No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 658 (เล่ม 2)

แม้ในเรื่องภิกษุณี เรื่องสิกขมานา เรื่องสามเณร เรื่องสามเณรีเปรต ก็
วินิจฉัยนี้เหมือนกัน.
[เรื่องแม่น้ำตโปทา]
ในเรื่องแม่น้ำตโปทา พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อจฺโฉทโก
แปลว่า มีน้ำใส.
บทว่า สีโตทโก แปลว่า มีน้ำเย็น.
บทว่า สาโตทโก แปลว่า มีน้ำรสอร่อย
บทว่า เสโตทโก แปลว่า มีน้ำบริสุทธิ์ คือ ไม่มีสาหร่ายแหน
และเปือกตม.
บทว่า สุติฏฺโฐ คือ เช้าถึงแล้วด้วยท่าทั้งหลายที่ดี.
บทว่า รมณีโย แปลว่า น่าให้เกิดความยินดี.
บทว่า จกฺกมตฺตานิ แปลว่า มีประมาณเท่าล้อรถ.
ข้อว่า กุฏฺฐิตา สนฺทติ ความว่า เป็นแม่น้ำร้อนจัด เดือดพล่าน
ไหลไปอยู่.
บทว่า ยตายํ ภิกฺขเว ตัดบทเป็น ยโต อยํ ภิกฺขเว แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ที่ใด ... ?
บทว่า โส ทโห แปลว่า ห้วงน้ำนั้น.
ถามว่า ก็แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ที่ไหน ?
แก้ว่า ได้ยินว่า ภายใต้ภูเขาเวภารบรรพต มีภพนาคประมาณ ๕๐๐
โยชน์ ของพวกนาคผู้อยู่บนภาคพื้น เช่นกับเทวโลกประกอบด้วยพื้นอันสำเร็จ
ด้วยแก้วมณี และด้วยอาราม และอุทยาน. ห้วงน้ำนั้น อยู่ในที่เล่นของพวกนาค
ในภพนาคนั้น. แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ห้วงน้ำนั้น.

658
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 659 (เล่ม 2)

ข้อว่า ทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนุตริกาย อาคจฺฉติ ความว่า
ได้ยินว่า มหาเปตโลกผ่านเมืองราชคฤห์มา, แม่น้ำตโปทานี้มาจากระหว่าง
มหาโลหกุมภีนรก ๒ ขุมในมหาเปตโลกนั้น ; ฉะนั้น จึงเดือดพล่านไหลไปอยู่.
[เรื่องการรบ]
ในเรื่องการรบ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า นนฺทิ จรติ ได้แก่
ตีกลองพิชัยเภรีเที่ยวประกาศไป.
ข้อว่า ราชา อาวุโส ลิจฺฉวีหิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระนั่ง
ในที่พักกลางวันและที่พักกลางคืนของตนเห็นพวกเจ้าลิจฉวีผู้มีผีมือชำนาญ
ยิงได้แม่นยำ เมื่อคำนึงว่า ก็พระราชาทรงก่อสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
ได้เห็นพระราซาทรงปราชัย หนีไปอยู่ ด้วยทิพยจักษุ. ลำดับนั้น พระเถระ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของพวกท่าน ทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว.
คำว่า สจฺจํ ภิกฺขเว โมคฺคลฺลาโน อาห ความว่า โมคคัลลานะ
เมื่อคำนึงในเวลาพระราชาทรงปราชัย กล่าวสิ่งที่ตนเห็น ชื่อว่ากล่าวจริง.
[เรื่องช้างลงน้ำ]
ในเรื่องช้างลงน้ำ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า สปฺปินิกาย คือ
แม่น้ำที่มีชื่ออย่างนี้.
บทว่า อเนญฺชํ สมาธึ ได้แก่ จตุตถฌานสมาธิ อันเป็นอเนญชะ
คือ ไม่หวั่นไหว เว้นจากความดิ้นรนทางกายและวาจา.
บทว่า นาคานํ แปลว่า แห่งช้างทั้งหลาย.
ข้อว่า โอคาหํ อุตฺตรนฺตานํ ความว่า ลงน้ำแล้ว ขึ้นอีก. ได้ยินว่า
ช้างเหล่านั้นลงน้ำลึกแล้ว อาบและดื่มในน้ำนั้น เอางวงดูดน้ำแล้วพ่นใส่กัน
และกันจึงขึ้นไป. มีคำอธิบายว่า แห่งช้างเหล่านั้น ตัวลงน้ำแล้วขึ้นอยู่อย่างนี้.

