No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 296 (เล่ม 20)

แสดงถึงอากาศอัน. ไปในระหว่างหทัยและเนื้อเป็นต้น และอันตั้งอยู่โดยความ
เป็นขุมขน. คำที่เหลือในบทนี้พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในปฐวีธาตุเป็นต้น.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสบอกถึงลักษณะแห่งความเป็นผู้คงที่
แก่พระราหุลนั้นจึงตรัสบทมีอาทิว่า ปฐวีสมํ เสมอด้วยแผ่นดิน. บุคคลผู้ไม่
กำหนัด ไม่ประทุษร้ายในอารมณ์อันน่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า
ตาทีบุคคล (ผู้คงที่) ในบทว่า มนาปามนาปา นี้พึงทราบความดังต่อไป
นี้. ผัสสะสัมปยุตด้วยจิตสหรคตด้วยโลภะ ๘ ชื่อว่า มนาปา เป็นที่ชอบใจ.
ผัสสะสัมปยุตด้วยโทมนัสจิต ๒ ชื่อว่า อมนาปา ไม่เป็นที่ชอบใจ. บทว่า
จิตฺตํ น ปริยาทาย ฐสฺสนฺติ ผัสสะจักไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้ ความว่า
ผัสสะเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วจักไม่สามารถครอบงำจิตของท่าน ดุจจะทำให้อยู่ใน
กำมือได้. ฉันทราคะจักไม่เกิดเพราะอาศัยอัตภาพอีกว่า เรางาม ผิวพรรณของ
เราผ่องใสดังนี้. คูถนั้นแหละชื่อว่า คูถคตํ ในบทมีอาทิว่า คูถคตํ. ในบท
ทั้งปวงก็อย่างนี้.
บทว่า น กตฺถจิ ปติฎฺฐิโต เหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ
คือ ไม่ตั้งอยู่แม้ในที่เดียวมีในแผ่นดินภูเขาและต้นไม้เป็นต้น. ผิว่า อากาศพึง
ตั้งอยู่บนแผ่นดินเมื่อแผ่นดินทำลายก็จะพึงทำลายไปด้วยกัน. เมื่อภูเขาพังก็จะ
พังไปด้วยกัน. เมื่อต้นไม้หักก็จะหักไปด้วยกันเท่านั้น.
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภ ว่า เมตฺตํ ราหุล.
เพื่อแสดงเหตุแห่งความเป็นผู้คงที่. เพราะทรงแสดงเหตุแห่งความเป็นผู้คงที่
ไว้แล้วในหนหลัง. ใคร ๆ ไม่สามารถเพื่อเจริญ เพราะมิใช่เหตุว่า เราเป็น
ผู้คงที่. ใคร ๆ มิใช่ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ด้วยเหตุเหล่านี้ว่า เราเป็นผู้ขวนขวายใน
ตระกูลสูง เป็นพหุสูต เป็นผู้มีลาภ. พระราชามหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น

296
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 297 (เล่ม 20)

ย่อมคบเรา. เราเป็นผู้คงที่ก็หามิได้. แต่เป็นผู้คงที่ด้วยการเจริญเมตตาเป็นต้น
เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปรารภเทศนานี้เพื่อแสดงเหตุแห่ง
ความเป็นผู้คงที่.
ในบทเหล่านั้นบทว่า ภาวยโต เจริญ คือ ยิ่งอุปจารภาวนาหรือ
อัปปนาภาวนาให้ถึง. บทว่า โย พยาปาโท พยาบาท คือ จักละความโกรธ
ในสัตว์ได้. บทว่า วิเหสา ความเบียดเบียน คือ เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ด้วยฝ่ามือเป็นต้น. บทว่า อรติ ความไม่ยินดี คือ ความเป็นผู้เบื่อหน่าย
ในเสนาสนะเป็นสงัด และในธรรมเป็นอธิกุศล. บทว่า ปฏิโฆ ความขุ่นเคือง
คือ กิเลสเป็นเครื่องให้เดือดร้อนในทุก ๆ แห่ง. บทว่า อสุภํ ไม่งาม คือ
เจริญอุปจาระและอัปปนาในซากศพที่พองอืดเป็นต้น. บทว่า อุทฺธุมาตกา
ซากศพพองอืด อสุภภาวนานี้ท่านกล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.
บทว่า ราโค ได้แก่ ราคะประกอบด้วยกามคุณ ๕. บทว่า อนิจฺจสญฺญํ
อนิจจสัญญาภาวนา คือ สัญญาอันเกิดพร้อมกับอนิจจานุปัสสนา หรือวิปัสสนา
นั่นแหละ. แม้ความไม่มีสัญญาท่านก็กล่าวว่า สัญญา ด้วยหัวข้อแห่งสัญญา.
บทว่า อสฺมินาโน ถือว่าเรามีอยู่ คือ มีมานะว่า เรามีอยู่ในรูปเป็นต้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะยังปัญหาที่พระเถระถามให้พิสดารจึงกล่าวบท
มีอาทิว่า อานาปานสฺสติ ดังนี้. กรรมฐานนี้ กรรมฐานภาวนา และอรรถ
แห่งบาลี พร้อมด้วยอานิสงส์กถา ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในอนุสสตินิเทศใน
วิสุทธิมรรคโดยอาการครบถ้วนทุกประการ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระ
ธรรมเทศนานี้ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้พึงแนะนำนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถามหาราหุโลวาทสูตรที่ ๒

