No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 335 (เล่ม 22)

สัยหะ อีกองค์หนึ่ง ผู้มีความเพียรไม่ทราม
พระพุทธชื่ออานันทะ ชื่อนันทะ ชื่ออุป-
นันทะ ๑๒ องค์ และภารทวาชพุทธ ผู้ทรง
ร่างกายในภพสุดท้าย โพธิพุทธ ๑ มหานาม-
พุทธ ๑ อุตตรพุทธ ๑ เกสีพุทธ ๑ สิขี-
พุทธ ๑ สุนทรพุทธ ๑ ภารทวาชพุทธ ๑
ติสสพุทธ ๑ อุปติสสพุทธ ๑ ผู้ตัดกิเลส
เครื่องผูกในภพได้ อุปสีทรีพุทธ ๑ และสีทรี-
พุทธ ๑ ผู้ตัดตัณหาได้ มังคลพุทธ ๑ เป็นผู้
ปราศจากราคะ อุสภพุทธ ๑ ผู้ตัดข่ายอันเป็น
มูลแห่งทุกข์ อุปณีตพุทธ ๑ ได้บรรลุบทอันสงบ
อุโปสกพุทธ ๑ สุนทรพุทธ ๑ สัจจนาม-
พุทธ ๑ เชตพุทธ ๑ ชยันตพุทธ ๑ ปทุม-
พุทธ ๑ อุปปลพุทธ ๑ ปุทุมุตตรพุทธ ๑
รักขิตพุทธ ๑ ปัพพตพุทธ ๑ มานัตถัทธ
พุทธ ๑ โสภิตพุทธ ๑ วีตราคพุทธ ๑
กัณหพุทธ ๑ ผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พระปัจ-
เจกพุทธ ผู้มีอานุภาพมากเหล่านี้และอื่น ๆ มี
ตัณหาเครื่องนำไปในภพสิ้นแล้ว เธอทั้งหลาย
จงไหว้พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น ผู้ล่วงเครื่องข้อง
ทั้งปวงได้แล้ว ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้มีคุณนับไม่
ถ้วน ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด.
จบ อิสิคิลิสูตรที่ ๖

335
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 336 (เล่ม 22)

อรรถกถาอิสิคิลิสูตร
อิสิติลิสูตรมีคำเริ่มต้นว่าข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
ประวัติภูเขาอิสิคิลิ
พึงทราบอธิบายในอิสิคิลิสูตรนั้นดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺญาว สมญฺญา อโหสิ ความว่า (ก่อน) ที่ภูเขาอิสิติลิ
จะได้ชื่อว่า อิสิคิลิ (นั้น ) ได้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เวภาระ.
บทว่า อญฺญา ปญฺญตฺติ นี้เป็นไวพจน์ของบทแรกเท่านั้น แม้
ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน
ได้ยินว่า คราวครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากนิโรธสมาบัติ
ในเวลาเย็น แล้วเสด็จออกจากพระคันธกุฎี มีหมู่ภิกษุแวดล้อมประทับนั่ง ณ
ที่ที่เมื่อคนทั้งหลายนั่งแล้วเห็นภูเขา ๕ ลูก ปรากฏชัด แล้วตรัสบอกภูเขา ๕ ลูก
เหล่านี้โดยลำดับ. ในการตรัสบอกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้มีความต้อง
การด้วยเรื่องภูเขา. แต่เมื่อตรัสบอกภูเขาเหล่านี้โดยลำดับ ๆ ก็ย่อมเป็นอันจะ
ต้องตรัสบอกภาวะที่ภูเขาอิสิคิลิเป็น ภูเขา (มีชื่อว่า) อิสิคิลิ (ด้วย). เมื่อ
ตรัสบอกเรื่องภูเขาอิสิคิลินั้นก็จักต้องตรัสบอกชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐
องค์ ผู้เป็นบุตรของนางปทุมวดี และความปรารถนาของนางปทุมวดี
เพราะเหตุดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสลำดับของภูเขานี้.
บทว่า ปวิสนฺตา ทิสฺสนฺติ ปวิฏฺฐา น ทิสฺสนฺติ ความว่า พระ
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในสถานที่ตามสะดวก กระทำ
ภัตกิจแล้ว เข้าไปข้างในโดยกระทำภูเขานั้นให้เป็น ๒ ซีก เหมือนเปิดบาน

