No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 388 (เล่ม 2)

บทว่า อสฺส ได้แก่ กายของมนุษย์.
บทว่า ปริเยเสยฺย มีความว่า พึงทำโดยประการที่ตนจะได้. อธิบาย
ว่า พึงจัดเตรียมไว้. ด้วยคำว่า สตฺถหารกํ สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถาวรประโยค. เมื่อจะถือเอาเนื้อความแม้โดย
ประการอื่นจากนี้แล้ว ภิกษุจะพึงเป็นปาราชิกด้วยเหตุสักว่า ศัสตราอันตนแสวง
หามาแล้วเท่านั้น. อันที่จริง ข้อนั้นไม่ถูก แต่ในพระบาลี ท่านพระอุบาลี
เถระ ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะทั้งปวง เพื่อจะแสดงเฉพาะศัสตราที่สงเคราะห์เข้า
ในถาวรประโยค ในคำว่า สตฺถหารกํ นี้ เท่านั้น จึงกล่าวไว้ในบทภาชนะ
ว่า อสึ วา ฯ เป ฯ รชฺชํ วา ดังนี้. บรรดาเครื่องประหารเหล่านั้น เครื่อง
ประหารที่มีดมชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากที่กล่าวแล้ว พึงทราบว่า
เป็นศัสตรา. และพึงทราบว่า สงเคราะห์ไม้ค้อน ก้อนหิน ยาพิษและเชือก
เข้าเป็นศัสตราด้วย เพราะเป็นเครื่องผลาญชีวิตให้พินาศ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มรณวณฺณํ วา นี้ ดังต่อไปนี้:- ภิกษุ
แม้แสดงโทษในความเป็นอยู่ โดยนัยมีคำว่า จะมีประโยชน์อะไร ด้วยความ
เป็นอยู่อันชั่วช้าลามกเช่นนี้ ของท่านผู้ไม่ได้เพื่อบริโภคโภชนะอันดี ดังนี้เป็น
ต้น แม้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความตาย โดยนัยมีคำว่า อุบาสก ! ท่านแล
เป็นผู้ทำกรรมงามไว้แล้ว ฯลฯ บาปท่านไม่ได้ทำเลย ความตายของท่านดีกว่า
ความเป็นอยู่ ท่านทำกาละจากอัตภาพนี้แล้ว ฯลฯ จักยังตนให้เที่ยวไป คือ
จักมีนางอัปสรแวดล้อม ถึงความสุข อยู่ในสวนนันทวัน ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า
พรรณนาคุณแห่งความตายทีเดียว. ฉะนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวบท-
ภาชนะแยกออกเป็น ๒ ส่วนว่า ชี้โทษในความเป็นอยู่ ๑ สรรเสริญคุณใน
ความตาย ๑.

388
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 389 (เล่ม 2)