659
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 660 (เล่ม 2)

ข้อว่า โกญฺจํ กโรนฺตานํ ความว่า ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้าสอดงวง
เข้าในปากแล้ว ทำเสียงดังนกกระเรียน.
คำว่า สทฺทํ อสฺโสสึ ความว่า เราได้ยินเสียงโกญจนาทนั้น.
ข้อว่า อตฺเถโส ภิกฺขเว สมาธิ โส จ โข อปริสุทฺโธ
ความว่า สมาธินั่นของโมคคัลลานะ มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล เป็นของไม่บริสุทธิ์.
ได้ยินว่า พระเถระ ในวันที่ ๗ แต่เวลาบวช ได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้น
ยังไม่มีวสี (ความชำนาญ) อันประพฤติแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่าง ในสมาบัติ
๘ ยังมิได้ยังธรรมอันเป็นช้าศึกต่อสมาธิให้บริสุทธิ์ด้วยดี นั่งเข้าจตุตถฌานแน่ว
แน่ กระทำให้มีเพียงแต่สัญญาแห่งการนึก การเข้า การตั้งใจ การออก และ
การพิจารณาเท่านั้น ออกจากองค์ฌานแล้ว ได้ยินเสียงแห่งช้างทั้งหลาย ได้
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราได้ยินเสียงภายในสมาบัติ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมาธินั่น มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล
ไม่บริสุทธิ์.
[เรื่องพระโสภิตะ]
ในเรื่องพระโสภิตะ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ข้อว่า อหํ
อาวุโส ปญฺจกปฺปสตานิ อนุสฺสรามิ ความว่า พระเถระกล่าวว่า เรา
ระลึกชาติได้ ด้วยอาวัชชนจิตเดียว. ก็เมื่อถือเอาความอีกอย่างหนึ่ง การระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในอดีตนั้น ๆ ด้วยอาวัชชนจิตต่าง ๆ กัน โดยลำดับ ของ
พระสาวกทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์ ; เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยกโทษ.
แต่เพราะพระโสภิตะนั้นกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ด้วยอาวัชชนจิตเดียว ดังนี้ ;
เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงยกโทษ.

660
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 661 (เล่ม 2)

ข้อว่า อตฺเถสา ภิกฺขเว โสภิตสฺส สา จ โข เอกาเยว ชาติ
ความว่า ชาติที่โสภิตะกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ ดังนี้ ของโสภิตะ มีอยู่, ก็แล
ชาตินั้นมีเพียงชาติเดียวเท่านั้น อธิบายว่า โสภิตะ มิได้ระลึกโดยผิดลำดับ
ไม่ติดต่อกัน.
ถามว่า พระโสภิตะนี้ระลึกชาติได้อย่างไร ?
แก้ว่า ได้ยินว่า พระโสภิตะนี้ บวชในลัทธิเดียรถีย์ ยังสัญญีสมาบัติ
ให้บังเกิดแล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมทำกาละแล้ว บังเกิดในอสัญญีภพกว่า
๕๐๐ กัป. ท่านอยู่โนอสัญญีภพนั้นตราบเท่าชนมายุในที่สุด อุบัติในมนุษยโลก
แล้วบวชในพระศาสนาได้ทำวิชา ๓ ให้แจ้ง ท่านเมื่อระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในกาลก่อน เห็นปฏิสนธิในอัตภาพนี้ ต่อจากนั้น ได้เห็นเฉพาะจุติใน
อัตภาพที่ ๓. ลำดับนั้นท่านไม่อาจระลึกถึงอัตภาพอันไม่มีจิตในระหว่างจุติและ
ปฏิสนธิทั้ง ๒ ได้ จึงได้กำหนดโดยนัยว่า เราบังเกิดในอสัญญีภพแน่นอน.
พระโสภิตเถระนั้น กำหนดได้อยู่อย่างนี้ได้กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก เหมือนกับ
แยงปลายแห่งขนทรายที่ผ่าเป็น ๗ ส่วนเข้ากับปลาย เหมือนกับการแสดงรอย
เท้าในอากาศ ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ไนตำแหน่ง
เลตทัคคะ ในเพราะเรื่องนี้นั่นแหละว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บรรดา
ภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรา ผู้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยในกาลก่อน
โสภิตะนี้ เป็นเลิศ* ดังนี้.
[บทสรุปปาราซิก]
คำว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม คือ ปาราชิก ๔
ข้าพเจ้ายกขึ้นสวดแล้วแล นี้ เป็นคำแสดงถึงปาราชิกที่ยกขึ้นแสดงใน
* องฺ เอก. ๒๐/๓๒

