No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 511 (เล่ม 24)

ดังนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำที่ตรัสนั้น เป็น
คำตรัสที่ชอบ เป็นของอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว.
[๔๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น มหาบพิตร
ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น มหาบพิตร สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความตายเป็นธรรมดา
มีความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้เลย ดูก่อนมหาบพิตร ภาชนะ
ดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งที่ดิบทั้งที่สุก ภาชนะดินเหล่านั้นทั้งหมด มีความ
แตกเป็นธรรมดา มีความแตกเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความแตกไปได้เลย แม้
ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความตายเป็นธรรมดา มี
ความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้เลย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๔๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณคำ
ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมี
ความตายเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายจักไปตาม
กรรม เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป คือผู้มี
กรรมเป็นบาป จักไปสู่นรก ส่วนผู้มีกรรม
เป็นบุญ จักไปสู่สุคติ.
เพราะฉะนั้น เมื่อสั่งสมกรรมอันมี
ผลในภายหน้าพึงทำแต่กรรมงามนี้ บุญ
ทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
ในปรโลก.

511
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 512 (เล่ม 24)

อรรถกถาอัยยิกาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัยยิกาสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า ชิณฺณา ได้แก่ แก่เพราะชรา. บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่
เจริญโดยวัย. บทว่า มหลฺลิกา ได้แก่ แก่เฒ่าโดยชาติ. บทว่า อทฺธคตา
ได้แก่ ล่วงกาลไกล คือกาลนาน. บทว่า วโยอนุปฺปตฺตา ได้แก่ถึงปัจฉิมวัย.
บทว่า ปิย มนาปา ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระชนนีของพระราชาทิวงคต
แล้ว พระราชาก็ทรงสถาปนาพระอัยยิกาไว้ในตำแหน่งพระชนนีแล้วทรงทนุ-
บำรุง ด้วยเหตุนั้น ท้าวเธอจึงทรงมีความรักแรงกล้าในพระอัยยิกา เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า หตฺถิรตเนน ความว่า ช้างมีค่าแสนหนึ่ง
ประดับด้วยเครื่องประดับมีค่าแสนหนึ่ง ชื่อว่า หัตถิรัตนะ. แม้ในอัสสรัตนะ
ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้บ้านส่วย ก็คือหมู่บ้านที่มีรายได้เกิดขึ้นแสนหนึ่งนั่นเอง.
บทว่า สพฺพานิ ตานิ เภทนธมฺมานิ ความว่า บรรดาภาชนะของช่างหม้อ
เหล่านั้น ภาชนะบางอันที่ช่างหม้อกำลังทำอยู่นั่นแหละ ย่อมแตกได้ บางอัน
ทำเสร็จแล้ว เอาออกจากแป้นหมุนก็แตก บางอันเอาออกแล้วพอวางลงที่พื้น
ก็แตก บางอันอยู่ได้เกินไปกว่านั้นก็แตก แม้ในสัตว์ทั้งหลาย ก็อย่างนั้นเหมือน
กัน บางคนเมื่อมารดาตายทั้งกลม ไม่ทันออกจากท้องมารดาก็ตาย บางคนพอ
ตลอดก็ตาย บางคนอยู่ได้เกินไปกว่านั้นก็ตาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้.
จบอรรถกถาอัยยิกาสูตรที่ ๒

512
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 513 (เล่ม 24)

๓. โลกสูตร
[๔๐๒] สาวัตถีนิทาน.
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ธรรมเท่าไรหนอแลเมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิด
ขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่าง
เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่สำราญ ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน.
๑. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโลภะความโลภ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
๒. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโทสะความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
๓. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโมหะความหลง เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่างนี้แล เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิด
ขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.
[๔๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ
ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า
โลภะ โทสะ และโมหะ อันบังเกิด
แก่ตนย่อมทำลายบุรุษ ผู้มีใจบาป ดุจ
ขุยไผ่ทำลายต้นไฝ่ ฉะนั้น.
อรรถกถาโลกสูตร
ในโลกสูตรที่ ๓ คำทั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

513
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 514 (เล่ม 24)

