No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 316 (เล่ม 20)

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม
พระธรรมเทศนาโดยธรรมดาของพระองค์ว่า เราจักแสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์.
ภิกษุแม้ไม่ฉลาดนี้กล่าวตู่พระธรรมเทศนานั้น ช่างเถิดเราจะทูลวิงวอนพระผู้มี-
พระภาคเจ้า แล้วให้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย. ท่านพระอานนท์ได้ทำ
อย่างนั้นแล้ว . เพื่อแสดงความนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอวํ วุตฺเต
อายสฺมา อานนฺโท เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ในบทเหล่านั้นบทว่า สกฺกายทิฏฺฐิปริยุฏฺฐิเตน มีจิตอันสักกายทิฏฐิ
กลุ้มรุมแล้ว คือ อันสักกายทิฏฐิยึดไว้ ครอบงำแล้ว. บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ-
ปุเรเตน อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้ว คือ อันสักกายทิฏฐิตามไปแล้ว. บทว่า
นิสฺสรณํ อุบายเป็นเครื่องสลัดออก ได้แก่ นิพพานๆ ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่อง
สลัดออกแห่งทิฏฐิ. ไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกนั้น ตามความเป็นจริง.
บทว่า อปฺปฏิวินีตา คือ อันปุถุชนบรรเทาไม่ได้แล้ว นำออกไปไม่ได้แล้ว.
บทว่า โอรมฺภาคิยสํโยชนํ ได้แก่ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ. แม้
ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ธรรมฝ่ายขาวมีอรรถง่ายทั้งนั้น.
อนึ่ง ในสูตรนี้เพราะบาลีว่า สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิพร้อม
ด้วยอนุสัย อันพระอริยบุคคลละได้แล้ว อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สังโยชน์
เป็นอย่างหนึ่ง อนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง. เหมือนเมื่อกล่าวว่า ภัตพร้อมด้วยกับ.
กับข้าวเป็นอย่างอื่นจากภัตฉันใด. ลัทธิของอาจารย์เหล่านั้นว่า อนุสัยพึงเป็น
อย่างอื่นจากสักกายทิฏฐิอันกลุ้มรุม เพราะบาลีว่า สานุสยา พร้อมด้วยอนุสัย
ก็ฉันนั้น. อาจารย์เหล่านั้นปฏิเสธด้วยบทมีอาทิว่า สสีสํ ปารุเปติวา คลุม
ตลอดศีรษะ. เพราะคน อื่นไปจากศีรษะย่อมไม่มี.

316
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 317 (เล่ม 20)

ถ้าเช่นนั้นพึงมีคำถามว่า ผิว่า สังโยชน์เป็นอย่างนั้น อนุสัยไม่เป็น
อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระเถระ อุปมาด้วยเคน
หนุ่มก็เป็นการปรารมภ์ที่ไม่ดีน่ะซิ. มิใช่ยกขึ้นไม่ดี. เพราะบทนี้ว่า เอวํ
ลทฺธิกตฺตา เพราะมีลัทธิอย่างนี้ กล่าวพิสดารแล้ว. ฉะนั้น กิเลสนั้นชื่อว่า
สังโยชน์ เพราะเป็นเครื่องผูก ชื่อว่า อนุสัย เพราะละไม่ได้. เพราะเหตุนั้น
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิ
พร้อมด้วยอนุสัยอันพระอริยบุคคลละได้. หมายเอาความนี้.
ในบทมีอาทิว่า ตจํ เฉตฺวา ถากเปลือก บทนี้แสดงความเปรียบ
เทียบ. พึงเห็นว่าสมาบัติดุจการถากเปลือก. พึงเห็นวิปัสสนาดุจการถากกระพี้.
พึงเห็นมรรคดุจการถากแก่น. อนึ่ง ปฏิปทาเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระนั่น
แหละจึงควร.
บทว่า เอวเมเต ทฏฺฐพฺพา คือ พึงเห็นบุคคลเห็นปานนั้น ฉันนั้น.
บทว่า อุปธิวิเวกา คือ เพราะอุปธิวิเวก. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงความสงัด
จากกามคุณ ๕. ด้วยบทนี้ว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ ปหานา เพราะละ
อกุศลธรรมได้ ท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์. ด้วยบทนี้ว่า กายทุฏฺฐุลฺลานํ
ปฏิปสฺสทฺธิยา ท่านกล่าวถึงการระงับความคร้านกาย. บทว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ สงัดจากกาม คือ เป็นผู้เว้นจากกามด้วยอุปธิวิเวก. บทว่า วิวิจฺจ
อกุสเลหิ สงัดจากอกุศล คือ เป็นผู้เว้นจากอกุศล ด้วยการละอกุศลธรรมและ
ด้วยการระงับความคร้าน.
บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ คือ ธรรมชาติมีรูปเป็นต้น อันตั้งอยู่
ในสมาบัติ ย่อมมีในภายในสมาบัตินั้นและในขณะแห่งสมาบัติ. บทว่า เต
ธมฺเม ได้แก่ ธรรมเหล่านั้นมีรูปเป็นต้น ดังกล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า รูปคตํ

