No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 356 (เล่ม 21)

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ย
โสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้ ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึง
เงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็น
ไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่ง
ใกล้.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่ง
ใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหา ก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้
ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็น
ไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้า
ศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น
ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
[๖๖๐] กา. ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ
ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้ง
ควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึง
การตรัสรู้สัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น
ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่าน
พระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์ และข้อที่ทรง
พยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้า

356
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 357 (เล่ม 21)

ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระ
โคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงข้อใด ๆ
ท่านพระโคดมได้ทรงพยากรณ์ข้อนั้น ๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า พวกสมณะหัวโล้นเชื้อสายคฤหบดีกัณหโคตร
เกิดจากพระบาทท้าวมหาพรหม จะแปลกอะไรและจะรู้ทั่วถึงธรรมที่ไหน
พระโคดมผู้เจริญได้ทรงทำความรักสมณะในสมณะ. ความเลื่อมใสสมณะในสมณะ
ความเคารพสมณะในสมณะ ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ ข้าแต่พระ-
โคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ
ตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
จบจังกีสูตรที่ ๕

357
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 358 (เล่ม 21)

อรรถกถาจังกีสูตร
จังกีสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในจังกีสูตรนั้น คำว่า เทววเน สาลวเน ความว่า ได้ยินว่า
ประชาชนกระทำพลีกรรมแก่เทวดาในป่าสาละนั้น เพราะเหตุนั้น ป่าสาละนั้น
จึงเรียกว่า เทพวันบ้าง สาลวันบ้าง. คำว่า ปกครองหมู่บ้านชื่อว่า
โอปาสาทะ ความว่า จังกีพราหมณ์ ครอบครองอยู่ในหมู่บ้านพราหมณ์มี
ชื่อว่า โอปาสาทะ คือเป็นใหญ่ของหมู่บ้านนั้น ปกครองอยู่ในหมู่บ้านนั้นตลอด
เขตแดนที่พึงรับผิดชอบ. ก็ในคำว่า โอปาลาทํ อชฺฌาวสติ นี้พึงทราบว่า
ทุติยาวิภัติลงในความหมายเป็นสัตตมีวิภัติ เนื่องด้วยอุปสรรค. ในบทที่เหลือ
ในพระสูตรนั้น ควรขวนขวายหาลักษณะจากคัมภีร์ศัพทศาสตร์ เพราะการที่
ศัพท์นั้นเป็นทุติยาวิภัติ. บทว่า สตฺตุสฺสทํ หนาแน่นด้วยมนุษย์และสัตว์
ความว่า หนาแน่น คือ แออัดด้วยมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า มีคนมาก
มีมนุษย์เกลื่อนกล่น และพลุกพล่านด้วยสัตว์หลายชนิด มีช้างม้า นกยูง และ
เนื้อที่เลี้ยงไว้ เป็นต้น. ก็เพราะเหตุที่บ้านนั้นสมบูรณ์ด้วยหญ้าสำหรับช้าง
ม้าเป็นต้นกิน และหญ้าสำหรับมุงบ้านซึ่งเกิดรอบนอก อนึ่ง สมบูรณ์ด้วย
ไม้ฟืนและไม้เครื่องเรือน และเพราะเหตุที่ภายในบ้านนั้น มีสระโบกขรณี
มากมายมีทั้งสัณฐานกลมและสี่เหลี่ยมเป็นต้น และภายนอก (บ้าน) มีบึง
มิใช่น้อยวิจิตรงดงามด้วยดอกไม้ที่เกิดในน้ำ มีน้ำเต็มอยู่เป็นนิจทีเดียว เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสว่า มีหญ้า ไม้และน้ำ. ชื่อว่า มีธัญญาหาร เพราะเป็นไปกับ
ด้วยธัญญาหาร. อธิบายว่า สะสมธัญญาหารไว้มากมาย มีชนิดอาหารที่จะกิน
ก่อนและอาหารที่จะกินหลังเป็นต้น. ด้วยเหตุดังกล่าวมาเพียงเท่านี้ พราหมณ์

358
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 359 (เล่ม 21)