336
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 337 (เล่ม 22)

ประตูใหญ่คู่ในห้องพระเจดีย์ สร้างที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน แล้วอยู่ ณ
ที่นั้น เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า อิเม อิสี ได้แก่ พระปัจเจกพุทธฤาษีเหล่านี้.
ก็พระปัจเจกพุทธฤาษีเหล่านั้น ได้อยู่ในภูเขานั้นตั้งแต่เมื่อไร ?
ได้ยินว่า ในอดีตกาล เมื่อพระตถาคตยังไม่อุบัติขึ้น กุลธิดาผู้หนึ่ง
ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งชานเมืองพาราณสี เฝ้านาอยู่ ได้ถวายดอกบัวดอกหนึ่ง
กับข้าวตอก ๕๐๐ ดอกแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ตั้งความปรารถนาให้
ได้บุตร ๕๐๐ คน. ก็พอดีขณะนั้น พรานล่าเนื้อ ๕๐๐ คน ได้ถวายเนื้อ
(ย่าง) อันอร่อยแล้วตั้งความปรารถนาว่า ขอให้พวกเราได้เป็นบุตรของนาง.
นางดำรงตลอดกาลกำหนดชั่วอายุแล้วไปเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกมาเกิด
ในกลีบดอกบัวในชาตสระ (สระที่มีอยู่เองโดยธรรมชาติ). พระดาบสองค์หนึ่ง
ไปพบเข้าก็เลี้ยงไว้ เมื่อนางกำลังเที่ยวเล่นนั่นแหละ ดอกบัวทั้งหลายผุดขึ้น
จากพื้นดิน ทุก ๆ ย่างเท้า. พรานป่าคนหนึ่งพบเข้า จึงกราบทูลแด่พระเจ้า
พาราณสี. พระราชาทรงนำนางนั้นมาแต่งตั้งให้เป็นอัครมเหสี. พระนางทรง
ครรภ์ มหาปทุมกุมารอยู่ในพระครรภ์พระมารดา ส่วนกุมารนอกนั้นอาศัย
ครรภ์มลทินอุบัติขึ้น. กุมารเหล่านั้นเจริญวัย ได้เล่นในสระบัวในอุทยาน
นั่งที่ดอกบัวคนละดอก เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อม ทำปัจเจกโพธิญาณให้
เกิดขึ้น คาถาพยากรณ์ของท่านได้มีดังนี้ว่า
ดอกบัวในกอบัวเกิดขึ้นในสระ
บานแล้ว ถูกหมู่แมลงภู่เคล้าคลึง ก็เข้าถึง
ความร่วงโรย บุคคลรู้แจ้งข้อนี้แล้ว พึง
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด

337
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 338 (เล่ม 22)

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นได้อยู่ในภูเขานั้นมาแต่กาลครั้ง
นั้น. และแต่ครั้งนั้นมา ภูเขานั้นจึงได้เกิดชื่อว่า อิสิคิลิ.
พระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้า
บทว่า เย สตฺตสารา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชื่อของ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๓ พระองค์คือ พระอริฏฐะ พระอุปริฏฐะ พระ-
ตัคครสิขี พระยสัสสี พระสุทัสสนะ พระปิยทัสสี พระคันธาระ
พระปิณโฑละ พระอุปาสภะ พระนิถะ พระตถะ พระสุตวา
พระภาวิตัตตะ บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
กับชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์อื่น ด้วยการผูกเป็นคาถา จึงตรัสคำเป็น
ต้นว่า เย สตุตสารา ดังนี้.
ในพระนามเหล่านั้น พระนามว่า สตฺตสารา แปลว่า เป็นหลัก
ของสัตว์ทั้งหลาย. พระนามว่า. อนีฆา แปลว่า ไม่มีทุกข์ พระนามว่า
นิราสา แปลว่า ไม่มีความอยาก.
พระนามว่า เทฺว ชาลิโน ความว่า พระนามว่า ชาลีมี ๒ องค์
คือ จุลลชาลี มหาชาลี. แม้คำว่า สันตจิตตะ ก็เป็นพระนามของพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง.
ข้อว่า ปสฺสี ชหิ อุปธึ ทุกขมูลํ นี้เป็นคำสรรเสริญพระปัจเจก-
พุทธเจ้าองค์นั้นว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นทรงพระนามว่า ปัสสี ก็
เพราะพระองค์ทรงละอุปธิอันเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ได้แล้ว.
แม้คำว่า อปราชิตะ ก็เป็นชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
เหมือนกัน. ท่านทั้ง ๕ เหล่านี้ คือ พระสัตถา พระปวัตตา พระสร-
ภังคะ พระโลมหังสะ พระอุจจังคมายะ ท่านทั้ง ๓ แม้เหล่านี้ คือ
พระอสิตะ พระอนาสวะ พระอโนมยะ.

