No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 196 (เล่ม 32)

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชี้บุคคลเอก ที่เขาถาม
ด้วยคำถามนั้น ให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสว่า พระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคโต ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุ ๘ ประการ
คือ ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น. ทรงพระ
นามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น ทรงพระนามว่า ตถาคต
เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้. ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรม
ที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง. ทรงพระนามว่า พระตถาคต เพราะทรงเห็น
อารมณ์ที่แท้จริง.ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง.
ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ.
ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำได้ (คือเป็นใหญ่).
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จ
มาอย่างนั้นเป็นอย่างไร ?
เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงขวนขวาย
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงเสด็จมาแล้ว เหมือนอย่างพระผู้มี
พระภาคพระวิปัสสีเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระสิขีเสด็จมา
เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระเวสสภูเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มี
พระภาคพระกกุสันธะเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระ-
โกนาคมน์เสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จมา
ข้อนี้มีอธิบายอย่างไร ? มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น
เสด็จมาด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็
เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้นเหมือนกัน

196
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 197 (เล่ม 32)

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
พระกัสสปะ ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี
ปัญญาบารมีวิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตา
บารมีและอุเบกขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศเหล่านี้ คือ บารมี
๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ประการ
คือ บริจาคอวัยวะ. บริจาคทรัพย์ บริจาคลูก บริจาคเมีย บริจาคชีวิต
ทรงบำเพ็ญบุพประโยค บุพจริยา การแสดงธรรม และญาตัตถจริยา
เป็นต้น ทรงถึงที่สุดแห่งาพุทธจริยา เสด็จมาแล้วอย่างใด พระผู้มี
พระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสีเป็นต้น ฯล พระผู้มีพระภาค
พระกัสสปะ ทรงเจริญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท
๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เสด็จมาแล้ว
อย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือน
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า คถาคต เพราะเสด็จมา
อย่างนั้น เป็นอย่างนี้
พระมนุทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เสด็จมา
สู่ความเป็นพระสัพพัญญูในโลกอย่างใด แม้
พระศากยมุนีนี้ ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีจักษุจึงทรงพระนามว่า ตถาคต
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมา
อย่างนั้น เป็นอย่างนี้.

197
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 198 (เล่ม 32)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป
อย่างนั้น เป็นอย่างไร ?
เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้น
ก็เสด็จไป ฯลฯ เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ประสูติใน
บัดเดี๋ยวนั้นก็เสด็จไป ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จไปอย่างไร ?
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ประทับยืน
บนปฐพีด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร
เสด็จไปโดยอย่างพระบาท ๗ ก้าว ดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์
พระโพธิสัตว์ประสูติบัดเดี๋ยวนั้น ก็ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอัน
เสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว
เมื่อท้าวมหาพรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรงเปล่ง
อาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็น
ผู้ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้
ภพใหม่ไม่มีต่อไป ดังนี้. และการเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุ
คุณวิเศษหลายประการ คือ ข้อที่พระองค์ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง
ก็ได้ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้
อิทธิบาท ๔ ของพระองค์. อนึ่ง ความที่พระองค์บ่ายพระพักตร์ไปเบื้อง
ทิศอุดร เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นโลกุตตรธรรมทั้งปวง. การย่าง
พระบาท ๗ ก้าวเป็นนพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
การกั้นพระเศวตฉัตร เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตรอันบริสุทธิ์
ประเสริฐ. คือพระอรหัตตผลวิมุตติธรรม. การทอดพระเนตรเหลียวดู
ทั่วทิศ เป็นนพนิมิตแห่งการได้พระอนาวรณญาณ คือความเป็นพระ-

198
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 199 (เล่ม 32)

สัพพัญญู. การเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพนิมิตแห่งการประกาศ
พระธรรมจักรอันประเสริฐ อันใคร ๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้. แม้พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น ละการเสด็จไปของ
พระองค์นั้น ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่เปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมิต
แห่งการบรรลุคุณวิเศษเหล่านั้นแล.
ด้วยเหตุนั้นพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระควัมบดีโคดมนั้นประสูติแล้วในบัดเดี๋ยวนั้น
ก็ทรงสัมผัสพื้นดินด้วยพระยุคลบาทสม่ำเสมอ
เสด็จย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าว และฝูงเทพยดา
เจ้าก็กางกั้นเศวตฉัตร พระโคดมนั้นครั้นเสด็จ
ไปได้ ๗ ก้าว ก็ทอดพระเนตรไปรอบทิศเสมอกัน
ทรงเปล่งพระสุรเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประ
การ ปานดังราชสีห์ยืนอยู่บนยอดบรรพตฉะนั้น
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป
อย่างนั้น เป็นอย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสีเสด็จไปแล้ว
ฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จไปแล้วฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นี้ก็เหมือนฉันนั้นทีเดียว ทรงละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
เสด็จไปแล้ว ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะ
ด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน

