No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 646 (เล่ม 20)

[๓๙๘] ดูก่อนกัจจานะ เทวดาเหล่าใดย่อมสู้แสงพระจันทร์และแสง
พระอาทิตย์ไม่ได้ เทวดาเหล่านั้นมีมากยิ่งกว่าเทวดาพวกที่สู้แสงพระจันทร์
และแสงพระอาทิตย์ได้ เรารู้เรื่องเช่นนั้นดีอยู่ ถึงกระนั้น เราก็ไม่กล่าวว่า
วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็ชื่อว่า
กล่าวอยู่ว่า วรรณใดเลวกว่าและเศร้าหมองกว่าแมลงหิ่งห้อย วรรณนั้นเป็น
วรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นเท่านั้น.
ดูก่อนกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่
พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกามเป็น
ที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตะ. . .กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ. . .
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา. . .โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
ดูก่อนกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ความสุขโสมนัสอันใด อาศัย
กามคุณ ๕ เหล่านั้นเกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่า กามสุข [สุขเกิดแต่
กาม] ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันเรากล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย กล่าว
สุขอันเป็นที่สุดของกาม๑ ว่าเลิศกว่ากามสุข ในความสุขอันเป็นที่สุขของกามนั้น
เรากล่าวว่าเป็นเลิศ.
สรรเสริญสุขอันเป็นที่สุดของกาม
[๓๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่พระโคดมผู้เจริญตรัสกามสุขว่าเลิศ
กว่ากามทั้งหลาย ตรัสความสุขอันเป็นที่สุดของกามว่าเลิศกว่ากามสุข ในความ
สุขอันเป็นที่สุดของกามนั้นตรัสว่าเป็นเลิศนี้ ตรัสดีน่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา.
๑. หมายเอานิพพาน

646
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 647 (เล่ม 20)

ดูก่อนกัจจานะ ข้อที่ว่ากามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเป็นที่สุดของการ
ก็ดี นี้ยากที่ท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความ
ชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความประกอบเนื้อความเป็นประการอื่น มีลัทธิอาจารย์
เป็นประการอื่นจะพึงรู้ได้ ดูก่อนกัจจานะ ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ มีกรณียะได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์
ของตนอันถึงแล้วตามลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะ
รู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นแล จะพึงรู้ข้อที่ว่า กาม กามสุข หรือสุขอันเป็น
ที่สุดของกามนี้ได้.
[๔๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชก
โกรธ ขัดใจ เมื่อจะด่าว่าติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าคิดว่า เราจักให้พระสมณ-
โคดมได้รับความเสียหาย ดังนี้ จึงได้กราบทูลว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณ-
พราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น ไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย แต่
ปฏิญาณอยู่ว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์
เหล่านั้น ถึงความเป็นคำน่าหัวเราะทีเดียว ถึงความเป็นคำต่ำช้าอย่างเดียว ถึง
ความเป็นคำเปล่า ถึงความเป็นคำเหลวไหลแท้ ๆ.
[๔๐๑] ดูก่อนกัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้อง
ต้น เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย มาปฏิญาณว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง
นี้มิได้มี ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรถูกข่มขี่สมกับเหตุ ดูก่อนกัจจานะ
ก็แต่ว่าเงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื้อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด บุรุษผู้รู้ความ
ไม่เป็นคนโออวด ไม่มีมายา เป็นคนชื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจะสั่งสอน

647
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 648 (เล่ม 20)

เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็น
เอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ เครื่องผูก
คืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.
ดูก่อนกัจจานะ เปรียบเหมือนเด็กอ่อนยังนอนหงาย จะพึงถูกเขาผูก
ไว้ด้วยเครื่องผูกที่ข้อเท้าทั้งสอง ที่ข้อมือทั้งสอง ที่คอหนึ่ง เป็นห้าแห่ง เครื่อง
ผูกเหล่านั้น จะพึงหลุดไปเพราะเด็กนั้นถึงความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เขา
พึงรู้ว่าเป็นผู้พ้น และเครื่องผูกก็ไม่มี ฉันใด กัจจานะ บุรุษผู้รู้ความก็ฉัน
นั้นแล เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจัก
สั่งสอน เราจักแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานนักก็
จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก
คือเครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.
เวขณสปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
[๔๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ฉันใด พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนก
ปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ
ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบเวขณสสูตรที่ ๑๐
จบปริพพาชกวรรคที่ ๒

648
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 649 (เล่ม 20)

