No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 401 (เล่ม 24)

[๓๑๙] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้วได้กล่าว
คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
สัตว์เหล่าใด ขวนขวาย ในความเกลียด
บาปด้วยตบะ รักษาความสงบสงัดอยู่ ติด
อยู่ในรูป ปรารถนาเทวโลก สัตว์เหล่านั้น
ย่อมสั่งสอนชอบ เพื่อปรโลกโดยแท้.
[๓๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัว
ร้ายกาจ จึงได้ตรัสคาถาตอบมารผู้มีบาปว่า
รูปใด ๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น
และจะอยู่ในอากาศ มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที่
รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญแล้ว
วางดักสัตว์ไว้แล้ว เหมือนเขาใส่เหยื่อล่อ
เพื่อฆ่าปลา ฉะนั้น.
[๓๒๑] ลำดับนั้น มาณวคามิยเทพบุตร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ภูเขาเวปุละ เขากล่าวกันว่า สูงเป็น
เยี่ยมกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในกรุงราชคฤห์
เสตบรรพตเป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่า
หิมวันต์ ดวงอาทิตย์เป็นเลิศกว่าสิ่งที่ไป
ในอากาศ มหาสมุทรเป็นเลิศกว่าห้วงน้ำ
ทั้งหลาย ดวงจันทร์เป็นเลิศกว่าดวงดาว
ทั้งหลาย พระพุทธเจ้ากล่าวกันว่าเป็นเลิศ
กว่าประชุมในทั้งโลก พร้อมทั้งเทวโลก.
จบนานาติตถิยสูตร
จบ นานาติตถิยวรรค ที่ ๓

401
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 402 (เล่ม 24)

อรรถกถานานาติตถิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนานาติตถิยสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-
บทว่า นานาติตฺถิยสาวกา ความว่า เทพบุตรสาวกของเดียรถีย์
ต่าง ๆ เหล่านั้น เป็นกัมมวาที นับถือกรรม เพราะฉะนั้น จึงกระทำบุญ
ทั้งหลายมีทานเป็นต้น บังเกิดในสวรรค์ เทพบุตรเหล่านั้น สำคัญว่าเรา
บังเกิดในสวรรค์ เพราะเลื่อมใสในศาสดาของตน จึงมาด้วยหมายใจว่าเราจะ
ไปยืนในสำนักของพระทศพล กล่าวคุณศาสดาของเรา แล้วกล่าวด้วยคาถา
องค์ละ ๑ คาถา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉินฺทิตมาริเต จ หตชานีสุ
ได้แก่ ในการโบย และในการเสื่อมทรัพย์ทั้งหลาย. ด้วยบทว่า ปุญฺญํ วา
ปน อสมเทพบุตร ไม่ตามพิจารณาแม้แต่บุญของตน กล่าวโดยย่อว่า วิบาก
ของบุญและบาปไม่มี ดังนี้. บทว่า ส เว วิสฺสาสมาจิกฺขิ ความ อสม-
เทพบุตรนั้นแล เมื่อกล่าวว่า วิบาก ทั้งของบาปที่ทำแล้ว ทั้งของบุญที่ทำแล้ว
ไม่มี ดังนี้ จึงบอกที่พักอาศัย ที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า
ศาสดาปุรณกัสสป ควรแก่การนับถือ การไหว้ การบูชา. บทว่า ตโปชิคุจฺฉาย
ได้แก่ เพราะเกลียดบาป ด้วยตปะคือการทำกายให้ลำบาก. บทว่า สฺสํวุโต
ได้แก่ ประกอบแล้ว หรือปิดแล้ว. บทว่า เชคุจฺฉี ได้แก่ เกลียดบาป
ด้วยตปะ. บทว่า นิปโก ได้แก่ บัณฑิต. บทว่า จาตุยามสุสํวุโต ได้แก่
สำรวมด้วยดีด้วยาม ๔ ส่วนทั้ง ๔ เหล่านี้ คือ ผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ผู้ประกอบ
ในการห้ามบาปทั้งปวง ผู้กำจัดบาปทั้งปวง ผู้ห้ามบาปทั้งปวงถูกต้อง ชื่อว่า
ยาม ๔. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวาริวาริโต จ ได้แก่ ห้ามน้ำ
ทั้งหมด อธิบายว่า น้ำเย็นทั้งหมดห้ามขาด เขาว่านิครนถนาฏบุตรนั้น สำคัญ