จึงให้ยกเศวตรฉัตรอยู่อย่างพระราชาในบ้านนั้น และ ย่อมเป็นอันแสดงสมบัติ
ความพรั่งพร้อมของพราหมณ์นั้น. ทรัพย์ที่ได้จากพระราชา ชื่อว่า ราชทรัพย์.
หากจะถามว่า ใครประทาน. ตอบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลประทาน. บทว่า
ราชทายํ รางวัลของหลวง แปลว่า เป็นรางวัลของพระราชา อธิบายว่า เป็น
ทรัพย์มรดก. บทว่า พฺรหฺมเทยฺยํ ให้เป็นพรหมไทย คือ เป็นทรัพย์ที่
พึงประทานให้อย่างประเสริฐ อธิบายว่า พราหมณ์ให้ยกเศวตรฉัตรขึ้นแล้ว
ใช้สอยอย่างพระราชา. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ราชโภคฺคํ ราชทรัพย์ ความว่า
พราหมณ์สั่งการตัดและการแบ่งทุกอย่าง เก็บส่วยที่ท่าน้ำและภูเขา ให้ยก
เศวตรฉัตรขึ้นเป็นพระราชาใช้สอย. ในคำว่า ราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสน-
ทิโกศลพระราชทานแล้ว นี้ ในพระสูตรนั้น ชื่อว่า รางวัลของหลวง
เพราะพระราชาประทาน. ท่านกล่าวคำนี้ว่า พระราชาปเสนทิโกศลพระ-
ราชทานแล้ว เพื่อแสดงพระราชาผู้ประทานรางวัลนั้น . บทว่า พฺรหฺมเทยฺยํ
พรหมไทย แปลว่า ให้เป็นทรัพย์ที่พระราชทานอย่างประเสริฐ อธิบายว่า
พระราชทานแล้วโดยประการที่พระราชทานแล้ว ไม่เป็นอันจะต้องเรียกคืน
เป็นอันสละแล้ว บริจาคแล้ว . ชื่อว่า เป็นหมู่ เพราะคนเป็นจำนวนมาก ๆ
มารวมกัน. ไม่เหมือนให้เฉพาะทิศใดทิศหนึ่ง. หมู่มีอยู่แก่พราหมณ์เหล่านั้น
เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าเป็นหมู่. ชื่อว่า เป็นคณะ เพราะในกาลก่อนไม่เป็นคณะ
(ตอนอยู่) ในบ้าน ออกไปภายนอกจึงเป็นคณะ. ชื่อว่า มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ
เพราะหันหน้าไปทางเหนือ. คำว่า เรียกนักการมา ความว่า มหาอำมาตย์ผู้
สามารถพยากรณ์ปัญหาที่ถามแล้วได้เรียกว่า นักการ เรียกนักการนั้นมาแล้ว.
บทว่า จงรอก่อน ความว่า จงยับยั้งอยู่สักครู่ อธิบายว่า จงคอยก่อน.
คำว่า ผู้เป็นชาวประเทศต่าง ๆ ความว่า ชื่อว่าชาวประเทศต่าง ๆ เพราะ
พวกเขาเกิดหรืออยู่ในประเทศต่าง ๆ คือรัฐอื่นมีแคว้นกาสีและโกศลเป็นต้น

359
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 360 (เล่ม 21)

