No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 345 (เล่ม 22)

สัมมาวายามะ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติ
ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.
ธรรมที่ห้อมล้อมสัมมาสังกัปปะ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาวายา-
มะ ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาลังกัปปะ ของภิกษุนั้น.
[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ภิกษุรู้จัก
มิจฉาวาจาว่าเป็นมิจฉาวาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าเป็นสัมมาวาจา ความรู้
ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.
มิจฉาวาจา
[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน ? คือพูดเท็จ ๑
พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ เจรจาเพ้อเจ้อ ๑ นี้คือ มิจฉาวาจา.
สัมมาวาจา ๒
[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาวาจาไว้ ๒ อย่าง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาวาจาที่เป็นอริยะ เป็นอนา-
สวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑.

345
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 346 (เล่ม 22)

สัมมาวาจาที่เป็นสาสวะ
[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน ? คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ ๑
งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ งดเว้น
จากการเจรจาเพ้อเจ้อ ๑ นี้คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.
สัมมาวาจาที่เป็นอนาสวะ
[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่เป็นอริยะ เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความงด ๑
ความเว้น ๑ ความเว้นขาด ๑ เจตนางดเว้น ๑ จากวจีทุจริตทั้ง ๔
ของภิกษุ ผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมาวาจาที่เป็นอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็น
โลกุตระ เป็นองค์มรรค.
ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่ ความ
พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอ
นั้น เป็นสัมมาสติ.
ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาวาจา
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาวายา-
มะ ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น.
[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ภิกษุรู้จัก

346
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 347 (เล่ม 22)

มิจฉากัมมันตะว่าเป็นมิจฉากัมมันตะ รู้จักสัมมากัมมันตะว่า เป็นสัม-
มากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.
มิจฉากัมมันตะ
[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน ? คือ
ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ นี้คือ มิจฉา-
กัมมันตะ.
สัมมากัมมันตะ ๒
[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะไว้ ๒ อย่าง คือ สัมมากัมมันตะ
ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมากัมมันตะ
ที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑
สัมมากัมมันตะที่เป็นสาสวะ
[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนา
งดเว้นจากปาณาติบาต ๑ งดเว้นจากอทินนาทาน ๑ งดเว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร ๑ นี้คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก้ขันธ์.
สัมมากัมมันตะที่เป็นอนาสวะ
[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่เป็นอริยะที่เป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความงด ๑ ความเว้น ๑ เจตนางดเว้น ๑ จากกายทุจริตทั้ง ๓ ของภิกษุ

347
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 348 (เล่ม 22)

ผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพรอ้มด้วยอริยมรรค เจริญอริย-
มรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมากัมมันตะที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค.
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัม
มันตะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.
ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะ
อยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.
ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมากัมมันตะ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวา-
ยามะ ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของ
ภิกษุนั้น.
[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จัก มิจฉา-
อาซีวะว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ความ
รู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.
มิจฉาอาชีวะ
[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การโกง ๑ การล่อลวง ๑ การตลบตะแลง ๑ การทำ
อุบายโกง ๑ การเอาลาภต่อลาภ ๑ นี้คือ มิจฉาอาชีวะ.
สัมมาอาชีวะ ๒
[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาอาชีวะไว้เป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่

348
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 349 (เล่ม 22)

ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะ
ที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑.
สัมมาอาชีวะที่เป็นสาสวะ
[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน ? คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ สัม-
มาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.
สัมมาอาชีวะที่เป็นอนาสวะ
[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่เป็นอริยะเป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความงด ๑ ความเว้น ๑ เจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ๑ ของ
ภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญ
อริยมรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมาอาชีวะที่เป็นนอริยะเป็นอนาสวะ เป็น
โลกุตระ เป็นองค์มรรค.
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอ
นั้น เป็นสัมมาสติ.
ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาอาชีวะ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมา-
วายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุ
นั้น.

349
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 350 (เล่ม 22)

เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็มีสัมมาสังกัปปะพอเหมาะ ฯลฯ
[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาก็มีพอ
เหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มี
พอเหมาะ ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติก็มีพอเหมาะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐.
[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ
เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิได้
ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็น
อันผู้มีสัมมาทิฏฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้....
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้....
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้....
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้....
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้....

