No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 488 (เล่ม 30)

ดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุพึงพิจารณาเห็นกายในกาย. . . ในเวทนา... ในจิต . . . หรือในธรรม
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔.
[๘๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวดังนี้แล้ว
ครั้น แล้วได้กล่าวนิคมคาถาต่อไปอีกว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นความ
สิ้นชาติ และที่สุดชาติ ทรงอนุเคราะห์
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบทางเป็น
ที่ไปอันเอก ในกาลก่อนชนทั้งหลายข้าม
โอฆะได้แล้วด้วยทางนี้ (ในอนาคต) จัก
ข้ามด้วยหนทางนี้ (ในบัดนี้) ก็ข้ามอยู่
ด้วยหนทางนี้.
จบมรรคสูตรที่ ๓
๔. สติสูตร
ทรงเตือนภิกษุให้เป็นผู้มีสติ
[๘๒๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่
เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่า
เป็นผู้มีสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น

488
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 489 (เล่ม 30)

กายในกายอยู่ .. . ในเวทนาอยู่ . . . ในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสีย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็น
ผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.
จบสติสูตรที่ ๔
อรรถกถาสติสูตร
สูตรที่ ๔. ครั้นทรงแสดงเหตุเกิดขึ้น (สมุทัย) ล้วน ๆ เสร็จแล้ว
พระองค์ก็ตรัส (พระสูตรนี้) ตามอัธยาศัยของผู้จะตรัสรู้ได้.
จบอรรถกถาสติสูตร
๕. กุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองกุศล
[๘๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก
ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้น ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ สติ-
ปัฏฐาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อม
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล
จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่สติ-
ปัฏฐาน ๔.
จบกุสลราสิสูตรที่ ๕

489
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 490 (เล่ม 30)

๖. ปาฏิโมกขสูตร
ว่าด้วยปาฏิโมกขสังวร
[๘๒๗] ครั้งนั้น พระภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่
ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.
[๘๒๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้น
แหละ เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้น
ของกุศลธรรม เธอจงสำรวมในปาฏิโมกขสังวร จงถึงพร้อมด้วยมารยาทและ
โคจรเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
[๘๒๙] ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักสำรวมในปาฏิโมกขสังวร
จักถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อนั้น เธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึง
เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ... ในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
เมื่อใด เธอจักอาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่าง
นี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืนหรือวันที่
จักมาถึง ไม่มีความเสื่อม.

490
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 491 (เล่ม 30)

[๘๓๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำประทักษิณ
แล้วหลีกไป ภิกษุนั้นเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อัน
ยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นมิได้มี ก็แลภิกษุ
นั้นเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบปาฏิโมกขสูตรที่ ๖
อรรถกถาปาฏิโมกขสูตร
ปาฏิโมกขสังวรสูตรที่ ๖. คำว่า ผู้สำรวมด้วยความสำรวม
ในพระปาฏิโมกข์ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงศีลที่
ประเสริฐที่สุดของศีลทั้ง ๔ อย่าง จึงได้ตรัสอย่างนั้น. ท่านปีกฏกจุลนาคเถระ
กล่าวว่า ศีล ก็คือการสำรวมในพระปาฏิโมกข์นั่นเอง. ท่านค้านว่า ขึ้นชื่อ
ว่าฐานะที่ว่าอีก ๓ ข้อ เป็นศีล ไม่มี เมื่อไม่ยอมเห็นด้วยอย่างเด็ดขาดจึง
กล่าวไว้. มีชื่อว่า อินทรีย์สังวร ก็สักว่าที่เป็นไปในทวาร ๖ เท่านั้น อาชีว-
ปาริสุทธิ ก็สักว่าที่เกิดปัจจัยขึ้นโดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเท่านั้น.
ชื่อว่า ปัจจัยนิสสิต ก็ตรงที่พิจารณาว่าเพื่อประโยชน์นี้ในปัจจัยที่ได้มาแล้ว
บริโภค (เพราะฉะนั้น) ว่าโดยตรง ศีลก็คือการสำรวมในพระปาฏิโมกข์เท่า
นั้น. ปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใดแตกแล้ว ภิกษุนี้ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่า

491
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 492 (เล่ม 30)