หรือมาจากประเทศต่าง ๆ นั้น. ผู้เป็นชาวประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น. บทว่า
อย่างใดอย่างหนึ่ง ความว่า ด้วยกิจบางอย่าง มีการบูชายัญเป็นต้น
ซึ่งไม่กำหนดแน่นอน. พราหมณ์เหล่านั้นได้ยินว่าท่านจังกีพราหมณ์จะไป จึง
พากันคิดว่า ท่านจังกีพราหมณ์นี้เป็นพราหมณ์ชั้นสูง ก็โดยมาก พราหมณ์
ทั้งหลายพวกอื่น ถึงพระสมณโคดมเป็นที่พึ่ง จังกีพราหมณ์นี้เท่านั้นยังไม่ได้
ไป หากจังกีพราหมณ์นั้นจักไป ณ ที่นั้นไซร้ ถูกพระสมณโคดมดลใจด้วย
เล่ห์สำหรับดลใจ ก็จักถึงสรณะ ต่อจากนั้นพวกพราหมณ์ก็จักไม่ประชุมกัน
ประตูบ้านของจังกีพราหมณ์นั้น เอาละพวกเราจักกระทำการขัดขวาง
การไปของจังกีพราหนณ์นั้น. ครั้นปรึกษากันแล้ว จึงรออยู่ ณ ที่นั้น . ท่าน
หมายเอาอาการนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์เหล่านั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า แต่ข้างทั้งสอง ได้แก่ แต่ทั้งสองข้าง
คือ ข้างฝ่ายมารดาและบิดา. อธิบายว่า มารดาเป็นนางพราหมณี ยายเป็น
พราหมณี แม้มารดาของยายก็เป็นนางพราหมณี บิดาเป็นพราหมณ์ ปู่เป็น
พราหมณ์ แม้บิดาของปู่ก็เป็นพราหมณ์ (จังกีพราหมณ์) ผู้เจริญเกิดดีแล้ว
จากทั้งสองฝ่าย คือ ข้างฝ่ายมารดาและข้างฝ่ายบิดา อย่างนี้ ด้วยประการ
ดังนี้. บทว่า ผู้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดี ความว่า ครรภ์เป็น
ที่ถือปฏิสนธิทางฝ่ายมารดาของท่าน บริสุทธิ์ดี แม้ครรภ์เป็นที่ปฏิสนธิทางฝ่าย
บิดาของท่านก็บริสุทธิ์ดี. ในคำว่า จนถึงปิตามหยุดที่ ๗ นี้ ปู่ชื่อว่า
ปีตามหะ ยุคของปู่ชื่อว่า ปิตามหยุด. ประมาณอายุ เรียกว่า ยุค. ก็คำว่า
ยุคนี้ เป็นเพียงพูดกันเท่านั้น. แต่โดยความหมาย ปิตามหยุด ก็คือ ปีตามหะ
นั่นเอง. บรรพบุรุษแม้ทั้งหมดสูงในรูปกว่านั้น ก็ถือเอาด้วยศัพท์ว่า ปิตามหะ
นั่นแหละ. ผู้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีถึง ๗ ชั่วคนอย่างนี้. อีกอย่าง-
หนึ่ง แสดงว่า ไม่ถูกคัดค้านติเตียนด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ. บทว่า

360
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 361 (เล่ม 21)

ไม่ถูกห้าม ความว่า ไม่ถูกคัดค้าน คือ ไม่ถูกโต้แย้งอย่างนี้ว่า จงนำผู้นี้
ออกไป ประโยชน์อะไรกับผู้นี้. บทว่า ไม่ถูกติเตียน ความว่า ไม่ถูก
ติเตียน คือไม่เคยถูกด่าหรือติเตียน. ถามว่า ด้วยเหตุอะไร. ตอบว่า ด้วย
การกล่าวอ้างถึงชาติ. อธิบายว่า ด้วยคำพูดเห็นปานนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้
ผู้นี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดเลว. บทว่า ด้วยองค์นี้ ความว่า เพราะเหตุแม้นี้.
บทว่า มั่งคั่ง แปลว่า เป็นใหญ่. บทว่า มีทรัพย์มาก แปลว่า ประกอบ
ด้วยทรัพย์มาก. แสดงว่า ก็ในบ้านของจังกีพราหมณ์ผู้เจริญมีทรัพย์มาก
เหมือนฝุ่นและทรายบนแผ่นดิน ส่วนพระสมณโคดมไม่มีทรัพย์ ทำท้องให้
เต็มด้วยการขอ แล้วยังอัตภาพให้ดำเนินไป. บทว่า มีโภคะมาก คือ
เป็นผู้มีเครื่องอุปโภคมากเนื่องด้วยกามคุณ ๕. พวกพราหมณ์กล่าวคุณใด ๆ
ด้วยประการอย่างนี้ ย่อมกล่าวดูถูกว่า พวกเราจักกล่าวเฉพาะโทษของพระผู้มี
พระภาคเจ้า โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณนั้น ๆ. บทว่า มีรูปงาม ความว่า มี
รูปงามยิ่งกว่ามนุษย์อื่น. บทว่า ทสฺสนีโย ความว่า ควรแก่การดี เพราะ
ทำความไม่เบื่อแก่ผู้ดูอยู่ทั้งวัน . ชื่อว่า น่าเลื่อมใส เพราะทำความเลื่อมใส
ให้เกิดด้วยการดูเท่านั้น. ความงามเรียกว่า โปกขรตา. ความงามแห่งผิวพรรณ
ชื่อว่า วัณณโปกขรตา. ด้วยความงามแห่งผิวพรรณนั้น. อธิบายว่า ด้วยความ
ถึงพร้อมแห่งผิวพรรณ. ส่วนอาจารย์รุ่นเก่าเรียกสรีระว่า โปกขระ. วรรณะก็
คือผิวพรรณนั่นเอง. ตามมติของท่าน วรรณะและสรีระ ชื่อว่า วรรณะและ
สรีระ. ภาวะแห่งวรรณะและสรีระ ชื่อว่า ความเป็นแห่งวรรณและสรีระ.
คำว่า แม่เพราะเหตุนี้ มีผลงามอย่างยิ่ง ความว่า ด้วยวรรณะอันบริสุทธิ์
อย่างสูงสุด และด้วยความถึงพร้อมด้วยสรีรสัณฐาน. บทว่า มีวรรณะดุจ
พรหม แปลว่ามีวรรณะประเสริฐที่สุด. อธิบายว่า ประกอบด้วยวรรณะดุจ
ทองคำอันประเสริฐสุด แม้ในบรรดาวรรณะอันบริสุทธิ์ทั้งหลาย. คำว่า มี