402
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 403 (เล่ม 24)

ว่ามีตัวสัตว์ในน้ำเย็น เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช้น้ำเย็นนั้น. บทว่า สพฺพวาริ-
ยุตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยการห้ามบาปทุกอย่าง. บทว่า สพฺพวาริธุโต
ได้แก่ กำจัดบาปเสียแล้ว ด้วยการห้ามบาปทุกอย่าง. บทว่า สพฺพวาริผุฏฺโฐ
ได้แก่ ผู้อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว. บทว่า ทิฏฺฐํ สุตญฺจ อาจิกฺขํ
ได้แก่ บอกว่าสิ่งที่เห็นเราเห็นแล้ว ข้อที่ฟัง เราฟังแล้วไม่ปิดเลย. บทว่า
นหิ นูน กิพฺพิสี ความว่า ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กระทำ
ความชั่วร้าย. บทว่า นานาติตฺถิเย ความว่า เขาว่า อาโกฏกเทพบุตรนั้น
เป็นอุปัฏฐากของเหล่าเดียรถีย์ต่าง ๆ นั้นแล เพราะฉะนั้น เขาจึงกล่าวปรารภ
เดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า ปกุทฺธโก กาติยาโน ได้แก่ ศาสดาชื่อปกุธ-
กัจจายนะ. บทว่า นิคนฺโถ ได้แก่ ศาสดาชื่อนาฎบุตร. บทว่า มกฺขลิปูรณาเส
ได้แก่ ศาสดาชื่อมักขลิ และชื่อปูรณะ. บทว่า สามญฺญปฺปตฺตา ได้แก่
ถึงที่สุดในสมณธรรม. ด้วยบทว่า นหิ นูน เต อาโกฏกเทพบุตรกล่าวว่า
ศาสดาเหล่านั้นไม่ไกลไปจากสัตบุรุษทั้งหลายเลย ศาสดาเหล่านั้นนั่นแล จึง
ชอบที่จะเป็นสัตบุรุษในโลก. บทว่า ปจฺจภาสิ ความว่า เวฏันพรีเทพบุตร
คิดว่า อาโกฏกเทพบุตรผู้นี้ ยืนกล่าวคุณของศาสดาชีเปลือย ผู้ไร้สิริเหล่านี้
ในสำนักของพระทศพล ดังนั้น เราจักกล่าวโทษของศาสดาเหล่านั้น แล้วจึง
กล่าวโต้ตอบ. บทว่า สห รจิตมตฺเตน ได้แก่ พร้อมด้วยเหตุเพียงแต่ง
ถ้อยคำ. บทว่า ฉโว สิงฺคาโล ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกตาบอด ต่ำทราม.
บทว่า โกฏฺฐโก เป็นไวพจน์ของคำนั้นนั่นแหละ. บทว่า สงฺกสฺสราจาโร
ได้แก่ มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ. บทว่า น สตํ สริกฺขโก ความว่า
ศาสดาของท่านจะเทียมสัตบุรุษผู้เป็นบัณฑิตหาได้ไม่ ท่านก็เสมือนสุนัขจิ้งจอก
ตาบอด ยังจะทำเดียรถีย์ให้เป็นราชสีห์หรือ. บทว่า อนฺวาวิสิตฺวา ความว่า
มารผู้มีบาป ดำริว่า เวฎัมพรีเทพบุตรผู้นี้ กล่าวโทษของเหล่าศาสดาเห็น