199
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 200 (เล่ม 32)

ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม เสด็จไปแล้ว ทรงทำลายอวิชชา
ด้วยพระปรีชาญาณ ทรงบรรเทาความไม่ยินดีด้วยความปราโมทย์
ทรงเปิดบานประตูคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ทรงสงบวิตกวิจารด้วย
ทุติยฌาน ทรงหน่ายปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุขทุกข์ด้วยจตุตถฌาน
ทรงก้าวล่วงรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญา ด้วยอากาสา-
นัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญา-
ณัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เสด็จไปแล้ว.
ทรงละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ทรงละสุขสัญญา
ด้วยทุกขานุปัสสนา ทรงละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ทรงละ
นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ทรงละราคะด้วย
วิราคานุปัสสนา ทรงละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ละความยึดมั่น
ด้วยอุปสมานุปัสสนา ทรงละฆนสัญญา (สำคัญว่าเป็นก้อน) ด้วย
ขยานุปัสสนา ทรงละอายูหนา (การประมวลมา) ด้วยวยานุปัสสนา
ทรงละธุวสัญญา (สำคัญว่ายั่งยืน) ด้วยวิปริณามานุปัสสนา ทรงละ
นิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ทรงละการตั้งมั่นแห่งกิเลสด้วย
อัปปณิหิตานุปัสสนา ทรงละอภินิเวส (ยึดมั่น) ด้วยสุญญุตานุปัสสนา
ทรงละสาราทานาภินิเวสะ (ยึดมั่นด้วยยึดถือว่าเป็นสาระ) ด้วยอธิ
ปัญญาธรรมวิปัสสนา (การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ทรงละ
สัมโมหาภินิเวส (ยึดมั่นด้วยความลุ่มหลง) ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ทรงละอาลยาภินิเวส (ยึดมั่นในอาลัย) ด้วยอาทีนวานุปัสสนา ละอัป-
ปฏิสังขา (ไม่พิจารณา) ด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ละสังโยคาภินิเวสะ

200
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 201 (เล่ม 32)

(ยึดมั่นในการประกอบกิเลส) ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา ทรงละกิเลสอัน
ตั้งอยู่ในฐานเดียวกับทิฏฐิ ด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสหยาบ
ด้วยสกทาคามิมรรค ทรงถอนกิเลสอย่างละเอียดด้วยอนาคามิมรรค
ทรงตัดกิเลสทั้งปวงได้เด็ดขาดด้วยอรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็น
อย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม ตถาคต เพราะเสด็จมาถึง
ลักษณะที่แท้เป็นอย่างไร ? ปฐวีธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง เป็นลักษณะแท้
ไม่แปรผัน อาโปธาตุ มีลักษณะไหลเอิบอาบ เตโชธาตุ มีลักษณะร้อน
วาโยธาตุมีลักษณะเคลื่อนไปมา อากาศธาตุมีลักษณะที่สัมผัสถูกต้อง
ไม่ได้ วิญญาณธาตุมีลักษณะรู้แจ้ง รูปมีลักษณะสลาย เวทนามี
ลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำอารมณ์ สังขารมีลักษณะ
ปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ วิตกมีลักษณะยกจิต
ขึ้นสู่อารมณ์ วิจารมีลักษณะตามเคล้าอารมณ์ ปีติมีลักษณะแผ่ไป
สุขมีลักษณะสำราญ เอกัคคตาจิตมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ผัสสะมีลักษณะ
ถูกต้องอารมณ์ สัทธินทรีย์มีลักษณะน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์มีลักษณะ
ประคองไว้ สตินทรีย์มีลักษณะบำรุง สมาธินทรีย์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญินทรีย์มีลักษณะรู้ชัด สัทธาพละมีลักษณะไม่หวั่นไหวในความเชื่อ
วิริยพละ มีลักษณะไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน สติพละมีลักษณะ
ไม่หวั่นไหว ในความเป็นผู้มีสติหลงลืม สมาธิพละมีลักษณะไม่หวั่นไหว
ในความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ มีลักษณะไม่หวั่นไหวในอวิชชา สติ-
สัมโพชฌงค์มีลักษณะบำรุง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีลักษณะเลือกเฟ้น
วิริยสัมโพชฌงค์มีลักษณะประคอง ปีติสัมโพชฌงค์มีลักษณะแผ่ไป