คำว่า มรณาย วา สมาทเปยฺย มีความว่า พึงแนะนำให้ฉวย
เอาอุบาย เพื่อประโยชน์แก่ความตาย. ส่วนคำว่า ท่านจงตกบ่อตายหรือว่าจง
ตกเหวตาย เป็นต้น แม้ที่พระอุบาลีเถรมิได้กล่าวไว้ ในคำมีอาทิว่า สตฺถํ
วา อาหร ดังนี้ ทั้งหมด ก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้วโดยใจความนั้น
เอง เพราะเป็นคำซึ่งมีนัยดังกล่าวแล้วข้างหน้า. จริงอยู่ ใคร ๆ ก็ไม่สามารถ
กล่าวคำชักชวนทุกอย่างโดยสิ้นเชิงได้.
บทว่า อิติ จิตฺตมโน มีความว่า เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนั้น
อธิบายว่า เธอมีจิตหมายความตาย มีใจหมายความตายดังกล่าวแล้วในคำนี้ว่า
ความตายของท่านดีกว่าความเป็นอยู่ ก็เพราะในบทว่า จิตฺตมโน นี้ มนศัพท์
ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงใจความแห่งจิตตศัพท์ แต่จิตและใจ แม้ทั้ง ๒ นี้
โดยใจความ ก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง ; เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความไม่ต่าง
กัน โดยใจความแห่งจิตและใจนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า ธรรม-
ชาติอันใด เป็นจิต ธรรมชาติอันนั้น ก็คือใจ, ธรรมชาติอันใดเป็นใจ ธรรม-
ชาติอันนั้น ก็คือจิต. ส่วนเนื้อความยังไม่ได้กล่าวก่อน แม้เพราะถอนอิติศัพท์
ออกเสีย. อิติศัพท์ พึงชักมาด้วยอำนาจเป็นเจ้าหน้าที่ในบทว่า จิตฺดสงฺกปฺโป
นี้.
จริงอยู่ บทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นี้ แม้ไม่ได้ตรัสอย่างนี้ว่า อิติ-
จิตฺตสงฺกปฺโป ก็พึงทราบว่า เป็นอันตรัสแล้วโดยความเป็นเจ้าหน้าที่นั่นเอง.
จริงอย่างนั้น เมื่อท่านจะแสดงเฉพาะเนื้อความนั้น แห่งบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป
นั้น จึงกล่าวว่าคำว่า มรณสญฺญี (มีความหมายในอันตาย) เป็นอาทิ. แต่คำ
ว่า สงฺกปฺโป นี้ ในบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นั้น มิได้เป็นชื่อของวิตก อันที่
แท้ คำนั้นเป็นคำเรียกกรรมเพียงการจัดแจง และการจัดแจงนั้นย่อมถึงความ

389
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 390 (เล่ม 2)

สงเคราะห์ด้วยความหมาย ความจงใจ และความประสงค์ในอรรถนี้ ; เพราะ
เหตุนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ชื่อว่าผู้มีจิตตสังกัปปะ เพราะ
อรรถวิเคราะห์ว่า เธอมีความจัดแจงแปลก คือมีประการต่าง ๆ. จริงอย่างนั้น
แม้บทภาชนะแห่งบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นั้น ท่านพระอุบาลีเถระ ก็กล่าว
ด้วยอำนาจแห่งความหมาย ความจงใจ และความประสงค์. แต่ในอธิการนี้
วิตก พึงทราบว่า เป็นความประสงค์.
สองบทว่า อุจฺจาวเจหิ อากาเรหิ มีความว่า ด้วยอุบายทั้งหลาย
ที่ใหญ่และใหญ่โดยลำดับ. บรรดาการพรรณนาคุณความตายและการชักชวน
ในความตายเหล่านั้น ในการพรรณนาคุณความตายก่อน อวจาการตา พึง
ทราบ ด้วยอำนาจการชี้โทษในความเป็นอยู่ อุจฺจาการตา พึงทราบ ด้วย
อำนาจการสรรเสริญคุณแห่งความตาย. ส่วนในการชักชวน อุจฺจาการตา พึง
ทราบ ด้วยอำนาจการชักชวนในความตาย เพราะเหตุทั้งหลาย มีกำมือและ
ปรบเข่าเป็นต้น อวจาการตา พึงทราบ ด้วยอำนาจการใส่ยาพิษเข้าในเล็บ
มือ ของบุคคลผู้บริโภคร่วมกัน แล้วชักชวนในความตายเป็นต้น.
ในคำว่า โสพฺเภ วา นรเก วา ปปาเต วา นี้มีวินิจฉัยดังนี้:-
บ่อที่ลึก ซึ่งมีตลิ่งชันโดยรอบชื่อว่า โสพภะ. ที่ชื่อว่า นรก ได้ แก่ ชอก
ใหญ่ที่เกิดเองโดยแท้ ในเมื่อพื้นดินแตกระแหงในที่นั้น ๆ อันเป็นที่ซึ่งช้างตก
ไปบ้าง พวกโจรแอบซ่อนอยู่บ้าง. ที่ชื่อว่า ปปาตะ ได้แก่ ประเทศที่ขาด
แหว่งข้างเดียว ในระหว่างภูเขา หรือในระหว่างบนบก.
สองบทว่า ปุริเม อุปาทาย ความว่า ทรงเทียบเคียงบุคลผู้เสพ
เมถุนธรรมและผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ แล้วต้องอาบัติปาราชิก. คำ
ที่เหลือ ปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในก่อน และเพราะมีเนื้อ
ความตื้น ฉะนี้แล.

