No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 315 (เล่ม 22)

กันอยู่ในสีมาเดียวกัน จึงจะทำลายสงฆ์ได้ ดังนี้ (สังฆเภท) ไม่เป็นกรรม
สำหรับคนอื่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องไม่ทั่วไป (แก่คนพวกอื่น). ด้วยอาทิ
ศัพท์ (ในบทว่า สาธารณาทีหิ) บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ท่านประสงค์เอาว่า
เป็นผู้มีทุกขเวทนา สหรคตด้วยทุกข์ และสัมปยุตด้วยโทสะและโมหะ. พึง
ทราบวินิจฉัยแม้โดย (เป็นกรรมที่) สาธารณะเป็นต้นในที่นี้อย่างนี้แล.
แก้บท อญฺญํ สตถารํ
บทว่า อญฺญํ สตฺถารํ ความว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงยึด
ถืออย่างนี้ว่า พระศาสดาของเรานี้ ไม่สามารถทำหน้าที่ของพระศาสดาได้และ
แม้ในระหว่างภพ จะพึงยึดถือเจ้าลัทธิอื่นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นศาสดาของเรา
ดังนี้ ข้อที่กล่าวมานั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
เขต ๓
บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ หมื่นโลกธาตุ. ก็เขตมี ๓
เขตคือ ชาติเขต อาณาเขต วิสัยเขต. ในเขตทั้งสามนั้น หมื่นโลกธาตุ ชื่อ
ว่า ชาติเขต. เพราะหมื่นโลกธาตุนั้นย่อมไหว ในเวลาพระตถาคตเสด็จลงสู่
พระครรภ์ เสด็จออกทรงผนวช ตรัสรู้ ประกาศพระธรรมจักร ทรงปลงอายุ
สังขาร และเสด็จปรินิพพาน. ส่วนแสนโกฏิจักรวาฬ ชื่ออาณาเขต. เพราะ
อาณา (อำนาจ) ของอาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร รัตนปริตร
และเมตตาปริตร เป็นต้น ย่อมแผ่ไป ในแสนโกฏิจักรวาลนี้. ส่วนวิสัยเขต
ไม่มีปริมาณ (คือนับไม่ได้) อันที่จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะชื่อว่า ไม่มี
วิสัยก็หามิได้ เพราะพระบาลีว่า พระญาณมีเท่าใด สิ่งที่ควรรู้ ก็มีเท่านั้น
สิ่งที่ควรรู้มีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น สิ่งที่ควรรู้มีพระญาณเป็นที่สุด พระ
ญาณมีสิ่งที่ควรรู้เป็นที่สุด

315
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 316 (เล่ม 22)

พระพุทธเจ้าไม่อุบัติในจักรวาลอื่น
ไม่มีพระสูตรที่ว่า "ก็ในเขตทั้ง ๓ เหล่านี้ เว้นจักรวาลนี้แล้วพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติในจักรวาลอื่น " ดังนี้ มีแต่พระสูตรว่า พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่น. ปิฎก ๓ คือ พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก การสังคายนาปิฎก ๓ ครั้ง คือการสัง-
คายนาของพระมหากัสสปเถระ การสังคายนาของพระยศเถระ การสังคายนา
ของพระโมคคัลลีบุตรเถรแล. ในพุทธพจน์คือ พระไตรปิฎกที่ยกขึ้นสังคาย.
นา ๓ ครั้งเหล่านี้ ไม่มีสูตรว่า " พ้นจักรวาลนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัง
เกิดขึ้นในจักรวาลอื่นได้ " มีแต่ไม่ทรงบังเกิดขึ้น (ในจักรวาลอื่น).
บทว่า อปุพพํ อจริมํ แปลว่า ไม่ก่อนไม่หลัง. อธิบายว่า ไม่
เกิดร่วมกัน คือ เกิดก่อนหรือภายหลัง. ก็ในคำนั้นไม่ควรเข้าใจว่า ในกาล
ก่อนเพียงเท่าที่ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา จนถึงเวลาที่ประทับนั่ง
ที่โพธิบัลลังก์ ด้วยทรงอธิษฐานว่า เรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณจักไม่ลุกขึ้น.
เพราะท่านทำการกำหนดเขตไว้ ด้วยการยังหมื่นจักรวาลให้หวั่นไหว ใน
เพราะการถือปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์นั่นแล. เป็นอันห้ามการเสด็จอุบัติของ
พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น. ไม่ควรเข้าใจว่าในภายหลังตั้งแต่เสด็จปรินิพพาน
จนกระทั่งพระบรมธาตุมีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ยังประดิษฐานอยู่. เพราะ
เมื่อพระบรมธาตุยังดำรงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเป็นอันยังอยู่ทีเดียว.
เพราะฉะนั้น ในระหว่างเวลาดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นอันห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระ-
พุทธเจ้าพระองค์อื่นอย่างเด็ดขาด. แต่เมื่อพระบรมธาตุเสด็จปรินิพพานแล้ว
ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น.
อันตรธาน ๓
เพราะชื่อว่า อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิ-
เวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน. ในอันตรธาน ๓ นั้น ปิฎก ๓ ซึ่งว่า