297
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 298 (เล่ม 20)

๓. จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร
ทรงโอวาทพระมาลุงกยบุตร
[๑๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมาลุง.
กยบุตรไปในที่ลับ เร้นอยู่ เกิดความดำริแห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ทรงพยากรณ์ ทรงงด ทรงห้ามทิฏฐิเหล่านี้ คือ โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง
โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระ
อย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มีไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่
ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรานั้น
เราไม่ชอบใจ ไม่ควรแก่เรา เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูล
ถามเนื้อความนั้น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์แก่เรา ฯ ล ฯ เราก็
จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรง
พยากรณ์ ฯลฯ เราก็จักลาสิกขามาเป็นคฤหัสถ์.
พระนาลุงกยบุตรบอกความปริวิตก
[๑๔๘] ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมาลุงกยบุตรออกจากที่เร้น เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์ไปในที่ลับเร้นอยู่

298
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 299 (เล่ม 20)

เกิดความดำริแห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ทรงงด
ทรงห้ามทิฏฐิเหล่านี้ คือ โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด
ชีพอันนั้น สรีระก่อนนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่
ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี
ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ข้อที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรานั้น เราไม่ชอบใจ ไม่ควรแก่
เรา เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามเนื้อความนั้น ถ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์ ฯลฯ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ล ฯ เราจักลาสิกขามาเป็น
คฤหัสถ์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าโลกเที่ยง ขอจงทรงพยากรณ์แก่
ข้าพระองค์เถิดว่าโลกเที่ยง ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า โลกไม่เที่ยง
ขอจงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่าโลกไม่เที่ยง ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่
ทรงทราบว่าโลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง เมื่อไม่ทรงรู้ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอก
ตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าโลกมี
ที่สุด ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า โลกมีที่สุด ถ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงทราบว่า โลกไม่มีที่สุด ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า
โลกไม่มีที่สุด ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบว่าโลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่
สุด เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอตรัสบอกตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่
เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ขอจง
ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ถ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงทราบว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ขอจงทรงพยากรณ์แก่
ข้าพระองค์เถิดว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

299
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 300 (เล่ม 20)

ทรงทราบว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่าง
หนึ่ง เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอกตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ ไม่
เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ขอจง
ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ถ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ขอจงทรงพยากรณ์
แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป
ไม่มีอยู่ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอกตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เรา
ไม่เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี
ไม่มีอยู่ก็มี ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป
มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
ไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง
ทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี หรือว่าสัตว์เบื้อหน้า
แต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอก
ตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่เห็น.
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร เราได้พูด
ไว้อย่างนี้กะเธอหรือว่า เธอจงมาประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจัก
พยากรณ์ทิฏฐิ ๑๐ แก่เธอ ฯ ล ฯ
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ก็หรือว่า ท่านได้พูดไว้กะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์จักพระพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
จักทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ฯ ล ฯ

300
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 301 (เล่ม 20)

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร ได้ยินว่า เรามิได้พูดไว้กะเธอดังนี้ว่า เธอจงมา
ประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักพยากรณ์แก่เธอ ฯ ล ฯ ได้ยินว่า แม้
เธอก็มิได้พูดไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์
ฯ ล ฯ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอเป็นอะไร๑ จะมาทวงกะใครเล่า.
เปรียบคนที่ถูกลูกศร
[๑๕๐] ดูก่อนมาลุงกยบุตร บุคคลใดแลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงพยากรณ์แก่เรา ฯ ล ฯ เพียงใด เราจักไม่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงนั้น ตถาคตไม่พึงพยากรณ์ข้อนั้นเลย
และบุคคลนั้นพึงทำกาละไปโดยแท้ ดูก่อนมาลุงกยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษ
ต้องศรอันอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น
พึงไปหานายแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมาผ่า บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่าง
นี้ว่า เรายังไม่รู้จักบุรุษผู้ยิงเรานั้นว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือ
ศูทร. . . มีชื่อว่าอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. . . สูงต่ำหรือปานกลาง . . . ดำขาว
หรือผิวสองสี . . . อยู่บ้าน นิคม หรือนครโน้น เพียงใด เราจักไม่นำลูกศร
นี้ออกเพียงนั้น บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักธนูที่ใช้ยิง
เรานั้นว่าเป็นชนิดมีแล่งหรือเกาทัณฑ์ . . . สายที่ยิงเรานั้นเป็นลายทำด้วยปอผิว
ไม้ไผ่ เอ็น ป่านหรือเยื่อไม้ ลูกธนูที่ยิงเรานั้น ทำด้วยไม้ที่เกิดเองหรือไม้
ปลูก หางเกาทัณฑ์ที่ยิงเรานั้น เขาเสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตะกรุม เหยี่ยว
๑. ไม่ใช่ผู้ขอร้อง หรือผู้ถูกขอร้อง.