๑๐. อรรถกถาเวขณสสูตร
เวขณสสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมา
อย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เวขณโส ได้ยินว่าเวขณสปริพาชกนี้
เป็นอาจารย์ของสกุลุทายีปริพพาชก. เวขณสปริพาชกนั้นได้ยินว่า สกุลุทายี
ปริพาชก แพ้ปัญหามีวรรณอย่างยิ่งจึงคิดว่า สกุลุทายีนั้นเราให้เรียนเป็นอย่าง
ดีแล้ว แม้สกุลุทายีก็เรียนได้ดี เขาแพ้ได้อย่างไรหนอ เอาละ เราจะไปเอง
ทูลถามปัญหามีวรรณยิ่งกะพระสมณโคดมแล้วจักรู้ได้. จึงไปกรุงสาวัตถีประมาณ
๔๕ โยชน์จากกรุงราชคฤห์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ยืน
เปล่งอุทานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ในบทนั้นพึงทราบโดยนัยดังกล่าว
แล้ว เช่นกับสูตรก่อนนั่นแหละ. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
เริ่มว่า ปญฺจ โข อิเม กามคุณ ๕ เหล่านี้. คนบางคนแม้ครองเรือนก็เป็น
ผู้หนักในกามน้อมไปในกาม. บางคนเป็นผู้หนักโนเนกขัมมะน้อมไปในเนก-
ขัมมะ อนึ่ง บางคนเป็นบรรพชิต เป็นผู้หนักในกามน้อมไปในกาม. บาง
คนเป็นผู้หนักในเนกขัมมะ น้อมไปในเนกขัมมะ. บุคคลนี้ชื่อว่า เป็นผู้หนักใน
กาม บุคคลนั้นเมื่อเขากล่าวกถานี้จักกำหนดควานที่ตนน้อมไปในกาม เทศนา
นี้จักเป็นที่สบายของบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่ม
เทศนานี้. บทว่า กามคฺคสุขํ สุขอันเป็นที่สุดของกาม ท่านประสงค์เอา
นิพพาน. บทว่า ปาปิโต ภวิสฺสติ จักให้พระสมณโคดมได้รับความเสีย
หาย คือจักให้ถึงความไม่รู้. บทว่า ลามกํเย สมฺปชฺชติ ถึงความเป็น
ธรรมต่ำช้า คือ ถึงความเป็นธรรมเพียงคำพูดอันไร้ประโยชน์นั่นเอง. บทว่า

649
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 650 (เล่ม 20)

ติฏฺฐตุ ปุพฺพนฺโต ติฏฺฐตุ อปรนฺโต เงื่อนเบื้องต้น จงงดไว้เถิด เงื่อน
เบื้องปลายจงงดไว้เถิด. เพราะบุพเพนิวาสญาณอันสมควรแก่กถาในอดีตของ
ท่านไม่มี. ทิพจักขุญาณอันสมควรแก่กถาในอนาคตก็ไม่มี. ฉะนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็จงลดไว้เถิด . บทว่า สุตฺตพนฺธเนหิ
คือด้วยเครื่องผูกทำด้วยด้าย คือเขาผูกด้ายไว้ที่มือเท้าและที่คอเพื่อดูแลทารก
นั้น . เครื่องผูกนี้ท่านหมายถึงด้ายนั้น. แต่ครั้นเป็นผู้ใหญ่ เครื่องผูกเหล่านั้น
เปื่อยจะหลุดไปเอง หรือตัดออกไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบทนี้ด้วย
บทว่า เอวเมว โข ดังนี้. การไม่รู้ที่สุดเบื้องต้นแห่งอวิชชา ดุจกาลที่เด็ก
อ่อนไม่รู้เครื่องผูกทำด้วยด้ายฉะนั้น. เพราะไม่สามารถรู้ที่สุดแห่งอวิชชาได้.
แต่การรู้ว่า ความพ้นแห่งเครื่องผูกคืออวิชชา ด้วยอรหัตมรรค เช่นกับการรู้
ในเวลาพ้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาเวขณสสูตรที่ ๑๐
จบปริพาชกวรรคที่ ๓
รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร ๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร ๔. ทีฆนขสูตร
๕. มาคัณฑิยสูตร ๖. สันทกสูตร
๗. มหาสกุลุทายิสูตร ๘. สมณมุณฑิกสูตร
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร ๑๐. เวขณสสูตร

650
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 1 (เล่ม 21)

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณสาก์
เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ราชวรรค
๑. ฆฏิการสูตร
[๔๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จแวะออกจากทาง
แล้วได้ทรงแย้มพระสรวลในประเทศแห่งหนึ่ง. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได๊
มีความคิดว่า เหตุอะไรหนอ ปัจจัยอะไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแย้ม-
พระสรวล พระตถาคตทั้งหลายจะทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้นั้นไม่มี
ดังนี้. ท่านพระอานนท์จึงทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี
ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เหตุอะไรหนอ ปัจจัยอะไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแย้มพระสรวล
พระตถาคตทั้งหลายจะทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้นั้นไม่มี.