316
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 317 (เล่ม 22)

ปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ. ปฏิปทา (เครื่องดำเนิน) ชื่อ
ว่า ปฏิบัติ.
ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติ มีบ้าง ไม่มีบ้าง. เพราะภิกษุ
ทั้งหลายผู้ทรงปฏิเวธ ย่อมมีมากในกาลครั้งเดียว เป็นอันชี้นิ้วแสดงได้ชัดเจน
ว่า ภิกษุนี้เป็นปุถุชน. ขึ้นชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ไม่ใช่จะมีได้ครั้งเดียว
ในทวีปนี้เท่านั้น. แม้ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติทั้งหลาย บางคราวมีมาก บางคราว
ก็มีน้อย.
ด้วยเหตุนี้ ปฏิเวธและปฏิบัติจึงชื่อว่ามีบ้าง ไม่มีบ้าง. แต่ว่าปริยัติ
(ถือว่า) เป็นสำคัญของการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา.
พระผู้เป็นบัณฑิต ได้ศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว ย่อมบำเพ็ญปฏิเวธ
และปฏิบัติให้บริบูรณ์. พระบรมโพธิสัตว์ของพวกเราทำอภิญญา ๕ และ
สมาบัติ ๗ ให้เกิดในสำนักของ อาฬารดาบส แล้วถามถึงบริกรรม เนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่าน อาฬารดาบส บอกว่าไม่รู้. ต่อแต่
นั้นพระองค์จึงได้เสด็จไปยังสำนักของ อุทกดาบส เทียบเคียงคุณพิเศษที่ได้
บรรลุแล้ว (กับท่าน) ได้เรียนถามถึงการบริกรรม เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสมาบัติ ท่านดาบสก็บอกให้. ในลำดับแห่งคำพูดของท่านดาบสนั่นเอง
พระบรมโพธิสัตว์ก็ทำ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้นให้สำเร็จ ฉันใด
ภิกษุผู้มีปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศึกษาปริยัติแล้วย่อมทำปฏิเวธและปฏิบัติ
แม้ทั้งสองประการให้บริบูรณ์ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ พระ
ศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่.
อธิบายปริยัติอันตรธาน
ก็เมื่อใด ปริยัติ นั้นอันตรธานหายไป เมื่อนั้น พระอภิธรรม จัก
เสื่อมก่อน. ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐาน จะอันตรธานก่อนกว่าทุก

317
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 318 (เล่ม 22)

