No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 436 (เล่ม 20)

กล่าวถึงวิโมกข์ ๘ ด้วย. บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา คือถูกต้องด้วยนามกาย
อันเกิดร่วมกัน. บทว่า ปญฺญาย จสฺส ทิสฺวา คืออาสวะบางเหล่าของเขา
สิ้นไปแล้วเพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้น. เพราะเหตุนั้นควรละอาสวะส่วนหนึ่ง
ด้วยปฐมมรรคเป็นต้น . บทว่า ตถาคตปฺ ปเวทิตา คืออริยสัจ ๔ อัน
พระตถาคตทรงประกาศแล้ว. บทว่า ปญฺญาย โวทิฏฺฐา โหนฺติ คือธรรม
ทั้งหลายเป็นอันผู้นั้นเห็นดีแล้วด้วยมรรคปัญญา เพราะสะสมความประพฤติไว้
ในอรรถด้วยอรรถ ในเหตุด้วยเหตุอย่างนี้ว่า ศีล สมาธิ วิปัสสนา มรรคและผล
ท่านกล่าวไว้ในที่นี้. บทว่า โวจริตา คือประพฤติดีแล้ว. บทว่า สทฺธา
นิวิฏฺฐา โหติ ได้แก่ โอกัปปนศรัทธาตั้งมั่นแล้ว.
บทว่า มตฺตโส นิชฺฌานํ ชมนฺติ ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคต
ประกาศแล้วย่อมควรซึ่งความเพ่งพินิจโดยประมาณ. คือควรตรวจดูโดยประ-
มาณ. บทว่า สทฺธามตฺตํ คือศรัทธานั่นแหละ. บทนอกนั้นเป็นไวพจน์ของ
บทว่า สทฺธามตฺตํ นั่นเอง.
เพราะเหตุนี้ในบุคคลผู้ควรทำด้วยความไม่ประมาทเหล่านี้ พระเสขะ
ผู้แทงตลอดมรรคผล ๓ จำพวกเหล่านั้นเสพเสนาสนะอันสมควร คบกัลยาณ-
มิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ย่อมถือเอาพระอรหัตตามลำดับ. เพราะฉะนั้น
อธิบายความแห่งบาลีแห่งบทเหล่านั้นเป็นอันตั้งไว้ตามสมควรแล้ว.
อนึ่งในที่สุดท่านผู้เพียบพร้อมด้วยโสดาปัตติมรรคทั้งสองเหล่านั้น
เสพเสนาสนะอันสมควรแก่มรรคนั้น คบกัลยาณมิตรทำอินทรีย์ให้สงบ เสพ
คบ ทำอินทรีย์ให้เสมอ เพื่อประโยชน์แก่มรรค ๓ ในเบื้องบน จักบรรลุ
พระอรหัตตามลำดับ นี้เป็นความอธิบายบาลีในสูตรนี้ด้วยประการฉะนี้. ส่วน
ท่านผู้พูดนอกรีตนอกรอยจับเอาบาลีนี้นี่แหละแล้วกล่าวว่า โลกุตตรมรรคมิได้

436
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 437 (เล่ม 20)

เป็นไปในขณะจิตดวงเดียวแต่เป็นไปในขณะจิตหลายดวง. พึงกล่าวกะผู้พูด
นั้นว่า ผิว่า เสพเสนาสนะด้วยจิตดวงหนึ่ง คบกัลยาณมิตรด้วยจิตดวงหนึ่ง
ทำอินทรีย์ให้เสมอด้วยจิตดวงหนึ่งท่านหมายว่า มรรคจิตเป็นจิตดวงอื่น แล้ว
กล่าวว่ามรรคมิได้เป็นไปในขณะจิตดวงหนึ่ง เป็นไปในขณะจิตหลายดวงน่ะซิ.
เมื่อเป็นอย่างนั้นผู้เสพเสนาสนะย่อมเห็นภูเขามีแสงสว่างเป็นสีเขียว เห็นป่า ได้
ยินเสียงเนื้อและนก ดมกลิ่นดอกไม้ ผลไม้ ดื่มน้ำ ลิ้มรส นั่ง นอน ถูก
ต้องผัสสะ. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ความเพียบพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ ก็จักเป็น
ความเพียบพร้อมแห่งโลกุตตระนั่นเอง. ก็หากท่านรับข้อนั้น. ย่อมขัดกับ
พระศาสดา. พระศาสดาตรัสถึงกองแห่งวิญญาณ ๕ ว่าเป็นอัพยากฤตโดยส่วน
เดียว. เป็นการคัดค้านกุศลและอกุศลของผู้เพียบพร้อมด้วยมรรคนั้น. อนึ่ง
โลกุตตรมรรคเป็นกุศลส่วนเดียว. เพราะฉะนั้นควรประกาศให้รู้ไว้ว่าท่านจง
ละวาทะนั้นเสีย. หากผู้พูดนั้นไม่ยอมตามสัญญาควรส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไป
จงเข้าไปสู่วิหารแต่เช้าตรู่แล้วดื่มยาคู.
บทว่า นาหํ ภกฺขเว อาทิเกเนว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ไม่กล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผลเป็นครั้งแรกเท่านั้น ดุจกบกระโดดไปฉะนั้น.
บทว่า อนุปุพฺพสิกฺขา เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า
ด้วยการศึกษาโดยลำดับ. แม้ใน ๒ บทต่อไปก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
สทฺธาชาโต เกิดศรัทธาคือมีศรัทธาเกิดแล้วด้วยศรัทธาอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
สำเร็จ. บทว่า อุปสงฺกมิ คือย่อมเข้าไปหาครู. บทว่า ปยิรุปาสติ คือ
ย่อมนั่งในสำนักครู. บทว่า ธาเรติ คือย่อมทรงไว้ทำให้คล่องแคล่ว. บทว่า
ฉนฺโท ชายติ ฉันทะย่อมเกิด ได้แก่ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำย่อม
เกิด. บทว่า อุสฺสหติ ย่อมอุตสาหะ คือทำความเพียร. บทว่า ตุเลติ ย่อม
ไตร่ตรองคือไตร่ตรองว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. บทว่า ตุลยิตฺวา
ปทหติ ครั้นไตร่ตรองแล้วย่อมตั้งความเพียร คือเมื่อไตร่ตรองด้วยวิปัสสนา
เป็นเครื่องพิจารณาอย่างนี้ย่อมตั้งความเพียรในมรรค. บทว่า ปหิตฺตโต คือ

