No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 211 (เล่ม 24)

ทั้งเทวโลกพึงแทงตลอดซึ่งคุณอันเราแทงตลอดได้โดยพลันเหมือนกันเถิด ดังนี้
และพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ประสงค์จะบอกคุณวิเศษแก่กันและกัน
เหมือนบุรุษผู้ได้ขุมทรัพย์แล้วไม่บอกขุมทรัพย์อันตนรู้เฉพาะแล้วนั้น.
ก็ครั้นเมื่ออริยมณฑล คือ มรรคอันยังผลให้เกิดขึ้นอย่างนี้ เกิดขึ้น
แล้ว มณฑลแห่งพระจันทร์เพ็ญก็ปราศจากเครื่องเศร้าหมองเหล่านี้ คือ หมอก
น่าค้าง ควันไฟ ธุลี และราหู (เจ้าแห่งพวกอสูร) โดยรอบเทือกเขายุคันธร
แห่งทิศปราจีน อันประกอบด้วยสิริดุจล้ออันสำเร็จด้วยเงินที่บุคคลจับให้หมุน
ไปอยู่โลดแล่นขึ้นดำเนินไปสู่กลางหาว (ท้องฟ้า) เหมือนมณฑลแห่งแว่นใหญ่
อันสำเร็จแล้วด้วยเงินที่ยกขึ้นไว้ทางทิศปราจีน เพื่อแสดงถึงสิ่งซึ่งเป็นที่น่า
เพลิดเพลินของโลกที่ประดับด้วยพุทธุปบาทนี้ ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ในสักกชนบทชั่วขณะหนึ่ง คือเป็น
เวลาชั่วระยะหนึ่ง ครู่หนึ่งกับด้วยหมู่แห่งภิกษุ ๕๐๐ รูปซึ่งเป็นหมู่ใหญ่ในป่าใหญ่
ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ ภิกษุทั้งหมดนั่นแหละเป็นพระอรหันต์ดังพรรณนามา
ฉะนี้. พึงทราบความต่อไปอีกว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นในวงศ์แห่ง
พระเจ้ามหาสมมต แม้พวกภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นก็เกิดในตระกูลของพระเจ้า
มหาสมมต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดในครรภ์แห่งกษัตริย์ แม้ภิกษุเหล่านั้นก็
เกิดในครรภ์แห่งกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นราชบรรพชิต แม้ภิกษุเหล่านั้น
ก็เป็นราชบรรพชิต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเศวตฉัตรสละความเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิอันอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ผนวชแล้ว แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ละเศวตฉัตร
สละความเป็นพระราชาทั้งหลายอันอยู่ในเงื้อมมือบวชแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วโดยพระองค์เอง ในโอกาส
อันบริสุทธิ์แล้วในส่วนแห่งราตรีอันบริสุทธิ์แล้ว ทรงมีบริวารอันบริสุทธิ์แล้ว
ทรงมีราคะปราศจากไปแล้ว มีบริวารซึ่งมีราคะปราศจากไปแล้ว มีโทสะ
ปราศจากไปแล้ว มีบริวารซึ่งมีโทสะปราศจากไปแล้ว มีโมหะปราศ

211
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 212 (เล่ม 24)