๔. อิสสัตถสูตร
[๔๐๕] สาวัตถีนิทาน.
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทาน บุคคลควรให้ในที่ไหนหนอ.
พ. ดูก่อนมหาบพิตร ควรให้ในที่ที่จิตเลื่อมใส.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก.
[๔๐๖] พ. ดูก่อนมหาบพิตร ทานควรให้ในที่ไหนนั่นเป็นข้อหนึ่ง
และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก นั่นเป็นอีกข้อหนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร
ทานที่ให้แล้วแก่ผู้มีศีลแลมีผลมาก ทานที่ให้แล้วในผู้ทุศีลหามีผลมากไม่
ดูก่อนมหาบพิตร ด้วยเหตุนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหาบพิตรในปัญหาข้อ
นั้นบ้าง. มหาบพิตรพอพระทัยอย่างใด พึงพยากรณ์อย่างนั้น
[๔๐๗] มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธ์
พึงปรากฏเฉพาะหน้าแด่พระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้าว่าเจ้าหนุ่ม ๆ ผู้ไม่
ได้ศึกษา ไม่ได้หัดมือ ไม่มีความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคน
ขี้ขลาด หวาดสะดุ้ง มักวิ่งหนี พึงมาอาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษ
นั้นหรือ และพระองค์ยังจะทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษเช่นนั้น
และหม่อมฉันไม่ต้องการบุรุษเช่นนั้นเลย.
พ. ถ้าว่า พราหมณ์หนุ่ม ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ
ถ้าว่าแพศย์หนุ่ม ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่าศูทรหนุ่ม
ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ
และพระองค์ยังจะทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.

514
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 515 (เล่ม 24)

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และ
หม่อมฉันไม่พึงต้องการบุรุษเช่นนั้นแล.
[๔๐๘] พ. ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธพึงปรากฏแก่พระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้าว่า
เจ้าหนุ่ม ๆ ผู้ศึกษาดีแล้ว ได้หัดมือแล้ว มีความชำนาญแล้ว ได้ประลอง
การยิงมาแล้ว ไม่เป็นคนขี้ขลาด ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่วิ่งหนี พึงมาอาสาไซร้
พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์พึงทรงต้องการบุรุษเช่น
นั้นหรือ.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และ
หม่อมฉันพึงต้องการบุรุษเช่นนั้น.
พ. ถ้าว่าพราหมณ์หนุ่ม ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ
ถ้าว่า แพศย์หนุ่ม ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่า ศูทรหนุ่ม
ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ พระองค์จะพึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ
และพระองค์จะพึงทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และ
หม่อมฉันพึงต้องการบุรุษเช่นนั้น.
[๔๐๙] พ. ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร แม้หากว่า กุลบุตรออกจาก
เรือนไม่มีเรือน บวชจากตระกูลไร ๆ และกุลบุตรนั้น เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้
แล้ว เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรนั้น ย่อมมีผลมาก
องค์ ๕ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้วเป็นไฉน กามฉันทะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
พยาบาทอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว ถีนมิทธะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว อุทธัจจ-
กุกกุจจะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว วิจิกิจฉาอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว องค์ ๕
เหล่านี้อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นไฉน

515
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 516 (เล่ม 24)

กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ ของพระอเสขะ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์
ของพระอเสขะ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ของพระอเสขะ ประกอบด้วยวิมุตติ-
ขันธ์ของพระอเสขะ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ของพระอเสขะ
กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้
ละองค์ ๕ ได้แล้ว ผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ดังนี้ ย่อมมีผลมาก.
[๕๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์
คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า
ศิลปะธนู กำลังเข้มแข็ง และความ
กล้าหาญมีอยู่ในชายหนุ่มผู้ใด พระราช
ผู้ทรงการยุทธ์ พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่ม
เช่นนั้น ไม่พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่
กล้าหาญ เพราะเหตุแห่งชาติ ฉันใด.
ธรรมะคือขันติ และโสรัจจะ ตั้งอยู่
แล้วในบุคคลใด บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้น
ผู้มีปัญญา มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ
แม้มาชาติต่ำ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์
อาราธนาพระพหูสูตทั้งหลายให้อยู่ ณ ที่นั้น
พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ และ
สร้างสะพานในที่เป็นหล่ม พึงถวาย ข้าว
น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะในท่าน
ผู้ซื่อตรงทั้งหลาย ด้วยน้ำใจอันผ่องใส

516
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 517 (เล่ม 24)

เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ (เมฆอัน
ประกอบด้วยถ่องแถวแห่งสายฟ้า) มียอด
ตั้งร้อยกระหึ่มอยู่ ทำแผ่นดินให้โชกชุ่มอยู่
ย่อมทำที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด.
ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟัง
แล้ว ตกแต่งโภชนาหารเลี้ยงวณิพก ด้วย
ข้าวน้ำให้อิ่มหนำ บันเทิงใจ เที่ยวไปใน
โรงทาน สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่าน
ทั้งหลายจงให้ ดังนี้ และทายกนั้นบันลือ
เสียงเหมือนเสียงกระหึ่มแห่งเมฆ เมื่อฝน
กำลังตก ธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น
ย่อมหลั่งรดทายกผู้ให้ฉันนั้น.

