No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 176 (เล่ม 32)

อธรรมวรรคที่ ๑๑
ว่าด้วยผู้ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมและมั่นคง
[๑๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าธรรม
ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชงเกื้อกูล ไม่เป็น
ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ
บาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมจะยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน.
[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า อธรรม
ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ
ที่แสดงคำพูดอันตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้กล่าวไว้ว่าตถาคตภาษิตไว้
กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงคำพูดอันตถาคตได้ภาษิตไว้ กล่าวไว้ว่า ตถาคต
มิได้ภาษิตไว้ มิได้กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันตถาคตมิได้สั่งสมว่า
ตถาคตสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันตถาคตได้สั่งสมไว้ว่า ตถาคตมิได้
สั่งสมไว้ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็น
ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะเพื่อมิใช่ประโยชน์กื้อกูล ชน
เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ
บาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน.
[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าอธรรม
ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

176
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 177 (เล่ม 32)

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็น
อันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.
[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า ธรรม
ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า วินัย ฯลฯ
ที่แสดงคำพูดอันตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้กล่าวไว้ว่าตถาคตมิได้ภาษิต
ไว้ มิได้กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงคำพูดอันตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า
ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมที่ตถาคตมิได้สั่งสมว่า
ตถาคตมิได้สั่งสม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันตถาคตมิได้บัญญัติว่า ตถาคตมิได้
บัญญัติ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันตถาคตบัญญัติว่า ตถาคตบัญญัติ ภิกษุ
เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่ออัตถะ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก
และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.
จบ อธรรมวรรคที่ ๑๑
อรรถกถาอธรรมวรรคที่ ๑๑
ในอธรรมวรรคที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า อธมฺมํ อธมฺโม เป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.
จบ อรรถกถาอธรรมวรรคที่ ๑๑

177
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 178 (เล่ม 32)

อนาปัตติวรรคที่ ๑๒
ว่าด้วยผู้ทำให้พระสัทธรรมอันตรธาน
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
ฯลฯ ที่แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ ฯลฯ ที่แสดงลหุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ
ฯลฯ ที่แสดงครุกาบัติว่า เป็นลหุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า
เป็นอาบัติ ไม่ชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
ฯลฯ ที่แสดงอาบัติ มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดง
อาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืน
ได้ว่า เป็นอาบัติทำคืนไม่ได้ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืนไม่ได้ว่า เป็นอาบัติ
ทำคืนได้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกู
เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทั้งย่อมประสบบาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมทำให้สัทธรรมนี้
อันตรธาน.
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า
เป็นอนาบัติ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็น
อันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ
บุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.
[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

178
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 179 (เล่ม 32)

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก
และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.
[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงลหุกาบัติว่า
เป็นลหุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงครุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดง
อาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า
เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วน
เหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ
ที่แสดงอาบัติทำคืนได้ว่า เป็นอาบัติทำคืนได้ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืน
ไม่ได้ว่า เป็นอาบัติทำคืนไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.
จบ อนาปัตติวรรคที่ ๑๒

179
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 180 (เล่ม 32)

อรรถกถาอนาปัตติวรรคที่ ๑๒
ก็ในอนาปัตติวรรคที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า อนาปตฺตึ อาปตฺติ เป็นต้น อนาบัติที่ท่านกล่าวไว้
ในที่นั้น ๆ ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่รู้อยู่ ไม่มีไถยจิต ไม่ประสงค์
จะให้ตาย ไม่ประสงค์จะอวด ไม่ประสงค์จะปล่อย (สุกกะ) ดังนี้
ชื่อว่าอนาบัติ. อาบัติที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เป็นอาบัติแก่
ภิกษุ ผู้รู้อยู่ ผู้มีไถยจิต ดังนี้ ชื่อว่า อาบัติ. อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่า
ลหุกาบัติ (อาบัติเบา) อาบัติ ๒ กอง ชื่อว่า ครุกาบัติ (อาบัติหนัก)
อาบัติ ๒ กอง ชื่อทุฎฐุลลลาบัติ (อาบัติชั่วหยาบ) อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่า
อทุฏฐุลลาบ (อาบัติไม่ชั่วหยาบ) อาบัติ ๖ กอง ชื่อว่า สาวเสสาบัติ
(อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ) อาบัติปาราชิก ๑ กอง ชื่อว่า อนาวเสสาบัติ
(อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ) อาบัติที่มีส่วนเหลือนั่นแหละ ชื่อว่า อาบัติ
ที่ทำคืนได้ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือนั่นแหละ ชื่อว่าอาบัติที่ทำคืนไม่ได้.
คำที่เหลือ ในที่ทั้งปวง มีอรรถง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาอนาปัตติวรรคที่ ๑๒

180
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 181 (เล่ม 32)

เอกปุคคลบาลี
เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นเอก
[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อ
เกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกหา
ได้ยากในโลก บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล
หาได้ยากในโลก.
[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อ
เกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์.

