No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 627 (เล่ม 26)

กำลังกาย จึงตรัสแล้วอย่างนี้ ก็หามิได้ แต่ทรงหมายถึงการปฏิบัติให้
บริบูรณ์ จึงตรัสอย่างนี้.
ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ :- จีวรนี้ที่เขาห่ม ทาสีชื่อปุณณะทิ้งไว้ใน
ป่าช้าผีดิบ เราเข้าไปสู่ป่าช้านั้นอันมีตัวสัตว์กระจายอยู่ ประมาณทะนาน
หนึ่ง กำจัดตัวสัตว์เหล่านั้นแล้ว ตั้งอยู่ในมหาอริยวงศ์ ถือเอา. ในวันที่
เราถือเอาจีวรนี้ มหาปฐพีในหมื่นจักรวาลส่งเสียงสั่นสะเทือน อากาศนั้น
ส่งเสียง ตฏะ ตฏะ เทวดาในจักรวาลได้ให้สาธุการว่า ภิกษุผู้ถือเอา
จีวรนี้ ควรเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตามธรรมชาติ นั่งอาสนะเดียวเป็น
วัตรตามธรรมชาติ เที่ยวไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรตามธรรมชาติ ท่าน
จักอาจทำให้ควรแก่จีวรนี้ได้ ดังนี้. แม้พระเถระตนเองทรงไว้ซึ่งกำลัง
ช้าง ๕ เชือก. ท่านจึงไม่ตรึกถึงข้อนั้น ใคร่จะทำให้สมควรแก่สุคตจีวร
ด้วยความอุตสาหะว่า เราจักยังการปฏิบัตินั้นให้บริบูรณ์ ดังนี้ จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักครอง ดังนี้. บทว่า ปฏิปชฺชึ
ได้แก่ เราได้ปฏิบัติแล้ว ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการเปลี่ยนจีวรกัน
อย่างนี้แล้ว ทรงครองจีวรที่พระเถระครอง พระเถระครองจีวรของ
พระศาสดา. สมัยนั้น มหาปฐพีสั่นสะเทือนจนถึงน้ำรองแผ่นดิน.
ในบทว่า ภควโต ปุตฺโต เป็นต้น ความว่า พระเถระอาศัย
พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดแล้วโดยอริยชาติ ดังนั้นบุตรของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ชื่อว่าผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เพราะอยู่ในอก ตั้งอยู่
ในบรรพชาและอุปสมบทด้วยอำนาจพระโอวาทออกจากพระโอษฐ์ ชื่อว่า
ผู้เกิดแต่พระธรรมอันธรรมนิรมิตแล้ว เพราะเกิดแต่พระโอวาทธรรม
และเพราะทรงนิมิตด้วยพระโอวาทธรรม ชื่อว่าธรรมทายาท เพราะ

627
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 628 (เล่ม 26)

ควรซึ่งทายาทคือพระธรรมโอวาท หรือทายาทคือโลกุตรธรรม ๙. บทว่า
ปฏิคฺคหิตานิ สาณานิ ปํสุกูลานิ ความว่า รับผ้าบังสุกุลจีวร
อันพระศาสดาทรงครองแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การครอง.
บทว่า สมฺมา วทมาโน วเทยฺย ความว่า เมื่อบุคคลจะพูดให้ถูก
พึงพูดถึงบุคคลใดด้วยคุณเป็นต้นว่า บุตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ
พูดถึงบุคคลนั้นให้ถูกพึงพูดถึงเราว่า เรามีรูปเห็นปานนี้ ดังนี้. บรรพชา
อันพระเถระให้บริสุทธิ์แล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในข้อนี้มีอธิบายว่าท่าน
ผู้มีอายุ อุปัชฌาย์อาจารย์ของผู้ใดไม่ปรากฏ ผู้นั้นอุปัชฌาย์ไม่ อาจารย์
ไม่มี โกนหัวโล้นถือเอาผ้ากาสายะเอง ถึงการนับว่าเขารีตเดียรถีย์หรือ ได้
การต้อนรับตลอดหนทาง ๓ คาวุตอย่างนี้ ได้บรรพชาหรืออุปสมบทด้วย
โอวาท ๓ ได้เปลี่ยนจีวรด้วยกาย ท่านเห็นคำแม้ทุพภาษิตเพียงไรของ
ถุลลนันทาภิกษุณีไหม. พระเถระให้บรรพชาบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้
เพื่อบันลือสีหนาทด้วยอภิญญา ๖ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อหํ โข อาวุโส.
คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถาจีวรสูตรที่ ๑๑
๑๒. ปรัมมรณสูตร
ว่าด้วยสัตว์ตายไปแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด
[๕๒๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปและท่านพระสารีบุตร
อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระ
สารีบุตรออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่

