No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 355 (เล่ม 22)

บทว่า สโต คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติ
บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือ ห้อมล้อมเป็นสหชาต.
ก็ในที่นี้ สัมมาวายามะ และสัมมาสติ เป็นสหชาต (เกิดร่วม)
ห้อมล้อมโลกุตรสัมมาทิฏฐิ. เหมือนราชองครักษ์ถือกระบี่ และเจ้า
พนักงานเชิญฉัตรยืนอยู่ในรถคันเดียวกันแวดล้อมพระราชาฉะนั้น. ส่วน
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ เป็นปุเรชาต (เกิดก้อน) ห้อมล้อม เหมือนทหารเดินเท้า
เป็นต้น เดินไปหน้ารถฉะนั้น. ก็จำเดิมแต่บรรพ (ข้อ ) ที่ ๒ ไป ธรรม
แม้ทั้ง ๓ ประการ (คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ) ก็พึงทราบว่า
เป็นสหชาต เป็นบริวารแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นต้น.
บทว่า มิจฺฉาสงฺกปฺโปติ ปชนาติ ความว่า ย่อมรู้ชัด มิจฉา-
สังกัปปะ โดยอารมณ์ ด้วยการแทงตลอดไตรลักษณ์ว่า อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ย่อมรู้ชัดสัมมาสังกัปปะ โดยกิจ โดยความไม่หลง. แม้ในสัมมา
วาจาเป็นต้นต่อจากนี้ไป ก็พึงทราบการประกอบความอย่างนี้เหมือนกัน. ความ
ดำริในกามเป็นต้น กล่าวไว้แล้วในเทฺวธาวิตักกสูตร.
วิตก
บทว่า ตกฺโก ความว่า ชื่อว่า ตักกะด้วยอำนาจความตรึก ตักกะ
นั้นแหละเพิ่มบทอุปสรรค (คือวิ) เข้าไป เรียกว่า วิตักกะ (คือความตรึก) .
ความตรึกนั้นนั่นแล ชื่อว่า สังกัปปะ ด้วยอำนาจความดำริ.
ชื่อว่า อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์โดยเป็นอันเดียวกัน. ก็
เพราะเพิ่มบทอุปสรรค จึงเรียกว่า พฺยปฺปนา.

355
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 356 (เล่ม 22)

บทวา เจตโส อภินิโรปนา แปลวา ยกจิตขึ้น. เพราะเมื่อมีวิตก
วิตกย่อมยกจิตขึ้นในอารมณ์.
แต่เมื่อไม่มีวิตก จิตก็ขึ้นสู่อารมณ์ได้ตามธรรมดาของตนเองเหมือน
คนที่ชำนาญ มีชาติตระกูลสูง ย่อมเข้าพระราชวังได้ฉะนั้น เพราะสำหรับผู้
ไม่ชำนาญ (การเข้าพระราชวัง ย่อมต้องการคนนำทางหรือคนเฝ้าประตู. พระ
ราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงรู้และรู้จักคนผู้ชำนาญ มีชาติอันสมบูรณ์
เพราะเหตุนั้น เขาจึงออกและเข้า (พระราชวัง) ได้ โดยธรรมดาของตน
(ฉันใด) พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.
ชื่อว่า วจีสังขาร เพราะปรุงแต่งวาจา. ก็ในเรื่องวจีสังขารนี้โลกิย-
วิตก ย่อมปรุงแต่งวาจา โลกุตรวิตก ไม่ปรุงแต่ง. โลกุตรวิตก ไม่
ปรุงแต่ง ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น วิตกนั้นก็ย่อมมีชื่อว่า วจีสังขารเหมือนกัน.
บทว่า สมฺมาสงฺกปฺปํ อนุปริธาวนฺติ ความว่า ย่อมห้อมล้อม
สัมมาสังกัปปะอันเป็นโลกุตระ.
ก็ในการนี้ ธรรมแม้ ๓ ประการมีเนกขัมสังกัปปะ (ดำริในอันออก
จากกาม) เป็นต้น ย่อม (มี) ได้ในจิตต่าง ๆ ในกาลอันเป็นเบื้องต้น.
แต่ในขณะแห่งมรรค สัมมาสังกัปปะองค์เดียวเท่านั้น ตัดทางดำเนินแห่งสัง-
กัปปะทั้ง ๓ มีกามสังกัปปะเป็นต้นให้เป็นการถอน (ราก) ขึ้น ทำองค์มรรค
ให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ย่อมได้ชื่อ ๓ ชื่อเนื่องด้วยเนกขัมสังกัปปะเป็นต้น. แม้
ในสัมมาวาจาเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.
อารติ-วิรติ-ปฎิวิรติ-เวรมณี
แม้ในบทว่า มุทาวาทา เวรมณี ดังนี้เป็นต้น เป็นวิรัติก็ถูก เป็น
เจตนาก็ถูก.