181
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 182 (เล่ม 32)

[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคลผู้เอก เป็น
เหตุเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล
ผู้เอกนี้แล เป็นเหตุเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก.
[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร. ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ
ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใคร
เสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าคน
ทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ
ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ
เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.
[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอก
เป็นความปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่
แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการ
แทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่าง ๆ เป็นการ
กระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล บุคคลผู้
เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นความปรากฏแห่ง
จักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖

182
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 183 (เล่ม 32)

เป็นการทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอัน
มาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่าง ๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล
คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทา-
คามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล.
[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้
คนเดียว ผู้ยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมอันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็น
ไปตามโดยชอบ เหมือนสารีบุตรนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร
ย่อมยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม อันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไป
ตามโดยชอบทีเดียว.
จบ เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓

183
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 184 (เล่ม 32)

อรรถกถาเอกปุคคลวรรคที่ ๑๓
อรรถกถาสูตรที่ ๑
เอกปุคคลวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอกปุคฺคโล แปลว่า บุคคลคนเดียว. บทว่า เอโก ใน
คำว่า เอกปุคฺคโล นี้ เป็นการกำหนดจำนวน ซึ่งมีใจความปฏิเสธ
คนที่ ๒ เป็นต้น. บทว่า ปุคฺคโล เป็นคำพูดโดยสมมติ ไม่ใช่คำพูด
โดยปรมัตถ์.
จริงอยู่เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า มี ๒ อย่าง คือ
สมมติเทศนา ๑ ปรมัตถเทศนา ๑ ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาทำนองนี้ว่า
บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร ชื่อว่า
สมมติเทศนา เทศนาทำนองนี้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน ชื่อว่า ปรมัตถเทศนา. ในเทศนา ๒
อย่างนั้น ชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยสมมติ สามารถเข้าใจเนื้อ
ความละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดง
สมมติเทศนาแก่ชนเหล่านั้น. ส่วนชนเหล่าใด ฟังเทศนาเนื่องด้วย
ปรมัตถ์ แล้วสามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงปรมัตถเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
ในข้อนั้น พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้ :-
เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น ผู้บรรยาย
เนื้อความแห่งเวททั้ง ๓ ชนเหล่าใด เมื่อพูดด้วยภาษาทมิฬ ย่อมรู้ใจ

184
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 185 (เล่ม 32)

ความได้ ก็จะสอนชนเหล่านั้น ด้วยภาษาทมิฬ ชนเหล่าใดเมื่อพูด
ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาของชาวอันธะเป็นต้น ย่อมรู้
ใจความได้ ก็จะสอนด้วยภาษานั้น ๆ แก่ชนเหล่านั้น เมื่อเป็นดังนั้น
มาณพเหล่านั้น อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมเรียนศีลปะ
ได้โดยฉับพลันทีเดียว. ในอุปมานั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้า เปรียบเหมือนอาจารย์. ปิฎก ๓ ตั้งอยู่ในภาวะที่จะต้อง
บอกกล่าว เปรียบเหมือนเวท ๓ ความเป็นผู้ฉลาดในสมมติและ
ปรมัตถ์ เหมือนความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น เวไนยสัตว์ผู้
สามารถเข้าใจความได้ ด้วยอำนาจแห่งสมมติและปรมัตถ์เหมือน
มาณพ ผู้รู้ภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ กัน เทศนาด้วยอำนาจสมมติและ
ปรมัตถ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนการสอนด้วยภาษา
มีภาษาทมิฬเป็นต้นของอาจารย์. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่า
พระสัมพุทธเจ้า เป็นยอดของผู้กล่าวสอน
ทั้งหลาย ได้ตรัสสัจจะ ๒ อย่าง คือ สมมติ
สัจจะ และปรมัตถสัจจะ ไม่ตรัสสัจจะที่ ๓
คำที่ชาวโลกหมายรู้กันก็เป็นสัจจะ เพราะมี
โลกสมมติเป็นเหตุ คำที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นปรมัตถ์
ก็เป็นสัจจะ เพราะมีความจริงของธรรมทั้งหลาย
เป็นเหตุ เพราะฉะนั้น มุสาวาท จึงไม่เกิดแก่
พระโลกนาถผู้ศาสดา ผู้ฉลาดในโวหาร ผู้ตรัส
ตามสมมติ.

185