จะรักษาศีลที่เหลือไว้ได้เพราะเหมือนคนหัวขาด ไม่มีทางจะรักษามือเท้าไว้ได้
ฉะนั้น. ส่วนปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใด ไม่เสียหาย ภิกษุนี้ ก็สามารถ
เพื่อทำศีลที่เหลือให้กลับเป็นปกติได้อีกแล้วรักษาข้ออื่น เหมือนคนหัวไม่ขาด
สามารถรักษาชีวิตไว้ได้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ศีลก็คือปาฏิโมกขสังวรนั่นเอง.
ด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์นั้น. คำว่า ผู้สำรวมแล้ว หมายความว่า
ผู้สำรวม เข้าถึงคือประกอบด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์. คำว่า ถึง
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร คือสมบูรณ์ทั้งอาจาระ ทั้งโคจร. คำว่า
อณุมตฺเตสุ คือมีประมาณเล็กน้อย. คำว่า โทษ คือในธรรมที่เป็นอกุศล
คำว่า มีปกติเห็นภัย คือเห็นเป็นของน่ากลัวโดยปกติ. คำว่า ยึดมั่น
คือถือไว้อย่างถูกต้อง. คำว่า จงศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ได้แก่ การยึด
ถือศึกษาสิกขาบทนั้น ๆ ในสิกขาบททั้งหลาย คือก็สิกขาบทไร ๆ ที่เกี่ยวกับ
กายหรือที่เกี่ยวกับวาจาที่ต้องศึกษาในส่วนสิกขาในสิกขาบททั้งหลายนั้นใดจง
สมาทานศึกษาสิกขาบททั้งหมดนั้น ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นความย่อในพระ
สูตรนี้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ด้วยประการฉะนี้
ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแต่ปาฏิโมกขสังวรศีลเท่านั้น.
จบอรรถกถาปฏิโมกขสูตรที่ ๖

492
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 493 (เล่ม 30)

๗. ทุจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต และสุจริต
[๘๓๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์
ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท. มีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.
[๘๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ
เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของ
กุศลธรรม เธอจักละกายทุจริต เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต
จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต.
[๘๓๓] ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดแล เราจักละกายทุจริต เจริญกายสุจริต
จักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต เมื่อนั้น เธอ
พึงอาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน เธอ
จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ . . . ใน มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย เมื่อใดแล เธอจักอาศัยศีลเวทนาอยู่ ....ในจิตอยู่ . . . จงพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔
เหล่านี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืน
หรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย ฯลฯ ก็แลภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์
องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบทุจริตสูตรที่ ๗

493
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 494 (เล่ม 30)

อรรถกถาทุจริตสูตร
สูตรที่ ๗. กายสุจริตและวจีสุจริตเป็นปาฏิโมกขสังวรศีล มโนสุจริต
เป็นศีลอีก ๓ ชนิด เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอันว่าจตุปาริสุทธิศีล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ได้ทรงแสดงไว้แล้ว. โดยนัยนี้ แม้กรรมบถสามข้อหลัง ในกุศลกรรม
บถสิบ ในปปัญจสูตร และในอีกเก้าสูตร ก็พึงทราบว่าเป็นศีลด้วย. คำที่
เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุจริตสูตรที่ ๗
๘. มิตตสูตร*
การชักชวนให้เจริญสติปัฏฐาน
[๘๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด
และชนเหล่าใดพึงสำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์
ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม เธอทั้งหลายพึงชักชวนชักนำให้ตั้งอยู่ในการเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ ย่อมพิจารณาเห็น. กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารนาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อม
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้ง
* ตั้งแต่ สูตรที่ ๘ เป็นต้นไป ไม่มีอรรถกถาแก้.

494
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 495 (เล่ม 30)

หลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใดพึงสำคัญถ้อยคำที่
ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม เธอทั้ง
หลาย พึงชักชวนชักนำให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น.
จบมิตตสูตรที่ ๘
๙. เวทนาสูตร
เจริญสติปัฏฐานเพื่อรู้ เวทนา ๓
[๘๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็น
ไฉน คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เวทนา ๓ ประการนี้แล.
[๘๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔
เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
อยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อกำหนดรู้เวทนา
๓ ประการนี้แล.
จบเวทนาสูตรที่ ๙

495
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 496 (เล่ม 30)

๑๐. อาสวสูตร
เจริญสติปัฏฐานเพื่อละ อาสวะ ๓
[๘๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะ ๓ ประการนี้แล.
[๘๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน ๔
เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน ๔
เหล่านี้ เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้แล.
จบอาสวสูตรที่ ๑๐
จบอมตวรรคที่ ๕
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อมตสูตร ๒. สมุทยสูตร ๓. มรรคสูตร ๔.สติสูตร ๕.
กุสลราสิสูตร ๖. ปาฏิโมกขสูตร ๗. ทุจริตสูตร ๘. มิตตสูตร ๙.
เวทนาสูตร ๑๐. อาสวสูตร

496
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 497 (เล่ม 30)

คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตที่ ๖
ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
[๘๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคา
ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุ
เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่
นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๘๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่.... ย่อม
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล จึง
จะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ
[๘๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้
สังโยชน์ ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑
อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล.
[๘๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วน
เบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

497