จากไปแล้ว มีบริวารซึ่งมีโมหะปราศจากไปแล้ว มีตัณหาออกแล้ว มีบริวาร
ผู้มีตัณหาออกแล้ว ไม่มีกิเลส มีบริวารผู้ไม่มีกิเลส ทรงสงบระงับแล้ว มีบริวาร
ผู้สงบระงับแล้ว ทรงฝึกดีแล้ว มีบริวารที่ฝึกดีแล้ว ทรงเป็นผู้พ้นแล้ว มี
บริวารผู้พ้นแล้ว จึงรุ่งโรจน์ยิ่งในป่าใหญ่นั้น ดังนี้ . คำว่า สักกะ นี้มีมาก
ประมาณเพียงไร บัณฑิตพึงกล่าวเพียงนั้น นี้ชื่อว่า วรรณภูมิ. คำว่า ภิกษุ
มีประมาณ ๕๐๐ รูปล้วนเป็นพระอรหันต์ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุเหล่านี้
ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า เยภุยฺเยน แปลว่า โดยมาก คือได้แก่ พวกเทวดาทั้งหลาย
ที่ประชุมกันมีมาก พวกที่ไม่ได้ประประชุมกันมีน้อย คือ พวกที่เป็นอสัญญ-
สัตว์และเกิดในอรูปาวจรเท่านั้น.
พวกเทวดาหมื่นจักรวาลประชุมกัน
พึงทราบลำดับแห่งเทวดาทั้งหลายที่มาประชมกันในป่ามหาวัน ดังต่อ
ไปนี้
ได้ยินว่า พวกเทวดาผู้อาศัยอยู่รอบ ๆ ป่ามหาวัน ส่งเสียงดังว่า ข้า
แต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราจงมา ชื่อว่าการเห็นพระพุทธเจ้ามีอุปการะมาก
การฟังธรรมมีอุปการะมาก การเห็นพระสงฆ์ก็มีอุปการะมาก พวกเราทั้งหลาย
จงมา ๆ เถิด ดังนี้ จึงมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระขีณาสพซึ่ง
บรรลุพระอรหัตในครู่นั้นแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. โดยอุบาย
นี้นั่นแหละ พวกเทวดาทั้งหลายพึงเสียงเทวดาเหล่านั้นสิ้นสามครั้งในหิมวันต์อัน
แผ่ออกไปสามพันโยชน์ด้วยสามารถแห่งเสียงมีเสียงระหว่างกึ่งคาวุต หนึ่ง คาวุต
กึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์เป็นต้น พวกเทวดาในชมพูทวีปทั้งสิ้น คือผู้อาศัยอยู่ใน
พระนคร ๖๓ พัน ที่ลำรางน้ำ ๙๙ แสน ที่เมืองท่า ๙๖ แสน และในที่เป็น

212
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 213 (เล่ม 24)

ที่เกิดแห่งรัตนะ คือทะเล ๕๖ แสน ในจักรวาลทั้งสิ้น คือ ในบุพวิเทหะ
อมรโคยานะ อุตตรกุรุและในทวีปเล็ก ๒ พัน ต่อจากนั้น เทวดาที่อยู่ใน
จักรวาลที่สอง โดยทำนองนี้แหละ. บัณฑิตพึงทราบว่าพวกเทวดาทั้งหลายใน
หมื่นจักรวาลนาประชุมกันแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ก็หมื่นจักรวาลในที่นี้ ท่านประสงค์เอาโลกธาตุสิบ ด้วยเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทสหิ จ โลกธาตูหิ เทวตา เยภุยฺเยน สนฺนิปติกา
โหนฺติ (แปลว่า ก็เทวดานาแต่โลกธาตุสิบแล้วประชุมกันโดยมาก) ครั้นเมื่อ
ความเป็นอย่างนี้ ห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ก็เต็มไปด้วยเทวดาทั้งหลายผู้มา
ประชุมกันแล้วตั้งแต่พรหมโลกมา ราวกะเข็มที่บุคคลทะยอยใส่ในกล่องเข็มโดย
ไม่ขาดระยะฉะนั้น. ในที่นี้นั้น พึงทราบความสูงของพรหมโลก อย่างนี้ว่า
ได้ยินว่า ในโลหปราสาท มีก้อนหินเท่าเรือนยอดแห่งบรรพต ตั้งอยู่
ในพรหมโลก ทิ้งก้อนหินนั้นลงมายังโลกมนุษย์นี้ ๔ เดือน จึงตกถึงแผ่นดิน.
ในโอกาส คือที่ว่างอันกว้างใหญ่อย่างนี้ บุคคลยืนอยู่ข้างล่างขว้างปาดอกไม้
หรือต้นไม้ย่อมไม่ได้เพื่อไปในเบื้องบน หรือยืนอยู่เบื้องบนเอาเมล็ดพรรณผัก
กาดโยนไปข้างล่าง ย่อมไม่ได้ช่องเพื่อตกไปในเบื้องล่างได้ ด้วยอาการอย่างนี้
เทวดาทั้งหลายได้มาไม่ขาดระยะจนหาที่ว่างมิได้.
อนึ่ง ที่เป็นที่ประทับนั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมไม่คับแคบ
กษัตริย์ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่เสด็จมาแล้ว ๆ ย่อมได้โอกาส คือช่องว่าง ที่เดียว
ความคับแคบยิ่งข้างนี้และข้างนี้ย่อมไม่มีฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ ที่เป็นที่
ประทับนั่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่คับแคบ ไม่มีสิ่งขัดขวาง พวกเทวดาผู้มี
ศักดิ์ใหญ่ และพวกพรหมทั้งหลายมาแล้ว ๆ ยังที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมไม่มีสิ่งขัดขวางย่อมได้โอกาส คือ ช่องว่างทีเดียว.

