No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 348 (เล่ม 28)

ชื่อว่า อตฺถิ มีอยู่ เพราะอรรถว่า ยังละกิเลสไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โส อปฺปหีโน. บทว่า ปริตฺตา ความว่า
จริงอยู่รูปแม้ขนาดเท่าภูเขา คนไม่เห็น ไม่พอเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ชื่อว่า
เล็กน้อย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า รูปทั้งหลายแม้เห็นปานนั้น
ยังครอบงำจิตของผู้นั้นได้. บทว่า โก ปน วาโท อธิมตฺตานํ ความว่า
จะป่วยกล่าวไปไยเล่า ในคำที่ว่า อิฏฐารมณ์ อันเป็นวัตถุเป็นที่ตั้งแห่ง
ความยินดี จักไม่ครอบงำจิตของเขา. ก็ในที่นี้วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ยินดี มีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น แม้มีขนาดเท่าหลังเล็บ พึงทราบว่า
อารมณ์มีขนาดใหญ่ทั้งนั้น. บททั้ง ๓ มีบทว่า ทหโร เป็นต้น เป็นไวพจน์
แห่งกันและกันนั่นแล. บทว่า ภินฺเทยฺย ความว่า พึงเฉาะ พึงกรีด.
จบ อรรถกถาขีรรุกขสูตรที่ ๔
๕. โกฏฐิกสูตร
ว่าด้วยปัญหาของท่านพระมหาโกฏฐิกภิกษุ
[๒๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ
อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่าน
พระมหาโกฏฐิกะออกจากที่พักแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป
แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านพระสารีบุตร จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์.
เครื่องผูกของจักษุ หูเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของเสียง เสียงเป็นสังโยชน์

348
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 349 (เล่ม 28)

เครื่องผูกของหู จมูกเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกลิ่น กลิ่นเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของจมูก ลิ้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรส รสเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของลิ้น กายเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะ
เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกาย ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหรือ. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ท่านโกฏฐิกะ จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ
และรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น หูเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของเสียง เสียงเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของหูหามิได้ แต่ฉันทราคะ
ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์
เครื่องผูกหูและเสียงนั้น จมูกเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกลิ่น กลิ่นเป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของจมูกหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจมูกและกลิ่น
นั้น ลิ้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรส รสก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของลิ้น
หามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นกับรสทั้งสอง
นั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกลิ้นและรสนั้น กายเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ
โผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกายหามิได้ แต่ฉันทราคะ
ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้น เป็น
สังโยชน์เครื่องผูกกายและโผฏฐัพพะนั้น ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ
ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันท-
ราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น
เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น .

349
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 350 (เล่ม 28)

[๒๙๖] ท่านโกฏฐิกะ โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าว
หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยวเนื่องกับ
โคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวถูกหรือ.
ก. ท่านพระสารีบุตร ไม่ถูกเลย โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว
ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคดำกับโคขาวนั้นเขาผูกติดด้วยสายคร่าว
หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าวหรือเชือกนั้นเป็นเครื่องผูกโคทั้งสอง
นั้นให้ติดกัน.
สา. ข้อนั้นฉันใด ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุ
เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็น
สังโยชน์เครื่องผูกในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ
ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ ฉันทราคะ
ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็น
สังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.
[๒๙๗] ท่านโกฏฐิกะ จักษุจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป หรือ
รูปจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ
พ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะจักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูก
ของรูป รูปก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความพอใจ
รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูก
จักษุและรูปนั้น เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ

350
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 351 (เล่ม 28)

สิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏ ฯลฯ ใจจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ
ธรรมารมณ์ หรือธรรมารมณ์จักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ การอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะ
ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น
เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ จึง
ปรากฏ ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ จักษุไม่เป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความ
พอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจ
รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.
[๒๙๘] ท่านโกฏฐิกะ จักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระ-
องค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยจักษุ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีฉันทราคะความพอใจ
รักใคร่เลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว โสตของพระผู้มี-
พระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ยังทรงฟังเสียงด้วยโสต แต่พระองค์ไม่มี
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฆานะของพระผู้-
มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงสูดกลิ่นด้วยฆานะ แต่พระองค์
ไม่มีฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ชิวหาของพระ-

351
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 352 (เล่ม 28)

ผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงลิ้มรสด้วยชิวหา แต่พระองค์ไม่มี
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว กายของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย แต่พระองค์ไม่มี
ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มนัสของพระผู้มี-
พระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมนัส แต่พระองค์
ไม่มีฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นแล้ว ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้
พึงทราบโดยปริยายนี้ จักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ
ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.
จบ โกฏฐิกสูตรที่ ๕
อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ ๕
ในโกฏฐิกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตทุภยํ ตัดเป็น ตํ อุภยํ แปลว่า สูตรทั้ง ๒ นั้น.
จบ อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ ๕