403
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 404 (เล่ม 24)

ปานนั้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ เราจะให้เขากล่าวคุณด้วยปากนั่นแหละ จึงเข้า
สิงในร่างของเวฎัมพรีเทพบุตรนั้น น้อมใจตามไป ชื่อว่า เข้าไปอาศัยอยู่ ด้วย
ประการฉะนี้. บทว่า อายุตฺตา ได้แก่ ขวนขวายขมักเขม้น ในอันเกลียดตปะ.
บทว่า ปาลยํ ปวิเวกํ แปลว่า รักษาความสงัด ได้ยินว่า เดียรถีย์เหล่านั้น
ถอนผมตนเอง ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากการแต่งผม เปลือยกาย
เที่ยวไป ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากผ้า กินอาหารที่พื้นดินหรือที่มือ
ดุจสุนัข ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากอาหาร นอนบนหนามเป็นต้น
ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากที่นั่งที่นอน. บทว่า รูเป นิวิฏฺฐา
ได้แก่ ตั้งอยู่ในรูป ด้วยตัณหาและทิฐิ. บทว่า เทวโลกาภินนฺทิโน
ได้แก่ ปรารถนาเทวโลก. บทว่า มาติยา ได้แก่ สัตว์ที่ต้องตาย มารผู้มีบาป
กล่าวว่า เหล่าเดียรถีย์ย่อมสั่งสอนสัตว์ที่จะต้องตายเหล่านั้นแหละ โดยชอบ
เพื่อประโยชน์แก่ปรโลก. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงระลึกว่า เทพบุตรผู้นี้ กล่าวโทษของศาสดาเหล่านี้ก่อนแล้ว บัดนี้ กลับ
มากล่าวคุณ ผู้นี้เป็นใครหนอ แล้วก็ทรงทราบ. บทว่า เย จนฺตลิกฺขสฺมิ
ปภาสวณฺณา ความว่า บรรดารูปรัศมีดวงจันทร์ รัศมีดวงอาทิตย์ ประกาย
เพชรพลอย รุ้งกินน้ำ และดวงดาวทั้งหลาย รูปเหล่าใดมีวรรณะสว่างไสว
ในท้องฟ้า. บทว่า สพฺเพว เต เต ได้แก่ รูปเหล่านั้นทั้งหมด อันท่าน
สรรเสริญแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกมารว่า นมุจิ. ด้วยบทว่า อามิสํว
มจฺฉานํ วธาย ขิตฺตา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มารย่อมเหวี่ยงเหยื่อ
ติดปลายเบ็ด เพื่อต้องการฆ่าปลาทั้งหลาย ฉันใด ท่านกล่าวสรรเสริญ
หว่านรูปเหล่านั้นก็เพื่อมัดสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น. บทว่า มาณวคามิโย
ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรองค์นี้ เป็นพุทธอุปัฏฐาก. บทว่า ราชคหิยานํ

404
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 405 (เล่ม 24)

ได้แก่ ภูเขาในกรุงราชคฤห์. บทว่า เสโต ได้แก่ เขาไกรลาส. บทว่า
อฆคามินํ ได้แก่ ที่โคจรไปในอากาศ. บทว่า อุทธีนํ ได้แก่ รองรับน้ำ.
ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภูเขาวิบูลบรรพตประเสริฐสุด แห่งบรรดาภูเขาที่ตั้งอยู่
ในกรุงราชคฤห์ ภูเขาไกรลาสประเสริฐสุด แห่งบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์
ดวงอาทิตย์ประเสริฐสุด แห่งบรรดาสภาวะที่โคจรไปในอากาศ สมุทร [ทะเล]
ประเสริฐสุด แห่งบรรดาสภาวะที่รองรับน้ำ ดวงจันทร์ประเสริฐสุด แห่ง
บรรดาดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ประเสริฐสุด แห่งโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก ฉันนั้น.
จบอรรถกถานานาติตถิยสูตร ที่ ๑๐
วรรคที่ ๓
เทวปุตตสังยุตจบเพียงเท่านี้
พระสูตรในนานาติตถิยวรรคที่ ๓ นี้ คือ
๑. สิวสูตร ๒. เขมสูตร ๓. เสรีสูตร ๔. ฆฏิการสูตร ๕. ชันตุสูตร
๖. โรหิตัสสสูตร ๗. นันทสูตร ๘. นันทิวิสาลสูตร ๙. สุสิมสูตร
๑๐. นานาติตถิยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.
จบ เทวปุตตสังยุต