361
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 362 (เล่ม 21)

สรีระดุจพรหม ได้แก่ประกอบด้วยสรีระดุจสรีระของท้าวมหาพรหม. คำว่า
อขุทฺทาวกาโส ทสฺสนาย ความว่า โอกาสแห่งการได้เห็นสรีระของ
ท่านผู้เจริญ ไม่เล็กน้อย คือ ใหญ่. ท่านแสดงว่า อวัยวะน้อยใหญ่ของ
ท่านทั้งหมดที่เดียวน่าดูด้วย ทั้งใหญ่โตด้วย. ชื่อว่า มีศีล เพราะอรรถว่า
ศีลของพราหมณ์นั้นมีอยู่. ชื่อว่า มีศีลยั่งยืน เพราะอรรถว่า ศีลของพราหมณ์
นั้นเบิกบานแล้ว คือเจริญแล้ว. บทว่า พุทฺธสีเลน แปลว่า ด้วยศีลอัน
เบิกบานแล้ว คือ เจริญแล้ว. บทว่า มาตามพร้อมแล้ว แปลว่า ประกอบ
แล้ว. คำนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า พุทฺธสีลี นั่นแหละ. พวกพราหมณ์กล่าว
คำ (ว่าศีล) ทั้งหมดนั้น หมายเอาเพียงศีลห้าเท่านั้น. ในคำว่า มีวาจางาน
เป็นต้น ที่ชื่อว่า มีวาจางาม เพราะอรรถว่า วาจาของพราหมณ์นั้น งามคือ
ดี ได้แก่มีบทและพยัญชนะกลมกล่อม. ชื่อว่า เปล่งเสียงไพเราะ เพราะอรรถ
ว่าการเปล่งเสียของพราหมณ์นั้นงาม คือ ไพเราะ. เสียงที่เปล่งออก
ชื่อว่า วากฺกรณํ. ชื่อว่า มีวาจาเป็นของชาวเมือง เพราะเป็นวาจา
มีในเมือง โดยเป็นวาจาที่สมบูรณ์ด้วยคุณ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีวาจาดุจ
ของหญิงชาวเมือง เพราะอรรถว่ามีวาจาเหมือนวาจาของหญิงชาวเมืองนั้น
เพราะหญิงชาวเมือง ชื่อว่าชาวบุรี เพราะมีในเมือง เป็นผู้ละเอียดอ่อน.
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองนั้น. บทว่า วิสฏฺฐาย ได้แก่ ไม่ติดขัด คือ
เว้นจากโทษมี เสียงสูงและเสียงต่ำเป็นต้น. บทว่า อเนลคฬาย ความว่า
เว้นจากโทษ. อธิบายว่า ก็เมื่อบุคคลบางคนกำลังพูดอยู่ โทษย่อมไหลออก
คือน้ำลายไหล หรือก้อนเขฬะกระเด็น วาจาของคนนั้นชื่อว่าเป็นวาจามีโทษ
ด้วยวาจาที่ตรงข้ามกับวาจาที่มีโทษนั้น. คำว่า อตฺถสฺส วิญฺญาปนิยา ความ
ว่า สามารถทำเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดให้ปรากฏ ทำผู้ฟังให้เข้าใจชัดเนื้อ

362
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 363 (เล่ม 21)