356
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 357 (เล่ม 22)

ในบทว่า อารติ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ชื่อว่า อารติ
เพราะยินดีความห่างไกลจากวจีทุจริต.
ชื่อว่า วิรติ เพราะเว้นจากวจีทุจริตเหล่านั้น.
ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะถอยกลับจากวจีทุจริตนั้น ๆ แล้วงดเว้น
จากวจีทุจริตเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเพิ่มบทด้วยอำนาจอุปสรรค. บท
ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของภาวะคือ การงดเว้นทั้งนั้น.
ชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร ได้แก่ ทำเวรให้พินาศไป แม้บท
นี้ก็เป็นไวพจน์ของความงดเว้นเหมือนกัน.
แม้คำทั้งสองว่า เจตนา ๑ วิรติ ๑ ย่อมใช้ได้เหมือนกัน แม้ในคำว่า
ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น.
อธิบกยกุหนาเป็นต้น
ในบทว่า กุหนา เป็นต้น
ชื่อว่า กุหนา (วาจาล่อลวง) เพราะลวงโลกใช้งงงวยด้วยวาจานั้น
ด้วยเรื่องหลอกลวง ๓ ประการ.
ชื่อว่า ลปนา (วาจายกยอ) เพราะคนผู้ต้องการลาภ สักการะยกยอ
ด้วยวาจานั้น.
ชื่อว่า ผู้ทำบุ้ยใบ้ เพราะมี (แต่ทำ) บุ้ยใบเป็นปกติ. ภาวะของผู้
ทำบุ้ยใบ้เหล่านั้น ชื่อว่า เนมิตฺตกตา (ความเป็นผู้ทำบุ้ยใบ้)
ชื่อว่า ผู้ทำอุบายโกง เพราะคนเหล่านั้นมีการทำอุบายโกงเป็นปกติ
ภาวะของคนผู้ทำอุบายโกงเหล่านั้น ชื่อว่า นิปฺเปสิกตา (ความเป็นผู้ทำ
อุบายโกง)
ชื่อว่าการแลกลาภด้วยลาภ เพราะแลก คือหา ได้แก่แสวงหาลาภ
ด้วยลาภ ภาวะแห่งการแลกลาภด้วยลาภเหล่านั้น ชื่อว่า การหาลาภด้วย
ลาภ. ความย่อในที่นี้มีเพียงเท่านี้.

357
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 358 (เล่ม 22)

ก็กิริยามีการล่อลวงเป็นต้น เหล่านี้ ข้าพเจ้านำเอามาทั้งพระบาลีและ
อรรถกถา กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสีลนิทเทสในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
ในบทว่า มิจฺฉาอาชีวสฺส ปหานาย นี้ มิจฉาอาชีวะที่มาในพระ-
บาลีเท่านั้นยังไม่พอ ก็แม้เจตนาที่เป็นกรรมบถ ๗ ประการ มีปาณาติบาต
เป็นต้น ซึ่งเป็นไปเพราะอาชีวะเป็นเหตุก็เป็นมิจฉาอาชีวะด้วย.
วิรัติ (ความงดเว้น) อันกระทำการตัดทางดำเนินของเจตนา ๗ ประการ
นั้นนั่นแหละ ให้ถอนรากถอนโคน ทำองค์มรรคให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ชื่อว่า
สัมมาอาชีวะ.
ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็มีสัมมาสังกัปปะด้วย
บทว่า สมฺมาทิฏฐิสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิในมรรค.
บทว่า สมฺมาสงฺกปฺโป ปโหติ ความว่า สัมมาสังกัปปะ ใน
มรรคย่อมมีพอเหมาะ สัมมาสังกัปปะในผล ก็มีพอเหมาะแม้แก่ผู้มีสัมมา-
ทิฏฐิในผล พึงทราบความหมายในบททั้งปวง ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.
ผู้มีสัมมาสมาธิก็มีสัมมาญาณญาณะและสัมมาวิมุตติด้วย
ก็ในบทว่า สมฺมาญาณํ สมฺมาวิมุตฺติ นี้มีอธิบายว่า สัมมาญาณะ
อันเป็นเครื่องพิจารณามรรค ก็มีพอเหมาะพอดีกับบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิ
ในมรรค สัมมาญาณะอันเป็นเครื่องพิจารณาผล ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคลผู้
ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิในผล สัมมาวิมุตติในมรรค ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคล
ผู้ตั้งอยู่ ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณามรรค สัมมาวิมุตติในผลก็มีพอเหมาะ
พอดีแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณาผล.
ก็ในอธิการนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เว้นองค์แห่งผลทั้ง ๘ ประการเสีย
กระทำสัมมาญาณะให้เป็นเครื่องพิจารณาแล้วทำสัมมาวิมุตติให้เป็นผลก็ควร.