คัมภีร์. คัมภีร์ธรรมสังคหะ อันตรธานหายไปภายหลัง โดยลำดับ. เมื่อ
พระอภิธรรมปิฎกอันตรธานหายไปแล้ว แม้ปิฎกทั้งสองยังคงดำรงอยู่ พระ-
ศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้. ในปิฎกเหล่านั้น เมื่อ พระสุตตันตปิฎก จะ
อันตรธานหายไป อังคุตตรนิกาย ย่อมอันตรธานหายไปก่อน เริ่มแต่
เอกาทสกนิบาต จนถึง เอกกนิบาต. ต่อจากนั้น สังยุตตนิกาย ย่อม
อันตรธานหายไป เริ่มแต่ จักกเปยยาลสูตร จนถึง โอฆตรณสูตร.
ต่อจากนั้น มัชฌิมนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ อินทริยภาวนาสูตร
จนถึง มูลปริยายสูตร. ต่อจากนั้นทีฆนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่
ทสุตตรสูตร จนถึง พรหมชาลสูตร. ปุจฉาคาถา (คือคาถาที่เป็นคำ
ถาม) คาถาเดียวบ้าง สองคาถาบ้าง ยังอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่อาจ
ทรงพระศาสนาไว้ได้เหมือน สัพพิยปุจฉา๑ และ อาฬวกปุจฉา. ได้ยินว่า
ระหว่างกาลทั้งหลายเหล่านี้ อันมีในกาลพระกัสสปพุทธเจ้า ไม่อาจดำรงพระ-
ศาสนาไว้ได้.
ก็เมื่อปิฎกทั้งสองแม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฎกยังคง
ดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่ เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไป
แล้ว เมื่ออุภโตวิภังค์ ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่. เมื่อ
อุภโตวิภังค์ อันตรธานไปแล้ว มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็น
อันตั้งอยู่ได้. เมื่อมาติกา อันตรธานไปแล้ว ปาติโมกข์ การบรรพชา
และอุปสมบท จักดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่. เพศ (สมณะ) ยังดำเนิน
ไปได้ระยะกาลยาวนาน. ก็วงศ์ของสมณะผู้ครองผ้าขาว ไม่อาจดำรงพระศาสนา
ไว้ได้ จำเดิมแต่สมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า. พระศาสนาย่อมชื่อว่าเป็นอัน
เสื่อม จำเดิมแต่คนสุดท้ายที่แทงตลอดสัจจะ และคนสุดท้ายที่ทำลายศีล.
จำเดิมแต่นั้น ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแล.
๑. พม่า--สภิยปุจฉา

318
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 319 (เล่ม 22)

ปรินิพพาน ๓
ชื่อว่า ปรินิพพานมี ๓ คือ กิเลสปรินิพพาน ขันธปรินิพพาน
ธาตุปรินิพพาน. ในปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพานได้มีแล้ว
ณ โพธิบัลลังก์ ขันธปรินิพพานได้มีแล้ว ณ เมืองกุสินารา ธาตุปริ-
นิพพาน จักมีในอนาคต.
พระธาตุเสด็จมาชุมนุมกัน
ได้ยินว่า ในคราวพระศาสนาจะเสื่อม พระธาตุทั้งหลายจะเสด็จชุมนุม
กันที่เกาะลังกานี้ แล้วเสด็จไปยังมหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์เสด็จไปยัง
ราชายตนเจดีย์ ในนาคทวีป จากราชายตนเจดีย์ เสด็จไปยังมหาโพธิ์-
บัลลังก์. พระธาตุทั้งหลาย จากนาคพิภพก็ดี จากเทวโลกก็ดี จากพรหม-
โลกก็ดี จักเสด็จไปยังมหาโพธิบัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ขนาดเมล็ด
พันธุ์ผักกาด. จักไม่หายไปในระหว่าง ๆ กาล. พระธาตุทั้งหมด (จะรวม)
เป็นกองอยู่ที่มหาโพธิบัลลังก์ เป็นแท่งเดียวกันเหมือนแท่งทองคำเปล่งพระ
ฉัพพรรณรังสี (รัสมีมีสี ๖ ประการ) พระฉัพพรรณรังสีทั้งหลายนั้นจักแผ่ไป
ทั่วหมื่นโลกธาตุ. แต่นั้น เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาฬ จักประชุมกัน
แสดงความการุณย์อย่างใหญ่ ยิ่งกว่าในวันเสด็จปรินิพพานของพระทศพล-
ว่า วันนี้พระศาสดาจะเสด็จปรินพพาน วันนี้พระศาสนาจะเสื่อม นี้เป็น
การเห็นครั้งสุดท้ายของพวกเรา ณ กาลนี้. เว้นพระอนาคามี และพระ-
ขีณาสพ พวกที่เหลือไม่อาจดำรงอยู่ตามสภาวะของตนได้. เตโชธาตุลุกขึ้น
ในพระธาตุทั้งหลายแล้วพลุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลก. เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณ
เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงติดอยู่เปลวหนึ่ง เมื่อพระธาตุ
ทั้งหลายหมดไป เปลวเพลิงก็มอดหมดไป. เมื่อพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพ

319
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 320 (เล่ม 22)

ใหญ่อย่างนี้แล้วอันตรธานหายไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นอันอันตรธานไป.
พระศาสนาชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์ ตราบเท่าที่ยังไม่อันตรธานไปอย่างนี้. ข้อ
ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติไม่ก่อนไม่หลังกันอย่างนี้นั้น ไม่เป็นฐานะ
ที่จะมีได้.
เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่อุบัติพร้อมกัน
ก็เพราะเหตุไร ? จึงไม่อุบัติไม่ก่อนไม่หลังกัน ?
เพราะไม่น่าอัศจรรย์.
เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอัจฉริยมนุษย์. สมดังที่ตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมเป็นมนุษย์
อัศจรรย์อุบัติขึ้น บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร ? คือ พระตถาคต-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ก็ถ้า พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ๔ พระองค์ ๘ พระองค์ หรือ ๑๖
พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นร่วมกัน ไม่พึงเป็นผู้น่าอัศจรรย์. เพราะลาภสักการะแม้
ของเจดีย์ ๒ องค์ในวิหารเดียวกัน ย่อมไม่เป็นของโอฬาร. แม้ภิกษุทั้งหลาย
ก็ไม่เป็นผู้น่าอัศจรรย์ เพราะมีมาก. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงเป็นอย่าง
นั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่เสด็จอุบัติ.
อนึ่ง ที่ไม่เสด็จอุบัติ (พร้อมกัน) เพราะพระธรรมเทศนาของพระ-
องค์ ไม่มีแปลกกัน. ด้วยว่าพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงแสดงธรรมใด
ต่างโดยสติปัฏฐานเป็นต้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น เสด็จอุบัติแล้ว ก็
พึงทรงแสดงธรรมนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงไม่น่าอัศจรรย์. แต่เมื่อ
พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวทรงแสดงธรรม แม้เทศนาก็เป็นของอัศจรรย์
อนึ่ง พระธรรมเทศนาจะเป็นของอัศจรรย์ เพราะไม่มีการขัดแย้ง
กัน. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นหลายพระองค์ สาวกจะพึงวิวาทกันว่า

320
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 321 (เล่ม 22)

พระพุทธเจ้าของพวกเราน่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของพวกเราพระสุรเสียง
ไพเราะ มีบุญ. เหมือนพวกศิษย์ของอาจารย์หลายคน แม้เพราะเหตุนั้นจึง
ไม้เสด็จอุบัติขึ้นอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เหตุการณ์นี้ พระนาคเสนถูกพระเจ้า
มิลินท์ตรัสถาม ได้ขยายความพิสดารไว้แล้ว สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า:-
พระยามิลินท์ ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้านาคเสน ในเรื่อง
พระพุทธเจ้าหลายพระองค์นั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส คือ ข้อที่พระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ เสด็จอุบัติ ไม่ก่อนไม่หลังกันใน
โลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ท่านนาคเสน อนึ่ง เมื่อจะ
ทรงแสดงธรรม พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ก็จะทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗
ประการ เมื่อจะตรัสก็จะตรัสอริยสัจ ๔ เมื่อจะให้ศึกษาก็จะทรงให้ศึกษาใน
สิกขา ๓ และเมื่อจะทรงสั่งสอน ก็จะทรงสั่งสอนการปฏิบัติเพื่อความไม่
ประมาท ข้าแต่พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระพุทธเจ้าแม้ทุกพระองค์
มีอุทเทสอย่างเดียวกัน มีกถาอย่างเดียวกัน มีสิกขาบทอย่างเดียวกัน มี
อนุสนธิอย่างเดียวกัน เพราะเหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์ จึงไม่เสด็จ
อุบัติในคราวเดียวกัน เพราะการเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์
เดียว โลกนี้ก็จะเกิดแสงสว่าง ถ้าจะพึงมีพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ โลกนี้ก็จะ
พึงมีแสงสว่างยิ่งกว่าประมาณ ด้วยพระรัศมีของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์
และพระตถาคต ๒ พระองค์ เมื่อจะตรัสสอน ก็จะตรัสสอนได้ง่าย เมื่อจะ
ทรงอนุสาสน์ ก็ทรงอนุสาสน์ได้ง่าย ขอพระคุณเจ้าจงชี้แจงเหตุในข้อนั้น ให้
โยมฟังให้หายสงสัยด้วยเถิด.
พระนาคเสน ถวายวิสัชนาว่า มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ รอง
รับพระพุทธเจ้าองค์เดียว รองรับพระคุณของพระตถาคตพระองค์เดียวเท่านั้น