390
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 391 (เล่ม 2)

[อธิบายมาติกาในบทภาชนีย์]
ท่านพระอุบาลีเถระ ครั้นจำแนกสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อุเทศไว้แล้วตามลำดับบทอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะตั้งมาติกาแสดงมนุสสวิคคห-
ปาราชิกโดยพิสดารไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สามํ อธิฏฺฐาย ดังนี้อีก เพื่อให้
ภิกษุทั้งหลายถือเอานัยโดยอาการทุกอย่าง และเพื่อป้องกันโอกาสของปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต เพราะเหตุว่า มนุสสวิคคหปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงในบทภาชนีย์ในหนหลัง โดยสังเขปเท่านั้น ไม่ได้ทรงยกอาบัติขึ้น
ปรับแล้ววางแบบแผนไว้โดยพิสดาร และภิกษุทั้งหลาย ไม่สามารถจะถือเอา
นัยไว้โดยอาการทั้งปวง ในเนื้อความที่ทรงแสดงไว้โดยสังเขป ทั้งแม้ปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต ก็มีโอกาส จึงกล่าวคำว่า สามนฺติ สยํ หนติ ดังนี้
เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น มีถ้อยคำสำหรับวินิจฉัยพร้อมด้วยการพรรณนาบทที
ยังไม่ง่าย ดังต่อไปนี้:-
บทว่า กาเยน ความว่า ด้วยมือ เท้า กำมือ หรือเข่า หรือด้วยอวัยวะ
น้อยใหญ่ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า กายปฏิพทฺเธน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีดาบเป็นต้น
ที่ไม่พ้นจากกาย.
บทว่า นิสฺสคฺคิเยน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีลูกศรและหอก
เป็นต้น ที่พ้นจากกาย หรือจากของที่เนื่องด้วยกาย ด้วยลำดับแห่งคำเพียง
เท่านี้ ประโยคทั้ง ๒ คือ สาหัตถิกประโยคและนิสสัคคิยประโยคเป็นอันท่าน
กล่าวแล้ว. ในประโยคทั้ง ๒ นั้น แต่ละประโยคมี ๒ อย่าง โดยจำแนกเป็น
ประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง.

391
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 392 (เล่ม 2)