517
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 518 (เล่ม 24)

อรรถกถาอิสสัตถสูตร
การตั้งขึ้นแห่งอิสสัตถสูตรที่ ๔ มีอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องดังนี้ :-
ได้ยินว่า ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์มีลาภ
สักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก. เหล่าเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ ก็เที่ยวพูดไปใน
ตระกูลทั้งหลาย อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เรา
เท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่พวกอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่พึง
ให้ทานแก่เหล่าสาวกของพวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้
แก่พวกอื่น ไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ทานที่ให้
แก่เหล่าสาวกของพวกอื่น ไม่มีผลมาก. แม้ทั้งที่ตนเองก็ยังอาศัยภิกขาจาร
ควรละหรือที่มาทำอันตรายแก่ปัจจัย ๔ ของพวกอื่น ซึ่งก็อาศัยภิกขาจาร
เหมือนกัน พระสมณโคดมทำไม่ถูก ไม่สมควรเลย ถ้อยคำนั้นก็แผ่กระจาย
ไปถึงราชสกุล. พระราชาทรงสดับแล้ว ทรงพระดำริว่า มิใช่ฐานะเลย (เป็น
ไปไม่ได้) ที่พระตถาคตจะพึงทรงทำอันตรายแก่สาวกของตนพวกอื่น มีแต่
คนอื่นเหล่านั้น กระเสือกกระสน เพื่อไม่ให้มีลาภ เพื่อไม่ให้มียศแก่พระตถาคต
ถ้าเรายังอยู่ในที่นี้นี่แหละ ก็จะพึงพูดว่า พวกท่านอย่าพูดอย่างนี้ พระศาสดา
ย่อมไม่ตรัสอย่างนั้น ถ้อยคำนั้น ไม่พึงถึงความไม่มีมลทินโทษ เราจักทำ
ถ้อยคำนั้นให้หมดมลทิน ในเวลาที่มหาชนนี้ชุมนุมกัน จึงทรงนิ่งรอคอยวัน
มหรสพวันหนึ่งอยู่.
สมัยต่อมา เมื่อมหาชนชุมนุมกัน พระราชาทรงพระดำริว่า เวลานี้
เป็นกาลแห่งมหรสพนี้ แล้วโปรดให้ตีกลองประกาศไปในพระนครว่า คน
ทั้งหลายไม่ว่ามีศรัทธาหรือไม่มีศรัทธา เป็นสัมมาทิฏฐิ หรือมิจฉาทิฏฐิ ยกเว้น

518
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 519 (เล่ม 24)

เด็กหรือสตรีเฝ้าเรือน ต้องไปยังพระวิหาร ผู้ใดไม่ไปจะต้องถูกปรับไหม
๕๐ กหาปณะ แม้พระองค์เอง ก็ทรงสรงสนานแต่เช้าตรู่ เสวยพระกระยาหาร
เช้าแล้ว ทรงประดับพระองค์ด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วได้เสด็จไปยัง
พระวิหาร พร้อมด้วยหมู่ทหารหมู่ใหญ่ เมื่อกำลังเสด็จ ทรงพระดำริว่า
เราจักทูลถามปัญหาที่ไม่ควรจะถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เขาว่า
พระองค์ตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่เหล่าสาวกของ
คนพวกอื่น ไม่มีผลมาก ดังนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบปัญหาของเรา
ก็จักทรงทำลายวาทะของเหล่าเดียรถีย์ได้ในที่สุด ท้าวเธอเมื่อทรงทูลถามปัญหา
จึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทานในที่ไหนหนอ. บทว่า
ยตฺถ ความว่า จิตเลื่อมใสในบุคคลใด พึงให้ทานในบุคคลนั้น หรือพึงให้
แก่บุคคลนั้น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ พระราชาก็ทอดพระเนตรดูเหล่า
ผู้คนที่บอกกล่าวคำของเหล่าเดียรถีย์. ผู้คนเหล่านั้นพอสบพระเนตรพระราชา
ก็เก้อเขิน ก้มหน้ายืนเอาหัวนิ้วเท้าขุดพื้นดิน. พระราชาเมื่อจะทรงประกาศ
แก่มหาชน ก็ได้ตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดัง บทเดียวเท่านั้นว่า พวกเดียรถีย์ถูก
ขจัดแล้ว ครั้นตรัสพระดำรัสอย่างนี้แล้ว จึงทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ขึ้นชื่อว่า จิตย่อมเลื่อมใสในเหล่านิครนถ์อเจลกและปริพาชกเป็นต้น
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ทานที่ให้แล้วในคนพวกไหนเล่ามีผลมาก. บทว่า อญฺญํ
โข เอตํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร มหาบพิตรตรัสถาม
ครั้งแรกอย่างหนึ่ง ครั้งหลังก็ทรงกำหนดอีกอย่างหนึ่ง แม้การตอบปัญหานี้
ก็เป็นภาระหน้าที่ของอาตมภาพ จึงตรัสว่า สีลวโต โข เป็นต้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า อิธ ตฺยสฺส แยกเป็น อิธ เต อสฺส การยุทธ์พึงปรากฏ
ต่อมหาบพิตรในที่นี้. บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห แปลว่า ปะทะกันเป็นกลุ่ม ๆ

