No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 181 (เล่ม 29)

ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น
ตนเองก็มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อม
บังเกิดในนรกชื่อปหาสะ. อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำ
คนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลาง
สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อม
เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ. ความเห็นของเขานั้นเป็นความ
เห็นผิด. ดูก่อนนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ นรกหรือกำเนิด
สัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด
[๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนัก-
เต้นรำนามว่าตาลบุตร ร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนนายคามณี เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลย นายคามณี
ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย.
คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูก
นักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า
นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ใน
ท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น
สหายของเทวดาชื่อปหาสะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ
พระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระ-
องค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีบ

181
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 182 (เล่ม 29)

ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและภิกษสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า นายนฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจาก
หมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่าน
พระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ ตาลปุตตสูตรที่ ๒
อรรถกถาตาลปุตตสูตรที่ ๒
ในตาลปุตตสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตาลปุตฺโต คือเขามีชื่ออย่างนั้น. เล่ากันมาว่า นายบ้าน
นักฟ้อนรำคนนั้น มีผิวพรรณผ่องใสเหมือนลูกตาลสุกที่หลุดจากขั้ว. ด้วย
เหตุนั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า ตาลบุตร. นายตาลบุตรผู้นี้นั้น
เขาถึงพร้อมด้วยอภินิหาร ( บุญเก่า ) เป็นบุคคลเกิดในภพสุดท้าย (ไม่ต้อง
เกิดอีก ). แต่เพราะธรรมดาปฏิสนธิ เอาแน่นอนไม่ได้ เหมือนท่อนไม้
ที่ขว้างไปในอากาศ ฉะนั้น นายตาลบุตรนี้จึงบังเกิดในตระกูลนักฟ้อนรำ
พอเจริญวัยก็เป็นยอดทางนาฏศิลปศิลปฟ้อนรำ มีชื่อกระฉ่อนไปทั่วชมพู-
ทวีป. เขามีเกวียน ๕๐๐ เล่ม มีหญิงแม่บ้าน ๕๐๐ คนเป็นบริวาร
แม้เขาก็มีภรรยาจำนวนเท่านั้น ดังนั้นเขาจึงพร้อมด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คน

182
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 183 (เล่ม 29)

และเกวียน ๑,๐๐๐ เล่ม อยู่อาศัยนครหรือนิคมใด ๆ ประชาชนในนคร
หรือนิคมนั้น ๆ พากันให้ทรัพย์แสนหนึ่งแก่เขาก่อนทีเดียว. เมื่อเขาแต่งตัว
แสดงมหรสพกำลังเล่นกีฬาพร้อมด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คนอยู่ ประชาชน
ต่างโยนเครื่องประดับมือเท้าเป็นต้น ตบรางวัลให้ไม่มีสิ้นสุด. วันนั้นเขา
แวดล้อมด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คน เล่นกีฬาในกรุงราชคฤห์ เพราะมีญาณ
แก่กล้า พร้อมด้วยบริวารทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.
บทว่า สจฺจาลิเกน ได้แก่ด้วยคำจริงบ้าง ด้วยคำเท็จบ้าง. บทว่า
ติฏฺฐเตตํ ความว่า ข้อนั้นจงพักไว้. บทว่า รชนิยา ได้แก่มายากล
แสดงลมเจือฝนพัดด้ายห้าสีออกจากปาก ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งราคะ และนัย
ที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอย่างอื่นซึ่งแสดงอาการที่ประกอบด้วยความยินดีในกาม.
บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย ได้แก่โดยประมาณยิ่ง. บทว่า โทสนิยา
ได้แก่อาการที่แสดงมายากลมีการตัดมือและเท้าเป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยแห่ง
โทสะ. บทว่า โมหนิยา. ได้แก่มายากลชนิดชนิดเอาน้ำทำน้ำมัน เอาน้ำมัน
ทำน้ำ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเป็นเป็นปัจจัยแห่งโมหะ. บทว่า ปหาโส นาม
นิรโยความว่า ธรรมดานรกที่ชื่อว่า ปหาสะ มิได้มีเป็นนรกหนึ่งต่างหาก
แต่เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีนั่งเองที่พวกสัตว์แต่งตัวเป็นนักฟ้อนรำ ทำเป็น
ฟ้อนรำและขับร้องพากันหมกไหม้อยู่ ท่านกล่าวหมายเอานรกนั้น. ในบทว่า
นาหํ ภนฺเต เอตํ โรทามิ นี้ พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจสกรรมกิริยา
อย่างนี้ว่า ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ข้อนั้น พระเจ้าข้า. อนึ่ง ในข้อว่า ชนทั้งหลายปรารภถึงคนตายมีน้ำตา
ไหลร้องไห้เป็นต้นนี้ พึงทราบว่าเป็นอีกโวหารหนึ่ง.
จบ อรรถกถาตาลปุตตสูตรที่ ๒