201
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 202 (เล่ม 32)

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะเข้าไปสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะ
ไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีลักษณะพิจารณา สัมมาทิฏฐิ. มี
ลักษณะเห็น สัมมาสังกัปปะ มีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาวาจา
มีลักษณะกำหนดถือเอา สัมมากัมมันตะมีลักษณะลุกขึ้นพร้อม สัมมา-
อาชีวะมีลักษณะผ่องแผ้ว สัมมาวายามะมีลักษณะประคอง สัมมาสติ
มีลักษณะบำรุง สัมมาสมาธิ มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อวิชชามีลักษณะ
ไม่รู้ สังขารมีลักษณะคิดนึก วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ นามมี
ลักษณะน้อมไป รูปมีลักษณะสลาย สฬายตนะมีลักษณะต่อกัน ผัสสะ
มีลักษณะถูกต้องอารมณ์ เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ตัณหามี
ลักษณะเป็นเหตุ อุปาทานมีลักษณะยึดถือ ภพมีลักษณะประมวลมา
ชาติมีลักษณะบังเกิด ชรามีลักษณะทรุดโทรม มรณะมีลักษณะจิตไป
ธาตุมีลักษณะว่าง อายตนะมีลักษณะต่อกัน สติปัฏฐาน มีลักษณะ
บำรุง สัมมัปปธาน มีลักษณะเริ่มตั้ง อิทธิบาทมีลักษณะสำเร็จ
อินทรีย์มีลักษณะเป็นใหญ่ พละมีลักษณะไม่หวั่นไหว โพชฌงค์มี
ลักษณะนำออกจากทุกข์ มรรคมีลักษณะเป็นตัวเหตุ สัจจะมีลักษณะ
เป็นของแท้ สมถะมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนามีลักษณะตามเห็น
สมถและวิปัสสนามีลักษณะแห่งกิจอันเดียวกัน ธรรมที่ขนานคู่กัน
มีลักษณะไม่กลับกลาย สีลวิสุทธิมีลักษณะสำรวม จิตตวิสุทธิมี
ลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิมีลักษณะเห็น ขยญาณ (ความรู้ใน
ความสิ้นไป) มีลักษณะตัดขาด อนุปปาทญาณ (ความรู้ในความไม่
เกิดขึ้น) มีลักษณะระงับ ฉันทะมีลักษณะเป็นมูลเค้า มนสิการมีลักษณะ
เป็นสมุฏฐานที่เกิดขึ้น ผัสสะมีลักษณะเป็นที่ร่วมกัน เวทนามีลักษณะ
ประชุมลง สมาธิมีลักษณะเป็นประมุข สติมีลักษณะเป็นอธิปไตย

202
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 203 (เล่ม 32)

ปัญญามีลักษณะยิ่งยวดกว่านั้น วิมุตติมีลักษณะเป็นสาระ นิพพาน
ที่หยั่งลงสู่อมตะ มีลักษณะเป็นที่สุดสิ้น เป็นของแท่ ไม่แปรผัน
ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาถึงลักษณะที่แท้ด้วยญาณคติ คือบรรลุ
ไม่ผิดพลาด ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ตถาคต เพราะเสด็จมาถึงลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรม
ที่แท้จริง ตามความเป็นจริงอย่างไร ?
ชื่อว่าธรรมที่แท้จริง ได้แก่ อริยสัจ ๔. อย่างที่ตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เป็นของแท้ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น
อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ? ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ว่า นี้ทุกข์ นั่นเป็นของแท้
นั่นไม่ผิด นั่นไม่กลายเป็นอย่างอื่น. พึงทราบความพิสดารต่อไป.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ยิ่งเอง ซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ ก็ คต ศัพท์ในที่นี้
มีตรัสรูยิ่งเองเป็นอรรถ.
อีกอย่างหนึ่ง ภาวะชราสละมรณะอันเกิดและประชุมขึ้น
เพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นความแท้ไม่แปรฝัน ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ
สภาวะสังขารทั้งหลายเกิดและประชุมขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เป็นความแท้ไม่แปรผันไม่เป็นอย่างอื่น. สภาวะอวิชชาเป็นปัจจัย
แก่สังขารทั้งหลายก็เหมือนกัน สภาวะสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
ฯลฯ สภาวะชาติเป็นปัจจัยแก่ ชราและมรณะ, เป็นความแท้นั้นไม่แปรผัน
ไม่เป็นอย่างอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ธรรมที่แท้นั้นทั้งหมด
แม้เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ยิ่งเอง ซึ่งธรรม