บรรดาประโยคเจาะจงและไม่เจาะจงนั้น พึงทราบวินิจฉัยในประโยค
เจาะจง ดังต่อไปนี้:- ภิกษุประหารเจาะจงผู้ใด ด้วยการตายของผู้นั้นนั่นแล
ภิกษุนั้นย่อมถูกกรรมผูกพัน. ในประโยกที่ไม่เจาะจงอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง จง
ตาย ดังนี้ ด้วยการตายของผู้ใดผู้หนึ่ง เพราะการประหารเป็นปัจจัย ภิกษุ
ย่อมถูกกรรมผูกพัน. ทั้ง ๒ ประโยคผู้ถูกประหารจะตายในขณะพอถูกประหาร
หรือจะตายในภายหลังด้วยโรคนั้นก็ตามที ภิกษุย่อมถูกกรรมผูกพันในขณะที่ผู้
ตายถูกประหารนั่นเอง. แต่เมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความประสงค์เพื่อการตาย
เมื่อผู้ถูกประหารไม่ตายด้วยการประหารนั้น จึงให้การประหารด้วยจิตดวงอื่น
ต่อไป ถ้าผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารครั้งแรก แม้ในภายหลัง ภิกษุถูก
กรรมผูกพันในเวลาประหารครั้งแรกเท่านั้น ถ้าตายด้วยการประหารครั้งที่ ๒
ไม่มีปาณาติบาต. แม้เมื่อผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารทั้ง ๒ ครั้ง ภิกษุก็
ถูกกรรมผูกพันแท้ ด้วยการประหารครั้งแรกนั่นเอง. เมื่อไม่ตายด้วยการ
ประหารทั้ง ๒ คราวก็ไม่มีปาณาติเหมือนกัน. ในการที่คนแม้มากให้
การประหารแก่บุคคลผู้เดียว ก็นัยนี้ ถึงในการที่คนมากคนให้การประหารแม้
นั้น ผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารของผู้ใด กรรมพันธ์ ย่อมมีแก่ผู้นั้นเท่า
นั้น ฉะนี้แล.
[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นเป็นอนันตริยกรรมและปาราชิก]
อนึ่ง ในอธิการแห่งตติยปาราชิกนี้ เพื่อความฉลาดในกรรมและอาบัติ
พึงทราบแม้หมวด ๔ ว่าด้วยเรื่องแพะ. จริงอยู่ ภิกษุรูปใด สำรวจดูแพะซึ่ง
นอนอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยคิดในใจว่า เราจักมาฆ่าในเวลากลางคืน. และ
มารดาหรือบิดาของภิกษุนั้นหรือพระอรหันต์ห่มผ้ากาสาวะสีเหลือง แล้ว นอน
อยู่ในโอกาสที่แพะนอน. เธอเวลากลางคืน ทำในในว่า เราจะฆ่าแพะให้

392
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 393 (เล่ม 2)

ตาย ดังนี้ จึงฆ่ามารดาบิดาหรือพระอรหันต์ตาย. เพราะมีเจตนาอยู่ว่า เรา
จะฆ่าวัตถุนี้ให้ตาย เธอจึงเป็นผู้ฆ่าด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้อง
ปาราชิกด้วย. มีคนอาคันตุกะอื่นบางคนนอนอยู่. เธอทำในใจว่า เราจะฆ่า
แพะให้ตาย จึงฆ่าคนอาคันตุกะนั้นตาย จัดเป็นฆาตกรด้วย ต้องปาราชิกด้วย
แต่ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม. มียักษ์หรือเปรตนอนอยู่. เธอนั้นทำในใจว่า
เราจะฆ่าแพะให้ทาย จึงฆ่ายักษ์หรือเปรตนั้นตาย, เป็นเฉพาะฆาตกร ไม่ถูก
ต้องอนันตริยกรรมและไม่ต้องปาราชิก แต่เป็นถุลลัจจัย. ไม่มีใคร ๆ อื่นนอน
อยู่ มีแต่แพะเท่านั้น. เธอฆ่าแพะตัวนั้นตาย เป็นฆาตกรด้วย ต้องปาจิตตีย์
ด้วย. ภิกษุใดทำในใจว่า เราจะฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์ คนใดคนหนึ่ง
ให้ตาย ดังนี้แล้ว ก็ฆ่าบรรดาท่านเหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคนหนึ่งให้ตาย
ภิกษุนั้น เป็นฆาตกรด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้องปาราชิกด้วย. เธอ
ทำในใจว่า เราจักฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์เหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคน
หนึ่งให้ตาย แล้วก็ฆ่าอาคันตุกะคนอื่นตาย หรือฆ่ายักษ์เปรตหรือแพะตาย.
ผู้ศึกษาหญิงทราบ (อาบัติคือปาราชิก ถุลลัจจัยและปาจิตตีย์) โดยนัยดังกล่าว
แล้วในก่อนนั่นแล. แต่โนวิสัยแห่งการฆ่าสัตว์มีอาคันตุกะเป็นต้นนี้ เจตนา
ย่อมเป็นของทารุณ แล.
[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นในกองฟางไม่ต้องปาราชิก]
ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ ผู้ศึกษาควรทราบเรื่องทั้งหลายแม้เหล่าอื่น
มีกองฟางเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุใด ทำในใจว่า เราจักเช็คดาบหรือที่เปื้อนT
เลือด แล้วสอดเข้าไปในกองฟาง ฆ่ามารดาก็ดี บิดาก็ดี พระอรหันต์ก็ดี
คนอาคันตุกะก็ดี ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งนอนอยู่ในกองฟาง
นั้นตาย ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจแห่งโวหาร เรียกว่า ฆาตกร ได้ แต่เพราะ

