทว่า อสมสโม (ผู้เสมอ
กันบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ) ความว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่เป็นอดีตและอนาคต ท่านเรียกว่า ไม่มีผู้เสมอ ผู้เสมอด้วยพระ
สัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใคร ๆ เสมอเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้เสมอกับบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ.
บทว่า ทฺวิปทานํ อคฺโค ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น
ยอดของเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก สัตว์ผู้มีรูป
ไม่มีรูป ผู้มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอดของเหล่าสัตว์ ๒ เท้า ?
เพราะเนื่องด้วยพระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่ ธรรมดาว่า
ท่านผู้ประเสริฐ เมื่อจะอุบัติในโลกนี้ หาอุบัติในสัตว์ไม่มีเท้า มี ๔ เท้า
และมีเท้ามากไม่ ย่อมอุบัติเฉพาะในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น. ในสัตว์ ๒ เท้า
ชนิดไหน ? ในมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย. ก็เมื่อเสด็จอุบัติในหมู่
มนุษย์ ย่อมอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถเพื่อทำสามพันโลกธาตุ
และหลายพันโลกธาตุ ให้อยู่ในอำนาจได้. เมื่ออุบัติในหมู่เทวดา
ย่อมอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ทำหมื่นโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้
ท้าวมหาพรหมนั้น พร้อมที่จะเป็นกัปปิยการก หรือเป็นอารามิก
ของพระองค์ ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นยอดของสัตว์ ๒ เท้า ด้วย
อำนาจเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์และเทวดาแม้นั้นทีเดียว.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

215