437
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 438 (เล่ม 20)

มีตนส่งไปแล้ว. บทว่า กาเยน เจว ปรมสจฺจํ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งบรมสัจจะ
ด้วยกาย คือย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพานสัจจะด้วยนามกาย. บทว่า ปญฺญาย จ
คือย่อมแทงตลอด ย่อมเห็นด้วยมรรคปัญญาอันสัมปยุตด้วยนามกาย.
บัดนี้เพราะภิกษุเหล่านั้นได้ข่าวว่าพระศาสดาเสด็จมาไม่ทำแม้เพียงการ
ต้อนรับ. ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงติเตียนความประพฤติของภิกษุ
เหล่านั้นจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สาปิ นาม ภิกฺขเว สทฺธา นาโหสิ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายแม้ศรัทธาก็ไม่มีดังนี้ . ในบทเหล่านั้นบทว่า กีวทูเรวีเม คือใน
ที่ไกลแสนไกล. ควรจะกล่าวว่าได้หลีกไปแล้วร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง.
แต่ไม่กล่าวอะไร ๆ ได้เลย.
บทว่า จตุปฺปฺทํ เวยฺยากรณํ ท่านกล่าวหมายถึงการพยากรณ์อริย-
สัจ ๔. บทว่า ยสฺสุทฺทิฏฺฐสฺส ตัดบทเป็น ยสฺส อุทฺทฏฺฐสฺส ความว่า
อันเรายกขึ้นแสดงเเล้ว. บทว่า โยปิ โส ภกฺขเว สตฺถา ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลายศาสดาใด ท่านแสดงถึงศาสดาภายนอก. บทว่า เอวรูปี คือมีชาติอย่างนี้.
ปโณปณวิยา เหมือนดังของตลาด คือมีราคาขึ้น ๆ ลง ๆ. บท น อุเปติ
ไม่เข้าถึง คือไม่มี. อธิบายว่า ไม่มีราคาขึ้น ๆ ลง ๆ ดุจเวลาซื้อและขาย. เมื่อ
พูดว่าโคตัวนี้ราคาเท่าไร ราคา ๒๐ ชื่อว่าราคาขึ้น. เมื่อพูดว่าโคตัวนี้ราคาไม่
ถึง ๒๐ ราคา ๑๐ เท่านั้นชื่อว่าราคาลง. เมื่อพูดปฏิเสธคำนี้ ชื่อว่าราคาไม่ขึ้น
ไม่ลง.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการขึ้น ๆ ลง ๆ นั้นจึงตรัสว่า
ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา. เราพึงทำเหตุนั้น. ก็เมื่อเหตุนั้นไม่พึงมีแก่เรา
เราไม่พึงทำเหตุนั้น. บทว่า กึ ปน ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเกี่ยวข้องด้วยอามิสทั้งหลายโดยประการ
ทั้งปวง. การมีราคาขึ้น ๆ ลง ๆ เห็นปานนี้จักควรอย่างไร แก่พระศาสดา
ผู้เกี่ยวข้องแล้วอย่างนี้. บทว่า ปริโยคยฺห วตฺตโต ผู้หยั่งลงแล้วประพฤติ

438
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 439 (เล่ม 20)