213
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 214 (เล่ม 24)

ได้ยินว่า พวกเทพทั้งหลาย ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง เนรมิตอัตภาพ
ให้เล็ก แล้วอยู่ในที่สักว่าเจาะเข้าไปเท่าปลายขน ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี.
พวกเทพ ๖๐ พวก ได้ยืนอยู่ข้างหน้าของเทวดาทั้งปวง. บทว่า สุทฺธาวา-
สกายิกานํ แปลว่า ผู้อยู่ในสุทธาวาส. พรหมโลก ๕ ชั้น อันเป็นที่อยู่แห่ง
พระอนาคามีและพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สุทธาวาส. บทว่า เอตทโหสิ
แปลว่า พวกพรหมได้มีความดำริ. ถามว่า เพราะเหตุไร พวกพรหมจึงมี
ความดำริ. ตอบว่า ได้ยินว่า พวกพรหมเหล่านั้นเข้าสมาบัติและก็ออกตามที่
กำหนดไว้ แล้วแลดูภพของพรหมทั้งหลายได้เห็นความว่างเปล่า เหมือนเรือน
ภัตในเวลาที่บุคคลกินแล้ว (ในเวลาภายหลังแห่งภัต) ทีนั้น จึงพิจารณาดูว่า
พวกพรหมเหล่านั้นไปไหน ทราบแล้วซึ่งสมาคมใหญ่ว่า สมาคมนี้ พวกเรา
โดยมากซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้ข้างหลังแล้ว ก็โอกาสของบุคคลผู้ล้าหลังย่อมหาได้ยาก
เพราะฉะนั้น พวกเราเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ควรแต่งคาถาองค์ละคาถา
แล้วจักไป พวกเราจักให้เขารู้ซึ่งความที่ตนมาแล้วในสมาคมใหญ่ ด้วยคาถานี้
และจะกล่าวพรรณนาคุณของพระทศพล ดังนี้ด้วยประการฉะนี้ ความดำรินี้
จึงได้มีแล้ว เพราะความที่พวกพรหมเหล่านั้นออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณา.
พระบาลีว่า ภควโต ปุรโต ปาตุรหํสุ แปลความว่า มาปรากฏ
อยู่เฉพาะหน้าของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้แก่ พวกพรหมที่กล่าวคาถาใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนหยั่งลงในที่เฉพาะหน้า. ก็เนื้อความอย่างนี้
ในที่นี้ไม่พึงเข้าใจอย่างนั้น ก็พวกพรหมเหล่านั้นดำรงอยู่ในพรหมโลกนั่นแหละ
ร้อยกรองคาถาทั้งหลายแล้ว องค์หนึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลค้านปุรัตถิมทิศ
(ทิศตะวันออก) องค์หนึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านทิกษิณ (ทิศใต้) องค์หนึ่ง
หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านปัจฉิม (ทิศตะวันตก) องค์หนึ่งหยั่งลงที่ชอบจักรวาล
ด้านอุดร (ทิศเหนือ).

214
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 215 (เล่ม 24)