519
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 520 (เล่ม 24)

บทว่า อสิกฺขิโต ได้แก่ ไม่ศึกษาในธนูศิลป์. บทว่า อกตหตฺโถ ได้แก่
มีมือยังไม่พร้อม โดยการพันมือเป็นต้น. บทว่า อกตโยคฺโค ได้แก่ ยังฝึก
ไม่ชำนาญ ในการกองหญ้ากองดินเป็นต้น. บทว่า อกตุปาสโน ได้แก่
ฝีมือยิงธนูยังมิได้แสดง [ประลอง] ต่อพระราชาและมหาอมาตย์ของพระราชา.
บทว่า ฉมฺภี ได้แก่ มีกายสั่นเทา.
ในบทว่า กามฉนฺโท ปหีโน เป็นต้น กามฉันทะ เป็นอันละได้
ด้วยพระอรหัตมรรค. พยาบาท ละได้ด้วยอนาคามิมรรค. ถีนมิทธะและ
อุทธัจจะ ก็ละได้ด้วยอรหัตมรรคเหมือนกัน กุกกุจจะ ละได้ด้วยมรรคที่ ๓
เหมือนกัน วิจิกิจฉา เป็นอันละได้ด้วยมรรคแรก. บทว่า อเสกฺเขน สีลกฺ-
ขนฺเธน ความว่า สีลขันธ์ของพระอเสกขะ ชื่อว่า สีลขันธ์ ฝ่ายอเสกขะ.
ในบททุกบท ก็นัยนี้. ก็บรรดาบทเหล่านั้น สีลสมาธิปัญญาและวิมุตติ ทั้ง
โลกิยะและโลกุตระ ท่านกล่าวด้วย ๔ บทต้น วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมเป็น
ปัจจเวกขณญาณ ปัจจเวกขณญาณนั้น เป็นโลกิยะเท่านั้น.
บทว่า อิสฺสตฺถํ ได้แก่ ธนูศิลป์. ในบทว่า พลวิริยํ นี้ วาโยธาตุ
ชื่อว่า พละ วิริยะก็คือความเพียรทางกายทางจิต. บทว่า ภเร แปลว่า พึงเลี้ยง.
บทว่า นาสูรํ ชาติปจฺจยา ความว่า ไม่พึงเลี้ยงคนไม่กล้า เพราะถือชาติ
เป็นเหตุ อย่างนี้ว่า ผู้นี้สมบูรณ์ด้วยชาติ.
อธิวาสนขันติ ชื่อว่า ขันติ ในคำว่า ขนฺติโสรจฺจํ นี้. บทว่า
โสรจฺจํ ได้แก่ พระอรหัต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งสองนี้. บทว่า
อสฺสเม แปลว่า ที่อยู่. บทว่า วิวเน แปลว่า ที่เป็นป่า อธิบายว่า พึง
สร้างสระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมเป็นต้นในป่าที่ไม่มีน้ำ. บทว่า ทุคฺเค ได้แก่
ในที่ขลุขละ. บทว่า สงฺกมนานิ ความว่า พึงทำทางเดิน มีทรายสะอาด
เกลี่ยเรียบ ๕๐-๖๐ ศอก.

520