คือหยั่งลงยกขึ้นถือเอาแล้วประพฤติ. บทว่า อยํ ปน ธมฺโม คือสภาพนี้.
บทว่า ชานาติ ภควา นาหํ ชานามิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ เราไม่รู้
คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้อานิสงส์ในการฉันอาหารหนเดียว เราไม่รู้. ภิกษุ
เว้นการฉัน ๓ ครั้งต่อวันด้วยเชื่อในเราแล้ว ฉันอาหารหนเดียว. บทว่า
รุฬฺหนึยํ คืองอกงาม. บทว่า โอชวนฺตํ มีโอชาคือมีความอร่อย. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงความเพียรมีองค์ ๔ ด้วยบทนี้ว่า กามํ ตโจ จ จริงอยู่
ในบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลตั้งความเพียรประกอบด้วยองค์
๔ อย่างนี้ คือ หนังเป็นองค์ ๑ เอ็นเป็นองค์ ๑ กระดูกเป็นองค์ ๑ เนื้อและ
เลือดเป็นองค์ ๑ แล้วปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราไม่บรรลุพระอรหัตแล้วจักไม่ลุกขึ้น
ดังนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดแห่งพระอรหัต
ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ควรแนะนำได้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถากีฏาคิริสูตรที่ ๑๐
จบวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ
๑. จูฬราหุโลวาทสูตร ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
๓. จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร ๔. มหามาลุงกยโอวาทสูตร
๕. ภัททาลิสูตร ๖. ลฑุกิโกปมสูตร
๗. จาตุมสูตร ๘. นฬกปานสูตร
๙. โคลิสสานิสูตร ๑๐. กีฏาคิริสูตร

439
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 440 (เล่ม 20)

๓. ปริพพาชกวรรค
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร
[๒๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กุฏาคารศาลาในป่า
มหาวัน เขตเมืองเวสาลี ก็สมัยนั้น ปริพาชกวัจฉโคตร อาศัยอยู่ใน
ปริพาชการาม ซึ่งมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่ง. ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงนุ่งห่มแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังเมือง
เวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เราะจะเที่ยวบิณฑบาตใน
เมืองเวสาลีก่อนก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาวัจฉโคตรที่ปริพาชการาม
อันมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่งเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหา
ปริพาชกวัจฉโคตร ถึงปริพาชการาม ซึ่งมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่ง ปริพาชก
วัจฉโคตรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้กราบทูลว่า ขอเชิญ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาดีแล้ว
กว่าจะเสด็จมาในที่นี้นานทีเดียว ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง นี้
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว แม้ปริพาชกวัจฉโคตรก็ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๒๔๑] ปริพาชกวัจฉโคตรนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดม
เป็นสัพพัญญู มีปรกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะ ไม่มีส่วน
เหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะปรากฏ

440
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 441 (เล่ม 20)

แล้วเสมอติดต่อกันไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณ-
โคดมเป็นสัพพัญญู มีปรกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะไม่มีส่วน
เหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับอยู่ก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะ
ปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป ดังนี้ เป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำที่ไม่เป็นจริง และ
ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรมแลหรือ อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไป
กับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะดึงติเตียนแลหรือ.
ดูก่อนวัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มี
ปรกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดิน
ไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป
ดังนี้ไม่เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว และชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มี
ไม่เป็นจริง.
พยากรณ์วิชชา ๓
[๒๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพยากรณ์อย่างไร
จึงจะเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง เป็นอันพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง
วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะพึง
ติเตียนเล่า.
ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะดังนี้
แล เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง
ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วย
เหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียนเลย.

441
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 442 (เล่ม 20)

ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกถึงชาติก่อนได้
เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง
ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้า
สิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็น
อันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดใน
ภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ
อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยทุกข์เสวยสุขอย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียง
เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อน
ได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ
กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมว่าสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน
พระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เขาเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน
สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ
สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก. เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ดูก่อนวัจฉะ เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ
มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน
แล้วเข้าถึงอยู่.

442
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 443 (เล่ม 20)

ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ
เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง เป็น
อันพยากรณ์ถูก สมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันไปกับด้วยเหตุ
บางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียน.
ลัทธิเดียรถีย์ไปสวรรค์ไม่ได้
[๒๔๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปริพาชกวัจฉโคตร
ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดม คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้
เมื่อตายไป ย่อมทำที่สุดทุกข์ได้มีอยู่หรือ.
ดูก่อนวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้แล้ว เมื่อตาย
ไปจะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น ไม่มีเลย.
ข้าแต่พระโคดม ก็คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ เมื่อ
ตายไป เข้าถึงโลกสวรรค์ได้ มีอยู่หรือ.
ดูก่อนวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ยังไม่ได้แล้ว เมื่อตาย
ไปได้ไปสวรรค์นั้น ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย
ไม่ใช่ห้าร้อย เท่านั้น โดยที่แท้ มีอยู่มากทีเดียว.
ข้าแต่ท่านพระโคดม อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้
มีอยู่บ้างหรือ.
ดูก่อนวัจฉะ ยาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น
ไม่มีเลย.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะไปสวรรค์ได้
มีอยู่หรือ.