ลำดับนั้น พระพรหมผู้หยั่งลงที่ชอบจักรวาลด้านปุรัตถิมทิศ เข้า
สมาบัติมีนีลกสิณ เป็นอารมณ์แล้วปล่อยรัศมีสีเขียว ยังเทวดาในหมื่นจักรวาล
ให้รู้ซึ่งความที่ตนมาแล้ว เหมือนบุคคลสวมใส่อยู่ซึ่งหนังสำเร็จแล้วด้วยแก้วมณี
ธรรมดาว่า พุทธวิถีใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อจะให้ยิ่งกว่า เพราะฉะนั้น พรหมจึง
มาตามพุทธวิถีอันตนไม่สามารถผ่านไป ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้
ยืนอยู่. ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้วก็ได้ภาษิต
คาถาที่ตนแต่งมา.
พระพรหมองค์หนึ่งซึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านทักษิณ เข้าสมาบัติ
มีปิตกสิณเป็นอารมณ์เดียว ปล่อยรัศมีสีทอง ยังพวกเทวดาในหมื่นจักรวาล
ให้รู้ซึ่งความที่ตนมาแล้ว เหมือนบุคคลห่มผ้าสีทองอยู่ แล้วได้กระทำเหมือน
อย่างนั้นนั่นแหละ (เหมือนองค์ก่อน).
พระพรหมผู้หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านปัจฉิม เข้าสมาบัติมีโลหิตกสิณ
เป็นอารมณ์ แล้วปล่อยรัศมีสีแดง ยังพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลให้รู้ซึ่งความ
ที่ตนมาแล้ว เหมือนบุคคลพันกายอยู่ด้วยผ้ากัมพลอันประเสริฐซึ่งมีสีแดง แล้ว
กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
พระพรหมผู้หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านอุดร เข้าสมาบัติโอทาตกสิณ
แล้วปล่อยรัศมีสีขาว ยังพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลให้รู้ซึ่งความที่ตนมาแล้ว
เหมือนบุคคลห่มอยู่ซึ่งแผ่นผ้าดอกมะลิ แล้วได้ทำเหมือนอย่างนั้นเหมือนกัน.
แต่ในพระบาลีกล่าวว่า ในครั้งนั้นแหละ พวกเทวดา ๔ องค์นั้น
ได้หายจากหมู่พรหมชั้นสุทธาวาส มาปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วน
ข้างหนึ่ง ดังนี้ ราวกะในขณะเดียวกันทั้ง ๔ องค์ คือว่า ความปรากฏเฉพาะ
พระพักตร์ด้วย ความเป็นคือถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วน
ข้างหนึ่งด้วย ที่แท้นั้น พระพรหมนั้นได้มีแล้ว โดยลำดับตามที่กล่าวแล้วนี้

215
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 216 (เล่ม 24)

ท่านกล่าวแสดงกระทำรวมกัน. ก็การกล่าวคาถาของเทวดาทั้ง ๔ นั้น แม้
ในพระบาลีท่านก็กล่าวไว้คนละส่วนเหมือนกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาสมโย แก้เป็น มหาสมูโห แปลว่า
การประชุมใหญ่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก ป่าใหญ่ ว่าไพรสณฑ์. แม้
ด้วยคำทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า การประชุมกัน คือการประชุม-
ใหญ่ในไพรสณฑ์ ในวันนี้ ดังนี้. ลำดับนั้น เพื่อแสดงถึงเทวดาที่ประชุมกัน
จึงกล่าวว่า เทวกายา สมาคตา แปลว่า พวกเทวดามาประชุมกันแล้ว.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เทวกายา แก้เป็น เทวฆฏา แปลว่า
พวกเทวดา. บทว่า อาคตมฺห อิมํ ธมฺมสมยํ แปลว่า พวกข้าพเจ้า
มาแล้วสู่ที่ชุมนุมอันเป็นธรรมนี้ ความว่า เพราะเห็นหมู่เทวดามาประชุมกัน
แล้วอย่างนี้ แม้พวกข้าพเจ้าก็มาแล้ว สู่ที่ประชุมอันเป็นธรรมนี้. ถามว่า
เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเพื่อจะเยี่ยมพระสงฆ์ผู้อันใคร ๆ ให้แพ้ไม่ได้.
บทว่า ทกฺขิตาเยว อปราชิตสํฆํ แปลว่า เพื่อจะเยี่ยมหมู่พระอันใคร ๆ
ให้แพ้ไม่ได้นี้ อธิบายว่า พวกข้าพเจ้ามาแล้วเพื่อจะเห็นพระสงฆ์ผู้อันใคร ๆ
ให้แพ้ไม่ได้ ผู้มีสงครามอันตนย่ำยีมารทั้งสามชนะได้แล้วในวันนี้แล.
ก็พรหมนั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วได้ยืนอยู่ ขอบจักรวาลด้านปุรัตถิมทิศ. ลำดับนั้น พรหมองค์ที่สอง
ก็มาแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ได้กล่าวคาถาว่า ตตฺร ภิกฺขโว
สมาทหํสฺ เป รกฺขนฺติ ปณฺฑฺตา แปลความว่า
ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้นตั้งมั่น
แล้ว ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้ว ภิกษุ
ทั้งปวงนั้นเป็นบัณฑิต ย่อมรักษาอินทรีย์
ทั้งหลาย ดุจดังว่านายสารถีถือบังเหียน
ฉะนั้น.