350
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 351 (เล่ม 22)

ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้....
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้....
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้.....
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรม
ลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมา-
วิมุตติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่าย
อกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ
หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลกจะ
ให้เป็นไปไม่ได้.
[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึง
สำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อน
และการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้
นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียน สัมมาทิฏฐิ เขา
ก็ต้องบูชา สรรเสริญ ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมา-
สังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใคร
ติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการ
งานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์
ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณ-
พราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ

351
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 352 (เล่ม 22)

ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรร-
เสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา
สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติเขาก็ต้อง
บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญ
ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการ
กล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะ
และพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ
นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตา
รีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้ายและถูกก่อความ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ มหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗

352
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 353 (เล่ม 22)

อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร
มหาจัตตารีสกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
อย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยํ แปลว่า ไม่มีโทษ. เพราะว่าสิ่ง
ที่ไม่มีโทษ เรียกกันว่า อริยะ. บทว่า สมฺมาสมาธึ ได้แก่ สมาธิที่เป็นมรรค.
บทว่า สอุปนิสํ แปลว่า มีเหตุปัจจัย
บทว่า สปฺปริกฺขารํ แปลว่า มีองค์ประกอบ
สัมมาทิฏฐิ ๒
บทว่า ปริกฺขตา แปลว่า แวดล้อมแล้ว.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ปุพฺพงฺคมา โหติ ความว่า สัมมาทิฏฐิที่
เป็นหัวหน้ามี ๒ ส่วน คือ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิที่เป็นปุเรจาริก ๑ มรรค-
สัมมาทิฏฐิ ๑
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ กำหนดพิจารณาสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓ ด้วย
อำนาจลักษณะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น. ส่วนมรรคสัมมาทิฏฐิให้ถอนวัฏฏะอันเป็น
เหตุให้ได้ภูมิคือทำให้สงบระงับเกิดขึ้นในที่สุดของการกำหนดพิจารณาเหมือน
เอาน้ำเย็นพันหม้อราดรดบนศีรษะฉะนั้น.
อุปมาเหมือนชาวนา เมื่อจะทำนา ย่อมตัดต้นไม้ในป่าก่อน ภายหลัง
จึงจุดไฟ ไฟนั้นจะไหม้ต้นไม้ที่ตัดไว้ก่อนให้หมดไปไม่มีเหลือ ฉันใด
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วย
อำนาจลักษณะมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นก่อน มรรคสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น ถอน

353
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 354 (เล่ม 22)

สังขารทั้งหลายเสียได้ ด้วยอำนาจ (ที่สังขาร) เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป เพื่อ
การพิจารณาด้วยวิปัสสนาสัมมาทิฏฐินั้น ในที่นี้ประสงค์เอาทิฏฐิทั้งสองอย่าง.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐึ มิจฺฉาทิฏฺฐีติ ปชานาติ ได้แก่ รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ
โดยอารมณ์ ด้วยการแทงตลอดลักษณะว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. สัมมาทิฏฐิ
ย่อมรู้ชัด สัมมาทิฏฐิโดยกิจ (คือ) โดยความไม่หลง.
บทว่า สาสฺส โหติ สมฺมาทิฏฐิ ความว่า ความรู้อย่างนั้นนั้น
ของเธอ ย่อมชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ.
บทว่า ทฺวยํ วทามิ ความว่า เรากล่าว (สัมมาทิฏฐิ) ไว้สองส่วน.
บทว่า ปุญฺญภาคิยา แปลว่า เป็นส่วนแห่งบุญ.
บทว่า อุปธิเวปกฺกา แปลว่า ให้วิบาก คือ อุปธิ.
ในบทว่า ปญฺญา ปญฺณินฺทริยํ เป็นต้น ที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะ
จำแนกออกแล้ว ๆ ยังประตูแห่งอมตะให้ปรากฏ คือแสดงให้เห็น.
ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในอรรถ (ภาวะ) อันนั้น
ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา.
ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะบรรลุองค์แห่งการตรัสรู้แล้ว
ค้นคว้าสัจธรรม ๔.
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นดีงามด้วยความสมบูรณ์แห่งมรรค.
ชื่อว่า องค์แห่งมรรค เพราะเป็นองค์แห่งอริยมรรค.
บทว่า " โส " แปลว่า ภิกษุนั้น.
บทว่า ปหานาย แปลว่า เพื่อต้องการละ.
บทว่า อุปสมฺปทาย แปลว่า เพื่อต้องการได้เฉพาะ.
บทว่า สมฺมาวายาโม ได้แก่ ความพยายามอันเป็นกุศลอันเป็นเหตุ
นำออกจากทุกข์.

354