338
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 339 (เล่ม 22)

บทว่า พนฺธุมา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรง
พระนามว่า พันธุมา เรียกกันว่าพระมานัจฉิทะ เพราะท่านตัดมานะได้
เด็ดขาด.
แม้บทว่า ตทาธิมุตตะก็เป็นพระนามพระปัจเจกพุทธเจ้าเหมือนกัน.
ท่านทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ พระเกตุมภราคะ พระมาตังคะ พระอริยะ.
บทว่า อถจฺจุโต แยกบทออกเป็น อถ อจฺจุโต (แปลว่า อนึ่ง
พระอัจจุตะ) ท่านทั้งสองเหล่านี้ คือ พระอัจจุตะ พระอจัจุตคาม-
พยามกะ ทั้งสองท่านเหล่านี้ คือ พระเขมาภิรตะ พระโสรตะ.
บทว่า สยฺโห อโนมนิกฺกโม ความว่า พระพุทธะองค์นั้นชื่อสัยหะ
แต่เขาเรียกกันว่า อโนมนิกกมะ เพราะมีความเพียรไม่ต่ำต้อย.
บทว่า อานนฺทนนฺโท อุปนนฺโท ทฺวาทส ความว่า พระปัจเจก-
พุทธ ๑๒ องค์อย่างนี้ คือ พระอานันทะ ๔ องค์ พระนันทะ ๔ องค์
พระอุปนันทะ ๔ องค์
บทว่า ภารทฺวาโช อนฺติมเทหธารี เป็นคำสรรเสริญว่า พระ
ปัจเจกพุทธะองค์นั้นชื่อภารทวาชะ ผู้ทรงพระสรีระเป็นครั้งสุดท้าย.
บทว่า ตณฺหจฺฉิโท ได้แก่ นี้เป็นคำสรรเสริญพระปสีทรี. แม้
บทว่า วีตราโค ก็เป็นคำสรรเสริญพระมังคละ
บทว่า อุสภจฺฉิทา ชาลินึ ทุกฺขมูลํ ความว่า พระพุทธะองค์นั้น
ชื่อ อุสภะ ได้ตัดตัณหาเพียงดังข่ายอันเป็นรากเหง่าแห่งทุกข์ได้แล้ว
บทว่า สนฺตํ ปทํ อชฺฌคมูปนีโต ความว่า พระปัจเจกพุทธะพระ
องค์นั้นชื่ออุปนียะ ได้บรรลุสันตบทแล้ว. แม้บทว่า วีตราคะ ก็เป็นพระ
นามของพระปัจเจกพุทธะพระองค์หนึ่งเหมือนกัน

339
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 340 (เล่ม 22)