358
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 359 (เล่ม 22)

ผู้มีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้
ในบทว่า สมฺมาทิฏฺฐิสฺส ภิกฺขเว มิจฺฉาทิฏฺฐิ นิชฺชิณฺณา โหติ
(ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิ) ดังนี้เป็นต้น
ท่านอาจารย์ผู้กล่าวนิกายที่เหลือกล่าวว่า ตรัสถึงผล ส่วนอาจารย์ผู้กล่าว
มัชฌิมนิกาย กล่าวอาคตสถานของนิชชรวัตถุ ๑๐ ประการ ว่า ตรัสถึงมรรค.
บรรดาธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะ
อรรถว่าเห็น พระนิพพาน พึงทราบว่าชื่อว่า สัมมาญาณะ เพราะอรรถว่า
กระทำให้แจ่มแจ้งพระนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาวิมุตติ เพราะ
อรรถว่าน้อมใจไปในพระนิพพานนั้น.
บทว่า วีสติ กุสลปกฺขา ความว่า เป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐
ประการอย่างนี้ คือ ธรรม ๑๐ ประการมี สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และธรรม
๑๐ ประการ ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมเป็นอเนกประการที่มี
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.
บทว่า วีสติ อกุสลปกฺขา ความว่า พึงทราบธรรมฝ่ายอกุศล
๒๐ ประการอย่างนี้ คือ ธรรม ๑๐ ประการมี มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นที่ตรัสไว้
โดยนัยเป็นต้นว่า มิจฉาทิฏฐิย่อมเป็นเครื่องให้เสื่อมแล้ว และธรรม ๑๐ประการ
ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมอันลามกมิใช่น้อย มีมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย.
บทว่า มหาจตฺตารสโก ความว่า ชื่อว่า มหาจัตตารีสกะ
(หมวด ๔๐ ใหญ่) เพราะประกาศธรรม ๔๐ ประการ อันเป็นฝ่ายกุศล และ
เป็นฝ่ายอกุศลอันเป็นข้อใหญ่ เพราะการให้วิบากมาก.
๑. อัง. ทสก. ๒๔/ข้อ ๑๐๖.

359
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 360 (เล่ม 22)

สัมมาทิฏฐิ ๕
ก็แหละในพระสูตรนี้ ตรัสสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการ คือ วิปัสสนา-
สัมมาทิฏฐิ กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ
ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ.
บรรดา สัมมาทิฏฐิ ๕ ประการนั้น สัมมาทิฏฐิที่ตรัสไว้ โดยนัยมี
อาทิว่า ย่อมรู้มิจฉาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ.
ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ชื่อว่า กัมมัสสกตา-
สัมมาทิฏฐิ.
ส่วนสัมมาทิฏฐิ แม้ ๒ ประการ คือ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมา-
ทิฏฐิ ตรัสไว้ในคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ ย่อมเหมาะสำหรับผู้
มีสัมมาทิฏฐิ ดังนี้.
อนึ่ง พึงทราบว่าตรัสปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ ไว้ในคำนี้ว่า " สัม-
มาญาณะ ย่อมพอเหมาะ " ดังนี้.
วาทะ ๓
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ เจ ภวํ ครหติ ความว่า เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า
มิจฉาทิฏฐินี้ดี ดังนี้ก็ดี เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐินี้ไม่ดี ดังนี้ก็ดี
ย่อมชื่อว่าติเตียนสัมมาทิฏฐิ.
บทว่า โอกฺกลา ได้แก่ชาวโอกกลชนบท.
บทว่า วสฺสภญฺญา ได้แก่ ชน ๒ พวก คือ พวกวัสสะ และ
พวกภัญญะ.
บทว่า อเหตุวาทา คือ ผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุไม่มี
ปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า อกิริยวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะปฏิเสธการกระทำอย่างนี้ว่า
เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ.