203
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 204 (เล่ม 32)

อันถ่องแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้
ธรรมอันถ่องแท้ตามความเป็นจริง เป็นอย่างนี้.
ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นรูปารมณ์ โดยอาการทุกอย่าง
ที่มาปรากฏทางจักขุทวาร ของเหล่าสัตว์หาประมาณมิได้ ในโลกธาตุ
อันหาประมาณมิได้ ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ในหมู่สัตว์พร้อมด้วย
เทวดาและมนุษย์.
รูปารมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้เห็นอย่างนี้ ทรงจำแนก
ด้วยอำนาจอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้นก็ดี ด้วยอำนาจร่องรอย,
ที่ได้ในการเห็น ไดยิน ทราบ และรู้แจ้งก็ดี โดยชื่อมิใช่น้อย โดย
วาระ ๑๓ โดยนัย ๕๒ ตามนัยมีอาทิว่า รูปใด เพราะอาศัยมหาภูตรูป
๔ มีสีและแสง เห็นได้ กระทบได้ เป็นสีเขียว สีเหลือง รูปนั้น คือ
รูปายตนะ เป็นไฉน ดังนี้ เป็นของแท้ทั้งนั้น ไม่แท้ไม่มี. แม้ใน
สัททารมณ์เป็นต้น ที่มาปรากฏ แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็นัยนี้.
สมจริงดังคำ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์
ใด อันชาวโลกพร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ อันหมู่สัตว์ พร้อมด้วยเทวดา
และมนุษย์ เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว พิจารณาแล้ว ย่อมรู้อารมณ์นั้น เรารู้ยิ่งอารมณ์นั้น
แล้วด้วยใจ อารมณ์นั้น ตถาคตรู้แจ้งแล้ว อารมณ์นั้น ปรากฏแก่
ตถาคตแล้ว. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริงด้วยประการ
ฉะนี้. พึงทราบการเกิดแห่งบทว่า ตถาคต (ผู้ทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง)

204
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 205 (เล่ม 32)

ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริงเป็นอย่างไร ?
ราตรีใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งอปราชิตบัลลังก์
ณ โพธิมัณฑสถาน ทรงย่ำยีกระหม่อมของมารทั้ง ๓ ตรัสรู้ยิ่งเอง
ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และราตรีใด เสด็จปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ ในระหว่าง
ราตรีนั้น ในเวลาที่พระองค์มีพรรษาประมาณ ๔๕ พรรษา พระผู้
มีพระภาคเจ้า ตรัสพุทธพจน์อันใด ในปฐมโพธิกาลบ้าง มัชฌิม
โพธิกาลบ้าง ปัจฉิมโพธิกาลบ้าง คือสุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ
พระพุทธพจน์ ทั้งหมดนั้น ใคร ๆ ตำหนิไม่ได้ ทั้งโดยอรรถและโดย
พยัญชนะ ไม่ขาดไม่เกิน บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เป็นเครื่องย่ำยี
ราคะ ในพระพุทธพจน์นั้น ไม่มีความผิดพลาดแม้เพียงปลายขนทราย
พระพุทธพจน์ทั้งหมดนั้น เหมือนประทับไว้ด้วยตราอันเดียวกัน
เหมือนตวงด้วยทะนานเดียวกัน และเหมือนชั่งด้วยตาชังอันเดียวกัน
จึงเป็นของแท้แน่นอนทั้งนั้น ไม่มีที่ไม่แท้.  ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตตรัสรู้ยิ่งเองซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในราตรีใด
และปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในราตรีใด ระหว่าง
ราตรีนั้น ได้ภาษิต ได้กล่าว ชี้แจง คำพูดอันใด อันนั้น เป็นของแท้
อย่างเดียว ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต.
จริงอยู่ คตศัพท์ ในบทว่า ตถาคโต นี้ มีคทเป็นอรรถ. ชื่อว่า
ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง ด้วยประการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง การพูด อธิบายว่า การกล่าว ชื่อว่า อาคทะ. การตรัส
ของพระองค์เป็นจริง ไม่วิปริต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต

205