661
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 662 (เล่ม 2)

ปาราชิกุทเทสนี้นั่นแล. แต่ประมวลกันเข้าแล้ว พึงทราบปาราชิกทั้งหมด
ทีเดียว ว่ามี ๒๔ อย่าง. ๒๔ อย่าง คืออะไรบ้าง ? คือ ที่มาในพระบาลี ๘
อย่างก่อน คือของพวกภิกษุ ๔ เฉพาะของพวกนางภิกษุณี ๔. อภัพบุคคล
๑๑ จำพวก. บรรดาอภัพบุคคล ๑๑ จำพวกเหล่านั้น บัณเฑาะก์ สัตว์
ดิรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก ๓ จำพวก เป็นพวกอเหตุกปฏิสนธิ จัดเป็น
พวกวัตถุวิบัติ. พวกวัตถุวิบัติเหล่านั้น ไม่ถูกห้ามสวรรค์ แต่ถูกห้ามมรรค.
จริงอยู่ บัณเฑาะก์เป็นต้นเหล่านั้น จัดเป็นอภัพบุคคลสำหรับการได้มรรค
เพราะเป็นพวกวัตถุวิบัติ ถึงการบรรพชาสำหรับพวกเขา ก็ทรงห้ามไว้.
เพราะฉะนั้น บัณเฑาะก์เป็นต้นแม้เหล่านั้น จึงจัดเป็นผู้พ่ายแพ้ (เป็นปาราชิก).
บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ คือ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ คนฆ่ามารดา คน
ฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ สามเณรผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี คนทำโลหิตุปบาท
ภิกษุผู้ทำสังฆเภท ชื่อว่าถึงฐานะเป็นอภัพบุคคล เพราะเป็นผู้วิบัติ ด้วยการ
กระทำของคน เพราะฉะนั้น จึงจัดเป็นผู้พ่ายแพ้ด้วย. บรรดาบุคคล ๘ จำพวกนั้น
สำหรับบุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ คือ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ สามเณร
ผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี ไม่ถูกห้ามสวรรค์ แต่ถูกห้ามมรรคแท้. อีก ๕ จำพวก
ถูกห้ามแม้ทั้ง ๒ อย่าง. เพราะว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นจำพวกสัตว์ที่จะต้องเกิด
ในนรก ไม่มีระหว่าง. อภัพบุคคล ๑๑ จำพวกเหล่านี้ และบุคคลผู้เป็น
ปาราชิก ๘ ข้างต้น จึงรวมเป็น ๑๙ ด้วยประการฉะนี้ แม้บุคคลเหล่านั้น
รวมกับนางภิกษุณีผู้ยังความพอใจให้เกิดในเพศคฤหัสถ์ แล้วนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
จึงรวมเป็น ๒๐. จริงอยู่ นางภิกษุณีนั้น ถึงจะไม่ได้กระทำการล่วงละเมิด
ด้วยอัชฌาจาร ก็จัดว่า ไม่เป็นสมณีได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ; เพราะเหตุนั้น
ปาราชิกเหล่านี้ จึงมี ๒๐ ก่อน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อนุโลมปาราชิก