317
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 318 (เล่ม 20)

คือ รูป. บทว่า อนิจฺจโต โดยความเป็นของไม่เที่ยง คือ โดยความเป็น
ของเที่ยงหามิได้. บทว่า ทุกฺขโต โดยความเป็นทุกข์ คือ โดยความเป็น
สุขหามิได้.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า โรคโต ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า โดยความ
เป็นโรค เพราะอรรถว่าเจ็บป่วย. ชื่อว่า โดยเป็นดังหัวฝี เพราะอรรถว่า
มีโทษในภายใน. ชื่อว่า โดยเป็นดังลูกศร เพราะอรรถว่าเข้าไปเสียบแทง
และเพราะอรรถว่าให้เกิดทุกข์. ชื่อว่า โดยเป็นความลำบาก เพราะอรรถว่า
เป็นทุกข์. ชื่อว่า โดยเป็นไข้ เพราะอรรถว่าเป็นโรค. ชื่อว่า โดยเป็นอื่น
เพราะอรรถว่าไม่เป็นของตน. ชื่อว่า โดยเป็นของทรุดโทรม เพราะอรรถว่า
สลายไป. ชื่อว่า โดยเป็นของสูญ เพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์. ชื่อว่า โดยเป็น
ของมิใช่ตัวตน เพราะอรรถว่าไม่เป็นตัวตน.
ในบทเหล่านั้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะด้วย ๒ บทคือ อนิจฺจโต
ปโลกโต โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นของทรุดโทรม. ท่าน
กล่าวถึงทุกขลักษณะด้วย ๖ บทมีอาทิคือ ทุกฺขโต โดยความเป็นทุกข์. ท่าน
กล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วย ๓ บทว่า ปรโต สุญฺญโต อนตฺตโต โดยความ
เป็นอื่น โดยความเป็นของสูญ โดยความไม่เป็นตัวตน. บทว่า โส เตหิ
ธมฺเมหิ เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ความว่า เธอย่อมเปลื้องจิต
จากธรรม คือ ขันธ์ ๕ ในภายในสมาบัติที่ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อันตนเห็น
แล้วเหล่านั้นอย่างนี้. บทว่า จิตฺตํ ปฏิปาเทติ เปลื้องจิต คือ ปล่อยจิตนำจิต
ออกไป. บทว่า อุปสํหรติ น้อมจิตไป คือ น้อมจิตไปในอมตธาตุอันเป็น
อสังขตะอย่างนี้ว่า วิปัสสนาจิตเป็นความดับอันสงบด้วยการฟัง การสรรเสริญ
การเรียน การบัญญัติ. ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ว่า โรคจิตเป็นความสงบ เป็น

318
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 319 (เล่ม 20)