321
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 322 (เล่ม 22)

ถ้าพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ จะพึงอุบัติขึ้น. โลกธาตุนี้จะพึงรองรับไม่ได้ จะพึง
หวั่นไหวน้อมโน้ม พลิกกระจาย แตกทำลายไปเข้าถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ มหา-
บพิตร เรือบันทุกคนได้คนเดียว เมื่อคนผู้เดียวขึ้น เรือนั้นพึงใช้การได้ ถ้า
คนที่ ๒ ลงมา เขามี อายุ วรรณ วัย ขนาดผอม อ้วน มีอวัยวะน้อย
ใหญ่ทุกอย่าง เหมือนคนแรกนั้น คนผู้นั้นพึงขึ้นเรือลำนั้น มหาบพิตร เรือ
ลำนั้นจะรับคนแม้ทั้งสองไว้ได้หรือหนอ ?
รับไม่ได้ดอกพระคุณเจ้า เรือลำนั้นจะต้องโคลง น้อมโน้ม คว่ำ
กระจาย แตกทำลายไป เข้าถึงการลอยลำอยู่ไม่ได้ พึงจมน้ำไป ฉันใดฉันนั้น
เหมือนกันแล มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้รองรับพระพุทธเจ้าได้พระองค์
เดียว รองรับพระคุณของพระตถาคตได้พระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าว่าพระ-
พุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พึงอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุจะพึงรองรับไว้ไม่ได้พึงหวั่นไหว
น้อมโน้ม พลิกกระจาย แตก ทำลายไป เข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ อีกอย่าง
หนึ่ง มหาบพิตร เหมือนอย่างว่า คนบริโภคอาหารเต็มที่ จนถึงคอพอแก่
ความต้องการ ต่อแต่นั้น เขาจะอิ่ม เต็มที่ โงกง่วงตลอดเวลา เป็นเหมือน
ท่อนไม้ที่แข็งทื่อ. เขาพึงบริโภคอาหารมีประมาณเท่านั้นอีกครั้ง มหาบพิตร
คนผู้นั้นจะพึงมีความสุขหรือหนอ ?
ไม่มีเลย พระคุณเจ้า เขาบริโภคอีกครั้งเดียว ก็จะต้องตาย ฉันนั้น
เหมือนกันแล มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้รองรับพระพุทธเจ้า พระองค์
เดียว ฯลฯ พึงเข้าถึงการตั้งอยู่ไม่ได้.
พระคุณเจ้านาคเสน ด้วยการแบกธรรมอันยิ่งไว้ แผ่นดินจะไหว
ได้อย่างไร ?
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ในข้อนี้ (ขออุปมาด้วย) เกวียน ๒ เล่ม
(บรรทุก) เต็มด้วยรัตนะจนถึงเสมอปาก จะเอารัตนะจากเกวียนเล่มหนึ่งไป

322
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 323 (เล่ม 22)