662
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 663 (เล่ม 2)

แม้อย่างอื่น ยังมีอีก ๔ ด้วยอำนาจภิกษุ ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ ภิกษุมีองค์
กำเนิดยาว (ปรารถนาจะเสพเมถุนธรรม จึงสอดองค์กำเนิดเข้าไปทางวัจจมรรค
ของคน) ๑ ภิกษุมีหลังอ่อน (ปรารถนาจะเสพเมถุนธรรม ก้มลงอมองค์
กำเนิดของตน) ๑ ภิกษุเอาปากอมองค์กำเนิดของผู้อื่น ๑ ภิกษุนั่งสวมองค์
กำเนิดของผู้อื่น ๑. ก็เพราะเหตุที่ธรรมของคน ๒ คน ผู้เข้าถึงความเป็น
เช่นเดียวกัน ด้วยอำนาจราคะ ตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม ; ฉะนั้น ปาราชิก
๔ เหล่านี้ ชื่อว่า ย่อมอนุโลมแก่เมถุนธรรมปาราชิก โดยปริยายนี้ เพราะ
ภิกษุ ๔ จำพวกนั้น ถึงจะไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ก็พึงต้องอาบัติได้ ด้วย
อำนาจการยังมรรคให้เข้าไปทางมรรคอย่างเดียว ; เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า
อนุโลมปาราชิก ฉะนี้แล. พึงประมวลอนุโลมปาราชิก ๔ เหล่านี้ และปาราชิก
๒๐ ประการข้างต้นเข้าด้วยกันแล้ว ทราบปาราชิกทั้งหมดทีเดียว ว่ามี ๒๔ อย่าง
ด้วยประการฉะนี้
ข้อว่า น ลภติ ภิกฺขูหิ สทฺธึ สํวาสํ มีความว่า ย่อมไม่ได้สังวาส
ต่างโดยประเภท มีอุโบสถ ปวารณา ปาฏิโมกขุทเทส และสังฆกรรมกับด้วย
ภิกษุทั้งหลาย.
ข้อว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา มีความว่า ในกาลก่อน คือ ใน
เวลาเป็นคฤหัสถ์และเวลาที่ยังมิได้อุปสมบท (ย่อมเป็นผู้ไม่มีสังวาส) ฉันใด,
ภายหลังแม้ต้องปาราชิกแล้ว ก็เป็นผู้ไม่มีสังวาส ฉันนั้นเหมือนกัน. สังวาส
ต่างโดยประเภทมี อุโบสถ ปวารณา ปาฏิโมกขุทเทส และสังฆกรรม กับ
ด้วยภิกษุทั้งหลาย ของภิกษุนั้น ไม่มี; เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ย่อมไม่ได้สังวาสกับด้วยภิกษุทั้งหลาย.

663
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 664 (เล่ม 2)

ข้อว่า ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ มีความว่า ข้าพเจ้าขอถามท่าน
ทั้งหลาย ในปาราชิก ๔ เหล่านั้นว่า ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ ?
บทว่า กจฺจิตฺถ ตัดบทว่า กจฺจิ เอตฺถ มีความว่า ในปาราชิก
๔ เหล่านี้ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ ?
อีกประการหนึ่ง สองบทว่า กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา มีความว่า ท่าน
ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ ? บทที่เหลือทุก ๆ แห่งมีเนื้อความตื้น
ทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จตุตถปาราชิกวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
[อธิษฐานคาถาของท่านผู้รจนา]
ขอพระสัทธรรม จงดำรงอยู่สิ้นกาล
นาน ขอฝนจงตกต้องตามฤดูกาล ยังหมู่
สัตว์ให้เอิบอิ่ม สิ้นกาลนาน ขอพระราชา
จงปกครองแผ่นดิน โดยธรรมเทอญ.