360
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 361 (เล่ม 22)

บทว่า นตฺถิกวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วย่อม
ไม่มีผล.
ชนผู้มีวาทะดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นผู้ก้าวลงแน่นอนในทัสสนะ ๓
ประการเหล่านี้.
ถามว่า ก็การกำหนดแน่นอนแห่งทัสสนะเหล่านี้ มีได้อย่างไร ?
ตอบว่า ก็บุคคลผู้ใดถือลัทธิเห็นปานนี้ นั่งในที่พักกลางคืนและที่พัก
กลางวัน สาธยายอยู่ พิจารณาอยู่ มิจฉาสติของบุคคลผู้นั้นย่อมตั้งมั่น ใน
อารมณ์นั้นว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ ทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผล เมื่อกายแตกย่อมขาดสูญ จิตของผู้นั้นย่อมมีอารมณ์เป็น
หนึ่ง ชวนะทั้งหลายย่อมแล่นไป ในชวนะที่หนึ่ง ยังพอแก้ไขได้ ในชวนะ
ที่สองเป็นต้นก็ยังพอแก้ไขได้เหมือนกัน แต่ในชวนะที่เจ็ด แม้พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ก็ทรงแก้ไขไม่ได้ เป็นผู้มีปกติไม่หวนกลับ เช่นกับภิกษุชื่อ
อริฏฐกัณฏกะ.
ในบรรดาทัสสนะเหล่านั้น บางคนก้าวลงสู่ทัสสนะเดียว บางคน ๒
ทัสสนะ บางคน ๓ ทัสสนะ จึงเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลโดยแท้ ถึงการ
ห้ามทางไปสวรรค์และพระนิพพาน เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะไปสู่สวรรค์ในลำดับ
ต่อจากชาตินั้น จะป่วยกล่าวไปไยที่จะไปสู่พระนิพพาน สัตว์นี้ชื่อว่า เป็น
หลักตอแห่งวัฏฏะ เฝ้าแผ่นดิน โดยมากสัตว์เห็นปานนี้ย่อมไม่มีการออก
ไปจากภพ แม้ชนพวกวัสสะและภัญญะก็ได้เป็นเช่นนี้.
บทว่า นินฺทาพฺยาโรสอุปารมฺภภยา ความว่า เพราะกลัวตนจะ
ถูกนินทา ถูกกระทบกระทั่ง และถูกว่าร้าย. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้ง
นั้นแล.
จบ อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗

361
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 362 (เล่ม 22)

๘. อานาปานสติสูตร
ว่าด้วยการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก
[๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา
วิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี พร้อมด้วย
พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่าน
พระมหาโมคคลัลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจายนะ
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่าน
พระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็
สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระ
เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูป
บ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูป
บ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัด
ธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าตนรู้มาก่อน.
[๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม
ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ์ ๑๕ ค่ำ
ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์
ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
คุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งยิ่งกว่าประมาณเถิด

362
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 363 (เล่ม 22)

เราจักอยู่ในกรุงสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน
แห่งดอกโกมุท๑ พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
จักรออยู่ในกรุงสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน
แห่งดอกโกมุท จึงพากันหลังไหลมายังกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะเพิ่ม
ประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บาง
พวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บาง
พวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระ
โอวาทพร่ำสอนอยู่ ย้อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน.
[๒๘๒] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม
ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน
เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียง
คุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้
บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่าง
หาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวาย
ของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัท
นี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้
บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่า
เดินทางไปชม นับเป็นโยชน์ ๆ.
๑. คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง

363
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 364 (เล่ม 22)

มีพระอรหันตขีณาสพ ในหมู่ภิกษุ
[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระ
อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว
พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.
มีพระอนาคามี ในหมู่ภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ
เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง จะได้ปรินิพพานในโลกนั้น ๆ มีอันไม้
กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ ภิกษุ นี้ ก็มีอยู่
มีพระสกทาคามี ในหมู่ภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามี
เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่
ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่.
มีพระโสดาบัน ในหมู่ภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน
เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้
ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.
มีภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ในหมู่ภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

364