628
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 629 (เล่ม 26)

ครั้นเข้าไปหาแล้วได้ปราศรัยกะท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๕๒๙] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ถามท่าน
พระมหากัสสปว่า ดูก่อนท่านกัสสป สัตว์เมื่อตายไปแล้วเกิดอีกหรือ.
ท่านพระมหากัสสปตอบว่า ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง
พยากรณ์ไว้.
สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้วไม่เกิดอีกหรือ.
ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงพยากรณ์ไว้.
สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้ว เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ.
ก. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้
สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้ว เกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.
ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้.
สา. เพราะเหตุไรหรือ ข้อที่กล่าวถึงนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้.
ก. เพราะข้อนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติ
พรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหมายหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้.
[๕๓๐] สา. ถ้าเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้
อย่างไรเล่า.
ก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่ง
ทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์.

629
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 630 (เล่ม 26)

สา. ก็เพราะเหตุไร ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ไว้.
ก. เพราะข้อนั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติ
พรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อ
เข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ไว้.
จบปรัมมรณสูตรที่ ๑๒
อรรถกถาปรัมมรณสูตรที่ ๑๒
พึงทราบวินิจฉัยในปรัมมรณสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ตถาคโต คือ สัตว์. บทว่า น เหตํ อาวุโส อตฺถสญฺหิตํ
ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ข้อนั้นคือทิฏฐิไม่อิงประโยชน์. บทว่า นาทิพฺรหฺม-
จริยกํ ความว่า ไม่เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.
บทว่า เอตญฺหิ อาวุโส อตฺถสญฺหิตํ ความว่า ข้อนั้น คือสัจจ-
กัมมัฏฐาน ๔ อิงประโยชน์. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกํ ข้อนั้น คือ
เบื้องต้น ได้แก่ข้อปฏิบัติเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.
จบอรรถกถาปรัมรณสูตรที่ ๑๒
๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป
[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้น ท่านพระ-

630
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 631 (เล่ม 26)

มหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระมหากัสสปนั่ง
เรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระ
อรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก
และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย.
[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป ข้อนั้นเป็น
อย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบท
จึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่
เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และ
สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไป
ทองเทียมยิ่งไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่
หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไปฉันใด
พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบ
นั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลื่อนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด
เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป.
[๕๓๓] ดูก่อนกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่
ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้
ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากเกิด ขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป
เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่
เลือนหายไป ด้วยประการฉะนี้.
[๕๓๔] ดูก่อนกัสสป เหตุฝ่ายดำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็น

631
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 632 (เล่ม 26)

ไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ
ฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ใน
พระสงฆ์ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุฝ่ายดำ ๕ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือนเพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม.
[๕๓๕] ดูก่อนกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไป
พร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ
๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัย
นี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑
ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.
จบสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓
จบกัสสปสังยุตที่ ๔
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สันตุฏฐสูตร ๒. อโนตตัปปิสูตร ๓. จันทูปมสูตร
๔. กุลูปกสูตร ๕. ชิณณสูตร ๖. ปฐมโอวาทสูตร
๗. ทุติยโอวาทสูตร ๘. ตติยโอวาทสูตร ๙. ฌานาภิญญาสูตร
๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร ๑๑. จีวรสูตร ๑๒. ปรัมมรณสูตร
๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร.

632
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 633 (เล่ม 26)

อรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓
พึงทราบวินิจฉัยในสัทธรรมปฏิรูปสูตรที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺญาย สณฺฐหึสุ ภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผล. บทว่า
สพฺธมฺมปฏิรูปกํ ได้แก่ สัทธรรมปฏิรูป ๒ คือ สัทธรรมปฏิรูปคือ
อธิคม ๑ สัทธรรมปฏิรูปคือปริยัติ ๑. ในสัทธรรมปฏิรูปกะนั้น
ฐานะ ๑๐ เหล่านี้คือ จัดย่อมหวั่นไหว ด้วยฐานะ.
เหล่าใด คือหวั่นไหวในโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
สุข และหวั่นไหวในอธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ
อุเบกขาอาวัชชนะ อุเบกขานิกันติ ปัญญาอันผู้ใด
อบรมแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาดในความฟุ้งซ่านใน
ธรรม จะไม่ถึงความลุ่มหลง ดังนี้.
นี้ชื่อว่าอธิคม คือสัทธรรมปฏิรูปกะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนาญาณ.
ส่วนคำมิใช่พระพุทธพจน์มีคุฬหวินัย คุฬหเวสสันดร คุฬหมโหลถ
วัณณปิฎก อังคุลิมาลปิฎก พระรัฐบาลคัชชิตะ ความกระหึ่มของ
อาฬวกคัชชิตะ เวทัลลปิฎกเป็นต้น นอกจากกถาวัตถุ ๔ เหล่านี้ คือ
ธาตุกถา อารัมมณกถา อสุภกถา ญาณวัตถุกถา วิชชากรัณฑกะ ซึ่งยัง
ไม่ยกขึ้นสู่สังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง ชื่อว่า สัทธรรมปฏิรูปคือปริยัติ. บทว่า
ชาตรูปปฏิรูปกํ ความว่า ทองคำทำด้วยทองเหลืองอันนายช่างทอง
เจียระไนออกเป็นเครื่องประดับ. ก็ในเวลามีมหรสพ คนทั้งหลายไปร้านค้า
ด้วยคิดว่า เราจักรับเครื่องอาภรณ์ ดังนี้. ครั้งนั้น พ่อค้าพูดกับพวก
เขาอย่างนี้ว่า ถ้าท่านต้องการอาภรณ์เชิญรับอาภรณ์เหล่านี้. เพราะ