443
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 444 (เล่ม 20)

ดูก่อนวัจฉะ แต่ภัทรกัปนี้ไปได้เก้าสิบเอ็ดกัปที่เราระลึกได้ เราจักได้
รู้จักอาชีวกบางคนที่ไปสวรรค์หามิได้ นอกจากอาชีวกคนเดียว ที่เป็นกรรมวาที
กิริยวาที.
ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนั้น ลัทธิของเดียรถีย์เป็นอันสูญ
โดยที่สุดจากคุณเครื่องไปสู่สวรรค์น่ะซี.
อย่างนั้นวัจฉะ ลัทธิของเดียรถีย์นี้ เป็นอันสูญโดยที่สุด แม้จากคุณ
เครื่องไปสู่สวรรค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ปริพาชกวัจฉโคตร
ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบจูฬวัจฉโคตตสูตรที่ ๑
อรรถกถาปริพพาชกวรรค
๑. อรรถกถาเตวิชชวัจฉสูตร ๑
เตวิชชวัจฉสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับ
มาอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นว่า เอกปุณฺฑริเก ต้นมะม่วงขาวท่านเรียกว่า
ปุณฑริกะ. ชื่อว่า เอกปุณฺฑริโก เพราะต้นปุณฑริกต้นนั้นมีอยู่ต้นเดียวใน
อารามนั้น. บทว่า เอตทโหสิ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริ เพราะ
มีพระประสงค์จะเสด็จเข้าไป ในปริพพาชการามนั้น. บทว่า จิรสฺสํ โข ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญกว่าพระองค์จะเสด็จมานานทีเดียว หมายถึงเคยเสด็จมาตาม
๑ บาลีว่า จฬวัจฉโคตตสูตร.

444
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 445 (เล่ม 20)

ปรกติ. ในบทว่า ธมฺมสส จ อนุธมฺมํ ธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ สัพพัญญุตญาณ
ชื่อว่า ธรรม. การพยากรณ์แก่มหาชนชื่อว่า อนุธรรม (ธรรมสมควร).
บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในชีวกสูตรนั้นแล. บทว่า น เม ไม่เป็นอันกล่าว
ตามคำที่เรากล่าวแล้ว คือ ตั้งอยู่ในความไม่เห็นชอบ ปฏิเสธแม้ความเห็นชอบ.
เพราะพระสัพพัญญูมีปรกติเห็นสิ่งทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะ ไม่มีส่วน
เหลือ ฉะนั้นญาณทัสนะนี้ควรรู้ตาม. บทว่า จรโต จ เม ปจฺจุปฏฺฐิตํ เมื่อ
เราเดินไปก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วนี้ ไม่สมควรรู้ตาม. เพราะพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงคำนึงด้วยพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรงรู้. ฉะนั้นทรงตั้งอยู่ในความ
ไม่เห็นชอบ ปฏิเสธแม้ความชอบจึงตรัสอย่างนี้. ในบทว่า อาสวานํ ขยา
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า เพียงใด. เพราะอาสวะทั้งหลายที่สิ้นไปแล้ว
ครั้งเดียว มิได้มีอาสวะที่จะพึงสิ้นไปอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวย่อ
พระคุณทั้งสิ้นด้วยวิชชา เหล่านี้ คือ ทรงแสดงคุณ คือ ความรู้ในอดีต
ด้วยปุพเพนิวาสญาณ ๑ ทรงแสดงคุณ คือ ความรู้ในปัจจุบัน ด้วยทิพจักขุ-
ญาณ ๑ ทรงแสดงโลกุตตรญาณ ด้วยอาสวักขยญาณ ๑. บทว่า คิหสํโยชนํ
สังโยชน์ของคฤหัสถ์ คือ ความผูกพันของคฤหัสถ์คือความใคร่ในบริขารของ
คฤหัสถ์. บทว่า นตฺถิ โข วจฺฉ ดูก่อนวัจฉะ ไม่มีเลย คือ ผู้ยังไม่ละ
คิหิสังโยชน์ ชื่อว่าจะทำที่สุดทุกข์ย่อมไม่มี. แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์
คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะ เศรษฐีบุตร วีตโสกธารกะ ก็บรรลุ
พระอรหัตได้. แม้บุคคลเหล่านั้น ก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไป
ด้วยมรรคแล้วบรรลุได้. แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น. ชื่อว่าเพศ
คฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศ
คฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง. แต่
ภุมมเทวดายังดำรงอยู่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะมีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้.

445