บทว่า สุวิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่ นี้เป็นคำสรรเสริญพระกัณหะ.
บทว่า เอเต จ อญฺเญ จ ความว่า พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย
เหล่านี้ ทั้งที่มาในพระบาลีและไม่ได้มาในพระบาลี กับพระปัจเจกพุทธะเหล่า
อื่น พระปัจเจกพุทธะเหล่านี้ มีพระนามอย่างเดียวเท่านั้น.
ก็บรรดาพระปัจเจกพุทธะ ๕๐๐ เหล่านี้ พระปัจเจกพุทธะ ๒ องค์ก็ดี
๓ องค์ก็ดี ๑๐ องค์ก็ดี ๑๒ องค์ก็ดี ได้มีพระนามอย่างเดียวกัน เหมือน
พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายมีพระอานันทะ เป็นต้น.
ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ย่อมเป็นอันระบุพระนามของพระปัจเจก-
พุทธะทั้งหลายโดยพระนามอันมาในพระบาลีเท่านั้น เพราะเหตุนั้นต่อแต่นี้ไป
ไม่ตรัสแยกเป็นรายองค์ ตรัส (รวม) ว่า เหล่านี้และเหล่าอื่นดังนี้. คำที่
เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาอิสิคิลิสูตรที่ ๖

340
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 341 (เล่ม 22)

๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ
[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธ-
ดำรัสแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย. พวก
เธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
องค์ประกอบอริยสมาธิ ๗
[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมา-
สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อัน
มีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง.
[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร? คือ ภิกษุรู้จัก
มิจฉาทิฏฐิว่ามิจฉาทิฏฐิ รู้จักสัมมาทิฏฐิว่าสัมมาทิฏฐิ ความรู้ของเธอ
นั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ.

341
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 342 (เล่ม 22)

มิจฉาทิฏฐิ ๑๐
[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฏฐิเป็นไฉน ? คือ ความ
เห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ๑ ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล ๑
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ๑ ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว
ไม่มี ๑ โลกนี้ไม่มี ๑ โลกหน้าไม่มี ๑ มารดาไม่มี (คุณ) ๑ บิดาไม่มี
(คุณ) ๑ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนิน
ไปชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะ
รู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี ๑ นี้มิจฉาทิฏฐิ.
สัมมาทิฏฐิ ๒
[๒๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เรากล่าวสัมมาทิฏฐิไว้ ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก้ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็น
อนาสวะเป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคอย่าง ๑
สัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ ๑๐
[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน ? คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้
แล้วมีผล ๑ ยัญที่บูชาแล้วมีผล ๑ การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ๑
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วมีอยู่ ๑ โลกนี้มี ๑ โลกหน้ามี ๑
มารดามี ๑ บิดามี ๑ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี ๑ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้ดำเนินไปชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่ ๑ นี้ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

342
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 343 (เล่ม 22)

สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะ
[๒๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็น
อนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ๑
ปัญญินทรีย์ ๑ ปัญญาพละ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ ความเห็นชอบ ๑
องค์แห่งมรรค ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อม
ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะเป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค.
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฏฐิความ
พยายามของเธอนั้น เป็น สัมมาวายามะ.
สัมมาสติ
เธอมีสติละมิจฉาทิฏฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของเธอนั้น
เป็น สัมมาสติ.
ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาทิฏฐิ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้น.
สัมมาทิฏฐิเป็นประธานอย่างไร ?
[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ภิกษุรู้จัก
มิจฉาสังกัปปะว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าเป็น สัมมา-
สังกัปปะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

343
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 344 (เล่ม 22)

มิจฉาสังกัปปะ
[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน ? ดุก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความดำริในกาม ๑ ดำริในพยาบาท ๑ ดำริในความ
เบียดเบียน ๑ นี้คือมิจฉาสังกัปปะ.
สัมมาสังกัปปะ ๒
[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาสังกัปปะไว้ ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะ
ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาสัง-
กัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคอย่าง ๑.
สัมมาสังกัปปะที่เป็นสาสวะ
[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริ
ในเนกขัมมะ ๑ ดำริในความไม่พยาบาท ๑ ดำริในความไม่เบียดเบียน ๑
นี้คือสัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.
สัมมาสังกัปปะที่เป็นอนาสวะ
[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะที่เป็น
อนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ
ตรึก ๑ ความวิตก ๑ ความดำริ ๑ ความแน่ว ๑ ความแน่ ๑ ความปักใจ ๑
วจีสังขาร ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วย
อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะเป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค.

344