ความที่กล่าว. คำที่เหลือในการพรรณนาคุณของพราหมณ์ในที่นี้ง่ายทั้งนั้น.
คำว่า เอวํ วุตฺเต แปลว่า เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้.
จังกีพราหมณ์คิดว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้น เข้าใจว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์
เมื่อกล่าวคุณของตนจะไม่ยินดี ย่อมไม่มี พวกเราจักกล่าวคุณของจังกีพราหมณ์
นั้น ห้าม (มิให้ไป) จึงกล่าวคุณของเราโดยอ้างถึงชาติเป็นต้น การยินดีใน
การพรรณนาคุณของตนเอง หาควรแก่เราไม่ เอาเถอะ เราจะทำลายวาทะของ
พราหมณ์เหล่านั้นเสีย ให้พวกเขารู้ว่า พระสมณโคดมเป็นให้ ทำให้พวกเขา
ไปในที่นั้น ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น
พวกท่านจงฟังเราบ้าง. ก็จังกีพราหมณ์รู้คุณทั้งหลายอันยิ่งกว่าคุณของตนว่า
บรรดาคุณเหล่านั้น คุณแม้ใดเช่นเดียวกับคุณของตนมีเป็นต้นว่า เกิดดีแล้วแต่
ทั้งสองฝ่าย คุณแม้นั้นมีความถึงพร้อมด้วยพระชาติเป็นต้น ก็ล้วนเป็นของพระ
สมณโคดมทั้งสิ้น จึงประกาศคุณทั้งหลายที่นอกเหนือขึ้นไป เพื่อแสดงว่าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นใหญ่โดยส่วนเดียวแท้. คำว่า พวกเราเท่านั้นย่อม
ควร ความว่า ก็เมื่อพราหมณ์กำหนดแน่ลงไปอย่างนี้ จึงแสดงคำนี้ไว้ในที่นี้
ว่าผิวว่าพระสมณโคดม ชื่อว่าเป็นผู้ที่เราควรจะเข้าไปหา เพราะทรงเป็นใหญ่
โดยพระคุณไซร้. เมล็ดพรรณผักกาด เทียมกันเขาพระสุเมรุ เป็นของนิดหน่อย
ต่ำทราม. น้ำในรอยเท้าโคเทียบกับน้ำมหาสมุทรเป็นของนิดหน่อย ต่ำต้อย.
หยาดน้ำค้างเทียบกับน้ำในสระใหญ่ทั้ง ๗ สระก็เป็นของนิดหน่อย ต่ำต้อยฉัน
ใด คุณของพวกเราเมื่อเทียบกับพระคุณมีชาติสมบัติเป็นต้น ของพระสมณ-
โคดม ก็เป็นของเล็กน้อย ต่ำทรามฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พวกเรา
เท่านั้นย่อมควรเข้าไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น . ในคำว่า ภูมิคตญฺจ
เวหาสฏฺฐญฺจ นี้ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดินทำสระโบกขรณีอันโบกด้วยปูนขาวให้
เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทั้งในพระลานหลวง และในพระราชอุทยาน ชื่อ

363
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 364 (เล่ม 21)

ว่าทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน. ส่วนทรัพย์ที่เก็บไว้เต็มปราสาทและ. ที่เก็บรวบรวมไว้
เป็นต้น ชื่อว่าทรัพย์ตั้งอยู่ในอากาศ. ทรัพย์ที่มีมาตามวงศ์ตระกูลอย่างนี้ก่อน.
ส่วนเฉพาะในวันที่พระตถาคตเจ้าประสูติ มีขุมทรัพย์ผุดขึ้น ๔ ขุม คือขุมทรัพย์
สังขะ ขุมทรัพย์เอละ ขุมทรัพย์อุปปละ ขุมทรัพย์บุณฑริกะ. บรรดาขุม-
ทรัพย์เหล่านั้น ขุนทรัพย์กว้างหนึ่งคาวุต ชื่อสังขะ. ขุมทรัพย์กว้างกึ่งโยชน์
ชื่อเอละ. ขุมทรัพย์กว้าง ๓ คาวุต ชื่ออุปปละ. ขุนทรัพย์กว้าง ๑ โยชน์ ชื่อ
ปุณฑริกะ. ที่ที่หยิบเอาทรัพย์ ในขุมทรัพย์แม้เหล่านั้น คงเต็มอยู่ตามเดิม
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเงินและทองมากมายออกผนวชด้วย
ประการดัง. คำว่า หนุ่ม ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้าให้พิสดารแล้วในหนหลังนั่น
แหละ. ในคำว่า มีโอกาสไม่น้อย นี้ พึงทราบว่า (ได้แก่) โอกาสที่เห็นไม่มี
ประมาณในพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ในข้อที่ว่า มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง.
ได้ยินมาว่า พราหมณ์คนใดคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ฟังมาว่า เขาเล่า
ลือกันว่า ใครๆ ไม่สามารถวัดประมาณ (ขนาด) ของพระสมณโคดมได้ จึงใน
เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาต เขายืนถือไม่ไผ่ยาวหกสิบศอก .
อยู่ภายนอกประตูเมือง พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึง จึงถือไม้ไผ่ยืน
อยู่ใกล้ ๆ. ไม้ไผ่ยาวเพียงพระชานุของพระผู้มีพระภาค. วันรุ่งขึ้น เขาเอาไม้
ไผ่ต่อเข้า ๒ ลำ แล้วได้ยืนเทียบอยู่ในที่ใกล้ ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พราหมณ์ ท่านทำอะไรปรากฏแต่เพียงไม้ไผ่ ๒ ลำ (ต่อ) บนไม้ไผ่ ๒ ลำ.
พ. ข้าพระองค์จะวัดขนาดของพระองค์.
ภ. พราหมณ์ แม้หากว่าท่านเอาไม้ไผ่มาต่อจนเต็มห้องจักรวาลทั้ง
สิ้นแล้ว ยืนเทียบอยู่ในที่ใกล้ ท่านก็ไม่อาจวัดขนาดของเราได้ เพราะเราบำเพ็ญ
บารมีมาสิ้นสี่อสงไขยแสนกัป โดยประการที่คนอื่นจะพึงวัดขนาดของเรานั้นหา