405
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 406 (เล่ม 24)

โกสลสังยุต
ปฐมวรรค
๑. ทหรสูตร
ว่าด้วยของ ๔ อย่างไม่ควรดูหมิ่น
[๓๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล
ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงได้ทรงปราศรัยกับพระผู้มี
พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๓๒๓] พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า แม้
ท่านพระโคดมทรงปฏิญาณหรือไม่ว่า ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอด
เยี่ยม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาบพิตร ก็พระองค์เมื่อจะ
ตรัสโดยชอบก็พึงตรัสถึงอาตมภาพว่า ตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
อย่างยอดเยี่ยม ดูก่อนมหาบพิตร เพราะว่าอาตมาภาพได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อย่างยอดเยี่ยมแล้ว.
[๓๒๔] พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ แม้สมณพราหมณ์บางพวก เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็น

406
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 407 (เล่ม 24)

คณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ
ปูรณกัสสป มักขลิโคศาล นิครนถนาฏบุตร สัญชัยเวลัฏฐบุตร ปกุธกัจจายนะ
อชิตเกสกัมพล.
สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์ถามว่า ท่านทั้งหลาย
ย่อมปฏิญาณได้หรือว่า เราได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณดังนี้ ก็ยัง
ไม่ปฏิญาณตนได้ว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ส่วนพระโคดมผู้
เจริญยังทรงเป็นหนุ่มโดยกำเนิดและยังทรงเป็นผู้ใหม่โดยบรรพชา ไฉนจึง
ปฏิญาณได้เล่า.
[๓๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาบพิตร ของ
๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย ๔ อย่างเป็นไฉน ของ ๔ อย่าง
คือ
๑. กษัตริย์ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์
๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก
๓. ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม
ดูก่อนมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็ก
น้อย.
[๓๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ
ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า
นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่น กษัตริย์ผู้
ถึงพร้อมด้วยพระชาติ มีพระชาติสูง ผู้
ทรงพระยศว่ายังทรงพระเยาว์ เพราะเหตุ
ว่า พระองค์เป็นจอมมนุษย์ ได้เสวยราช-

407
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 408 (เล่ม 24)

สมบัติแล้ว ทรงพระพิโรธขึ้น ย่อมทรงลง
พระราชอาญาอย่างหนักแก่เขาได้ เพราะ
ฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการ
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพกษัตริย์นั้นเสีย.
นรชนเห็นงูที่บ้านหรือที่ป่าก็ตาม ไม่ว่า
พึงดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก (เพราะเหตุว่า)
งูเป็นสัตว์มีพิษ (เดช) ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์
ไร ๆ งูนั้นพึงฉกกัดชายหญิงผู้เขลาในบาง
คราว เพราะฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน
พึงงดเว้นการดูหมิ่นงูนั้นเสีย.
นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่นไฟที่กินเชื้อ
มาก ลุกเป็นเปลว มีทางดำ (ที่ๆไฟไหม้
ไปดำ) ว่าเล็กน้อย เพราะว่าไฟนั้นได้เชื้อ
แล้วก็เป็นกองไฟใหญ่ พึงลามไหม้ชาย
หญิงผู้เขลาในบางคราว เพราะฉะนั้น ผู้
รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการดูหมิ่นไฟ
นั้นเสีย.
(แต่ว่า) ป่าใดที่ถูกไฟไหม้จนดำไป
แล้ว เมื่อวันคืนล่วงไป ๆ พันธุ์หญ้าหรือ
ต้นไม้ยังงอกขึ้นที่ป่านั้นได้ ส่วนผู้ใดถูก
ภิกษุผู้มีศีลแผดเผา ด้วยเดช บุตรธิดาและ
ปศุสัตว์ของผู้นั้นย่อมพินาศ ทายาทของ