393
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 394 (เล่ม 2)

ไม่มีวธกเจตนา เธอจึงไม่ถูกต้องกรรม ทั้งไม่ต้องอาบัติ. ส่วนภิกษุใด เมื่อ
กำลังสอด (ดาบหรือหอกนั้น) เข้าไปด้วยอาการอย่างนั้น กำหนดได้ว่าสัมผัส
กับร่างกาย ก็สอดเข้าไปฆ่าให้ตายด้วยคิดว่า ชะรอยจะมีสัตว์อยู่ภายโนจงตาย
เสียเถอะ. กรรมพันธ์ (ข้อผูกพันทางกรรม) และอาบัติของเธอนั้น พึงทราบ
โดยสมควรแก่เรื่องเหล่านั้น. เมื่อภิกษุสอด (ดาบหรือหอกนั้น ) เข้าไปเพื่อ
เก็บไว้ในกองฟางนั้นก็ดี โยนเข้าไปที่พุ่มไม้ป่าเป็นต้น ก็ดี ก็นัยนี้.
[ภิกษุฆ่าพ่อในสนามรบเป็นทั้งปาราชิกและปิตุฆาต]
ภิกษุใด คิดว่า เราจะฆ่าโจรให้ตาย แล้วก็ฆ่าบิดาซึ่งกำลังเดินไปด้วย
เพศเหมือนโจรตาย ภิกษุนั้น ย่อมถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย เป็นปาราชิกด้วย.
ส่วนภิกษุใด เห็นนักรบคนอื่นและบิดาซึ่งกำลังทำงาน (การรบ) อยู่ในเสนา
ฝ่ายข้าศึก จึงยิงลูกศรไปเฉพาะตัวนักรบ ด้วยติดในใจว่า ลูกศรแทงนักรบ
คนนั้นแล้วจักแทงบิดาของเรา. ภิกษุรูปนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นปิติฆาตก์ (ผู้ฆ่า
บิดา) ในเมื่อลูกศรพุ่งไปตามความประสงค์. เธอคิดอยู่ในใจว่า เมื่อนักรบ
ถูกลูกศรแทงแล้ว บิดาของเราก็จักหนีไป ดังนี้แล้วจึงยิงลูกศรไป ลูกศรไม่
พุ่งไปตามความประสงค์ กลับทำให้บิดาตาย เธอรูปนั้น ท่านเรียก ปิตุฆาตก์
(ผู้ฆ่าบิดา) ด้วยอำนาจแห่งโวหาร แต่ไม่เป็นอนันตริยกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
บทว่า อธิฏฺฐิหิตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในที่ใกล้. บทว่า อาณาเปติ
ได้แก่ ภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวหรือไม่เจาะตัว. บรรดาการสั่งเจาะตัวไม่เจาะตัวนั้น
ครั้นหมู่เสนาฝ่ายข้าศึก ปรากฏขึ้นเฉพาะแล้ว เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งไม่เจาะตัว
เลยว่า เธอจงแทงอย่างนี้ จงประหารอย่างนั้น จงฆ่าอย่างนี้ เป็นปาณาติบาต
แก่เธอทั้ง ๒ รูป มีประมาณเท่าจำนวนข้าศึกที่ภิกษุผู้รับสั่งฆ่า. บรรดาภิกษุ

394
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 395 (เล่ม 2)