183
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 184 (เล่ม 29)

๓. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยปัญหาของนักรบอาชีพ
[๕๙๓] ครั้งนั้นแล นายบ้านนักรบอาชีพเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์
และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม
ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้น
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย
นายบ้าน ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ นายนักรบอาชีพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และ
ปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม
ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้น
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสว่ากะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
นายบ้าน เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด
อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูก่อนนายบ้าน นักรบ
อาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี
ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อนว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ
หรือว่าอย่าได้มี คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย
ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเกิดในนรกชื่อสรชิต ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า

184
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 185 (เล่ม 29)

นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงความ คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลัง
อุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น
สหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ไชร้ ความเห็นของผู้นั้นเป็นความเห็นผิด
ดูก่อนนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก
หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานของบุคคลผู้มีความเห็นผิด
[๕๙๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนักรบ
อาชีพร้องไห้สอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายบ้าน
เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด อย่า
ถามเราถึงข้อนี้เลย เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้
ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่า
ข้าพระองค์ถูกนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ ล่อลวงให้หลงสิ้น
กาลนานว่านักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงความ คนอื่นฆ่าผู้นั้น
ซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย นักรบอาชีพคนนั้นเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ
ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่
คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักได้เห็นรูป ฉะนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระ-
ธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป.
จบ โยธาชีวสูตรที่ ๓

185
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 186 (เล่ม 29)

อรรถกถาโยธาชีวสูตรที่ ๒
ในโยธาชีวสูตรที่ ๓ พึงทราบ วินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โยธาชีโว ความว่า ผู้เลี้ยงชีพด้วยการรบ ( นักรบอาชีพ)
พระธรรมสังคาหกเถระตั้งชื่อไว้อย่างนี้. บทว่า อุสฺสหติ วายมติ ได้
แก่ทำความอุตสาหะพยายาม. บทว่า ปริยาปาเทนฺติ ได้แก่ให้ถึงความตาย
บทว่า ทุกฺกฏํ ได้แก่ทำจิตไว้ไม่ดี. บทว่า ทุปฺปณิหิตํ ได้แก่ตั้งจิตไว้ไม่ดี
บทว่า สรชิโต นาม นิรโย ความว่า แม้นรกชื่อสรชิตนี้ ก็มิได้เป็น
นรกหนึ่งต่างหาก แต่เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีนั่นเอง ที่พวกนักรบอาชีพ
ผูกสอดอาวุธ ๕ อย่าง ถือโล่ ขึ้นช้างม้ารถเหมือนรบอยู่ในสนามรบ
หมกไหม้อยู่ ข้อนี้ท่านกล่าวหมายเอานรกนั้น.
จบ อรรถกถาโยธาชีวสูตรที่ ๓
๔. หัตถาโรหสูตร
ว่าด้วยปัญหาของนายทหารช้าง
[๕๙๕] ครั้งนั้นแล นายทหารช้างได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ฯลฯ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ หัตถาโรหสูตรที่ ๔