364
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 365 (เล่ม 21)

มิได้ พระตถาคตนับคำนวณไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ดังนี้แล้วตรัสพระคาถาใน
พระธรรมบท. ในเวลาจบพระคาถา สัตว์แปดหมื่นสี่พันดื่มน้ำอมฤตแล้ว.
ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง. เขาว่า ท้าวอสุรินทราหูสูงถึงสีพันแปดร้อยโยชน์
ระหว่างแขนกว้างหนึ่งพันสองร้อยโยชน์. ฝ่ามือฝ่าเท้ากว้างสามร้อยโยชน์. ข้อ
นิ้วมือห้าสิบโยชน์. ระหว่างคิ้วกว้างห้าสิบโยชน์. หน้าผากกว้างสามร้อยโยชน์.
ศีรษะเก้าร้อยโยชน์. ท้าวราหูนั้นไม่มาเฝ้าด้วยคิดว่า เราสูง ไม่อาจก้มดูพระ
ศาสดา. วันหนึ่ง ได้ฟังการพรรณนาคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จมาเฝ้า
ด้วยความคิดเสียว่า จักดูตามแต่จะดูได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
อัธยาศัยของท้าวเธอ จึงทรงพระดำริว่า เราจักแสดงโดยอิริยาบถไหนในบรรดา
อิริยาบถทั้ง ๔ แล้ว ทรงดำริสืบไปว่า ธรรมดาคนยืนแม้จะต่ำก็ปรากฏเหมือน
ว่าสูง เราจักนอนแสดงตนแก่ท้าวเธอ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า อานนท์ เธอจงลาด
เตียงน้อย ณ บริเวณพระคันธกุฎี แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์บนเตียงน้อยนั้น.
ท้าวราหูเสด็จมา แล้วชะเง้อคอมองดูพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงบรรทมอยู่.
เหมือนแหงนคอดูพระจันทร์เพ็ญในท่ามกลางนภากาศ ฉะนั้น. และเมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี้อะไรกัน จอมอสูรก็กราบทูลว่า ข้าพระองค์
ไม่มาเฝ้าด้วยคิดว่า ข้าพระองค์ไม่อาจก้มดูพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดา
ตรัสว่า จอมอสูร เรามิได้บำเพ็ญบารมี เหมือนอย่างก้มหน้า เราให้ทาน
กระทำให้มีผลเลิศ ชั้นสูงทั้งนั้น. วันนั้น ท้าวราหูได้ถึงสรณะ. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงมีโอกาสมิใช่น้อยที่จะได้เห็นด้วยประการอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีศีลด้วยปาริสุทธิศีล ๔. ก็ศีลนั้น
เป็นอริยะ คือสูงสุดบริสุทธิ์. เพราะเหตุนั้น จังกีพราหมณ์จึงกล่าวว่า ทรงมี
ศีลเป็นอริยะ. ศีลนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นกุศล เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ.
เพราะเหตุนั้น จังกีพราหมณ์จึงกล่าวว่า ทรงมีศีลเป็นกุศล. คำว่า มีศีลเป็น

365