216
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 217 (เล่ม 24)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ภิกฺขโว แก้เป็น ตสฺมึ
สนฺนิปาตฏฺฐาเน ภิกฺขู แปลว่า ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น. บทว่า
สมาทหํสุ เเปลว่า ตั้งจิตมั่นแล้ว คือได้แก่ ประกอบแล้วด้วยสมาธิ. บทว่า
อตฺตโน อุชุกมกํสุ แปลว่า ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้ว อธิบายว่า
ละแล้วซึ่งจิตทั้งปวงของตน อันเป็นส่วนที่คดโค้งที่ไม่ตรงแล้ว ทำให้ตรง.
บทว่า สารถีว เนตฺตานิ คเหตฺวา แปลว่า นายสารถีถือบังเหียน
อธิบายว่า เมื่อม้าสินธพวิ่งไปดีแล้ว นายสารถีผู้มีปะฏักห้อยลงแล้ว ถือเอาซึ่ง
บังเหียนทั้งปวงแล้ว ไม่เตือนอยู่ ไม่เหยียดปะฏักออกอยู่ ถือบังเหียนมั่นอยู่
ฉันใด ภิกษุ ๕๐๐ รูป ทั้งหมดเหล่านี้ ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา มีทวาร
อันคุ้มครองแล้ว เป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย ฉันนั้น ด้วยอาการ
อย่างนี้แหละ เทวดาทั้งหลายจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้า-
พระองค์มาแล้วในที่นี้เพื่อเห็นภิกษุเหล่านั้น. แม้เทวดาองค์นั้น ไปแล้วก็ยืนอยู่
ในที่สมควรนั่นแหละ.
ลำดับนั้น พรหม องค์ที่สามก็มาแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ
ได้กล่าวคาถาว่า เฉตฺวา ขีลํ เฉตฺวา ปลีฆํ ฯเปฯ สุสู นาคา แปลว่า
ภิกษุทั้งหลายนั้นตัดกิเลสดังตะปู
เสียแล้ว ตัดกิเลสดังว่าลิ่มลลักเสียแล้ว
ถอนกิเลสดังว่าเสาเขื่อนเสียแล้ว มิได้มี
ความหวั่นไหว เป็นผู้หมดจด ปราศจาก
มลทิน อันพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงฝึกดี
แล้ว เป็นหมู่นาคหนุ่มไปอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เฉตฺวา ขีลํ แปลว่า ตัดกิเลสดัง
ตะปูเสียแล้ว คือว่า ตัดราคะโทสะและโมหะเพียงดังตะปูเสียแล้ว. บทว่า

217
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 218 (เล่ม 24)

