No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 306 (เล่ม 20)

คือด้วยศรอันอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา. บทว่า ภิสกฺกํ คือแพทย์ผู้ชำนาญ.
บทว่า สลฺลกตฺตํ คือทำการผ่าตัดเย็บบาดแผล. บทว่า อกฺกสฺส แปลว่า ปอ
คือ เอาปอทำสายธนู. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อกฺกสฺส ทำด้วยปอ. บทว่า
สณฺฐสฺส คือผิวไม้ไผ่. ชนทั้งหลายทำป่านและเยื่อไม้ด้วยปอนั่นเอง. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ยทิ วา มรุวาย ยทิ วา ขิรปณฺณฺโน ด้วยป่านหรือ
เยื่อไม้ดังนี้ . บทว่า คจฺฉํ ไม้ที่เกิดเองคือเกิดที่หลืบภูเขาหรือสายน้ำ. บทว่า
โรปิมํ ไม้ปลูก คือไม้ปลูกที่งอกงามทำเป็นศร. บทว่า สิถิลหนุโน เป็น
ชื่อของนกที่มีชื่อว่า สิถิลหนุ. บทว่า โรรุวรสฺส ได้แก่ ต่าง. บทว่า
เสมฺทารสฺส ได้แก่ ลิง. บทว่า เอวํ โน ไม่ใช่อย่างนั้น ความว่า เมื่อทิฏฐิ
มีอยู่อย่างนั้นก็ไม่ใช่. บทว่า อตฺเถว ชาติ ชาติยังมีอยู่ คือเมื่อมีทิฏฐิอย่าง
นั้นการอยู่พรหมจรรย์ย่อมไม่มี. แต่ชาติยังมีอยู่. อนึ่งท่านแสดงถึงชราและ
มรณะเป็นต้นด้วย. บทว่า เยสาหํ ตัดบทเป็น เยสํ อหํ. บทว่า นิฆาตํ ความ
เพิกถอน คือเข้าไปกำจัดให้พินาศ. อธิบายว่า เพราะสาวกทั้งหลายของเรา
เบื่อหน่ายในชราและมรณะเป็นต้นเหล่านั้น จึงบรรลุนิพพานในศาสนานี้แหละ.
บทว่า ตสฺมาติห ความว่า เพราะฉะนั้นแหละ ข้อนั้นเราไม่พยากรณ์เลย เรา
พยากรณ์อริยสัจ ๔ เท่านั้น.
บทว่า นเหตํ มาลุงฺกฺยปุตฺต อตฺถสญฺหิตํ ดูก่อนมาลุงกยบุตร
ข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย คือทิฏฐินี้ก็ดีพยากรณ์นี้ก็ดี มิได้อาศัยเหตุ
เลย. บทว่า น อาทิพฺรหฺมจริยกํ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์คือแม้เพียง
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ก็ไม่มี แม้เพียงศีลในส่วนเบื้องต้นก็ไม่มี. ในบทว่า
น นิพฺพิทาย ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายเป็นต้นมีความดังต่อไปนี้ ไม่เป็นไป
เพื่อความหน่ายในวัฏฏะ เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับวัฏฏะ เพื่อสงบราคะ

306
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 307 (เล่ม 20)

เป็นต้น เพื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้มรรค ๔ หรือเพื่อทำให้แจ้ง
นิพพานอันเป็นอสังขตธรรม. บทว่า เอตญฺหิ คือ การพยากรณ์อริยสัจ ๔ นี้.
บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยา คือเป็นเบื้องหน้าเป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์. บทที่
เหลือพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงจบ
พระธรรมเทศนาแม้นี้ด้วยสามารถบุคคลที่ควรแนะนำได้.
จบอรรถกถาจูฬลุงกยโอวาทสูตรที่ ๓

307
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 308 (เล่ม 20)

๔. มหามาลุงกยโอวาทสูตร
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับพระ
ดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือ
ไม่. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร ก็เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดง
แล้วว่าอย่างไร.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัม-
ภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้.
[๑๕๔] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้
ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ ดูก่อนมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญ-
เดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่
ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็

308
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 309 (เล่ม 20)

สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน. ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่
เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่
เด็กนั้นแต่ที่ไหน. ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น.
แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอน
หงายอยู่ สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน. ส่วน
สีลัพพัตตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น. แม้แต่ความ
คิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะ
ในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นที่ไหน ส่วนการราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็ก-
กุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาทในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็ก
นั้นที่ไหน. ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น ดูก่อน
มาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบ
ด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระ-
อานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้
เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วจักทรงจำไว้.
ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงพึง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว.
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

309
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 310 (เล่ม 20)

อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ปุถุชนในโลก
นี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้
รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อัน
สักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบาย
เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้น ก็เป็นของมีกำลัง
อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชนนั้นมีจิตอัน
วิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นก็เป็น
ของมีกำลังอันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชน
นั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้
ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสนั้น ก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนบรรเทา
ไม่ได้แล้วชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชนนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว
อันกามราคะครอบงำ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่อง
สลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้น
บรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชนนั้นมีจิตอันพยาบาท
กลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อม
ไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นก็เป็นของมี
กำลังอันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

310
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 311 (เล่ม 20)

ดูก่อนอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะเป็นผู้
ฉลาดในธรรมของพระอริยะได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว ได้เห็น
สัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสัก-
กายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอัน
วิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้น
แล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉาพร้อมทั้ง
อนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้น มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่
ได้อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามเป็นจริง สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้ง
อนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้
อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็น
เครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวก
นั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำ
ไม่ได้อยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้
ตามความเป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.
มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๖] ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่
เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภา-
คิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือน

311
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 312 (เล่ม 20)

ข้อที่ว่า ไม่ถูกเปลือกไม่ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจักถาก
แก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทา
ที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัม-
ภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.
ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
นั้นได้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่าถากเปลือก
ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะ
มีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็
เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.
ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง
กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่าตัดขวาง
กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้ เขาไม่อาจจะว่ายตัด
ขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูก่อนอานนท์
จิตของบางคน ไม่เล่นไป ไม่เลื่อมใส ในธรรมที่เราแสดง เพื่อดับสักกาย-
ทิฏฐิ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่หลุดพ้น ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น
ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือน
แม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง
พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดย
สวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดย
สวัสดีได้ ฉันใด ดูก่อนอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดง ๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อ

312
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 313 (เล่ม 20)

ดับสักกายทิฏฐิ. จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง ย่อมหลุดพ้น ฉันนั้น
เหมือนกันแล บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือน
กัน.
รูปฌาน ๔
[๑๕๗] ดูก่อนอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสัง-
โยชน์ ๕ เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละอกุศลธรรมได้ เพราะระงับความ
คร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและ
สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวผี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้
เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของมิใช่ตัวตน เธอย่อมเปลื้อง
จิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่าธรรมชาตินี้สงบ ธรรม
ชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และ
กองทุกข์ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุ
ธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็นโอปปาติกะ๑ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับ
จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และ
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ดูก่อนอานนท์ มรรคแม้นี้แล
ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.
๑. พระอนาคามี

313
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 314 (เล่ม 20)

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ
วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ใดฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีปีติ อยู่เป็นสุข.
ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
อรูปฌาน ๔
[๑๕๘] ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญ-
จายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง.
ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
ด้วยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง.
ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
ด้วยบริกรรมว่า อะไร ๆก็ไม่มี เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง.
[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวก
ในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุตติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุตติเล่า.

314
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 315 (เล่ม 20)

ดูก่อนอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของ
ภิกษุเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบมหามาลุงกยโอวาทสูตรที่ ๔
๔. อรรถกถามหามาลุงกยโอวาทสูตร
มหามาลุงกยโอวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้า
ได้สดับมาอย่างนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า โอรมฺภาคิยานิ คือ สังโยชน์อันเป็นไปใน
ส่วนเบื้องต่ำ ยังสัตว์ให้เป็นไป คือ เกิดในกามภพ. บทว่า สํโยชนานิ คือ
เครื่องผูก. บทว่า กสฺส โข นาม แก่ใครหนอ คือ เธอจำโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ที่เราแสดงแก่ใคร คือ แก่เทวดา หรือแก่มนุษย์. เธอผู้เดียวเท่านั้น
ได้ฟัง ใคร ๆ อื่นมิได้ฟังหรือ. บทว่า อนุเสติ ย่อมนอนตาม คือชื่อว่า
ย่อมนอนตามเพราะยังละไม่ได้. ชื่อว่า สังโยชน์ คือ การนอนตาม. อนึ่ง
ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสังโยชน์. แม้พระเถระก็พยากรณ์สังโยชน์
เท่านั้น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกโทษในวาทะของใคร.
เพราะเหตุไร จึงทรงยกโทษพระเถระนั้นเล่า. เพราะพระเถระถือลัทธิอย่างนั้น.
เพราะนี้เป็นลัทธิของพระเถระนั้น. พระเถระเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยกิเลสใน
ขณะประพฤตินั่นเอง. ไม่ประกอบในขณะนอกนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงทรงยกโทษแก่พระเถระนั้น.

315