ความประณีตด้วยการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง มีอธิบายว่า เมื่อแทง
ตลอดธรรมชาตินั้นโดยอาการนี้ ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุนั้น.
บทว่า โส ตตฺถ  ิโต คือ เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีไตรลักษณ์
เป็นอารมณ์นั้น. บทว่า อาสฺวานํ ขยํ ปาปฺณาติ ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย คือ เจริญมรรค ๔ โดยลำดับแล้วจึงบรรลุ. บทว่า
เตเนว ธมฺมราเคน เพราะความยินดีในธรรมนั้น คือ เพราะความพอใจ
ยินดีในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา. จริงอยู่ เมื่อสามารถถือเอาความพอใจ
และความยินดีในสมถะและวิปัสสนาโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัต.
เมื่อไม่สามารถย่อมเป็นพระอนาคามี.
บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคตํ คือ เวทนาย่อมมีในสมาบัติ
นั้น ในบทนี้ท่านไม่ถือเอารูป. เพราะเหตุไร. เพราะล่วงเลยไปแล้ว . จริงอยู่
ภิกษุนี้เข้าถึงรูปาวจรฌานในหนหลัง แล้วก้าวล่วงรูป เป็นผู้เข้าถึงอรูปาวจร-
สมาบัติ เพราะเหตุนั้น รูปจึงก้าวล่วงไปด้วยอำนาจสมถะ ครั้นพิจารณารูป
ในหนหลังแล้ว ก้าวล่วงรูปนั้น ในบัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป เพราะเหตุนั้น
รูปจึงก้าวล่วงไปด้วยอำนาจวิปัสสนา แต่ในอรูปย่อมไม่มีรูป แม้โดยประการ
ทั้งปวง เพราะเหตุนั้น แม้ท่านหมายถึงอรูปนั้น ในที่นี้ก็ไม่ถือเอารูป. ไม่ถือ
เอาโดยชอบ.
บทว่า อถ กิญฺจรหิ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร. พระอานนท์
ทูลถามว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามว่า เพราะอะไร. พระเถระมิได้มีความสงสัย
ในข้อนี้ว่า ธุระคือความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เดียว ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไปด้วย
อำนาจแห่งสมถะ ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นเจโควิมุต ธุระคือปัญญาย่อมมีแก่ภิกษุ
ผู้ไปด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต. พระเถระทูล

319
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 320 (เล่ม 20)

ถามว่า ภิกษุนี้เป็นบุรุษควรฝึกทั้งนั้น แต่เมื่อภิกษุทั้งหลายไปด้วยอำนาจสมถะ
รูปหนึ่งเป็นเจโตวิมุต. แม้เมื่อไปด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา รูปหนึ่งชื่อว่าเป็น
ปัญญาวิมุต รูปหนึ่งเป็นเจโตวิมุต. อะไรเป็นเหตุในข้อนี้. บทว่า อินฺทฺริย-
เวมตฺตตํ วทามิ คือ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์. ท่านอธิบายว่า
ดูก่อนอานนท์ เธอบำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้วยังไม่บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.
เพราะเหตุนั้น พระสัพพัญญุตญาณนั้นจึงไม่ปรากฏแก่เธอ. แต่เราแทงตลอด
แล้ว . ด้วยเหตุนั้น พระสัพพัญญุตญาณนั้นจึงปรากฏ แก่เรา. ความต่างแห่ง
อินทรีย์เป็นเหตุในข้อนี้แหละ. เพราะเมื่อภิกษุทั้งหลายไปด้วยอำนาจแห่งสมถะ
ธุระคือความเป็นผู้มีจิตดวงเดียว จึงมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น
เจโตวิมุต. ธุระคือปัญญาย่อมมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต.
อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายไปด้วยอำนาจวิปัสสนา ธุระคือปัญญาย่อมมีแก่ภิกษุ
รูปหนึ่ง ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต. ธุระคือความเป็นผู้มีจิตดวงเดียว
ย่อมมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นเจโตวิมุต. พระอัครสาวกทั้งสอง
บรรลุพระอรหัตด้วยธุระ คือ สมถะและวิปัสสนา. ในท่านทั้งสองนั้นพระธรรม
เสนาบดีเป็นปัญญาวิมุต. พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นเจโตวิมุต. พึงทราบว่า
ความต่างแห่งอินทรีย์เป็นเหตุในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลือในบท
ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหามาลุงกยโอวาทสูตรที่ ๔

320
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 321 (เล่ม 20)

๕. ภัททาลิสูตร
คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว
[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัส
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในเวลาภัต
ครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา
มีกำลัง และอยู่สำราญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายจงมา จงฉันอาหาร
ในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จักรู้สึกคุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคบางเบา
กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ.
พระภัททาลิฉันอาหารหนเดียวไม่ได้
[๑๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ
จะฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวได้ เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันอาหารใน
เวลาก่อนภัตครั้งเดียว จะพึงมีความรำคาญ ความเดือดร้อน.
ดูก่อนภัตทาลิ ถ้าอย่างนั้น เธอรับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว พึงฉัน ณ ที่
นั้นเสียส่วนหนึ่ง แล้วนำส่วนหนึ่งมาฉันอีกก็ได้ เมื่อเธอฉันได้ แม้อย่างนี้
ก็จักยังชีวิตให้เป็นไปได้.