633
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 634 (เล่ม 26)

อาภรณ์เหล่านี้หนา สีงาม ราคาก็ถูกด้วย. คนเหล่านั้น ฟังพ่อค้า
เหล่านั้น รับเอาอาภรณ์เหล่านั้นไปด้วยคิดว่า พ่อค้าเหล่านี้บอกเหตุว่า
ท่านใช้อาภรณ์เหล่านี้เล่นนักกษัตรได้ งามก็งาม ทั้งราคาก็ถูก ดังนี้.
ทองคำธรรมชาติ เขาไม่ขาย ฝั่งเก็บเอาไว้. เมื่อทองเทียมเกิดขึ้น
ทองคำธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่าหายไปอย่างนี้.
บทว่า อถ สทฺะมฺมสฺส อนฺตรธานํ โหติ ได้แก่ สัทธรรม
แม้ ๓ อย่างคือ อธิคมสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม ปริยัติสัทธรรม
ย่อมอันตรธาน. ก็ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุได้เป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทา.
ครั้นเมื่อกาลล่วงไป ถึงปฏิสัมภิทาไม่ได้ แต่ก็ได้อภิญญา ๖ ต่อมาเมื่อ
ถึงอภิญญา ๖ ไม่ได้ ก็ถึงวิชชา ๓. เมื่อล่วงมาบัดนี้ เมื่อถึงวิชชา ๓
ไม่ได้ จักถึงซึ่งเพียงความสิ้นไปแห่งอาสวะ เมื่อถึงแม้ความสิ้นอาสวะ
ไม่ได้ ก็จักบรรลุอนาคามิผล เมื่อบรรลุแม้อนาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จัก
บรรลุสกทาคามิผล เมื่อแม้บรรลุสกทาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จักบรรลุแม้
โสดาปัตติผล. เมื่อเวลาผ่านไป จักบรรลุแม้โสดาปัตติผลก็ไม่ได้. ครั้งนั้น
ในกาลใด วิปัสสนาจักเริ่มเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ ในกาลนั้น
อธิคมสัทธรรมของพวกภิกษุเหล่านั้น จักชื่อว่าเสื่อมหายไป.
ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุยังการปฏิบัติอันสมควรแก่ปฏิสัมภิทา ๔
ให้บริบูรณ์ เมื่อกาลล่วงไป เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ ก็ปฏิบัติอันสมควร
แก่อภิญญา ๖ ได้บริบูรณ์ เมื่อปฏิบัติข้อนั้นแม้ไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควร
แก่วิชชา ๓ ได้บริบูรณ์ เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควรแก่พระ
อรหัตผลได้บริบูรณ์ เมื่อกาลผ่านไป เมื่อปฏิบัติอันสมควรแก่พระอรหัต

634
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 635 (เล่ม 26)

ไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระอนาคามิผลได้บริบูรณ์ ปฏิบัติ
แม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระสกทาคามิผลได้บริบูรณ์
เมื่อปฏิบัติแม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่โสดาปัตติผลได้
บริบูรณ์. ส่วนในกาลใด เมื่อปฏิบัติอันสมควรแม้แก่พระโสดาปัตติผล
ไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์. ในกาลนั้น ปฏิบัติสัทธรรม
จักชื่อว่าเสื่อมหายไป.
จะกล่าวว่า ศาสนาไม่อันตรธานตลอดเวลาที่พระไตรปิฎกพุทธพจน์
ยังเป็นไปอยู่ ดังนี้ก็ควร. อีกอย่างหนึ่ง ๓ ปิฎกยังดำรงอยู่ เมื่ออภิธรรม
ปิฎกเสื่อมหายไป ปิฎก ๒ นอกนี้ก็ยังเป็นไปอยู่ ไม่ควรกล่าวว่า ศาสนา
อันตรธานแล้วดังนี้. เมื่อปิฎก ๒ เสื่อมหายไป ก็ยังดำรงอยู่เพียงวินัยปิฎก
แม้ในวินัยปิฎกนั้นเมื่อขันธกบริวารเสื่อมหายไป ก็ดำรงอยู่เพียงอุภโตวิภังค์
เมื่อมหาวินัยเสื่อมหายไป เมื่อปาติโมกข์สองยังเป็นไปอยู่ ศาสนาอัตรธาน
ก็หามิได้แล. แต่เมื่อใดปาติโมกข์สองจักเสื่อมหายไป เมื่อนั้นปริยัติ-
สัทธรรมจักอันตรธาน. เมื่อปริยัติสัทธรรมนั้นเสื่อมหายไป ศาสนาชื่อว่า
อันตรธานแล้ว. ด้วยว่าเมื่อปริยัติเสื่อมหายไป การปฏิบัติก็เสื่อมหายไป
เมื่อการปฏิบัติเสื่อมหายไป อธิคมก็เสื่อมหายไป. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า ปริยัตินี้เป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นปัจจัยแก่อธิคม.
แต่เมื่อว่าโดยการปฏิบัติกำหนดปริยัติเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ในสมัยกัสสปสัมมาสัมพุทธะ อนาจาร๑ภิกษุชื่อกบิล จับ
พัดนั่งบนอาสนะด้วยคิดว่า เราจักสวดปาติโมกข์ดังนี้ จึงถามว่า ในที่นี้ผู้
สวดปาติโมกข์ได้มีอยู่หรือ. ครั้งนั้น ภิกษุแม้เหล่าใดสวดปาฏิโมกข์
๑. ม. อนาราธกภิกฺขุ = ภิกษุผู้มิได้รับอาราธนา.

635
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 636 (เล่ม 26)

ได้ก็จริง ถึงกระนั้นภิกษุเหล่านั้นก็ไม่พูดว่า พวกเราสวดได้ แต่พูดว่า
พวกเราสวดไม่ได้ ดังนี้ เพราะกลัวแก่ภิกษุนั้น เธอวางพัดลุกจาก
อาสนะไปแล้ว. ถามว่า ในกาลนั้น ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธะ
เสื่อมแล้วมิใช่หรือ. ตอบว่า เสื่อมแม้ก็จริง ถึงกระนั้นก็กำหนดปริยัติ
โดยส่วนเดียว. เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีขอบมั่นคง ไม่พึงกล่าวว่า
น้ำจักไม่ขังอยู่ ดังนี้ เมื่อมีน้ำ ไม่พึงกล่าวว่า ดอกไม้ มีดอกปทุมเป็นต้น
จักไม่บาน ดังนี้ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อมีพระไตรปิฎกคือพุทธพจน์
เป็นเช่นขอบอันมั่นคงของสระน้ำใหญ่ ไม่พึงกล่าวว่า ไม่มี กุลบุตรยัง
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ เป็นเช่นน้ำในสระน้ำใหญ่ ดังนี้. แต่กำหนดถึง
ปริยัติ โดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า เมื่อกุลบุตรเหล่านั้น มีอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า
พระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่มี เหมือนดอกไม้มีดอกปทุม
เป็นต้น ในสระน้ำใหญ่ ไม่มีฉะนั้น.
บทว่า ปฐวีธาตุ ได้แก่ มหาปฐพีหนาได้สองแสนสี่หมื่นนหุต.
บทว่า อาโปธาตุ ได้แก่ น้ำอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินท่วมสูง
ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นสุภกิณหา. บทว่า เตโชธาตุ ได้แก่ ไฟอัน
ยังกัปให้พินาศ เริ่มแต่แผ่นดินไหม้ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสรา.
บทว่า วาโยธาตุ ได้แก่ ลมอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินพัดขึ้นไป
จนถึงพรหมโลกชั้นเวหัปผลา ในธรรมมีปฐวีธาตุเป็นต้นนั้นแม้ธรรม
อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะยังสัตถุศาสน์ให้อันตรธานได้ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อิเธว เต อุปปชฺชนฺติ โมฆบุรุษ
เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในศาสนาของเรานี้นี่แหละ เหมือนสนิมเกิดแต่เหล็ก
กัดกร่อนเหล็กฉะนั้น. บทว่า โมฆปุริสา คือ บุรุษเปล่า.

636