ผู้สั่งและผู้รับสั่งนั้น ถ้าภิกษุผู้สั่งมีมารดาและบิดาอยู่ด้วย, เธอผู้สั่ง ย่อมต้อง
อนันตริยกรรมด้วย, ถ้ามีพระอรหันต์อยู่ด้วย, เธอแม้ทั้ง ๒ รูป ย่อมต้อง
อนันตริยกรรมด้วย. ถ้าภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นมีมารดาและบิดาอยู่ (ในสนามรบ),
ภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นแล ย่อมต้องอนันตริยกรรม. แต่เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวว่า
เธอจงแทง จงประหารจงฆ่านักรบคนนั้น ผู้สั่ง ต่ำ มีเสื้อสีแดง มีเสื้อสีเขียว
ซึ่งนั่งอยู่บนคอช้าง (หรือ) นั่งอยู่ตรงกลาง (หลังช้าง), ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น
ฆ่านักรบคนนั้นนั่นเอง, เป็นปาณาติบาตแม้ด้วยกันทั้ง ๒ รูป, และในเรื่อง
แห่งอนันตริยกรรม ย่อมต้องอนันตริยกรรมด้วยกันทั้ง ๒ รูป. ถ้าภิกษุผู้รับ
สั่งฆ่าคนอื่นตาย, ปาณาติบาต ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง. อาณัตติกประโยค
ย่อมเป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วยคำว่า อธิฏฺฐหิตฺวา อาณาเปติ เป็นต้นนั่น.
[ฐานะ ๕ และ ๖ พร้อมทั้งอรรถาธิบาย]
โนอาณัตติกประโยคนั้น :-
ผู้พิจารณาที่ฉลาด พึงสอบสวน
ฐานะ ๕ ประการ คือ วัตถุ กาล โอกาส
อาวุธ และอิริยาบถ แล้วพึงทรงไว้ซึ่ง
อรรถคดี.
อีกนัยหนึ่ง:-
เหตุทำให้การสั่งแน่นอน (สำเร็จได้)
มี ๖ อย่างนี้ คือ วัตถุ กาล โอกาส อาวุธ
อิริยาบถ และกิริยาพิเศษ.
บรรดาฐานะมีวัตถุเป็นต้นนั้น ฐานะว่า วัตถุ ได้แก่ สัตว์ที่จะพึง
ถูกฆ่าให้ตาย.

395
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 396 (เล่ม 2)

ฐานะว่า กาล ได้แก่ กาลมีกาลเช้าและเย็นเป็นต้น และกาลมีวัย
เป็นหนุ่มสาวมีเรี่ยวแรงและมีความเพียรเป็นต้น.
ฐานะว่า โอกาส ได้แก่ สถานทีมีอาทิอย่างนี้ คือ บ้าน ป่า
ประตูเรือน ท่ามกลางเรือน ถนน รถ หรือทาง ๓ แพร่ง.
ฐานะว่า อาวุธ ได้แก่ อาวุธมีอาทิอย่างนั้น คือ ดาบ ลูกศร หรือหอก.
ฐานะว่า อิริยาบถ ได้แก่ อิริยาบถมีอาทิอย่างนี้ คือ การเดิน
หรือนั่ง ของผู้ที่จะพึงถูกฆ่าให้ตาย.
ฐานะว่า กิริยาพิเศษ ได้แก่ กิริยาที่ทำมีอาทิอย่างนี้ คือ แทง ตัด
ทำลาย ถลกหนังศีรษะทำให้เกลี้ยงเหมือนสังข์*.
[อธิบายวัตถุที่จะพึงถูกฆ่า]
ก็ถ้าหากว่า ภิกษุผู้รับสั่งทำให้วัตถุพลาดไป ไพล่ไปฆ่าคนอื่นจาก
บุคคลที่ผู้สั่ง สั่งให้ฆ่า, หรือถูกสั่งว่า ท่านจงประหารข้างหน้าฆ่าให้ตาย
ไพล่ไปประหารข้างหลัง หรือข้าง ๆ หรือที่อวัยวะแห่งใดแห่งหนึ่งให้ตายไป,
ข้อผูกพันทางกรรมย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง, ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่ภิกษุ
ผู้รับสั่งเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้รับสั่ง ไม่ทำวัตถุให้พลาดไป ฆ่าผู้นั้น
ตายตามที่สั่งไว้. ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่เธอทั้ง ๒ รูป คือ แก่ผู้สั่ง
ในขณะที่สั่ง ผู้รับสั่งในขณะที่ประหาร. ก็ในเรื่องวัตถุนี้ ความแปลกกันแห่ง
กรรมและความแปลกกันแห่งอาบัติ ย่อมมี เพราะความแปลกกันแห่งวัตถุ.
บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมาย และผิดที่หมาย ในวัตถุอย่างนี้ก่อน.
* ความหมายของศัพท์นี้ ในสารัตถทีปนี ๒/๔๐๕ อธิบายไว้ว่า ต้องตัดหนังออก (จากศีรษะ)
กำหนดเพียงหมวกหู และหลุมคอ แล้วเอาก้อนกรวดขัดกะโหลกศีรษะให้มีสีขาวเหมือนสังข์.