664
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 1 (เล่ม 3)

พระวินัยปิฏก
เล่ม ๑ ภาค ๓
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เตรสกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทเหล่านี้แล
มาสู่อุเทศ.
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระเสยยสกะ
[๓๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
ท่านพระเสยยสกะ ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความกระสันนั้น
เธอจึงซูบผอมเศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีร่างกาย
สะพรั่งด้วยเอ็น ท่านพระอุทายีได้เห็นท่านพระเสยยสกะ ซูบผอมเศร้า-
หมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีร่างกายสะพรั่งด้วยเอ็น
ครั้นแล้วจึงได้ถามว่า อาวุโส เสยยสกะ เพราะเหตุไร คุณจึงซูบผอม
เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีร่างกายสะพรั่งด้วยเอ็น
คุณจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์กระมังหนอ

1
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 2 (เล่ม 3)

ท่านพระเสยยสกะรับสารภาพว่า จริงอย่างนั้น ขอรับ
ท่านพระอุทายีแนะนำว่า ดูก่อนคุณเสยยสกะ ถ้าอย่างนั้น คุณจง
ฉันอาหารให้พอแก่ความต้องการ จำวัดให้พอแก่ความต้องการ สรงน้ำ
ให้พอแก่ความต้องการ ครั้นฉันอาหาร จำวัด สรงน้ำ พอแก่ความ
ต้องการแล้ว เมื่อใดความกระสันบังเกิดแก่คุณ ราคะรบกวนจิตคุณ
เมื่อนั้นคุณจงใช้มือพยายามปล่อยอสุจิ
เส. ทำเช่นนั้น ควรหรือ ขอรับ
อุ. ควรชิ คุณ แม้ผมก็ทำเช่นนั้น
ต่อมา ท่านพระเสยยสกะฉันอาหารพอแก่ความต้องการ จำวัดพอ
แก่ความต้องการ สรงน้ำพอแก่ความต้องการ ครั้นฉันอาหาร จำวัด
สรงน้ำพอแก่ความต้องการแล้ว เมื่อใดความกระสันบังเกิด ราคะรบกวน
จิต เมื่อนั้นก็ใช้มือพยายามปล่อยอสุจิ สมัยต่อมา ท่านเสยยสกะได้เป็นผู้
มีผิวพรรณ มีอินทรีย์อิ่มเอิบ มีสีหน้าสดใส มีฉวีวรรณผุดผ่อง จึงพวก
ภิกษุสหายของท่านพระเสยยสกะถามท่านพระเสยยสกะว่า อาวุโส เสยยสกะ
เมื่อก่อนคุณซูบผอมเศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีร่าง-
กายสะพรั่งด้วยเอ็น เดี๋ยวนี้คุณมีผิวพรรณ มีอินทรีย์อิ่มเอิบ มีสีหน้าสดใส
มีฉวีวรรณผุดผ่อง คุณทำอะไรฉันหรือ
เส. ผมไม่ได้ทำยาฉัน แต่ผมฉันอาหารพอแก่ความต้องการ จำวัด
พอแก่ความต้องการ สรงน้ำพอแก่ความต้องการ ครั้นฉันอาหาร สรงน้ำ
จำวัดพอแก่ความต้องการแล้ว เมื่อใดความกระสันบังเกิดแก่ผม ราคะ
รบกวนจิตผม เมื่อนั้นผมก็ใช้มือพยายามปล่อยอสุจิ

2
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 3 (เล่ม 3)

ภิ. อาวุโส เสยยสกะ คุณพยายามปล่อยอสุจิ ด้วยมือซึ่งเป็นเครื่อง
ฉันอาหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาเทียวหรือ
เส. เป็นอย่างนั้น ขอรับ
บรรดาภิกษุที่มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระเสยยสกะ
จึงได้ใช้มือพยายามปล่อยอสุจิเล่า ภิกษุเหล่านั้น พากันติเตียนท่านพระ-
เสยยสกะโดยอเนกปริยาย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
เสยยสกะว่า ดูก่อนเสยยสกะ ข่าวว่า เธอใช้มือพยายามปล่อยอสุจิ
จริงหรือ
ท่านเสยยสกะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้ใช้มือพยายามปล่อยอสุจิเล่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อ
คลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่
เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่
หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด
เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจัก

3