186
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 187 (เล่ม 29)

๕. อัสสาโรหสูตร
ว่าด้วยปัญหาของนายทหารม้า
[๕๙๖] ครั้งนั้นแล นายทหารม้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำ
ของทหารม้า ทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ พูดกันว่า ทหารม้าคนใด
อุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้
ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา
เหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากระไร พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า อย่าเลยของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แม้ครั้งที่ ๒
ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ นายทหารม้าได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผ้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของทหารม้าทั้งอาจารย์และปาจารย์
คนก่อน ๆ พูดกันว่า ทหารม้าคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่น
ฆ่าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ใน
ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากระไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะ
นาย เราห้ามไม่ได้แน่แล้วว่า อย่าเลยนาย ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน แน่ะนาย ทหารม้าคนใดอุตสาหะ
พยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อนว่า
สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่า จงอย่า
มีคนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้น
เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อสรชิต อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นว่า ทหารม้า

187
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 188 (เล่ม 29)

คนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายาม
ให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
เทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ ไซร้ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด แนะ.
นาย ก็เรากล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกหรือกำเนิด
สัตว์เดียรัจฉาน ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายทหารม้า
ร้องไห้ น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะนาย เราได้ห้ามท่าน
อย่างนี้แล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลยนาย ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึง
ข้อนี้เลย เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ถึงข้อที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะข้าพระองค์หรือก็ แต่ว่าข้าพระองค์ถูกทหารม้า
ทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ ลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า ทหารม้าคนใด
อุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึง
ความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา
เหล่าสรชิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มิดด้วยหวังว่า
คนมีจักษุจักได้เห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มี-
พระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็น
สรณะ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ อัสสาโรหสูตรที่ ๕

188
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 189 (เล่ม 29)

อรรถกถาหัตถาโรหสูตรที่ ๔ และ อัสสาโรหสูตรที่ ๕
แม้ในสูตรที่ ๔ และสูตรที่ ๕ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔ - ๕
๖. ภูมกสูตร
ว่าด้วยผู้ทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมเข้าถึงอบาย
[๕๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริก-
อัมพวัน ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ มีคณโฑน้ำติดตัว
ประดับพวงมาลัยสาหร่ายอาบน้ำทุกเช้าเย็น บำเรอไฟ พราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่ายังสัตว์ที่ตายทำกาละแล้วให้ฟื้นขึ้นมา ให้รู้สึกตัว จูงให้ขึ้นสวรรค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า สามารถการทำให้สัตว์โลกทั้งหมด เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ได้หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี ถ้าอย่าง
นั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ปัญหาควรแก่ท่านด้วยประการใด ท่าน
พึงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นด้วยประการนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน บุรุษในโลกนี้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท

189
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 190 (เล่ม 29)

มีความเห็นผิด หมู่มหาชนมาประชุมกันแล้ว พึงสวดวิงวอน สรรเสริญ
ประนมมือเดินเวียนรอบผู้นั้นว่า คือบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไป พึงเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์เพราะเหตุการสวดวิงวอน เพราะเหตุการสรรเสริญ หรือ
เพราะเหตุการประนมมือเดินเวียนรอบดังนี้ หรือ.
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๕๙๙] พ. ดูก่อนนายคามณี เปรียบเหมือนบุรุษโยนหินก้อน
หนาใหญ่ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน
สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบหินนั้นว่า ขอจงโผล่ขึ้นเกิดท่าน
ก้อนหิน ขอจงลอยขึ้นเถิดท่านก้อนหิน ขอจงขึ้นบกเถิดท่านก้อนหินท่าน
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินนั้นพึงโผล่ขึ้น พึงลอยขึ้น หรือ
พึงขึ้นบก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ ประณมมือเดินเวียน
รอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ.
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษคนใดฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูด
เพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด หมู่มหาชน
พึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบ
บุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็จริง แต่บุรุษ
นั้นเมื่อตาย พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

190