321
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 322 (เล่ม 20)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันแม้ด้วยอาการอย่าง
นั้นได้ เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้น จะพึงมีความรำคาญ
ความเดือดร้อน ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว
ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังจะทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมา-
ทานอยู่ซึ่งสิกขา ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิไม่ได้ให้ตนประสบพระพักตร์
พระผู้มี พระภาคเจ้าตลอดไตรมาสนั้นทั้งหมด เหมือนภิกษุอื่นผู้ไม่ทำความ
บริบูรณ์ในสิกขาในพระศาสนาของพระศาสดาฉะนั้น.
พระภัททาลิขอขมาพระพุทธเจ้า
[๑๖๒] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันช่วยกันทำจีวรกรรมสำหรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จ
เที่ยวจาริกไปโดยล่วงไตรมาส ครั้งนั้น ท่านพระภัททาลิเข้าไปหาภิกษุเหล่า
นั้นถึงที่อยู่ โดยปราศรัยกับภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง
กันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวว่า ดูก่อนภัททาลิ
ผู้มีอายุ จีวรกรรมนี้แล ภิกษุทั้งหลายช่วยกันทำสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จเที่ยวจาริกไปโดย
ล่วงไตรมาส ดูก่อนภัททาลิผู้มีอายุ เราขอเตือนท่าน ท่านจงมนสิการความผิด
นี้ให้ดีเถิด ความกระทำที่ยากกว่าอย่าได้มีแก่ท่านในภายหลังเลย.
ท่านพระภัททาลิรับคำของภิกษุเหล่านั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็น
คนพาล เป็นคนหลงไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อ

322
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 323 (เล่ม 20)

พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่ง
สิกขา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็น
โทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.
[๑๖๓] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล
เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะแล้ว ในเมื่อเรากำลัง
จะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูก่อนภัททาลิ แม้
เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ใน
สิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว ดู
ก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุมากด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ใน
พระนครสาวัตถี แม้ภิกษุเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้บริบูรณ์
ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว
ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุณีมากด้วยกันเข้าจำพรรษา
อยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุณีเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้
บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทง
ตลอดมาแล้ว ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสกมากด้วยกัน
อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้อุบาสกเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่
ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสนาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทง
ตลอดแล้ว ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสิกามากด้วยกัน
อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้อุบาสิกาเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุซึ่งภัททาลิไม่
ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้
แทงตลอดว่าสมณพราหมณ์ต่างลัทธิมากด้วยกันเข้าอยู่กาลฝนในพระนครสาวัตถี

323
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 324 (เล่ม 20)

แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ สาวกของพระสมณโคดม
เป็นพระเถระองค์หนึ่ง ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดัง
นี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ ผู้เป็นคนพาล
เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น
โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.
[๑๖๔] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล
เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะ
บัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูก่อนภัททาลิ เธอ
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่ออุภโต-
ภาควิมุต เราพึงกล่าวกะภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดัง
นี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธ
บ้างหรือ.
ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
ดูก่อนภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เป็นอริยบุคคลชื่อปัญญาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อกายสักขี เป็นอริยบุคคลชื่อ
ทิฏฐิปัตตะ เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อธรรมานุสารี
เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี เราพึงกล่าวกะภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะ
ก้าวไปในหล่มดังนี้ ภิกษุนั้น พึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือ
พึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ.

324
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 325 (เล่ม 20)

ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
ดูก่อนภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยนั้น เธอ
เป็นพระอริยบุคคลชื่อว่าอุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ
สัทธาวิมุต ธรรมานุสารี หรือสัทธานุสารี บ้างหรือหนอ.
มิได้เป็นเลย พระเจ้าข้า.
ดูก่อนภัททาลิ ในสมัยนั้น เธอยังเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิดมิใช่
หรือ.
เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำ
ข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะ
ขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์
กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง
รับโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.
[๑๖๕] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคน
พาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้วบัญญัติ
สิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา แต่เพราะเธอเห็นโทษโดย
ความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษของเธอนั้น ข้อที่บุคคล
เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็น
ความเจริญในวินัยของพระอริยะ.
ผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
[๑๖๖] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำให้
บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร
เราพึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ

325