ปลีฆํ แปลว่า ลิ่มสลัก ได้แก่ ราคะโทสะและโมหะนั่นแหละเป็นดังลิ่มสลัก
บทว่า อินฺทขีลํ แปลว่า เสาเขื่อน ได้แก่ ราคะโทสะและโมหะนั่นแหละ
เป็นดังเสาเขื่อน. บทว่า โอหจฺจมเนชา แปลว่า มิได้มีความหวั่นไหว
อธิบายว่า ภิกษุเหล่านี้มิได้มีความหวั่นไหว ด้วยความหวั่นไหว คือ ตัณหา
เป็นผู้ดึงขึ้นแล้ว ถอนขึ้นแล้วซึ่งตัณหา เพียงดัง เสาเขื่อน. บทว่า เต จรนฺติ
แปลว่า ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า ย่อมเที่ยวจาริกไปโดยไม่ถูก
กระทบกระเทือนแล้วในทิศทั้ง ๔. บุทว่า สุทฺธา แปลว่า เป็นผู้หมดจด
ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส. บทว่า วิมลา แปลว่า ปราศจากมลทิน คือ
ไม่มีมลทิน. คำว่า ปราศจากมลทินนี้เป็นไวพจน์ของคำว่า เป็นผู้หมดจด
แล้วนั้นนั่นแหละ บทว่า จกฺขุมา แปลว่า ผู้มีจักษุ คือได้แก่ ผู้มีจักษุ ๕
บทว่า สุทนฺตา แปลว่า ฝึกดีแล้ว ได้แก่ ฝึกแล้วทางจักษุบ้าง ทางโสตบ้าง
ทางฆานะบ้าง ทางชิวหาบ้าง ทางกายบ้าง และทางใจบ้าง. บทว่า สุสู นาคา
แปลว่า เป็นหมู่นาคหนุ่ม ได้แก่ เป็นนาครุ่นหนุ่ม.
พึงทราบวจนัตถะในคำว่า นาคะนั้น ดังนี้.
ฉนฺทาทีหํ น คจฺฉนฺตีติ นาคา
ชนเหล่าใด ย่อมไม่ลำเอียง ด้วยอคติทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น เหตุนั้น
ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า นาคา.
เตน เตน มคฺเคน ปหีเน กิเลเส น อาคจฺฉนฺตีติ นาคา
ชนเหล่าใด ย่อมไม่มาสู่กิเลสทั้งหลายอันมรรคนั้น ๆ ละแล้ว เหตุนั้น
ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า นาคา.
นานปฺปการํ อาคุํ น กโรนฺตีติ นาคา
ชนเหล่าใด ย่อมไม่กระทำความผิดมีประการต่าง ๆ เหตุนั้น ชน
เหล่านั้น จึงชื่อว่า นาคา.

218
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 219 (เล่ม 24)

นี้เป็นเนื้อความย่อในคำว่า นาคะ นี้ ส่วนความพิสดาร พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวไว้ในมหานิทเทส.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ในที่นี้ว่า บุคคลย่อมไม่ทำ
ความชั่ว ย่อมไม่ติดในเครื่องผูกอันประกอบไว้ในโลกอย่างใด ๆ ในที่ทั้งปวง
เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ท่านเรียกว่า นาคะ คือ ผู้คงที่มั่นคง. ในบทว่า สุสู
นาคา นี้อธิบายว่า หมู่นาคหนุ่ม ถึงแล้วซึ่งสมบัติแห่งความเป็นนาคะ ดังนี้.
พวกเทวดาเหล่านั้น กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มา
แล้วเพื่อเยี่ยมพวกนาคหนุ่มอันอาจารย์ผู้มีความเพียรชั้นยอดเห็นปานนี้ฝึกแล้ว
แม้พรหมองค์นั้นก็ได้ไปยืนอยู่ในที่สมควรนั่นแหละ.
ลำดับนั้น พรหมองค์ที่ ๔ มาแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละได้กล่าว
คาถาว่า เยเกจิ พุทฺธํ สรณํ คตเส เป็นต้น แปลความว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงแล้วซึ่ง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจักไม่
ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของ
มนุษย์แล้วจักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คตาเส แปลว่า ถึงแล้ว ได้แก่ ถึงสรณคมน์
อันปราศจากความแคลงใจ. แม้พรหมนั้นก็ได้ยืนอยู่ในที่สมควรนั่นแหละ
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสมยสูตรที่ ๗

219
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 220 (เล่ม 24)

๘. สกลิกสูตร
เทวดาสรรเสริญความอดทน
[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในสวน
มัททกุจฉิ กรุงราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถูกสะเก็ดหินกระทบแล้ว ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
มาก เป็นความลำบากมีในพระสรีระ กล้าแข้ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่
ทรงสบาย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนา
ทั้งหลาย ไม่ทรงเดือดร้อน ในครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ปูผ้า
สังฆาฏิสี่ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อม
ด้วยพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอยู่.
[๑๒๓] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาเจ็ดร้อย มีวรรณะงาม ยังสวนมัททกุจฉิทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๑๒๔] เทวดาองค์หนึ่งครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นนาค
หนอ ก็แหละพระสมณโคดม ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นซึ่งเวทนา
ทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นนาค มิได้ทรง
เดือดร้อน.

220