352
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 353 (เล่ม 28)

๖. กามภูสูตร
ว่าด้วยปัญหาของพระกามภูภิกษุ
[๒๙๙] สมัยหนึ่ง พระท่านอานนท์และท่านพระกามภูอยู่ ณ
โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจาก
ที่พักแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ จักษุเป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ ฯลฯ ใจเป็น
สังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์ผูกเครื่องของ
ใจหรือ.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านพระกามภู จักษุเป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะความ
พอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง
ผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมา-
รมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจ
และธรรมารมณ์นั้น ท่านพระกามภู โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วย
สายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยว
เนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวถูกหรือ.

353
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 354 (เล่ม 28)

กา. ท่านพระอานนท์ ไม่ถูกเลย โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว
ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคคำกับโคขาวนั้น เขาผูกติดกันด้วยสาย
คร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าวหรือเชือกเส้นเดียวกันนั้น เป็น
เครื่องผูกโคทั้งสองนั้นให้ติดกันฉันใด.
อา. ท่านกามภู ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกของรูป รูปก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะ
ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้นเป็นสังโยชน์
เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์ก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจ
รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องผูกใจ
และอารมณ์นั้น.
จบ กามภูสูตรที่ ๖
อรรถกถากามภูสูตรที่ ๖
กามภูสูตรที่ ๖ ง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถากามสูตรที่ ๖
๗. อุทายีสูตร
ว่าด้วยปัญหาของพระอุทายีภิกษุ
[๓๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายี อยู่ ณ
โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่

354
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 355 (เล่ม 28)

พักแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ กายนี้ พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสบอกเปิดเผย ประกาศแล้วโดยปริยายต่าง ๆ ว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ กายนี้เป็นอนัตตาดังนี้ ฉันใด แม้วิญญาณนี้ ท่านอาจจะบอก แสดง
บัญญัติ ตั้งแต่ เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณ
นี้เป็นอนัตตา ฉันนั้นหรือ.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านพระอุทายี กายนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยปริยายต่าง ๆ ว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ กายนี้เป็นอนัตตา ดังนี้ ฉันใด แม้วิญญาณนี้ ผมอาจจะบอก
แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ฉันนั้น.
[๓๐๑] ท่านพระอุทายี จักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ
และรูปหรือ.
อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยจักษุวิญญาณเกิดขึ้น พึงดับไปหมดสิ้น
หาส่วนเหลือมิได้ จักษุวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ.
อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ.
อา. แม้โดยปริยายนี้แล จักษุวิญญาณนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา
ดังนี้ ฯ ฯ ท่านพระอุทายี มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์หรือ.

355
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 356 (เล่ม 28)

อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยมโนวิญญาณเกิดขึ้น พึงดับไปหมดสิ้น
หาส่วนเหลือมิได้ มโนวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ.
อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ.
อา. ท่านผู้มีอายุ แม้โดยปริยายนี้แล มโนวิญญาณนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณ
นี้เป็นอนัตตา.
[๓๐๒] ท่านพระอุทายี บุรุษต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหา
แก่นไม้ ถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ ใหม่
ในป่านั้น พึงตัดที่โคนต้นแล้วตัดที่ปลาย ครั้นแล้วลอกกาบออก แม้กระพี้
ที่ต้นกล้วยนั้นก็ไม่พบ ที่ไหนจะพบแก่นได้ ฉันใด ท่านพระอุทายี ภิกษุ
จะพิจารณาหาตัวตนหรือสิ่งที่เป็นตัวตนในผัสสายตนะ ๖ ไม่พบ. ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ยืดถือสิ่งไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยืดถือ
ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่ดิ้นรน ก็ดับสนิทจำเพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี.
จบ อุทายีสูตรที่ ๗
อรรถกถาอุทายีสูตรที่ ๗
ในอุทายีสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า อเนกปริยาเยน ได้แก่ โดยเหตุเป็นอันมาก บาลีว่า
อิติปายํ ดังนี้ก็มี. ในสูตรนี้ตรัสอนัตตลักขณะโดยความเป็นของไม่เที่ยง.
จบ อรรถกถาอุทายีสูตรที่ ๗

356
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 357 (เล่ม 28)

๘. อาทิตตปริยายสูตร
ว่าด้วยอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย
[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรม
ปริยายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาทิตต-
ปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงจัก-
ขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิต
โดยอนุพยัญชนะในรูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณ
อันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุ-
พยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้น
ไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์
เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
โสตวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
นิมิตหรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้
ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ
๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะ
จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.

357