301
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 302 (เล่ม 20)

นกยูง หรือนกชื่อว่า สิถิลหนุ [คางหย่อน] . . . เกาทัณฑ์นั้นเขาพันด้วย
เอ็นวัว ควาย ต่างหรือลิง. . . ลูกธนที่ยิงเรานั้น เป็นชนิดอะไร ดังนี้
เพียงใด เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น ดูก่อนมาลุงกยบุตร บุรุษนั้นพึงรู้
ข้อนั้นไม่ได้เลย โดยที่แท้ บุรุษนั้นพึงทำกาละไป ฉันใด ดูก่อนมาลุงกยบุตร
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิ ๑๐
นั้น ฯ ล ฯ แก่เราเพียงใด เราจักไม่พระพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพียงนั้น ข้อนั้นตถาคตไม่พยากรณ์เลย โดยที่แท้ บุคคลนั้นพึงทำกาละไป
ฉันนั้น.
[๑๕๑] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ดังนี้ จักได้
มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้ จักไม่มีการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง
อยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็
คงที่อยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า
โลกมีที่สุด ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกไม่มีที่สุด ดังนี้ จักได้มีการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด หรือว่า โลกไม่มี
ที่สุดอยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คง
มีอยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

302
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 303 (เล่ม 20)

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพ
ก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่
ใช่อย่างนั้น.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง
ดังนี้ จักได้มีการประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ
ว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่งอยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ดังนี้ จักได้มี
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็มิใช่อย่างนั้น.
ก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่
ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่
หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอน
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี
ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ก็
มิใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้น
ก็ไม่ใช่.

303
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 304 (เล่ม 20)

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี
ไม่มีอยู่ก็มี หรือว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ดังนี้
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว
เราจึงบัญญัติความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสในปัจจุบัน.
ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์
[๑๕๒] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย จง
ทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจง
ทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด ดูก่อน
มาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่ไม่พยากรณ์ ดูก่อนมาลุงยบุตร ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง
โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่าง
หนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป
ไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
ไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ดังนี้ เราไม่พยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร
ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประ-
โยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น ดูก่อนมาลุงกยบุตร อะไรเล่า
ที่เราพยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร ความเห็นว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้ เราพยากรณ์ ก็เพราะ
เหตุไร เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะข้อนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็น

304
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 305 (เล่ม 20)

เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ
ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เหตุนั้นเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหา
ที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหา
ที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตร ยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบจูฬมาลุงกยโอวาทสูตรที่ ๓
๓. อรรถกถาจูฬมาลุงกยโอวาทสูตร๑
จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้
สดับมาอย่างนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า มาลุงฺกฺยปุตฺตสฺส พระเถระมีชื่ออย่างนี้.
บทว่า. ฐปิตานิ ปฏิกฺขิตฺตานิ ทรงงดทรงห้ามคือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
งดทรงห้ามอย่างนี้ว่าทิฏฐิทั้งหลายไม่ควรพยากรณ์. บทว่า ตถาคโต คือสัตว์.
บทว่า ตมฺเม น รุจฺจติ คือการไม่พยากรณ์นั้นไม่ชอบใจแก่เรา. บท ว่า สกฺขํ
ปจฺจกฺขาย เราจะลาสิกขา. บทว่า โก สนฺโต กํ ปจฺจาจิกฺขสิ เธอเป็น
อะไร จะมาทวงกะใครเล่า ความว่า ผู้ขอพึงทวงกะผู้ยืม หรือผู้ยืมควรทวงกะ
ผู้ขอ ท่านมิใช่ผู้ขอ มิใช่ผู้ยืม บัดนี้ท่านเป็นอะไร จะมาทวงกะใครเล่า. บทว่า
วิทฺโธ อสฺส บุรุษถูกแทงด้วยศร คือถูกข้าศึกแทงเอา. บทว่า คาฬฺหเลปเนน
๑. อรรถกถาเรียก มาลุงกยสูตร.

305