เกลี่ยใส่ในเกวียนอีกเล่มหนึ่ง มหาบพิตร เกวียนเล่มนั้นจะพึงรองรับรัตนะ
ของเกวียนทั้งสองเล่มได้แลหรือ ?
ไม่ได้เลย พระคุณเจ้า แม้ดุมของเกวียนเล่มนั้นก็จะคลอน แม้กำก็
จะแตก แม้กงก็จะหลุดตกไป แม้เพลาก็จะหัก.
ขอถวายพระพร มหาบพิตร เกวียนหักเพราะการ (ที่บรรทุก) รัตนะ
เกินไปใช่หรือไม่ ?
ถูกแล้วพระคุณเจ้า
ขอถวายพระพร มหาบพิตร (ข้อนี้ฉันใด) แผ่นดินก็ฉันนั้นเหมือน
กัน หวั่นไหวเพราะภาระคือธรรมอันยิ่ง.
ขอถวายพระพร มหาบพิตร อีกอย่างหนึ่ง ขอพระองค์จงทรงสดับ
เหตุการณ์นี้ อันเป็นที่รวมการแสดงพระกำลังของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(และ) เหตุการณ์แม้อย่างอื่นที่น่าสนใจในข้อนั้น ที่เป็นเหตุให้พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ๒ องค์ไม่อุบัติคราวเดียวกัน มหาบพิตร ถ้าพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ๒ พระองค์จะพึงอุบัติในคราวเดียวกันไซร้ ความวิวาทกันจะพึงเกิด
แก่บริษัท สาวกจะเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธ-
เจ้าของพวกเรา ขอพระองค์จงสดับเหตุการณ์ข้อแรกนี้ ที่เป็นเหตุไม่ให้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน. ขอพระองค์
จงสดับเหตุการณ์แม้ข้ออื่นยิ่งไปกว่านี้ ที่เป็นเหตุไม่ให้ ้พระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน. ขอถวายพระพร มหาบพิตร
ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติขึ้นในคราวเดียวกันไซร้
คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เลิศ ก็จะพึงผิดไป คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เจริญที่
สุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้วิเศษสุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้สูงสุด ที่ว่าพระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่มีผู้เสมอ ที่ว่าพระพุทธเจ้าหาผู้

323
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 324 (เล่ม 22)

เสมอเหมือนมิได้ ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เปรียบเทียบ. ที่ว่าพระพุทธ-
เจ้าไม่มีผู้เทียมทัน ที่ว่าพระพุทธเจ้าหาผู้เปรียบมิได้ พึงเป็นคำผิดไป ขอ
ถวายพระพร มหาบพิตร ขอพระองค์จงรับเหตุการณ์แม้นี้แล โดยความหมาย
อันเป็นเหตุไม่ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ อุบัติขึ้นในคราวเดียว
กัน. อีกอย่างหนึ่ง ขอถวายพระพร มหาบพิตร ข้อที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์เดียวเท่านั้น อุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นสภาวปกติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เพราะเหตุไร ? เพราะพระคุณของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเป็น
เหตุการณ์ใหญ่หลวง. ขอถวายพระพร มหาบพิตร สิ่งที่เป็นของใหญ่แม้
อย่างอื่น ย่อมมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น แผ่นดินใหญ่มีแผ่นดินเดียวเท่านั้น
สาครใหญ่มีสาครเดียวเท่านั้น ขุนเขาสิเนรุใหญ่ประเสริฐสุดก็มีลูกเดียวเท่านั้น
อากาศใหญ่ (กว้าง) ก็มีแห่งเดียวเท่านั้น ท้าวสักกะใหญ่ก็มีองค์เดียว
เท่านั้น พระพรหมใหญ่ก็มีองค์เดียวเท่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ก็มีพระองค์เดียวเท่านั้น ท่านเหล่านั้นอุบัติขึ้นในที่ใด
คนเหล่าอื่นย่อมไม่มีโอกาสในที่นั้น เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เดียวเท่านั้นอุบัติขึ้นในโลก. พระคุณเจ้านาคเสน
ปัญหาพร้อมทั้งเหตุการณ์ (ที่นำมา) เปรียบเทียบ ท่านกล่าวได้ดีมาก.
เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิไม่อุบัติร่วมกัน
บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ ในจักรวาลเดียว ก็หมื่น
จักรวาลแม้จะถือเอาด้วยบทนี้ในตอนต้น ก็ควรที่จะกำหนดเอาจักรวาลเดียว
เท่านั้น เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะอุบัติขึ้นย่อมอุบัติขึ้นในจักรวาล
นี้เท่านั้น ก็เมื่อห้ามสถานที่ที่เสด็จอุบัติย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาดว่าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่นนอกจากจักรวาลนี้.

324