1
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 2 (เล่ม 21)

[๔๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เรื่องเคยมีมา
แล้ว ที่ประเทศนี้ได้มีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมมั่งคั่งและเจริญ มีคนมาก
มีมนุษย์หนาแน่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเวภฬิคนิคมอยู่. ดูก่อนอานนท์ ได้ยินว่า ที่นี้เป็นพระ
อารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่นี้.
[๔๐๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้นถวาย แล้ว
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับนั่งเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ภูมิประเทศนี้จักได้เป็นส่วนที่พระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ทรงบริโภค. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
นั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูถวายแล้ว จึงตรัสกะพระอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในประเทศนี้มีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมมั่งคั่ง
และเจริญ มีคนมาก มีมนุษย์หนาแน่น. ดูก่อนอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเวภฬิคนิคม
อยู่. ได้ยินว่า ที่นี้เป็นพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม
ว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่นี้.
และในเวภฬิคนิคม มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ.
มีมาณพชื่อโชติปาละเป็นสหายของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ เป็นสหายที่รัก. ครั้งนั้น
ฆฏิการะช่างหม้อเรียกโชติปาลมาณพมาว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

2
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 3 (เล่ม 21)

เจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี.
โชติปาลสมาทาน
[๔๐๖] ดูก่อนอานนท์ เมื่อฆฏิการะช่างหม้อกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติ-
ปาลมาณพได้กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะ
ศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า. ดูก่อนอานนท์ แม้ครั้งที่สอง ฆฏิการะช่างหม้อ
ก็ได้กล่าวกะโชติปาลมาณพว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่า
การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
สมมติกันว่าเป็นความดี แม้ครั้งที่สอง โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวว่า อย่าเลย
เพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้ว
เล่า แม้ครั้งที่สาม ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้กล่าวว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เรา
จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ดูก่อนอานนท์ แม้ครั้งที่สาม
โชติปาลมาณพก็กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระ-
สมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า.
ฆ. เพื่อนโชติปาละ ถ้าอย่างนั้น เรามาถือเอาเครื่องสำหรับสีตัวเมื่อ
เวลาอาบน้ำไปแม่น้ำเพื่ออาบน้ำกันเถิด. โชติปาลมาณพรับคำฆฏิการะช่างหม้อ
แล้ว.
[๔๐๗] ดูก่อนอานนท์ ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาล-
มาณพได้ถือเอาเครื่องสำหรับสีตัวเมื่อเวลาอาบน้ำไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำ. ครั้ง

3
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 4 (เล่ม 21)

นั้นแล ฆฏิการะช่างหม้อได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ
นี้ก็ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการ
ที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติ
กันว่าเป็นความดี.
[๔๐๘] ดูก่อนอานนท์ เมื่อฆฏิการะช่างหม้อกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติ-
ปาลมาณพได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์
อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า. แม้ครั้งที่สอง...แม้ครั้งที่
สาม ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ไม่
ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็น
ความดี. แม้ครั้งที่สาม โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า อย่าเลย
เพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็น
แล้วเล่า.
[๔๐๙] ดูก่อนอานนท์ ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อได้จับโชติปาล-
มาณพที่ชายพกแล้วกล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ก็ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิด
เพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ลำดับนั้น

4
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 5 (เล่ม 21)

โชติปาลมาณพให้ฆฏิการะช่างหม้อปล่อยชายพกแล้วกล่าวว่า อย่าเลยเพื่อน
ฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า.
ดูก่อนอานนท์ ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อจับโชติปาละผู้อาบน้ำ
ดำเกล้าที่ผมแล้วกล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อน
โชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ครั้งนั้น โชติปาล-
มาณพมีความคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอท่าน ไม่เคยมีมาหนอท่าน ที่ฆฎิการะ
ช่างหม้อผู้มีชาติต่ำมาจับที่ผมของเราผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้ว การที่เราจะไปนี้เห็น
จะไม่เป็นการไปเล็กน้อยหนอ ดังนี้แล้วได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า เพื่อน
ฆฏิการะ การที่เพื่อนทำความพยายามตั้งแต่ชักชวนด้วยวาจา จับที่ชายพกจน
ล่วงเลยถึงจับที่ผมนั้น ก็เพื่อจะชวนให้กันไปในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เท่านั้นเองหรือ.
ฆ. เท่านั้นเองเพื่อนโชติปาละ จริงเช่นนั้นเพื่อน ก็การที่เราได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความดี.
โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าอย่างนั้น จงปล่อยเถิด เราจักไป.
[๔๑๐] ดูก่อนอานนท์ ครั้นนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพ
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วฆฏิการะช่างหม้อถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง. ส่วนโชติปาลมณพได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

5