396
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 397 (เล่ม 2)

[อธิบายกาลที่สั่งให้ทำการฆ่า]
ส่วนในกาล มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใดได้รับคำสั่งว่า ท่านจงฆ่า
ให้ตายในเวลาเช้า ไม่กำหนดว่า วันนี้ หรือพรุ่งนี้, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าเขา
ตายเวลาเช้า ในกาลใดกาลหนึ่ง ความผิดที่หมาย ย่อมไม่มี. ส่วนภิกษุรูปใด
ได้รับสั่งว่า ท่านจงฆ่าให้ตายในเวลาเช้าวันนี้, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าเขาตาย
ในเวลาเที่ยงวัน หรือเวลาเย็น หรือเวลาเช้าพรุ่งนี้, ย่อมผิดที่หมาย, สำหรับ
ภิกษุผู้สั่ง ไม่มีความผูกพันทางกรรม. แม้ในเมื่อภิกษุพยายามจะฆ่าให้ตายใน
เวลาเช้า แต่กลายเป็นเที่ยงวันไป ก็มีนัยเหมือนกัน. บัณฑิตพึงทราบความ
ถูกที่หมายและผิดที่หมาย ในประเภทแห่งกาลทั้งปวงโดยนัยนี้.
[อธิบายโอกาสที่สั่งให้ทำการฆ่า]
แม้ในโอกาส มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจงฆ่า
บุคคลนั่น ผู้ยืนอยู่ในบ้านให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าบุคคลนั้นตายในที่
ใดที่หนึ่ง. ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใดถูกสั่งกำหนดไว้ว่า จงฆ่าให้ตาย
ในบ้านเท่านั้น, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้นฆ่าเขาตายในป่า, อนึ่ง เธอถูกสั่งว่า จง
ฆ่าให้ตายในป่า, แต่เธอฆ่าเขาตายในบ้าน, ถูกสั่งว่า จงฆ่าให้ตายที่ประตู
ภายในบ้าน ฆ่าเขาตายตรงท่ามกลางเรือน, ย่อมผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบ
ความถูกที่หมายและผิดที่หมายในความต่างกันแห่งโอกาสทั้งปวง โดยนัยนี้.
[อธิบายอาวุธที่เป็นเครื่องมือใช่ให้ฆ่า]
แม้ในอาวุธ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่าท่านจงเอาอาวุธ
ฆ่าให้ตาย ไม่ได้กำหนดไว้ว่า ดาบ หรือลูกศร, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น เอาอาวุธ
ชนิดใดชนิดหนึ่งฆ่าให้ตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า
จงใช้ดาบฆ่า แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ใช้ลูกศรฆ่า, หรือถูกสั่งว่า จงใช้ดาบ

397