408
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 409 (เล่ม 24)

เขาก็ย่อมไม่ได้รับทรัพย์มรดก เขาเป็นผู้
ไม่มีพันธุ์ ย่อมเป็นเหมือนตาลยอดด้วน.
เพราะฉะนั้นบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
พิจารณาเห็นงู ไฟ กษัตริย์ผู้ทรงยศ และ
ภิกษุผู้มีศีล ว่าเป็นภัยแก่ตน พึงประพฤติ
ต่อโดยชอบทีเดียว.
[๓๒๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจบลงแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศล
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่ม
แจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก บุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วย
หวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูป ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม
โดยปริยายเป็นอันมาก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณคมน์จน
ตลอดชีวิตทั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

409
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 410 (เล่ม 24)

โกสลสังยุต
อรรถกถาทหรสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทหรสูตรที่ ๑ ต่อไป:-
บทว่า ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ ความว่า แม้พระเจ้าปเสนทิโกศล
ก็ทรงมีความยินดีร่วมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการอย่างเดียวกับพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสถามถึงขันธปัญจกพอทนได้เป็นต้น ยินดีกับท้าวเธอ คือทรง
นำความยินดีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนน้ำเย็นกับน้ำร้อน ฉะนั้น อนึ่ง
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยินดี [บันเทิง] ด้วยถ้อยคำอันใดเป็นต้นว่า ท่าน
พระโคดม พอทนหรือ พอเป็นไปได้หรือ ท่านพระโคดมและเหล่าสาวกของ
พระโคดมมีอาพาธน้อย มีโรคน้อย คล่องแคล่ว มีเรี่ยวแรง อยู่เป็นสุขอยู่
หรือ ทรงนำถ้อยคำนั้น ที่น่ายินดี น่าให้ระลึกถึงกันล่วงไป ให้ถึงที่สุด คือ
จบลงด้วยปริยายเป็นอันมากอย่างนี้ คือ ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะให้เกิดความ
ยินดีกล่าวคือ ปีติปราโมทย์ และควรที่จะยินดี ชื่อว่า สาราณียะ เพราะมี
อรรถพยัญชนะไพเราะ และเพราะเป็นถ้อยคำที่ควรระลึก โดยควรที่จะให้
ระลึกถึงตลอดกาลนาน ๆ คือเป็นไปเป็นนิตย์ ไม่ทรงทราบความลึก หรือความ
ตื้น โดยคุณและโทษ เพราะไม่เคยพบพระตถาคต จึงประทับนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อประทับนั่งแล้ว ก็ตรัสว่า ภวํปิ โน เป็นต้นเพื่อจะทูลถาม
ปัญหาเรื่องการสลัดออกจากโลกและการลงสู่ภพคือ ความเป็นพระสัมมาสัม-
พุทธะของศาสดา ที่ท้าวเธอเสด็จมาทำเป็นโอวัฏฏิกสารปัญหา คือปัญหาที่มี
สาระวกวน. ศัพท์ว่า ภวมฺปิ ในคำทูลถามนั้น เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
ประมวล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประมวลศาสดาทั้ง ๖ ด้วยศัพท์นั้น. อธิบาย
ว่า ท่านพระโคดมก็ปฏิญาณ เหมือนศาสดาทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น ที่

410